เมื่อลูกสุดที่รักมีอาการไข้ ตัวร้อน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะมีความกังวลมาก เพราะไม่รู้จะทำอย่างไรดี จะให้ยาแก้ไข้
ก็ไม่รู้ว่าจะใช้ยาอะไรดี พอไปซื้อยาจากร้านขายยามาก็ไม่รู้ว่าจะให้เท่าไรดี เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ ยิ่งถ้าเป็นลูกเล็กมาก
อายุไม่กี่เดือนก็จะกลัวไปสารพัด จะถามหมอเด็กก็ยังไม่รู้จักใคร เพราะยังไม่เคยพาไปหาหมอตั้งแต่เกิดเลย เครียดมาก!
คุณพ่อคุณแม่ ต้องพยายามทำความเข้าใจกับบทความนี้ให้ดีนะคะ เพราะจะช่วยให้คุณได้ปฏิบัติกับลูกสุดรักของคุณ
ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
เริ่มแรก เมื่อมีลูกคุณควรจะพิจารณาตั้งแต่หลังคลอด ว่าควรจะมีปรอทวัดไข้ส่วนตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่คุณถนัดและเหมาะสม
ถ้าหากสงสัยว่าลูกคุณจะมีไข้ก็สามารถวัดได้ทันที คุณจะได้รู้ว่าลูกคุณมีไข้หรือไม่ หากอุณหภูมิเกิน 37 ◦C หรือ 98.6 ◦F
แสดงว่าลูกของคุณมีไข้ค่ะ
ต่อมาคือ ต้องมียาแก้ไข้ให้ลูก และต้องรู้ว่ายาแก้ไข้มีกี่แบบ ต้องศึกษาไว้บ้างพอสมควรเราจะได้ไม่ตื่นเต้นเมื่อเวลาจะให้ยาลูก
ยาแก้ไข้มีตัวยาอยู่ 2 แบบ คือ
พาราเซทามอล (Paracetamol) ควรให้ลูกในปริมาณ 10 มก./กก./ครั้ง โดยต้องดูว่าที่ขวดยาที่มีอยู่ว่ามีปริมาณของตัวยาเท่าใด
ถ้ามี 100 mg ต่อ 1 cc ก็ให้ 0.1 cc.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แล้วให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง เช่น ถ้าลูกหนัก12 กิโลกรัม
มีไข้ก็ให้ 1.2 cc.ต่อครั้ง ถ้าลูกโตทานยาเม็ดได้ก็ให้เป็นแบบเม็ดซึ่งมีขนาดเม็ดละ 325 mg หรือเม็ดละ 500 mg
ซึ่งต้องให้ตามน้ำหนักของลูกนะคะ
ในกรณีที่มีไข้สูงหลังใช้พาราเซทามอลแล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ใช้ตัวยา ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) แทนค่ะ
ซึ่งมีทั้งแบบน้ำและแบบเม็ด ใช้ประมาณ 30 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ยาน้ำมีความเข้มข้น 100 mg ต่อ 5 cc.
หลังจากการคำนวณให้ตามน้ำหนักตัวและแบ่งให้ได้ทุก 4-6 ชม. จะได้ประมาณ 1/3 ของน้ำหนักตัวเป็นการจำง่ายๆ
เช่น เด็กหนัก 21 กิโลกรัมก็ให้ครั้งละ 7 cc. ซ้ำได้ทุก 4-6 ชม.
ในการปฏิบัติ แนะนำให้ผู้ปกครองที่ดูแลลูกให้ศึกษาการให้ยาทั้ง 2 ชนิด ให้เข้าใจนะคะว่ายาแก้ไข้ทั้ง 2 แบบ
สามารถให้สลับหรือให้เสริมกันได้ ในกรณีที่ลูกมีไข้สูงไม่ลด เช่น
เวลา8.00 น. วัดอุณหภูมิลูกแล้วพบว่ามีไข้วัดได้ 38◦C ให้ยาพาราเซทามอลตามน้ำหนักตัว หลังจากให้ยาแล้วควรเช็ดตัวลูกบริเวณที่ร้อน
ไม่จำเป็นต้องเช็ดตัวบริเวณที่เย็น เพราะจะไม่ได้ลดความร้อนออกจากตัว
เวลา 9.00 น. วัดไข้ซ้ำดูว่าไข้ลดลงหรือไม่ ถ้าหากอาการไข้ไม่ลดลง ควรเช็ดตัวบริเวณที่ร้อนซ้ำอีกครั้งนะคะ
เวลา10.00 น. วัดไข้ซ้ำถ้าไม่ลดควรพิจารณาให้ยาแก้ไข้สูงเพื่อลดไข้
เวลา11.00 น. วัดไข้ซ้ำ ถ้าไม่ลดเช็ดตัวซ้ำ
เวลา12 .00 น. ถ้ายังมีไข้ให้ยาลดไข้พาราเซทามอลซ้ำได้ เพราะห่างจากครั้งแรก 4 ชม.แล้ว
หลังจากนี้ปฏิบัติต่อเหมือนเดิม ถ้าถึง
เวลา 14.00 น. ถ้ายังมีไข้สูงก็พิจารณาให้ยาไข้สูงซ้ำได้
ถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถคุมการดูแลได้แบบนี้ไปตลอด ลูกคุณก็จะปลอดภัยและความเสี่ยงที่จะเกิดการชักเกร็งจากไข้
จะมีน้อย แต่ถ้าหากทำทุกอย่างแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ไข้ไม่ลด ควรพาลูกน้อยพบกุมารแพทย์เพื่อวินิจฉัยรักษาต่อไปค่ะ
ทำอย่างไรเมื่อลูกรักมีไข้ ?
