อีอีซีผลักดันแนวคิดระเบียงเศรษฐกิจทั่วไทย

ระเบียงเศรษฐกิจ เป็นคำที่คนไทยยุคนี้เริ่มคุ้นเคยกันแล้ว ซึ่งนโยบายระเบียงเศรษฐกิจมีขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในโซนเอเชียและอัฟริกา โดยเป็นการพัฒนาพื้นที่ที่ถูกกำหนดขึ้น เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เน้นหนักทางด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลักก่อน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงในกิจกรรมส่วนอื่น ๆ ได้มากขึ้น


โครงสร้างพื้นฐานที่ดีจะครอบคลุมทุกระบบที่เกี่ยวข้อง ทั้งทางถนนปกติ ทางด่วน ทางรถไฟ ท่าเรือ และสนามบิน โดยสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่อื่น ๆ โดยรอบ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ส่วนกิจกรรมในระเบียงเศรษฐกิจจะมีทั้งอุตสาหกรรม เทคโนโลยี บริการ การขนส่ง ฯลฯ โดยนอกจากจะคำนึงถึงด้านธุรกิจแล้ว ยังต้องสนใจด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กันด้วย เพื่อให้ครอบคลุมการพัฒนาทุกด้าน โดยไม่ทิ้งด้านใดด้านหนึ่งไว้

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังดำเนินโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ในเขต 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพอยู่แล้ว เมื่อมีการต่อยอดการพัฒนา จึงได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยมีนักลงทุนจากต่างประเทศสนใจเข้ามาลงทุน และเสนอขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอจำนวนมาก



เมื่อแนวคิดโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกถูกนำมาพัฒนาให้เป็นรูปธรรม และมีแนวโน้มที่ดี จึงทำให้เกิดแนวคิดในการต่อยอดระเบียงเศรษฐกิจไปยังพื้นที่อื่น ๆ อีก เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่ สร้างโอกาสในการจ้างงาน และการกระจายรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่หัวเมืองสำคัญ  

โดยสมาคมการผังเมืองไทยเห็นว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีศักยภาพที่จะทำระเบียงเศรษฐกิจได้อีกหลายแห่ง จึงจะเสนอรัฐบาลให้พิจาณาผลักดันให้เกิดขึ้นอีกอย่างน้อย 5 แห่งจากทั้งหมด 15 แห่ง ได้แก่

1. ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. กำลังศึกษาอยู่
2. ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย)
3. ระเบียงเศรษฐกิจภาคกลางตอนบน (สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว)
4. ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (พัทลุง หาดใหญ่ สะเดา)
5. ระเบียงเศรษฐกิจเพื่อการท่องเที่ยวภาคใต้ (ภูเก็ต พังงา และกระบี่)

การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ 15 แห่ง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


หากแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจทั่วทุกภาคของไทยสามารถเกิดขึ้นจริงได้ จะเป็นการพัฒนาประเทศอย่างก้าวกระโดด แม้จะใช้ระยะเวลานาน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันจนเกินไป และทำให้เกิดความหวังของการพึ่งพาตนเองได้ยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคนี้ ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมไปด้วยกัน ซึ่งหากไม่พัฒนาหรือไม่เปลี่ยนแปลงก็เท่ากับการย่ำอยู่กับที่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาจะเป็นส่วนที่ทำให้ประเทศไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง และจะไม่ใช่แค่เรื่องเพ้อฝัน หากเราทุกคนร่วมมือร่วมใจทำไปด้วยกัน



[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่