สรุป รัฐบาลพิมพ์เงิน ต้องมีทองคำค้ำหรือไม่? / โดย เพจลงทุนแมน
น่าจะยังมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่า
รัฐบาลพิมพ์เงินมาเรื่อยๆได้หรือไม่
ต้องมีทองคำมาค้ำประกันเท่ากับจำนวนที่พิมพ์หรือเปล่า?
ถ้าอ่านบทความนี้จบ เราน่าจะหายสงสัยเรื่องนี้กัน..
วันนี้ลงทุนแมนจะนำทุกท่านไปทำความรู้จักที่มาของ “เงิน” และระบบการเงินโลกกัน ว่าสกุลเงินต่างๆที่เราใช้อยู่นั้นมีที่มาอย่างไร?
เงินคืออะไร?
เงินนั้นทำหน้าที่หลักๆในการเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้ากัน แทนที่จะขนไก่ใส่รถไปสักร้อยตัว เพื่อไปแลกวัว เราก็ใช้การขายไก่ แล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อวัวมาแทน ทั้งพกง่ายและสะดวกสะบายกว่ากันมาก
ประเด็นที่สำคัญที่สุดของการทำหน้าที่เงินตราคือ “ความเชื่อมั่น” ในเงินนั้นๆ
เมื่อเราขายสินค้าเพื่อแลกกับเงิน เราย่อมต้องการความแน่ใจว่าเงินนั้นสามารถนำไปแลกเป็นสินค้าอื่นๆที่เราต้องการต่อไปได้
ในสมัยโบราณมนุษย์จึงใช้สิ่งที่เชื่อว่ามี “มูลค่า” มากในการมาเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนเช่น แร่เงิน ทอง โลหะมีค่าต่างๆหรือแม้แต่เกลือ
เบื้องหลังความเชื่อว่าของสิ่งนั้นมีมูลค่า ก็คือ ของสิ่งนั้นหาได้ยากในโลกนี้ หรือ มีจำนวนจำกัด
ต่อมาเมื่อการค้าได้เฟื่องฟูขึ้นทองคำได้กลายมาเป็นสื่อกลางที่สำคัญในการค้าขาย ทองคำนั้นถูกยอมรับโดยคนส่วนใหญ่ในโลกว่าเป็น “สิ่งมีค่า”
อย่างไรก็ตามทองคำนั้นยังมีความลำบากในการพกพาและใช้งาน สมมติว่าเหรียญทองเหรียญหนึ่งมีค่าเท่ากับไก่ 100 ตัว ดังนั้นเมื่อเราจะซื้อไก่แค่ตัวเดียว เราคงต้องแบ่งเหรียญทองนั้นเป็น 1 ใน 100 ส่วน ความวุ่นวายคงจะมาเยือนทันที
แล้วมนุษย์แก้ปัญหานี้อย่างไร
แทนที่จะพกเหรียญทองแหว่งๆเต็มกระเป๋า มนุษย์ได้ประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่า “สกุลเงิน” ต่างๆขึ้นในรูปเหรียญตรา หรือธนบัตรเพื่อเป็นตัวแทนของทองคำเหล่านั้น เช่นเงิน 100 บาทมีค่าเท่ากับทอง 1 เหรียญ
ดังนั้นเมื่อเราจะซื้อไก่หนึ่งตัวก็เพียงแค่จ่ายเงิน 1 บาทแลกกับไก่ตัวนั้นได้อย่างสะดวกง่ายดาย
เงินในยุคแรกจึงทำหน้าที่เหมือน “ใบแทนทองคำ” ที่นำไปแลกกลับเป็นทองได้ ตามที่มูลค่าของเงินสกุลนั้นกำหนดไว้
ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอังกฤษได้นำ “ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard)” มาใช้โดยผูกกับเงินปอนด์ของตน
