สารถึงแฟนบอลอังกฤษ
เมื่อตอนปี 2012 ผมได้ทำกระทู้แผนงานพัฒนาเยาวชนของอังกฤษที่ "แกเร็ธ เซาธ์เกต" กำลังเดินสายให้ความรู้ทั้งอังกฤษในขณะนั้น
ทำไมพวกท่านไม่กดเก็บเข้าคลังกระทู้
พอมาปี 2017 ที่อังกฤษได้แชมป์โลกระดับเยาวชน 2 รายการ พวกท่านก็มาตั้งกระทู้ถามว่า "ทำอย่างไร"
คอมผมก็เสียไปแล้ว มันก็ไม่มีอีกแล้ว
ต้นฉบับภาษาอังกฤษผมก็หาไม่เจอ แถมไม่กดเก็บเข้าคลังกระทู้กัน คนทำมันเสียความรู้สึกนะ
____________________________________________________________________________________
อธิบายโดยสรุป
ในปี 2011 แกเร็ธ เซาธ์เกต ได้ถูกแต่งตั้งเป็นประธานฝ่ายเทคนิค (The FA's head of elite development = Technical Director)
โดย "แกเร็ธ เซาธ์เกต" ได้มีความตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงการฝึกระบบเยาวชนในอังกฤษใหม่ทั้งหมดให้เหมือนในสเปน
หมายเหตุ : The FA's head of elite development คือ ตำแหน่งประธานเทคนิคในสมาคมฟุตบอลอังกฤษ
"ผู้เล่นยุวชนจะเล่นในสนามที่เล็กลง, ประตูที่เล็กลง และอยู่ในสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้มากกว่าที่จะมุ่งเป้าหมายไปยังชัยชนะ"
นี้คือความตั้งใจของ "แกเร็ธ เซาธ์เกต"
จากนั้นในฤดูกาล 2013-2014 เป็นต้นมา ฟุตบอลทั้วประเทศอังกฤษตั้งแต่ระดับ U-13 ลงไป ก็ไม่มีการเล่นฟุตบอล 11 ต่อ 11
ขนาดสนาม, ประตู และจำนวนผู้เล่นจะถูกกำหนดให้เหมาะสมแก่เด็กในแต่ละวัย
หมายเหตุ : แต่เดิมระดับเยาวชนของอังกฤษจะให้เล่น 11 ต่อ 11 ในขนาดสนามจริง, ประตูจริงตามที่ศูนย์ฝึกกำหนด ไม่มีการกำหนดมาตรฐาน
หมายเหตุ : อันที่แปลไว้ มันก็มีการต่อต้านจากพวกหัวโบราณไม่น้อยนะครับ ระหว่างที่ "แกเร็ธ เซาธ์เกต" เดินสาย
ถ้าอยากรู้ว่ากำหนดอย่างไรไปดูของเบลเยี่ยมแล้วกัน "มาตรฐาน" เดียวกัน
https://ppantip.com/topic/31106285
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
https://www.theguardian.com/football/2011/jun/02/gareth-southgate-england-player-development
http://www.telegraph.co.uk/sport/football/teams/england/8553493/Gareth-Southgate-believes-English-youth-development-must-follow-Barcelonas-example.html
____________________________________________________________________________________
มาดูผลงานทีมชาติอังกฤษระดับเยาวชน ตั้งแต่ปี 2013 ก่อนได้แชมป์โลกสองรุ่นในปี 2017 กัน
รุ่น U-17
2013 world cup ไม่ผ่านเข้ารอบ
2015 world cup ตกรอบแรกโดยไม่ชนะใคร ยิงได้ 1 เสีย 2 เสมอ 2 แพ้ 1 มี 2 แต้ม
รุ่น U-20
2013 world cup ตกรอบแรกโดยไม่ชนะใคร ยิงได้ 3 เสีย 5 เสมอ 2 แพ้ 1 มี 2 แต้ม
2015 world cup ไม่ผ่านเข้ารอบ
ผลงานแบบนี้ ถ้าเป็นประเทศไทยคงออกมาไล่ประธานเทคนิคกันแล้วใช่ไหมครับ
