วิบากกรรม'ม็อบการเมือง' แกนนำติดบ่วง"คดีความ"
การใช้มวลชนมาขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ม็อบสีเสื้อต่างๆ ดูเหมือนจะกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลพวงที่ตามมา นักเคลื่อนไหวที่รับบท “แกนนำ” ก็หนีไม่พ้นวิบากกรรม!!...
หลายคนคงยังจำภาพความเคลื่อนไหวของม็อบที่ใช้ “สีฟ้า” เป็นสัญลักษณ์ มี “นายสุเทพ เทือกสุบรรณ” รับบท “แกนนำ” ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง “เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์” มาขับเคลื่อนในภาคประชาชน เพื่อต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังจากใช้เสียงข้างมากผลักดัน “พ.ร.บ.นิรโทษกรรม” ที่มีเนื้อหาล้างผิดแบบสุดซอย ไม่ว่าจะเป็นคดีปล้นฆ่า เผาสถานที่ราชการ หน่วยงานต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมล่วงละเมิดสถาบัน และทุจริตคอรัปชั่น ต้องถือว่ารอดพ้นจากการถูกดำเนินไปทั้งหมด นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา..
จึงไม่แปลกกับการออกมาเคลื่อนไหวครั้งนั้น ที่มีประชาชนออกมารวมกิจกรรมเรือนแสนเรือนล้านคน เพราะรับไม่ได้กับพฤติกรรมของฝ่ายบริหารที่ใช้เสียงข้างมากในสภาผลักดันกฎหมายเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง จนต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ได้กระทำไป
อย่างไรก็ตามคนที่ติดตามการเมืองเชื่อว่าการออกมาขับเคลื่อนของ “นายสุเทพ” ในฐานะ “แกนนำกปปส.” เพื่อต้องการเอาคืน “นายทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เป็นคนผลักดันให้แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งนายสุเทพรับบทเป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลงานด้านความมั่นคง เมื่อช่วงปี 2553
โดยเมื่อวันที่ 24 ม.ค.2561 นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวภายหลัง แกนนำ กปปส. เข้าฟังคำสั่งทางคดีว่า คดีนี้เป็นคดีพิเศษที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับไว้ดำเนินคดี และมีการส่งสำนวนให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้อง ตั้งแต่ปี 2557 โดยมีผู้ต้องหา 58 คน
ในขณะนั้น นายนันทศักดิ์ พูนสุข เป็นอธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง 1 ราย คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแยกฟ้องไป 4 คน คือ นายเสรี วงษ์มณฑา, นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์, นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม และนายสกลธี ภัททิยกุล โดยอัยการมีความเห็นส่งฟ้องต่อศาล ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.2557
นายประยุทธ กล่าวต่อว่า วันนี้อัยการได้นัดผู้ต้องหาที่เหลือมาฟังคำสั่ง โดยมีผู้ต้องหา 9 คน เดินทางมาฟังคำสั่ง ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ต้องหาที่ 1 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ผู้ต้องหาที่ 2 นายชุมพล จุลใส ผู้ต้องหาที่ 3 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ต้องหาที่ 4 นายอิสสระ สมชัย ผู้ต้องหาที่ 5 นายวิทยา แก้วภราดัย ผู้ต้องหาที่ 6 นายถาวร เสนเนียม ผู้ต้องหาที่ 7 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ผู้ต้องหาที่ 8 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ผู้ต้องหาที่ 9
อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 9 คน ในความผิดฐาน ร่วมกันเป็นกบฏ - ยุยงปลุกปั่น - กระทำให้ปรากฏแก่วาจาฯ อั้งยี่ ซ่องโจร - มั่วสุมกันเกิน 10 คน - ประทุษร้าย - ขัดขวางการเลือกตั้ง รวม 8 ข้อหา โดย นายสุเทพ และนายชุมพล อัยการสั่งฟ้องในข้อหาร่วมกันก่อการร้ายด้วย
พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 ได้นำสำนวนพร้อมกับเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง “นายสุเทพ” ในฐานะ เลขาธิการ กปปส. และแกนนำรวม 9 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏ ก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยศาลประทับรับฟ้องคดีไว้พิจารณาหมายเลขดำ อ.247/2561 ทั้งนี้ศาลสอบคำให้การจำเลยโดยอ่านและอธิบายฟ้องให้พวกจำเลยฟังจนเข้าใจแล้วสอบถามว่า จะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ ปรากฏว่า...พวกจำเลยแถลงให้การปฏิเสธต่อสู้คดี
ขณะที่ชะตากรรมของ บรรดาแกนนำ นปช. ที่ใช้ “สีแดง” เป็นสัญลักษณ์ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนไหว และเปรียบเสมือนเป็น “มวลชน” ที่นายทักษิณ ใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเพื่อกดดันฝ่ายตรงข้าม นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ก็หนีไม่พ้นต้องต่อสู้คดีความ หลังจากได้แสดงกิจกรรมหลายอย่าง ที่หมิ่นเหม่กับข้อกฎหมาย
โดยเมื่อวันที่ 11 ส.ค.2553 พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. และพวกรวม 19 คน ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-19 ในความผิดฐาน
ร่วมกันก่อการร้าย ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก, ร่วมกันชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดตั้งแต่ 5คนขึ้นไปในท้องที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยศาลรับฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2542/2553
จากนี้ไป “บรรดาแกนนำ” แต่ละสีเสื้อและเครือข่ายที่มีคดีความติดตัวอยู่ต้องรอลุ้นกับคำพิพากษาตามกระบวนการของศาลยุติธรรม โดยแนวทางและการขับเคลื่อนในอดีตที่ผ่านมาจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า... ใครต้องรับผิดชอบ?? ใครต้องรับกรรม?? และใครจะรอดพ้นจากคดีความ??
อาจเป็นบทเรียนสำหรับ “นักเคลื่อนไหว” ในอนาคต เพราะในที่สุดแล้ว “จอมบงการ” มักลอยนวล ไม่ต้องรับรู้กับ “วิบากรรม” ที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น!!...
อ่านต่อที่ :
https://www.dailynews.co.th/article/623420
รับกรรมกันไปค่ะ....
แต่สิ่งที่เหลืออยู่คือการกระทำเพื่อชาติบ้านเมืองได้เป็นที่รับทราบกันได้มากแค่ไหน...?
คือสิ่งที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์
🔏✏~มาลาริน~วิบากกรรมม็อปการเมือง..เหลือง-แดง แกนนำติดบ่วง"คดีความ"
การใช้มวลชนมาขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ม็อบสีเสื้อต่างๆ ดูเหมือนจะกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ผลพวงที่ตามมา นักเคลื่อนไหวที่รับบท “แกนนำ” ก็หนีไม่พ้นวิบากกรรม!!...
หลายคนคงยังจำภาพความเคลื่อนไหวของม็อบที่ใช้ “สีฟ้า” เป็นสัญลักษณ์ มี “นายสุเทพ เทือกสุบรรณ” รับบท “แกนนำ” ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง “เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์” มาขับเคลื่อนในภาคประชาชน เพื่อต่อต้านรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังจากใช้เสียงข้างมากผลักดัน “พ.ร.บ.นิรโทษกรรม” ที่มีเนื้อหาล้างผิดแบบสุดซอย ไม่ว่าจะเป็นคดีปล้นฆ่า เผาสถานที่ราชการ หน่วยงานต่างๆ รวมถึงพฤติกรรมล่วงละเมิดสถาบัน และทุจริตคอรัปชั่น ต้องถือว่ารอดพ้นจากการถูกดำเนินไปทั้งหมด นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา..