ในช่วงเวลานั้นประเทศอังกฤษเป็นศูนย์กลางการเงินที่สำคัญที่สุดของโลกเนื่องจากอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคม และเป็นผู้นำในทางทหาร การเมือง ด้วยอิทธิพลความเป็นประเทศมหาอำนาจ
มาตรฐานทองคำ และเงินปอนด์ของอังกฤษจึงได้รับความนิยมไปทั่วโลกในฐานะสกุลเงินหลักของโลก
ตามมาตรฐานทองคำนั้นเงินจะถูกพิมพ์ออกมาโดยเลื่อนลอยไม่ได้ หากแต่ต้องมีทองคำเป็นตัวหนุนหลังในฐานะ “ใบแทนทองคำ” อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้
แต่จุดเปลี่ยนของมาตรฐานนี้ได้มาถึงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ในช่วงเวลาสงครามนั้น รัฐบาลของประเทศต่างๆ มักจะห้ามการนำเข้าหรือส่งออกทองคำ เนื่องจากต้องการเก็บทองคำไว้ในประเทศของตนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการซื้อสินค้าหรือแม้แต่อาวุธที่จำเป็นในยามสงคราม เนื่องจากประเทศต่างๆนั้นเชื่อมั่นทองคำที่เป็นตัวหนุนหลังมากกว่าเงินต่างประเทศ
เรื่องนี้ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนทองคำขึ้น ซึ่งนำไปสู่ระบบการเงินใหม่คือ “มาตราปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard)”
แนวคิดนี้คือ แทนที่ทุกประเทศจะต้องถือครอบทองคำไว้ ก็ให้มีเพียงประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งและเป็นศูนย์กลางการเงิน เป็นผู้ถือทองคำแทนที่ประเทศอื่นๆ
ส่วนประเทศอื่นๆนั้นก็เพียงแต่นำเงินของประเทศศูนย์กลางนี้ไปถือไว้แทนทองคำเท่านั้น
โดยในระยะนี้เองที่อังกฤษในฐานะมหาอำนาจเก่า เริ่มสูญเสียความเป็นพี่ใหญ่ของโลกให้กับประเทศเกิดใหม่อย่าง “สหรัฐอเมริกา” และเงินที่ใช้เป็นตัวกลางที่สำคัญของโลก ได้ค่อยๆเปลี่ยนจากเงิน “ปอนด์” เป็น “ดอลลาร์สหรัฐ” จนถึงปัจจุบัน
และในขณะเดียวกันประเทศต่างๆก็ยอมที่จะถือเงินดอลลาร์สหรัฐ แทนการถือทองคำ
ระยะแรกนั้นเงินดอลลาร์นั้นสามารถถูกนำกลับไปแลกกลับเป็นทองคำได้ ในฐานะใบแทนทองคำ
อย่างไรก็ตามเนื่องจากในเวลาต่อมานั้นมีการพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาเกินกว่าปริมาณทองคำที่มีอยู่อย่างมหาศาล ทำให้หากมีการแลกเงินกลับเป็นทองคำนั้น รัฐบาลสหรัฐไม่สามารถหาทองคำที่มีมูลค่าเท่ากันมาคืนให้ได้
มีการประมาณการว่ารัฐบาลสหรัฐได้พิมพ์เงินออกมาเป็นมูลค่าเท่ากับทองคำอย่างน้อย 30,000 ตันในขณะที่ทองจริงๆนั้นมีเพียงราว 6,000 ตันเท่านั้น
แล้วรัฐบาลสหรัฐแก้ปัญหาการมีทองคำไม่พออย่างไร?