ของแบบนี้ต้องใช้เวลา 3-4 ปีเลยไม่ใช่ว่ามีประธานเทคนิคแล้ว ผลงานจะดีขึ้นในทันที
____________________________________________________________________________________
หน้าที่ของประธานเทคนิค
ถ้าจะพูดไปถึงว่า "ประธานเทคนิค" ของฟุตบอลระดับทีมชาติ คืออะไร มันก็คือวางแผนการฝึกสอนให้ได้มาตรฐาน และเหมาะสำหรับคนในประเทศ
พูดอีกอย่างหนึ่ง คือ "เขียนหนังสือเรียน" นั้นแหละครับ
หน้าที่นี้ควรเป็นของคนในชาติวางรากฐานก่อนนะครับ ถ้าจะพัฒนาการฝึกสอนโดยเอาคนต่างชาติเข้ามาต่อยอด จะได้ไม่เสียเวลามาก
เพราะคนในแต่ละชาติมี "สรีระ", "สภาพอากาศ" และ "อุปนิสัย" แตกต่างกัน
ถ้าเอาคนต่างชาติเข้ามาทำตั้งแต่ 0 เลย จะเสียเวลาทำความเข้าใจเรื่องพวกนี้อีก
แต่ก่อนเรามี "ประธานเทคนิค" เป็นนักแสดงตลกนะ
____________________________________________________________________________________
เรื่องการพัฒนาเยาวชนชาติต่างๆ
เยอรมัน
http://topicstock.ppantip.com/supachalasai/topicstock/2011/12/S11446196/S11446196.html
ญี่ปุ่น
http://topicstock.ppantip.com/supachalasai/topicstock/2012/04/S11995554/S11995554.html
บาร์เซโลน่า
http://topicstock.ppantip.com/supachalasai/topicstock/2012/01/S11612056/S11612056.html
ฮอลแลนด์
http://topicstock.ppantip.com/supachalasai/topicstock/2012/03/S11851030/S11851030.html
หมายเหตุ : ท่าทางระบบที่ "หลุยส์ ฟานกัล" วางไว้คงตกยุคไปแล้ว เด็กใหม่ๆขึ้นมาไม่ได้เลย ก็เล่นเน้นแต่เกมรุกเกิน เกมรับก็สำคัญนะ
[พิเศษ] ประธานเทคนิค กับการพัฒนาเยาวชนของอังกฤษ
เมื่อตอนปี 2012 ผมได้ทำกระทู้แผนงานพัฒนาเยาวชนของอังกฤษที่ "แกเร็ธ เซาธ์เกต" กำลังเดินสายให้ความรู้ทั้งอังกฤษในขณะนั้น
ทำไมพวกท่านไม่กดเก็บเข้าคลังกระทู้
พอมาปี 2017 ที่อังกฤษได้แชมป์โลกระดับเยาวชน 2 รายการ พวกท่านก็มาตั้งกระทู้ถามว่า "ทำอย่างไร"
คอมผมก็เสียไปแล้ว มันก็ไม่มีอีกแล้ว
ต้นฉบับภาษาอังกฤษผมก็หาไม่เจอ แถมไม่กดเก็บเข้าคลังกระทู้กัน คนทำมันเสียความรู้สึกนะ
อธิบายโดยสรุป
ในปี 2011 แกเร็ธ เซาธ์เกต ได้ถูกแต่งตั้งเป็นประธานฝ่ายเทคนิค (The FA's head of elite development = Technical Director)
โดย "แกเร็ธ เซาธ์เกต" ได้มีความตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงการฝึกระบบเยาวชนในอังกฤษใหม่ทั้งหมดให้เหมือนในสเปน
หมายเหตุ : The FA's head of elite development คือ ตำแหน่งประธานเทคนิคในสมาคมฟุตบอลอังกฤษ
"ผู้เล่นยุวชนจะเล่นในสนามที่เล็กลง, ประตูที่เล็กลง และอยู่ในสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้มากกว่าที่จะมุ่งเป้าหมายไปยังชัยชนะ"
นี้คือความตั้งใจของ "แกเร็ธ เซาธ์เกต"
