วันนี้ได้ดูข่าว จาก
http://news.sanook.com/5058010/
น้องนักศึกษาฝึกงานอยู่ที่นิคมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง แล้วเตาสารเคมีระเบิด
จึงอยากให้โรงงานตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และไม่ได้อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ตระหนักถึงความจะเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติเตุ
คือประเมินความเสี่ยงการทำงานผิดพลาดของเครื่องจักรก่อนเลย
กรณีน้องคนนี้ควรจะมีระบบ Automation เข้ามาคอนโทรลเช่น Guard cover , Area sensor แล้วเอาไปประยุกต์กับระบบรีเลย์ หรือ เขียนโปรแกรมเพิ่มเติมในส่วนของ PLC ของเครื่องจักร ป้องกันเคสหนักๆแบบน้องคนนี้กันนะครับ
เรามาพูดถึงเคส เหล่าวิศวกรโรงงาน หรือ จป. ที่คุณเคยปรับปรุงหรือ Improvement มาแชร์กันดีกว่าครับ
เผื่อเป็นประโยชน์ป้องกันอุบัติเหตุและชีวิตได้
ส่วนตัวผม
1.ติด Door switch เอาไฟ 1 เฟสผ่าน NC ของ Door switch ก่อนเข้าMain breaker ถ้าไม่ปิดประตูของเครื่องจักรไม่ทำงาน จะไม่มีไฟจ่ายเข้าระบบ
2. ติดตั้ง Area sensor ของ Sunx และเพิ่มปุ่มอีกปุ่ม ให้ทำงานโดยใช้ 2 มือ และเขียนโปรแกรม PLC เพิ่มว่า ห้ามมีอะไรมาโดน Area sensor ในระยะเวลาที่กำหนด ( ใช้ function timer เข้ามาช่วย เพื่อป้องกันการเผลอของพนักงาน ) จากนั้นให้กดปุ่มสองปุ่ม ( กดปุ่มเดียวทำงานไม่ได้ ) ให้ทำงานตอนปล่อยปุ่มเท่านั้น
3. ติดตั้งCover ที่เป็น สแตนเลส หรืออะคลีริค บริเวณที่มือ นิ้ว จะไปสัมผัสชุดเครื่องกล ที่เครื่องจักรกำลังทำงานเช่น เซอโวมอเตอร์ ใบมีด ความร้อน โดยเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะกับสภาพงาน
4.ติดตั้งเซนเซอร์ ตรงบริเวณเครื่อง Press โดยทำการเจาะรูเบสด้านล่างแล้วใส่เซนเซอร์ ตัวเล็กๆกำหนดระยะ Detect งาน ถ้าไม่มีงาน กดปุ่มเครื่องก็ไม่ทำงาน ก็จะไม่กดลงมาทับมือ
5.ถ้าเครื่องจักรมีความสูงมากเกินกฎหมายกำหนด จนต้องมีบันไดปีนขึ้นควร มีป้ายและแนะนำในการใส่ PPE เช่น Safety belt , แว่น , หมวก safety
6.Create Alarm บนหน้าจอ HMI ของเครื่องจักรถ้า มี Alarm เขียน PLC ให้หยุดเครื่องทุกครั้ง ป้องกันความผิดพลาดของเครื่องจักร
7.ทำ Q point หรือ WI ในข้อควรระวังและการใช้งานเครื่องจักรอย่างถูกต้อง
8.เข้าไปดูในไลน์การผลิตและสังเกตุทุกครั้งเวลาเครื่องทำงานใ้ประเมินความเสี่ยง เช่น น๊อตหลุด น๊อตรูด แบริ่งแตก แกนShaft หัก มันจะส่งผลต่อเครื่องจักรและ Operator อย่างไร เช่น น๊อตล๊อกใบมีดหลวม ทำให้ใบมีดคลายออกจากตัวล๊อก เวลามอเตอร์หมุนทำให้ใบมีดกระเด็น มาโดนตัวพนักงาน วิธีการแก้ไข ทำ Guard cover ป้องกันพนักงาน ทำ Daily PM ตรวจเช็คเครื่องจักรทุกวัน ทุกอาทิตย์ ทุกเดือน เช่น ตรวจน๊อตและสายไฟหลวม weekly PM
สรุป
อันไหนที่ต้องลงทุน ใช้ระบบAutomation เพื่อมาใช้ระบบ Safety ถ้าหาหลายๆวิธีแล้ว แล้วยังราคาสูงห้ามเสียดายตังเด็ดขาด
ถ้ามันส่งผลกระทบต่อชีวิตและกวระบวนการผลิต ควรทำ Analysis ว่าเครื่องนี้เสีย จะส่งผลต่อความเสียหายมากน้อยแค่ไหนในองค์กร โดยคิดเป็นตัวเลข
เช่นถ้าเครื่องจักร A เสีย 1 วันไม่สามารถผลิตงาน ได้ 100,000ชิ้น ขาดรายได้เป็นเงินจำนวน 30 ล้านบาท ถ้า เสีย2 วัน เสียหาย 60 ล้านบาท
แต่ถ้าเรามีการ Improvement M/C หรือทำ PM plan หรือซื้อ Spare part โดยเช็คจาก lifetime ของตัวอุปกรณ์ ควรลงทุนซื้อ อุปกรณ์เพื่อมาทำการปรับปรุง 50,000 บาท เห็นไหมครับ ลงทุนซื้อ 50,000 เราอาจป้องกันความเสียหายได้ 100 ล้านบาท