คำตอบง่ายๆก็คือ ยกเลิกการผูกติดเงินดอลลาร์กับทองคำ
จะยกเลิกได้อย่างไร? ก็ต้องทำให้คนมีทองคำในมือน้อยที่สุด และให้คนใช้เงินดอลลาร์กันเป็นหลัก
ในปี 1933 ตอนนั้นเงินดอลลาร์สหรัฐยังแลกกลับเป็นทองคำได้
รัฐบาลสหรัฐออกกฎหมายห้ามกักตุนทองคำ โดยใครที่มีทองคำในครอบครองเกิน 100 ดอลลาร์ต้องนำไปแลกเป็นเงิน ภายใน 1 พฤษภาคม 1933
วันที่ 5 มิถุนาปีเดียวกัน ได้มีกฏหมายห้ามเจ้าหนี้เรียกคืนหนี้ ในรูปแบบทองคำออกมา และให้เรียกคืนหนี้ในรูปแบบเงินดอลลาร์เท่านั้น
ใครเป็นลูกหนี้ที่มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา?
คำตอบอาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่ลูกหนี้ที่สำคัญที่สุด ก็คือ ตัวรัฐบาล และธนาคารกลางอเมริกา เอง ที่เป็นหนี้ผ่านการออกพันธบัตรต่างๆเพื่อมาใช้จ่ายภาครัฐ
และตั้งแต่นั้นมาก็ถือได้ว่าสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มต้นออกจากมาตรฐานทองคำอย่างเต็มตัว
ถ้าเป็นประเทศอื่นคงทำแบบนี้ไม่ได้ ยกเว้นที่ประเทศที่มีสฝเสถียรภาพ และความมั่นคงสูงที่สุดในโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ถึงแม้จะยกเลิกมาตรฐานทองคำแล้ว คนก็ยังเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์อยู่
จนในปี 1971 ประธานาธิปดีนิกสัน ได้ประกาศเลิกรับแลกดอลลาร์สหรัฐกับทองคำโดยสิ้นเชิง
นับแต่นั้น แม้แต้รัฐบาลต่างชาติก็ไม่สามารถแลกเงินดอลลาร์กลับเป็นทองได้อีกต่อไป
นับว่าทองคำได้จบการทำหน้าที่เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศโดยสมบูรณ์
โดยสิ่งที่เป็นหลักค้ำประกัน หนุนหลังแทนทองคำนั้นคือ เงินตราสำรองต่างประเทศเท่านั้น ไม่ต้องใช้ทองคำอีกต่อไปโดยที่ เงินตราสำรองต่างประเทศ เกือบทุกประเทศก็จะมีเงินดอลลาร์ หรือ พันธบัตรรัฐบาล ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
อาจจะมีบ้างที่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังเป็นรูปแบบทองคำ แต่ก็ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก
ประเทศที่มีเงินสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลกตอนนี้ คือ ประเทศจีน ซึ่งมีมากถึง 100 ล้านล้านบาท
ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 12 มีเงินสำรองระหว่างประเทศ 8 ล้านล้านบาท
แล้วสหรัฐอเมริกา มีเงินสำรองระหว่างประเทศเท่าไร?