จึงไม่แปลกกับการออกมาเคลื่อนไหวครั้งนั้น ที่มีประชาชนออกมารวมกิจกรรมเรือนแสนเรือนล้านคน เพราะรับไม่ได้กับพฤติกรรมของฝ่ายบริหารที่ใช้เสียงข้างมากในสภาผลักดันกฎหมายเพื่อประโยชน์ของพวกพ้อง จนต้องรับผิดชอบกับสิ่งที่ได้กระทำไป
อย่างไรก็ตามคนที่ติดตามการเมืองเชื่อว่าการออกมาขับเคลื่อนของ “นายสุเทพ” ในฐานะ “แกนนำกปปส.” เพื่อต้องการเอาคืน “นายทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เป็นคนผลักดันให้แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งนายสุเทพรับบทเป็นรองนายกรัฐมนตรีดูแลงานด้านความมั่นคง เมื่อช่วงปี 2553
โดยเมื่อวันที่ 24 ม.ค.2561 นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวภายหลัง แกนนำ กปปส. เข้าฟังคำสั่งทางคดีว่า คดีนี้เป็นคดีพิเศษที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับไว้ดำเนินคดี และมีการส่งสำนวนให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้อง ตั้งแต่ปี 2557 โดยมีผู้ต้องหา 58 คน
ในขณะนั้น นายนันทศักดิ์ พูนสุข เป็นอธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ มีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง 1 ราย คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแยกฟ้องไป 4 คน คือ นายเสรี วงษ์มณฑา, นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์, นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม และนายสกลธี ภัททิยกุล โดยอัยการมีความเห็นส่งฟ้องต่อศาล ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.2557
นายประยุทธ กล่าวต่อว่า วันนี้อัยการได้นัดผู้ต้องหาที่เหลือมาฟังคำสั่ง โดยมีผู้ต้องหา 9 คน เดินทางมาฟังคำสั่ง ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้ต้องหาที่ 1 นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ผู้ต้องหาที่ 2 นายชุมพล จุลใส ผู้ต้องหาที่ 3 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ผู้ต้องหาที่ 4 นายอิสสระ สมชัย ผู้ต้องหาที่ 5 นายวิทยา แก้วภราดัย ผู้ต้องหาที่ 6 นายถาวร เสนเนียม ผู้ต้องหาที่ 7 นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ ผู้ต้องหาที่ 8 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ผู้ต้องหาที่ 9
อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 9 คน ในความผิดฐาน ร่วมกันเป็นกบฏ - ยุยงปลุกปั่น - กระทำให้ปรากฏแก่วาจาฯ อั้งยี่ ซ่องโจร - มั่วสุมกันเกิน 10 คน - ประทุษร้าย - ขัดขวางการเลือกตั้ง รวม 8 ข้อหา โดย นายสุเทพ และนายชุมพล อัยการสั่งฟ้องในข้อหาร่วมกันก่อการร้ายด้วย
พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 ได้นำสำนวนพร้อมกับเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง “นายสุเทพ” ในฐานะ เลขาธิการ กปปส. และแกนนำรวม 9 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาในความผิดฐานร่วมกันเป็นกบฏ ก่อการร้าย อั้งยี่ ซ่องโจร มั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยศาลประทับรับฟ้องคดีไว้พิจารณาหมายเลขดำ อ.247/2561 ทั้งนี้ศาลสอบคำให้การจำเลยโดยอ่านและอธิบายฟ้องให้พวกจำเลยฟังจนเข้าใจแล้วสอบถามว่า จะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธ ปรากฏว่า...พวกจำเลยแถลงให้การปฏิเสธต่อสู้คดี
ขณะที่ชะตากรรมของ บรรดาแกนนำ นปช. ที่ใช้ “สีแดง” เป็นสัญลักษณ์ เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนไหว และเปรียบเสมือนเป็น “มวลชน” ที่นายทักษิณ ใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเพื่อกดดันฝ่ายตรงข้าม นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ก็หนีไม่พ้นต้องต่อสู้คดีความ หลังจากได้แสดงกิจกรรมหลายอย่าง ที่หมิ่นเหม่กับข้อกฎหมาย
โดยเมื่อวันที่ 11 ส.ค.2553 พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธาน นปช. และพวกรวม 19 คน ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-19 ในความผิดฐาน
ร่วมกันก่อการร้าย ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา อันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก, ร่วมกันชุมนุมหรือมั่วสุม ณ ที่ใดตั้งแต่ 5คนขึ้นไปในท้องที่ผู้รับผิดชอบประกาศกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยศาลรับฟ้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 2542/2553
จากนี้ไป “บรรดาแกนนำ” แต่ละสีเสื้อและเครือข่ายที่มีคดีความติดตัวอยู่ต้องรอลุ้นกับคำพิพากษาตามกระบวนการของศาลยุติธรรม โดยแนวทางและการขับเคลื่อนในอดีตที่ผ่านมาจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า... ใครต้องรับผิดชอบ?? ใครต้องรับกรรม?? และใครจะรอดพ้นจากคดีความ??
อาจเป็นบทเรียนสำหรับ “นักเคลื่อนไหว” ในอนาคต เพราะในที่สุดแล้ว “จอมบงการ” มักลอยนวล ไม่ต้องรับรู้กับ “วิบากรรม” ที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น!!...
อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/article/623420
รับกรรมกันไปค่ะ....
แต่สิ่งที่เหลืออยู่คือการกระทำเพื่อชาติบ้านเมืองได้เป็นที่รับทราบกันได้มากแค่ไหน...?
คือสิ่งที่จารึกไว้ในประวัติศาสตร์