ฝากถึงวิศวกรและจป. กับระบบSafety เครื่องจักร
น้องนักศึกษาฝึกงานอยู่ที่นิคมแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง แล้วเตาสารเคมีระเบิด
จึงอยากให้โรงงานตามนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ และไม่ได้อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ตระหนักถึงความจะเป็นไปได้ในการเกิดอุบัติเตุ
คือประเมินความเสี่ยงการทำงานผิดพลาดของเครื่องจักรก่อนเลย
กรณีน้องคนนี้ควรจะมีระบบ Automation เข้ามาคอนโทรลเช่น Guard cover , Area sensor แล้วเอาไปประยุกต์กับระบบรีเลย์ หรือ เขียนโปรแกรมเพิ่มเติมในส่วนของ PLC ของเครื่องจักร ป้องกันเคสหนักๆแบบน้องคนนี้กันนะครับ
เรามาพูดถึงเคส เหล่าวิศวกรโรงงาน หรือ จป. ที่คุณเคยปรับปรุงหรือ Improvement มาแชร์กันดีกว่าครับ
เผื่อเป็นประโยชน์ป้องกันอุบัติเหตุและชีวิตได้
ส่วนตัวผม
1.ติด Door switch เอาไฟ 1 เฟสผ่าน NC ของ Door switch ก่อนเข้าMain breaker ถ้าไม่ปิดประตูของเครื่องจักรไม่ทำงาน จะไม่มีไฟจ่ายเข้าระบบ
2. ติดตั้ง Area sensor ของ Sunx และเพิ่มปุ่มอีกปุ่ม ให้ทำงานโดยใช้ 2 มือ และเขียนโปรแกรม PLC เพิ่มว่า ห้ามมีอะไรมาโดน Area sensor ในระยะเวลาที่กำหนด ( ใช้ function timer เข้ามาช่วย เพื่อป้องกันการเผลอของพนักงาน ) จากนั้นให้กดปุ่มสองปุ่ม ( กดปุ่มเดียวทำงานไม่ได้ ) ให้ทำงานตอนปล่อยปุ่มเท่านั้น
3. ติดตั้งCover ที่เป็น สแตนเลส หรืออะคลีริค บริเวณที่มือ นิ้ว จะไปสัมผัสชุดเครื่องกล ที่เครื่องจักรกำลังทำงานเช่น เซอโวมอเตอร์ ใบมีด ความร้อน โดยเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะกับสภาพงาน
4.ติดตั้งเซนเซอร์ ตรงบริเวณเครื่อง Press โดยทำการเจาะรูเบสด้านล่างแล้วใส่เซนเซอร์ ตัวเล็กๆกำหนดระยะ Detect งาน ถ้าไม่มีงาน กดปุ่มเครื่องก็ไม่ทำงาน ก็จะไม่กดลงมาทับมือ
5.ถ้าเครื่องจักรมีความสูงมากเกินกฎหมายกำหนด จนต้องมีบันไดปีนขึ้นควร มีป้ายและแนะนำในการใส่ PPE เช่น Safety belt , แว่น , หมวก safety
6.Create Alarm บนหน้าจอ HMI ของเครื่องจักรถ้า มี Alarm เขียน PLC ให้หยุดเครื่องทุกครั้ง ป้องกันความผิดพลาดของเครื่องจักร
7.ทำ Q point หรือ WI ในข้อควรระวังและการใช้งานเครื่องจักรอย่างถูกต้อง
8.เข้าไปดูในไลน์การผลิตและสังเกตุทุกครั้งเวลาเครื่องทำงานใ้ประเมินความเสี่ยง เช่น น๊อตหลุด น๊อตรูด แบริ่งแตก แกนShaft หัก มันจะส่งผลต่อเครื่องจักรและ Operator อย่างไร เช่น น๊อตล๊อกใบมีดหลวม ทำให้ใบมีดคลายออกจากตัวล๊อก เวลามอเตอร์หมุนทำให้ใบมีดกระเด็น มาโดนตัวพนักงาน วิธีการแก้ไข ทำ Guard cover ป้องกันพนักงาน ทำ Daily PM ตรวจเช็คเครื่องจักรทุกวัน ทุกอาทิตย์ ทุกเดือน เช่น ตรวจน๊อตและสายไฟหลวม weekly PM
สรุป
อันไหนที่ต้องลงทุน ใช้ระบบAutomation เพื่อมาใช้ระบบ Safety ถ้าหาหลายๆวิธีแล้ว แล้วยังราคาสูงห้ามเสียดายตังเด็ดขาด
ถ้ามันส่งผลกระทบต่อชีวิตและกวระบวนการผลิต ควรทำ Analysis ว่าเครื่องนี้เสีย จะส่งผลต่อความเสียหายมากน้อยแค่ไหนในองค์กร โดยคิดเป็นตัวเลข
เช่นถ้าเครื่องจักร A เสีย 1 วันไม่สามารถผลิตงาน ได้ 100,000ชิ้น ขาดรายได้เป็นเงินจำนวน 30 ล้านบาท ถ้า เสีย2 วัน เสียหาย 60 ล้านบาท
แต่ถ้าเรามีการ Improvement M/C หรือทำ PM plan หรือซื้อ Spare part โดยเช็คจาก lifetime ของตัวอุปกรณ์ ควรลงทุนซื้อ อุปกรณ์เพื่อมาทำการปรับปรุง 50,000 บาท เห็นไหมครับ ลงทุนซื้อ 50,000 เราอาจป้องกันความเสียหายได้ 100 ล้านบาท