คำตอบที่ได้อาจจะทำให้เราตกใจ เพราะ สหรัฐอเมริกา มีเงินสำรองระหว่างประเทศเพียง 4 ล้านล้านบาท น้อยกว่าประเทศไทยเสียอีก
ปัจจุบันในด้านการเงินระหว่างประเทศนั้นส่วนใหญ่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว กล่าวคือสกุลเงินของแต่ละประเทศนั้นจะเคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดอย่างอิสระ
โดยมีสกุลเงินหลักคือ ดอลลาร์สหรัฐ ในการเป็นตัวกลางที่สำคัญในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลก
สรุปแล้วถ้าจะให้ตอบคำถามหัวข้อนี้ก็คือ รัฐบาลพิมพ์เงิน ไม่ต้องมีทองคำมาค้ำอีกต่อไปแล้ว
เมื่อประเทศไหนพิมพ์เงินมากไป ก็จะทำให้เกิดเงินเฟ้อไปเองโดยอัตโนมัติ (ยกเว้นตัวประเทศสหรัฐอเมริกาเอง)
เงินเฟ้อวัดกันที่อัตราแลกเปลี่ยน ของสกุลเงินประเทศนั้น ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ
พอเข้าใจเรื่องนี้แล้ว ก็จะทำให้เรารู้ว่า ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา ลอยตัวอยู่เหนือประเทศอื่นในเรื่องทางการเงินมาตลอด
มีหลายคนคาดการณ์อยู่ตลอดเวลาว่า สหรัฐอเมริกา ใกล้จะระเบิดแล้ว ประเทศมีหนี้มหาศาล ค่าเงินดอลลาร์จะต้องลดลงในอนาคต
แต่ก็มีบางคนออกมาแย้งว่าเป็นไปไม่ได้หรอก ค่าเงินดอลลาร์ได้แทรกซึมอยู่ในสินค้าทุกอย่างบนโลกนี้แล้ว ตั้งแต่ การซื้อน้ำมัน ทองคำ เหล็ก ถ่านหิน จะซื้อขายกันที่เงินดอลลาร์ทั้งหมด
และถ้าวันไหนที่เงินดอลลาร์หมดค่าไป
คนที่จะกระทบมากที่สุด ไม่ใช่ตัวสหรัฐอเมริกา
แต่จะเป็นทุกประเทศที่เหลือ
เพราะทุกประเทศมีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวนมหาศาลที่อยู่ในรูปของเงินดอลลาร์..
----------------------
ถ้าชอบเรื่องแบบนี้ ให้ติดตามได้ที่แอปพลิเคชั่น ลงทุนแมน
----------------------
ขอบคุณเพจลงทุนแมนด้วยครับ ย่อยให้เคี้ยวได้ง่าย อ่านจบหูตาสว่างเหมือนเปิดของคว่ำให้หงายกันเลยทีเดียว😂
บทความว่าด้วยเรื่อง...รัฐบาลพิมพ์เงิน ต้องมีทองคำค้ำหรือไม่? / By เพจลงทุนแมน
น่าจะยังมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่า
รัฐบาลพิมพ์เงินมาเรื่อยๆได้หรือไม่
ต้องมีทองคำมาค้ำประกันเท่ากับจำนวนที่พิมพ์หรือเปล่า?
ถ้าอ่านบทความนี้จบ เราน่าจะหายสงสัยเรื่องนี้กัน..
วันนี้ลงทุนแมนจะนำทุกท่านไปทำความรู้จักที่มาของ “เงิน” และระบบการเงินโลกกัน ว่าสกุลเงินต่างๆที่เราใช้อยู่นั้นมีที่มาอย่างไร?
เงินคืออะไร?
เงินนั้นทำหน้าที่หลักๆในการเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนสินค้ากัน แทนที่จะขนไก่ใส่รถไปสักร้อยตัว เพื่อไปแลกวัว เราก็ใช้การขายไก่ แล้วนำเงินที่ได้ไปซื้อวัวมาแทน ทั้งพกง่ายและสะดวกสะบายกว่ากันมาก
ประเด็นที่สำคัญที่สุดของการทำหน้าที่เงินตราคือ “ความเชื่อมั่น” ในเงินนั้นๆ
เมื่อเราขายสินค้าเพื่อแลกกับเงิน เราย่อมต้องการความแน่ใจว่าเงินนั้นสามารถนำไปแลกเป็นสินค้าอื่นๆที่เราต้องการต่อไปได้
ในสมัยโบราณมนุษย์จึงใช้สิ่งที่เชื่อว่ามี “มูลค่า” มากในการมาเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนเช่น แร่เงิน ทอง โลหะมีค่าต่างๆหรือแม้แต่เกลือ
