สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ผมขอตอบในมุมมองของอดีตเจ้าหน้าที่คนหนึ่งของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง เคย มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ
มลพิษสิ่งแวดล้อม พูดง่ายๆ เป็นผู้เก็บกวาดปัญหาที่คนอื่นๆทำไว้
เมื่อพูดถึง EIA ทุกคนก็มักคิดถึง โรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งชาวพันทิปอยากให้เกิด แต่ EIA มันมีความหมายกว้างไปกว่านั้น
ความจริงมีโครงการหลายรูปแบบที่ต้องทำ EIA แม้แต่คอนโดฯ ยังต้องทำ ลองอ่านได้ที่
http://www.onep.go.th/eia/index.php?option=com_content&view=article&id=32&Itemid=128
แต่วันนี้ผมอยากพูดคุยแบบบ้านๆ มากกว่า
หลักการคร่าวๆ ก็คือเมื่อมีใครอยากทำโครงการใหญ่ๆ เช่นคอนโด โรงถลุกเหล็ก โกดังสินค้าขนาดใหญ่ตามประกาศ
ของ สผ. ก็ต้องไปจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญในการทำ EIA
บริษัทเหล่านี้ก็มีอยู่ไม่กี่แห่ง ซึ่งหน้าที่ของบริษัทเหล่านี้ก็คือทำอย่างไรให้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นให้ได้
หลักการคร่าวๆ ก็คือจ้างนักวิชาการ เช่นอาจารย์มหาวิทยาลัยเขียนโครงการขึ้นมา พูดถึงผลกระทบนิดหน่อยๆ
การตรวจสภาพแวดล้อมก็ทำหยาบๆ เช่นกรณีโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งที่นักวิชาการไปชายหาดที่อุดมสมบูรณ์มาก
แล้วอ้างว่าเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม
จากนั้นก็เอางานวิชาการไปทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ประมาณสองครั้ง แล้วก็ส่งให้ คชก. พิจารณา
เนื่องจากบริษัทพวกนี้รู้ว่าถ้าทำตรงๆก็ผ่านยาก บางทีก็จะไม่ทำจริงๆ เช่นอยู่ๆก็หาคนมาเซ็นชื่อขึ้นมาเฉยๆ
หรืออ้างว่าวันนี้ นักวิชาการจะมาทำวิจัย ขอให้พี่น้องมาฟังกันหน่อย ช่วยเซ็นชื่อรับเสื้อด้วยนะ แน่นอนลายเซ็น
นี้ก็แสดงว่าได้มีการทำการรับฟังความคิดเห็นเสร็จแล้วนั่นเอง
คชก. แม้จะเป็นข้าราชประจำซึ่งใจจริงก็ไม่อยากขัดผู้ใหญ่
แต่บางคนก็มองออกว่างานบกพร่องมาก เขาก็ไม่ให้ผ่าน ซึ่งบริษัทก็ต้องกลับเอาไปทำใหม่
ให้ผ่าน นี่คือสาเหตุที่งานช้า ยิ่งถ้ามีม๊อบบ้างไรบ้าง คชก. ก็ยิ่งเกร็ง
จริงๆ แล้วการรับฟังความเห็น ถ้าทำให้ดี สร้างความเข้าใจอย่างแท้จริง และเขียนรายงานให้ดีๆ EIA ก็มักผ่านเสมอ
บริษัทที่ทำ EIA แล้วมักจะผ่านก็คือบริษัทที่ทำโรงงานเคมีและวัสดุก่อสร้างที่พวกเรารู้จักกันดีนั่นแหละ
เพราะมีทีมงานที่ดีขยันลงพื้นที่ ไม่พึ่งบริษัทรับจ้างอย่างเดียว และจ้างนักวิชาการที่มีคุณภาพ
แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ถ้าเขียนลวกๆ ทำการรับฟังความเห็นมั่วๆ แล้วจะผ่านง่าย ความจริงตรงกันข้าม
มีอยู่อย่างหนึ่งจากประสบการณ์ของผมคือ คนที่คัดค้าน EIA หรือก่อม๊อบประท้วง พวกเรา(ชาวพันทิป) มักเข้าใจ
ว่าเป็นคนสายพันธุ์พิเศษ เช่นรับเงินมาจากต่างชาติ หรือเป็นพวกโลกสวยวิ่งในทุ่งลาเวนเดอร์ ความจริงเขาก็เป็นคนธรรมดานี่เอง
แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัย ทูต ดอกเตอร์ ผู้จัดการบริษัทขนาดใหญ่ ก็ยังคัดค้าน หรือมาร่วมก่อม๊อบด้วย
ที่น่าขำก็คือบางคนทำงานให้โครงการหนึ่ง แต่ตนเองกลับมาค้านอีกโครงการหนึ่ง เช่นออกแบบโรงงานที่ต้องผ่าน EIA
แต่ตัวเองค้านคอนโดที่จะสร้างหน้าบ้าน
อีกรายที่เคยเจอคือมีรายหนึ่งเป็นเจ้าของบริษัทรับเหมาติดตั้งเสาโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมักโดนต่อต้านเสมอเวลาทำการรับ
ฟังความเห็น แต่ตัวเองกลับร้องเรียนเรื่องบ่อขยะเทศบาลใกล้บ้าน
บางโครงการมันเน่ามาก แต่สื่อความหมายโลกสวย เช่นพวกโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ
คนที่อ่านสื่อก็ปลื้ม แต่คนที่อยู่แถวนั้นไม่ค่อยปลื้มไปด้วย
ขอออกความเห็นแค่นี้ก่อนนะครับ
มลพิษสิ่งแวดล้อม พูดง่ายๆ เป็นผู้เก็บกวาดปัญหาที่คนอื่นๆทำไว้
เมื่อพูดถึง EIA ทุกคนก็มักคิดถึง โรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งชาวพันทิปอยากให้เกิด แต่ EIA มันมีความหมายกว้างไปกว่านั้น
ความจริงมีโครงการหลายรูปแบบที่ต้องทำ EIA แม้แต่คอนโดฯ ยังต้องทำ ลองอ่านได้ที่
http://www.onep.go.th/eia/index.php?option=com_content&view=article&id=32&Itemid=128
แต่วันนี้ผมอยากพูดคุยแบบบ้านๆ มากกว่า
หลักการคร่าวๆ ก็คือเมื่อมีใครอยากทำโครงการใหญ่ๆ เช่นคอนโด โรงถลุกเหล็ก โกดังสินค้าขนาดใหญ่ตามประกาศ
ของ สผ. ก็ต้องไปจ้างบริษัทที่เชี่ยวชาญในการทำ EIA
บริษัทเหล่านี้ก็มีอยู่ไม่กี่แห่ง ซึ่งหน้าที่ของบริษัทเหล่านี้ก็คือทำอย่างไรให้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นให้ได้
หลักการคร่าวๆ ก็คือจ้างนักวิชาการ เช่นอาจารย์มหาวิทยาลัยเขียนโครงการขึ้นมา พูดถึงผลกระทบนิดหน่อยๆ
การตรวจสภาพแวดล้อมก็ทำหยาบๆ เช่นกรณีโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งที่นักวิชาการไปชายหาดที่อุดมสมบูรณ์มาก
แล้วอ้างว่าเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม
จากนั้นก็เอางานวิชาการไปทำการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ประมาณสองครั้ง แล้วก็ส่งให้ คชก. พิจารณา