จากนั้นในฤดูกาล 2013-2014 เป็นต้นมา ฟุตบอลทั้วประเทศอังกฤษตั้งแต่ระดับ U-13 ลงไป ก็ไม่มีการเล่นฟุตบอล 11 ต่อ 11
ขนาดสนาม, ประตู และจำนวนผู้เล่นจะถูกกำหนดให้เหมาะสมแก่เด็กในแต่ละวัย
หมายเหตุ : แต่เดิมระดับเยาวชนของอังกฤษจะให้เล่น 11 ต่อ 11 ในขนาดสนามจริง, ประตูจริงตามที่ศูนย์ฝึกกำหนด ไม่มีการกำหนดมาตรฐาน
หมายเหตุ : อันที่แปลไว้ มันก็มีการต่อต้านจากพวกหัวโบราณไม่น้อยนะครับ ระหว่างที่ "แกเร็ธ เซาธ์เกต" เดินสาย
ถ้าอยากรู้ว่ากำหนดอย่างไรไปดูของเบลเยี่ยมแล้วกัน "มาตรฐาน" เดียวกัน
https://ppantip.com/topic/31106285
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
https://www.theguardian.com/football/2011/jun/02/gareth-southgate-england-player-development
http://www.telegraph.co.uk/sport/football/teams/england/8553493/Gareth-Southgate-believes-English-youth-development-must-follow-Barcelonas-example.html
มาดูผลงานทีมชาติอังกฤษระดับเยาวชน ตั้งแต่ปี 2013 ก่อนได้แชมป์โลกสองรุ่นในปี 2017 กัน
รุ่น U-17
2013 world cup ไม่ผ่านเข้ารอบ
2015 world cup ตกรอบแรกโดยไม่ชนะใคร ยิงได้ 1 เสีย 2 เสมอ 2 แพ้ 1 มี 2 แต้ม
รุ่น U-20
2013 world cup ตกรอบแรกโดยไม่ชนะใคร ยิงได้ 3 เสีย 5 เสมอ 2 แพ้ 1 มี 2 แต้ม
2015 world cup ไม่ผ่านเข้ารอบ
ผลงานแบบนี้ ถ้าเป็นประเทศไทยคงออกมาไล่ประธานเทคนิคกันแล้วใช่ไหมครับ
ของแบบนี้ต้องใช้เวลา 3-4 ปีเลยไม่ใช่ว่ามีประธานเทคนิคแล้ว ผลงานจะดีขึ้นในทันที
หน้าที่ของประธานเทคนิค
ถ้าจะพูดไปถึงว่า "ประธานเทคนิค" ของฟุตบอลระดับทีมชาติ คืออะไร มันก็คือวางแผนการฝึกสอนให้ได้มาตรฐาน และเหมาะสำหรับคนในประเทศ
พูดอีกอย่างหนึ่ง คือ "เขียนหนังสือเรียน" นั้นแหละครับ
หน้าที่นี้ควรเป็นของคนในชาติวางรากฐานก่อนนะครับ ถ้าจะพัฒนาการฝึกสอนโดยเอาคนต่างชาติเข้ามาต่อยอด จะได้ไม่เสียเวลามาก
เพราะคนในแต่ละชาติมี "สรีระ", "สภาพอากาศ" และ "อุปนิสัย" แตกต่างกัน
ถ้าเอาคนต่างชาติเข้ามาทำตั้งแต่ 0 เลย จะเสียเวลาทำความเข้าใจเรื่องพวกนี้อีก
แต่ก่อนเรามี "ประธานเทคนิค" เป็นนักแสดงตลกนะ
เรื่องการพัฒนาเยาวชนชาติต่างๆ
เยอรมัน
http://topicstock.ppantip.com/supachalasai/topicstock/2011/12/S11446196/S11446196.html
ญี่ปุ่น
http://topicstock.ppantip.com/supachalasai/topicstock/2012/04/S11995554/S11995554.html
บาร์เซโลน่า
http://topicstock.ppantip.com/supachalasai/topicstock/2012/01/S11612056/S11612056.html
ฮอลแลนด์
http://topicstock.ppantip.com/supachalasai/topicstock/2012/03/S11851030/S11851030.html
หมายเหตุ : ท่าทางระบบที่ "หลุยส์ ฟานกัล" วางไว้คงตกยุคไปแล้ว เด็กใหม่ๆขึ้นมาไม่ได้เลย ก็เล่นเน้นแต่เกมรุกเกิน เกมรับก็สำคัญนะ