เบื้องหลังความเชื่อว่าของสิ่งนั้นมีมูลค่า ก็คือ ของสิ่งนั้นหาได้ยากในโลกนี้ หรือ มีจำนวนจำกัด
ต่อมาเมื่อการค้าได้เฟื่องฟูขึ้นทองคำได้กลายมาเป็นสื่อกลางที่สำคัญในการค้าขาย ทองคำนั้นถูกยอมรับโดยคนส่วนใหญ่ในโลกว่าเป็น “สิ่งมีค่า”
อย่างไรก็ตามทองคำนั้นยังมีความลำบากในการพกพาและใช้งาน สมมติว่าเหรียญทองเหรียญหนึ่งมีค่าเท่ากับไก่ 100 ตัว ดังนั้นเมื่อเราจะซื้อไก่แค่ตัวเดียว เราคงต้องแบ่งเหรียญทองนั้นเป็น 1 ใน 100 ส่วน ความวุ่นวายคงจะมาเยือนทันที
แล้วมนุษย์แก้ปัญหานี้อย่างไร
แทนที่จะพกเหรียญทองแหว่งๆเต็มกระเป๋า มนุษย์ได้ประดิษฐ์สิ่งที่เรียกว่า “สกุลเงิน” ต่างๆขึ้นในรูปเหรียญตรา หรือธนบัตรเพื่อเป็นตัวแทนของทองคำเหล่านั้น เช่นเงิน 100 บาทมีค่าเท่ากับทอง 1 เหรียญ
ดังนั้นเมื่อเราจะซื้อไก่หนึ่งตัวก็เพียงแค่จ่ายเงิน 1 บาทแลกกับไก่ตัวนั้นได้อย่างสะดวกง่ายดาย
เงินในยุคแรกจึงทำหน้าที่เหมือน “ใบแทนทองคำ” ที่นำไปแลกกลับเป็นทองได้ ตามที่มูลค่าของเงินสกุลนั้นกำหนดไว้
ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอังกฤษได้นำ “ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard)” มาใช้โดยผูกกับเงินปอนด์ของตน
ในช่วงเวลานั้นประเทศอังกฤษเป็นศูนย์กลางการเงินที่สำคัญที่สุดของโลกเนื่องจากอังกฤษเป็นเจ้าอาณานิคม และเป็นผู้นำในทางทหาร การเมือง ด้วยอิทธิพลความเป็นประเทศมหาอำนาจ
มาตรฐานทองคำ และเงินปอนด์ของอังกฤษจึงได้รับความนิยมไปทั่วโลกในฐานะสกุลเงินหลักของโลก
ตามมาตรฐานทองคำนั้นเงินจะถูกพิมพ์ออกมาโดยเลื่อนลอยไม่ได้ หากแต่ต้องมีทองคำเป็นตัวหนุนหลังในฐานะ “ใบแทนทองคำ” อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้
แต่จุดเปลี่ยนของมาตรฐานนี้ได้มาถึงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ในช่วงเวลาสงครามนั้น รัฐบาลของประเทศต่างๆ มักจะห้ามการนำเข้าหรือส่งออกทองคำ เนื่องจากต้องการเก็บทองคำไว้ในประเทศของตนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการซื้อสินค้าหรือแม้แต่อาวุธที่จำเป็นในยามสงคราม เนื่องจากประเทศต่างๆนั้นเชื่อมั่นทองคำที่เป็นตัวหนุนหลังมากกว่าเงินต่างประเทศ
เรื่องนี้ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนทองคำขึ้น ซึ่งนำไปสู่ระบบการเงินใหม่คือ “มาตราปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard)”
แนวคิดนี้คือ แทนที่ทุกประเทศจะต้องถือครอบทองคำไว้ ก็ให้มีเพียงประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งและเป็นศูนย์กลางการเงิน เป็นผู้ถือทองคำแทนที่ประเทศอื่นๆ
ส่วนประเทศอื่นๆนั้นก็เพียงแต่นำเงินของประเทศศูนย์กลางนี้ไปถือไว้แทนทองคำเท่านั้น
โดยในระยะนี้เองที่อังกฤษในฐานะมหาอำนาจเก่า เริ่มสูญเสียความเป็นพี่ใหญ่ของโลกให้กับประเทศเกิดใหม่อย่าง “สหรัฐอเมริกา” และเงินที่ใช้เป็นตัวกลางที่สำคัญของโลก ได้ค่อยๆเปลี่ยนจากเงิน “ปอนด์” เป็น “ดอลลาร์สหรัฐ” จนถึงปัจจุบัน