เมื่อลูกสุดที่รักมีอาการไข้ ตัวร้อน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะมีความกังวลมาก เพราะไม่รู้จะทำอย่างไรดี จะให้ยาแก้ไข้
ก็ไม่รู้ว่าจะใช้ยาอะไรดี พอไปซื้อยาจากร้านขายยามาก็ไม่รู้ว่าจะให้เท่าไรดี เพราะไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ ยิ่งถ้าเป็นลูกเล็กมาก
อายุไม่กี่เดือนก็จะกลัวไปสารพัด จะถามหมอเด็กก็ยังไม่รู้จักใคร เพราะยังไม่เคยพาไปหาหมอตั้งแต่เกิดเลย เครียดมาก!
คุณพ่อคุณแม่ ต้องพยายามทำความเข้าใจกับบทความนี้ให้ดีนะคะ เพราะจะช่วยให้คุณได้ปฏิบัติกับลูกสุดรักของคุณ
ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
เริ่มแรก เมื่อมีลูกคุณควรจะพิจารณาตั้งแต่หลังคลอด ว่าควรจะมีปรอทวัดไข้ส่วนตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วแต่คุณถนัดและเหมาะสม
ถ้าหากสงสัยว่าลูกคุณจะมีไข้ก็สามารถวัดได้ทันที คุณจะได้รู้ว่าลูกคุณมีไข้หรือไม่ หากอุณหภูมิเกิน 37 ◦C หรือ 98.6 ◦F
แสดงว่าลูกของคุณมีไข้ค่ะ
ต่อมาคือ ต้องมียาแก้ไข้ให้ลูก และต้องรู้ว่ายาแก้ไข้มีกี่แบบ ต้องศึกษาไว้บ้างพอสมควรเราจะได้ไม่ตื่นเต้นเมื่อเวลาจะให้ยาลูก
ยาแก้ไข้มีตัวยาอยู่ 2 แบบ คือ
พาราเซทามอล (Paracetamol) ควรให้ลูกในปริมาณ 10 มก./กก./ครั้ง โดยต้องดูว่าที่ขวดยาที่มีอยู่ว่ามีปริมาณของตัวยาเท่าใด
ถ้ามี 100 mg ต่อ 1 cc ก็ให้ 0.1 cc.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แล้วให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง เช่น ถ้าลูกหนัก12 กิโลกรัม
มีไข้ก็ให้ 1.2 cc.ต่อครั้ง ถ้าลูกโตทานยาเม็ดได้ก็ให้เป็นแบบเม็ดซึ่งมีขนาดเม็ดละ 325 mg หรือเม็ดละ 500 mg
ซึ่งต้องให้ตามน้ำหนักของลูกนะคะ
ในกรณีที่มีไข้สูงหลังใช้พาราเซทามอลแล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ใช้ตัวยา ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) แทนค่ะ
ซึ่งมีทั้งแบบน้ำและแบบเม็ด ใช้ประมาณ 30 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ยาน้ำมีความเข้มข้น 100 mg ต่อ 5 cc.
หลังจากการคำนวณให้ตามน้ำหนักตัวและแบ่งให้ได้ทุก 4-6 ชม. จะได้ประมาณ 1/3 ของน้ำหนักตัวเป็นการจำง่ายๆ
เช่น เด็กหนัก 21 กิโลกรัมก็ให้ครั้งละ 7 cc. ซ้ำได้ทุก 4-6 ชม.
ในการปฏิบัติ แนะนำให้ผู้ปกครองที่ดูแลลูกให้ศึกษาการให้ยาทั้ง 2 ชนิด ให้เข้าใจนะคะว่ายาแก้ไข้ทั้ง 2 แบบ
สามารถให้สลับหรือให้เสริมกันได้ ในกรณีที่ลูกมีไข้สูงไม่ลด เช่น
เวลา8.00 น. วัดอุณหภูมิลูกแล้วพบว่ามีไข้วัดได้ 38◦C ให้ยาพาราเซทามอลตามน้ำหนักตัว หลังจากให้ยาแล้วควรเช็ดตัวลูกบริเวณที่ร้อน
ไม่จำเป็นต้องเช็ดตัวบริเวณที่เย็น เพราะจะไม่ได้ลดความร้อนออกจากตัว
เวลา 9.00 น. วัดไข้ซ้ำดูว่าไข้ลดลงหรือไม่ ถ้าหากอาการไข้ไม่ลดลง ควรเช็ดตัวบริเวณที่ร้อนซ้ำอีกครั้งนะคะ
เวลา10.00 น. วัดไข้ซ้ำถ้าไม่ลดควรพิจารณาให้ยาแก้ไข้สูงเพื่อลดไข้
เวลา11.00 น. วัดไข้ซ้ำ ถ้าไม่ลดเช็ดตัวซ้ำ
เวลา12 .00 น. ถ้ายังมีไข้ให้ยาลดไข้พาราเซทามอลซ้ำได้ เพราะห่างจากครั้งแรก 4 ชม.แล้ว
หลังจากนี้ปฏิบัติต่อเหมือนเดิม ถ้าถึง
เวลา 14.00 น. ถ้ายังมีไข้สูงก็พิจารณาให้ยาไข้สูงซ้ำได้
ถ้าคุณพ่อคุณแม่สามารถคุมการดูแลได้แบบนี้ไปตลอด ลูกคุณก็จะปลอดภัยและความเสี่ยงที่จะเกิดการชักเกร็งจากไข้
จะมีน้อย แต่ถ้าหากทำทุกอย่างแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ไข้ไม่ลด ควรพาลูกน้อยพบกุมารแพทย์เพื่อวินิจฉัยรักษาต่อไปค่ะ