คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
การเล่นว่าวมีมานานแล้ว แต่การเล่นว่าวแบบที่มีลายลักษณ์อักษร สามารถสืบย้อนหลังไปได้ถึงยุคสุโขทัย
การเล่นว่าวแต่เดิมเป็นเรื่องของชาวบ้าน ชาวบ้านเล่นว่าวเพื่อความเพลิดเพลินหลังจากการทำเกษตรกรรม
ต่อมาการเล่นว่าวได้แพร่เข้าไปในราชสำนัก การเล่นว่าวจึงถูกทำให้ซับซ้อนขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมของราชสำนัก
พิธีกรรมดังว่าส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การเล่นว่าวเป็นการวัดลมในเดือนอ้ายและเดือนยี่ ซึ่งจะเป็นฤดูเก็บเกี่ยว
ในบันทึกของลาลูแบร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของว่าว ดังนี้
"ว่าวของสมเด็จพระเเจ้ากรุงสยาม ปรากฏให้เห็นในท้องฟ้าทุกคืน ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของฤดูหนาว
และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรถือสายป่านไว้"
การที่ว่าวขึ้นสามารถสังเกตความแรงของลม ว่าจะพัดน้ำลดลงเร็วแค่ไหน
ซึ่งสามารถทำให้คาดการณ์ได้ว่า ฤดูเก็บเกี่ยวจะมาถึงเร็วหรือช้า
การที่ว่าวมีความสำคัญในช่วงดังกล่าว อาจเป็นเพราะการค้าข้าวในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มีการขยายตัวมาก
จึงต้องอาศัยความแม่นยำในฤดูเก็บเกี่ยว
และสันนิษฐานว่า กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ห้ามเล่นว่าวข้ามพระราชวัง หากละเมิดอาจถึงกับถูกตัดมือ
นอกจากการป้องกันการลบหลู่ และความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างในพระราชวังแล้ว
ยังป้องกันความสับสนระหว่าง ว่าวชาวบ้านกับว่าวในวังที่กำลังวัดลมอยู่
ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวในฐานะเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ดังที่กล่าวได้ลดลง
เป็นการเล่นว่าวเพื่อความเพลิดเพลินในประชาชนทั่วไป และเป็นที่นิยมอย่างสูงในราชสำนัก
ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนกลาง การเล่นว่าวพนันเป็นที่แพร่หลาย
สนามว่าวพนันเป็นที่รวมตัวกันของผู้มีฐานะในพระนคร
ในปี 2440 สนามหลวงได้กลายเป็นสถานที่ยอดนิยมในการเล่นว่าว
มีผู้เล่นว่าวเพื่อการแข่งขัน เพื่อความสนุกสนานมากมาย
ไม่เฉพาะชาย แต่มีทั้งหญิงและเด็ก แม้แต่พระ สามเณรก็มาชมการเล่นว่าว
ที่มา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การเล่นว่าวแต่เดิมเป็นเรื่องของชาวบ้าน ชาวบ้านเล่นว่าวเพื่อความเพลิดเพลินหลังจากการทำเกษตรกรรม
ต่อมาการเล่นว่าวได้แพร่เข้าไปในราชสำนัก การเล่นว่าวจึงถูกทำให้ซับซ้อนขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมของราชสำนัก
พิธีกรรมดังว่าส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม การเล่นว่าวเป็นการวัดลมในเดือนอ้ายและเดือนยี่ ซึ่งจะเป็นฤดูเก็บเกี่ยว
ในบันทึกของลาลูแบร์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของว่าว ดังนี้
"ว่าวของสมเด็จพระเเจ้ากรุงสยาม ปรากฏให้เห็นในท้องฟ้าทุกคืน ตลอดระยะเวลา 2 เดือนของฤดูหนาว
และทรงแต่งตั้งขุนนางให้คอยผลัดเปลี่ยนเวรถือสายป่านไว้"
การที่ว่าวขึ้นสามารถสังเกตความแรงของลม ว่าจะพัดน้ำลดลงเร็วแค่ไหน
ซึ่งสามารถทำให้คาดการณ์ได้ว่า ฤดูเก็บเกี่ยวจะมาถึงเร็วหรือช้า
การที่ว่าวมีความสำคัญในช่วงดังกล่าว อาจเป็นเพราะการค้าข้าวในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มีการขยายตัวมาก
จึงต้องอาศัยความแม่นยำในฤดูเก็บเกี่ยว
และสันนิษฐานว่า กฎหมายในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่ห้ามเล่นว่าวข้ามพระราชวัง หากละเมิดอาจถึงกับถูกตัดมือ
นอกจากการป้องกันการลบหลู่ และความเสียหายต่อสิ่งปลูกสร้างในพระราชวังแล้ว
ยังป้องกันความสับสนระหว่าง ว่าวชาวบ้านกับว่าวในวังที่กำลังวัดลมอยู่
ต่อมาในยุครัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวในฐานะเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ดังที่กล่าวได้ลดลง
เป็นการเล่นว่าวเพื่อความเพลิดเพลินในประชาชนทั่วไป และเป็นที่นิยมอย่างสูงในราชสำนัก
ในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นและตอนกลาง การเล่นว่าวพนันเป็นที่แพร่หลาย
สนามว่าวพนันเป็นที่รวมตัวกันของผู้มีฐานะในพระนคร
ในปี 2440 สนามหลวงได้กลายเป็นสถานที่ยอดนิยมในการเล่นว่าว
มีผู้เล่นว่าวเพื่อการแข่งขัน เพื่อความสนุกสนานมากมาย
ไม่เฉพาะชาย แต่มีทั้งหญิงและเด็ก แม้แต่พระ สามเณรก็มาชมการเล่นว่าว
ที่มา [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
...โอ้ราชดำเนิน เมื่อลมหนาวมาเสียงว่าวธนูก็มา...///...ถ้าฉันรวยจะสวยหั้ยดูเด้อ...!!!
เสียงว่าวธนู 3 วันมานี่เพราะจับใจ เป็นเสียงดนตรีที่กล่อมนอน
นอนฟังเสียงว่าวธนูจนหลับ ตื่นขึ้นมากลางดึกก็ยังได้ยินเสียง
เมื่อคืนมีว่าวธนู 5 เล่ม ขับกล่อมบรรเลง
ช่างเป็นเสียงที่ไพเราะเพราะจับใจ หลับต่ออย่างมีความสุข...