และในขณะเดียวกันประเทศต่างๆก็ยอมที่จะถือเงินดอลลาร์สหรัฐ แทนการถือทองคำ
ระยะแรกนั้นเงินดอลลาร์นั้นสามารถถูกนำกลับไปแลกกลับเป็นทองคำได้ ในฐานะใบแทนทองคำ
อย่างไรก็ตามเนื่องจากในเวลาต่อมานั้นมีการพิมพ์เงินดอลลาร์ออกมาเกินกว่าปริมาณทองคำที่มีอยู่อย่างมหาศาล ทำให้หากมีการแลกเงินกลับเป็นทองคำนั้น รัฐบาลสหรัฐไม่สามารถหาทองคำที่มีมูลค่าเท่ากันมาคืนให้ได้
มีการประมาณการว่ารัฐบาลสหรัฐได้พิมพ์เงินออกมาเป็นมูลค่าเท่ากับทองคำอย่างน้อย 30,000 ตันในขณะที่ทองจริงๆนั้นมีเพียงราว 6,000 ตันเท่านั้น
แล้วรัฐบาลสหรัฐแก้ปัญหาการมีทองคำไม่พออย่างไร?
คำตอบง่ายๆก็คือ ยกเลิกการผูกติดเงินดอลลาร์กับทองคำ
จะยกเลิกได้อย่างไร? ก็ต้องทำให้คนมีทองคำในมือน้อยที่สุด และให้คนใช้เงินดอลลาร์กันเป็นหลัก
ในปี 1933 ตอนนั้นเงินดอลลาร์สหรัฐยังแลกกลับเป็นทองคำได้
รัฐบาลสหรัฐออกกฎหมายห้ามกักตุนทองคำ โดยใครที่มีทองคำในครอบครองเกิน 100 ดอลลาร์ต้องนำไปแลกเป็นเงิน ภายใน 1 พฤษภาคม 1933
วันที่ 5 มิถุนาปีเดียวกัน ได้มีกฏหมายห้ามเจ้าหนี้เรียกคืนหนี้ ในรูปแบบทองคำออกมา และให้เรียกคืนหนี้ในรูปแบบเงินดอลลาร์เท่านั้น
ใครเป็นลูกหนี้ที่มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา?
คำตอบอาจจะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่ลูกหนี้ที่สำคัญที่สุด ก็คือ ตัวรัฐบาล และธนาคารกลางอเมริกา เอง ที่เป็นหนี้ผ่านการออกพันธบัตรต่างๆเพื่อมาใช้จ่ายภาครัฐ
และตั้งแต่นั้นมาก็ถือได้ว่าสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มต้นออกจากมาตรฐานทองคำอย่างเต็มตัว
ถ้าเป็นประเทศอื่นคงทำแบบนี้ไม่ได้ ยกเว้นที่ประเทศที่มีสฝเสถียรภาพ และความมั่นคงสูงที่สุดในโลกอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ถึงแม้จะยกเลิกมาตรฐานทองคำแล้ว คนก็ยังเชื่อมั่นในเงินดอลลาร์อยู่
จนในปี 1971 ประธานาธิปดีนิกสัน ได้ประกาศเลิกรับแลกดอลลาร์สหรัฐกับทองคำโดยสิ้นเชิง
นับแต่นั้น แม้แต้รัฐบาลต่างชาติก็ไม่สามารถแลกเงินดอลลาร์กลับเป็นทองได้อีกต่อไป
นับว่าทองคำได้จบการทำหน้าที่เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศโดยสมบูรณ์
โดยสิ่งที่เป็นหลักค้ำประกัน หนุนหลังแทนทองคำนั้นคือ เงินตราสำรองต่างประเทศเท่านั้น ไม่ต้องใช้ทองคำอีกต่อไปโดยที่ เงินตราสำรองต่างประเทศ เกือบทุกประเทศก็จะมีเงินดอลลาร์ หรือ พันธบัตรรัฐบาล ของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก
อาจจะมีบ้างที่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังเป็นรูปแบบทองคำ แต่ก็ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก
ประเทศที่มีเงินสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลกตอนนี้ คือ ประเทศจีน ซึ่งมีมากถึง 100 ล้านล้านบาท
ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 12 มีเงินสำรองระหว่างประเทศ 8 ล้านล้านบาท
แล้วสหรัฐอเมริกา มีเงินสำรองระหว่างประเทศเท่าไร?
