ยุค Smart City กำลังมา ไทยเร่งเดินหน้า 7 เมืองอัจฉริยะ ยกระดับคุณภาพชีวิต

ประเทศไทยกำลังเดินหน้าพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “Smart City” อย่างเต็มตัว โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี ได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เป็นหน่วยงานที่ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ตั้งเป้าระยะแรกจะพัฒนา 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา และกรุงเทพฯ โดยมีแผนจะขยายให้ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัดภายใน 5 ปี


ในปี 2560 ได้เริ่มพัฒนา Smart City ใน 3 จังหวัดนำร่อง ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 3 ภาคไปบ้างแล้ว คือ

1.    ภูเก็ต – ตัวแทนภาคใต้ เป็นจังหวัดแรกของโครงการ ปัจจุบันมีการขับเคลื่อน 4 ด้าน คือ ด้านการท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีการนำ IoT (Internet of Things) เข้ามาใช้ในการพัฒนาและส่งเสริมการทำงาน


2.    เชียงใหม่ – ตัวแทนภาคเหนือ ได้เริ่มโครงการสมาร์ทนิมมานเหมินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 Smart Wi-Fi มีการติดตั้ง Access point ครอบคลุมถนนนิมมานเหมินทร์เรียบร้อยแล้ว
ระยะที่ 2 จะนำแอปพลิเคชั่น Chiangmai I Love U มาส่งเสริมการท่องเที่ยว
ระยะที่ 3 จะจัดทำ Data Analytic จากกล้อง CCTV ในพื้นที่ เพื่อดูความเคลื่อนไหวของประชาชนในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวในจังหวัด เพื่อจัดทำข้อมูลด้านการตลาด เป็นต้น


3.    ขอนแก่น – ตัวแทนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขอนแก่นสมาร์ทซิตี้ ปี 2029 เน้นการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดผลใน 3 ด้านหลัก คือ

1. การขนส่ง Logistics & Transportation หรือ Smart Mobility
2. ด้านการประชุมและเศรษฐกิจ MICE City หรือ Smart Economy
3. ด้านการแพทย์ Medical & Healthcare หรือ Smart Living


ส่วนการพัฒนา 3 จังหวัดในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี  ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จะต้องหารือในรายละเอียดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยระหว่างรอการศึกษาต่าง ๆ เช่น เมืองต้องการจะเป็น Smart City แบบใด  [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ จะเดินหน้าไปก่อนด้วยการพัฒนาในรูปแบบ Smart Living หรือเมืองปลอดภัยและลดอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทุกเมืองต้องการ


4.    ชลบุรี จะนำร่องในพื้นที่นิคมแหลมฉบังและ 7 ชุมชนโดยรอบ โดยการติดตั้ง Smart Pole หรือเสาประชารัฐ ซึ่งเป็นเสาที่มีไฟฟ้าเลี้ยงและเชื่อมต่อกับสายสื่อสาร ติดตั้งกล้องวงจรปิด ใช้ติดตามการจราจรและดูแลเรื่องอาชญากรรมได้ ถือเป็น Digital Infrastructure ของเมือง

5.    ระยอง จะติดตั้ง Smart Pole เช่นกันช่วงถนนสุขุมวิท ที่ผ่านใจกลางเมือง

6.    ฉะเชิงเทรา จะพัฒนาเป็น Smart Farming ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะใช้พื้นที่ใด โดยจะติดตั้งอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น (IoT) เช่น การวัดค่าความเป็นกรดด่างของดิน การใช้โดรนในการทำนายผลผลิต หรือพ่นยาได้ เป็นต้น

7.    กรุงเทพมหานคร อยู่ระหว่างการหารือกับหน่วยงานกทม. โดยจะเริ่มต้นด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (จีไอเอส) ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ของเมือง เช่น กล้องวงจรปิด ข้อมูลจราจร ข้อมูลการระบายน้ำ เป็นต้น มารวมกันไว้ในแผนที่เดียวและสามารถระบุพิกัดได้ เหมือนเป็นวอร์รูม ที่สามารถใช้ในการบริหารจัดการเมืองได้


สำหรับความเป็นอัจฉริยะของแต่ละเมืองนั้น จะเริ่มจากการพัฒนาระบบนิเวศน์ที่เน้นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล หรือความสำคัญของข้อมูล การแปลงข้อมูลเป็นดิจิทัล (Digitize) ทั้งเมือง โดยในปี 2561 จะมีโครงการ City Data Platform ดำเนินการใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น เพื่อสร้างรูปแบบการเชื่อมโยง จัดเก็บ และเผยแพร่ข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ ในเมือง เช่น

เชื่อมโยงข้อมูลกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ของเทศบาล เพื่อให้ตำรวจติดตามอาชญากร
เชื่อมโยงข้อมูลจาก IoT Sensors สิ่งแวดล้อม เพื่อเฝ้าระวังภัยพิบัติ
เชื่อมโยงข้อมูลการใช้ Free  Wi-Fi ของทั้งเมือง มาวิเคราะห์พฤติกรรมนักท่องเที่ยวสำหรับใช้ในการวางแผนระบบโลจิสติกส์ (Logistics)
โดยข้อมูลจะถูกรวบรวมมายังระบบคลาวด์ (Cloud) ของเมือง เพื่อให้ง่ายต่อการแลกเปลี่ยนบูรณาการ นำไปต่อยอดวิเคราะห์ (Big Data Analytics) โดยการสร้างเป็น API ในการดึงข้อมูล และมีมาตรฐานของข้อมูล สามารถเปิดให้ภาครัฐหรือเอกชนนำไปต่อยอดเป็นบริการของเมือง และขณะเดียวกันผู้บริหารเมืองจะได้ศูนย์ปฏิบัติการแบบอัจฉริยะที่มองเห็นภาพแบบเวลาจริงของเมืองใช้ในการตัดสินใจสั่งการ


อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเมืองอัจฉริยะนั้น ยังมีอีกหลายส่วนประกอบกัน แต่เป้าหมายรวม ๆ ก็คือ การสร้างสังคมคุณภาพที่จะรองรับการขยายตัวของสังคมเมือง โดยเชื่อมโยงระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเข้าด้วยกันแบบบูรณาการ ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า ทำให้ได้รับคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเป็นเมืองที่น่าอยู่ในลักษณะของการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจะเกี่ยวพันไปถึงการเพิ่มโอกาสในการต่อยอดทางธุรกิจ การเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของเมือง ฯลฯ กระทั่งเป็นเมืองที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

ข้อมูลพื้นฐาน Smart City ระบบเมืองอัจฉริยะ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


10 สุดยอด Smart City ของโลก



[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่