เนื่องจากบริษัทพวกนี้รู้ว่าถ้าทำตรงๆก็ผ่านยาก บางทีก็จะไม่ทำจริงๆ เช่นอยู่ๆก็หาคนมาเซ็นชื่อขึ้นมาเฉยๆ
หรืออ้างว่าวันนี้ นักวิชาการจะมาทำวิจัย ขอให้พี่น้องมาฟังกันหน่อย ช่วยเซ็นชื่อรับเสื้อด้วยนะ แน่นอนลายเซ็น
นี้ก็แสดงว่าได้มีการทำการรับฟังความคิดเห็นเสร็จแล้วนั่นเอง
คชก. แม้จะเป็นข้าราชประจำซึ่งใจจริงก็ไม่อยากขัดผู้ใหญ่
แต่บางคนก็มองออกว่างานบกพร่องมาก เขาก็ไม่ให้ผ่าน ซึ่งบริษัทก็ต้องกลับเอาไปทำใหม่
ให้ผ่าน นี่คือสาเหตุที่งานช้า ยิ่งถ้ามีม๊อบบ้างไรบ้าง คชก. ก็ยิ่งเกร็ง
จริงๆ แล้วการรับฟังความเห็น ถ้าทำให้ดี สร้างความเข้าใจอย่างแท้จริง และเขียนรายงานให้ดีๆ EIA ก็มักผ่านเสมอ
บริษัทที่ทำ EIA แล้วมักจะผ่านก็คือบริษัทที่ทำโรงงานเคมีและวัสดุก่อสร้างที่พวกเรารู้จักกันดีนั่นแหละ
เพราะมีทีมงานที่ดีขยันลงพื้นที่ ไม่พึ่งบริษัทรับจ้างอย่างเดียว และจ้างนักวิชาการที่มีคุณภาพ
แต่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ถ้าเขียนลวกๆ ทำการรับฟังความเห็นมั่วๆ แล้วจะผ่านง่าย ความจริงตรงกันข้าม
มีอยู่อย่างหนึ่งจากประสบการณ์ของผมคือ คนที่คัดค้าน EIA หรือก่อม๊อบประท้วง พวกเรา(ชาวพันทิป) มักเข้าใจ
ว่าเป็นคนสายพันธุ์พิเศษ เช่นรับเงินมาจากต่างชาติ หรือเป็นพวกโลกสวยวิ่งในทุ่งลาเวนเดอร์ ความจริงเขาก็เป็นคนธรรมดานี่เอง
แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัย ทูต ดอกเตอร์ ผู้จัดการบริษัทขนาดใหญ่ ก็ยังคัดค้าน หรือมาร่วมก่อม๊อบด้วย
ที่น่าขำก็คือบางคนทำงานให้โครงการหนึ่ง แต่ตนเองกลับมาค้านอีกโครงการหนึ่ง เช่นออกแบบโรงงานที่ต้องผ่าน EIA
แต่ตัวเองค้านคอนโดที่จะสร้างหน้าบ้าน
อีกรายที่เคยเจอคือมีรายหนึ่งเป็นเจ้าของบริษัทรับเหมาติดตั้งเสาโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมักโดนต่อต้านเสมอเวลาทำการรับ
ฟังความเห็น แต่ตัวเองกลับร้องเรียนเรื่องบ่อขยะเทศบาลใกล้บ้าน
บางโครงการมันเน่ามาก แต่สื่อความหมายโลกสวย เช่นพวกโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ
คนที่อ่านสื่อก็ปลื้ม แต่คนที่อยู่แถวนั้นไม่ค่อยปลื้มไปด้วย
ขอออกความเห็นแค่นี้ก่อนนะครับ
แสดงความคิดเห็น
เรามักได้ยินโครงการใหญ่ล่าช้าเพราะติดปัญหาที่ EIA มันเพราะอะไรครับ
ออกตัวนิดเดิมเข้าใจใช้กับโครงการใหญ่ๆเช่นโรงไฟห้า รถไฟฟ้าในเมือง เขื่อน อะไรเเนวนี้ พอค้นในเน็ตเจอว่าคอนโดก็ต้องทำ EIA ด้วย
อยากรู้เหตุที่มันทำให้โครงล่าช้ามันเพราะอะไรครับ ในความคิดผมส่งรายงานให้รัฐ มีคอมเม้นมาก็แก้น่าจะ2 ครั้งจบ
แต่ทำไมถึงกลายเป็นไม่จบง่ายๆต้องแก้กัน6-7 รอบหรือทำใหม่กันไปเลย
ผมไม่ได้อยู่วงการนี้เลยสงสัยครับ