คำตอบที่ได้อาจจะทำให้เราตกใจ เพราะ สหรัฐอเมริกา มีเงินสำรองระหว่างประเทศเพียง 4 ล้านล้านบาท น้อยกว่าประเทศไทยเสียอีก
ปัจจุบันในด้านการเงินระหว่างประเทศนั้นส่วนใหญ่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว กล่าวคือสกุลเงินของแต่ละประเทศนั้นจะเคลื่อนไหวไปตามกลไกตลาดอย่างอิสระ
โดยมีสกุลเงินหลักคือ ดอลลาร์สหรัฐ ในการเป็นตัวกลางที่สำคัญในฐานะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลก
สรุปแล้วถ้าจะให้ตอบคำถามหัวข้อนี้ก็คือ รัฐบาลพิมพ์เงิน ไม่ต้องมีทองคำมาค้ำอีกต่อไปแล้ว
เมื่อประเทศไหนพิมพ์เงินมากไป ก็จะทำให้เกิดเงินเฟ้อไปเองโดยอัตโนมัติ (ยกเว้นตัวประเทศสหรัฐอเมริกาเอง)
เงินเฟ้อวัดกันที่อัตราแลกเปลี่ยน ของสกุลเงินประเทศนั้น ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ
พอเข้าใจเรื่องนี้แล้ว ก็จะทำให้เรารู้ว่า ตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา ลอยตัวอยู่เหนือประเทศอื่นในเรื่องทางการเงินมาตลอด
มีหลายคนคาดการณ์อยู่ตลอดเวลาว่า สหรัฐอเมริกา ใกล้จะระเบิดแล้ว ประเทศมีหนี้มหาศาล ค่าเงินดอลลาร์จะต้องลดลงในอนาคต
แต่ก็มีบางคนออกมาแย้งว่าเป็นไปไม่ได้หรอก ค่าเงินดอลลาร์ได้แทรกซึมอยู่ในสินค้าทุกอย่างบนโลกนี้แล้ว ตั้งแต่ การซื้อน้ำมัน ทองคำ เหล็ก ถ่านหิน จะซื้อขายกันที่เงินดอลลาร์ทั้งหมด
และถ้าวันไหนที่เงินดอลลาร์หมดค่าไป
คนที่จะกระทบมากที่สุด ไม่ใช่ตัวสหรัฐอเมริกา
แต่จะเป็นทุกประเทศที่เหลือ
เพราะทุกประเทศมีเงินสำรองระหว่างประเทศจำนวนมหาศาลที่อยู่ในรูปของเงินดอลลาร์..
----------------------
ถ้าชอบเรื่องแบบนี้ ให้ติดตามได้ที่แอปพลิเคชั่น ลงทุนแมน
----------------------
ขอบคุณเพจลงทุนแมนด้วยครับ ย่อยให้เคี้ยวได้ง่าย อ่านจบหูตาสว่างเหมือนเปิดของคว่ำให้หงายกันเลยทีเดียว😂