[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ในขณะที่ประเทศไทย เคยฝันว่าจะเป็น “เสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย” (Fifth Asian Tiger) ความฝันดังกล่าวเรืองรองในสมัย “พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน” เป็นนายกรัฐมนตรี ภายหลังการประกาศนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” การเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว การลงทุนภายในประเทศ และเงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่หลั่งไหลเข้ามาในช่วงนั้น ทำให้หลายฝ่ายต่างมั่นใจว่าประเทศไทย จะเดินตามรอยประเทศในเอเชีย ที่สามารถยกระดับเศรษฐกิจจนเติบโต เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และได้รับการขนานนามเป็น 4 เสือแห่งเอเชีย (Four Asian Tigers) ได้แก่ ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้และไต้หวัน
แต่ก็ผ่านมาไปเกือบ 30 ปี ที่ประเทศไทยยังไม่สามารถก้าวข้ามขึ้นเป็นเสือแห่งเอเซียได้สำเร็จ ปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าในเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ และสังคม ประกอบกับปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น การเมืองที่มีความขัดแย้งสูง และไม่มีเสถียรภาพ โครงสร้างการผลิต และโครงสร้างประชากรที่เริ่มมีปัญหา ทำให้ที่ผ่านมาแทบไม่มีใครพูดถึงไทยในฐานะของ “เสือ” โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจอีกเลย
...แม้วาทะกรรม “เสือแห่งเอเชีย” จะเป็นเครื่องมือที่สร้างความหวังทางเศรษฐกิจในอนาคตได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าเศรษฐกิจเป็นเรื่องของความจริง และความหวัง หากไม่สามารถหล่อเลี้ยงความหวังของคนให้ฝันถึงวันข้างหน้าที่ดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายชนิดอาจจะชะงักงัน
ขณะเดียวกันการฉายภาพความหวังที่ดีงามเกินความเป็นจริง ก็อาจนำไปสู่ความเข้าใจที่บิดเบี้ยว จนมองความเป็นไปทางเศรษฐกิจดีเกินไป
งานบริหารเศรษฐกิจ จึงเป็นศาสตร์และศิลป์ของการถ่วงดุล ระหว่างความหวังและความจริง ให้ทั้งสองส่วนให้เดินไปด้วยกันและมีพลังต่อภาคเศรษฐกิจในภาพรวมมากที่สุด
ที่มา : ความฝัน'เสือแห่งเอเชีย' กับบทพิสูจน์ทางเศรษฐกิจที่รออยู่
แต่ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย ที่มีพื้นที่น้อยกว่าไทย ถึงให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ... ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ โดยโครงสร้างพื้นฐานจะรองรับชุมชน หรือความเจริญของชุมชน อาทิเช่น ที่อยู่อาศัย ระบบคมนาคม การสื่อสาร ระบบไฟฟ้า และประปา เป็นต้น
คนไทยก็ได้แค่หวังว่า การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของรัฐบาลจะมีความชัดเจน มีรูปธรรม และจับต้องได้จริง
... ก็คงต้องจับตาที่ โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เฟสที่ 1 ระยะ 3.5 กม.
ว่าจะแล้วเสร็จตามกำหนด เพื่อเป็นแม่แบบในการทำโครงการร่วมอื่นๆ ต่อไปหรือไม่
เพราะเพื่อนบ้านเรา เสร็จพร้อมใช้งานก็หลายประเทศ และอีกหลายประเทศก็เริ่มโครงการแล้ว
แล้วประเทศไทยเรา จะต้องปล่อยให้รออีกนานแค่ไหน ...
รถไฟเร็วสูงมาเลย์ ดันเศรษฐกิจ "หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์" คึกคัก เร่งโครงการฝั่งไทยเชื่อม
นายซับบรี มะสมัน ผู้จัดการ บริษัท หาดใหญ่เรนโบว์แทรเวล แอนด์ ทัวร์ ผู้แทนจำหน่าย ตั๋วรถไฟฟ้าความเร็วสูง (อีทีเอส) มาเลเซีย เปิดเผยว่า บริษัทได้รับลิขสิทธิ์เป็นตัวแทนจำหน่ายออกตั๋วรถไฟฟ้าความเร็วสูงของประเทศมาเลเซีย ขณะนี้ได้รับการตอบรับดีมาก
สำหรับรถไฟความเร็วสูงมาเลเซีย ต้นทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มาสุดปลายทางที่ปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส มาเลเซีย รอยต่อแนวพรมแดนไทย ที่เขตเทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา โดยให้บริการโดยสาร รวม 12 เที่ยว/วัน
"รถไฟฟ้าความเร็วสูงมาเลเซีย ได้ส่งผลทำให้ธุรกิจแนวพรมแดนไทย จ.สงขลา กระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.เติบโตดีมาก เพราะประเทศมาเลเซียปิดเทอมใหญ่ รวม 2 เดือน จึงพาครอบครัวมาพักผ่อนท่องเที่ยว โดยเดินทางมากับรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ขณะนี้ได้รับนิยมมาก
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลไทยมีโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อมต่อกับประเทศมาเลเซียอยู่แล้ว ในช่วงนี้หากเร่งดำเนินโครงการเชื่อมต่อจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ธุรกิจการท่องเที่ยวได้ดี"
นายประดิษฐ์ กาญจโนทัย ผู้ประกอบการรถตู้นำเที่ยว เทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา เปิดเผยว่า ตลาดปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา รอยต่อปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย ภาวะทางเศรษฐกิจได้เริ่มกระเตื้องขึ้นตามลำดับมาตั้งแต่ต้นปี 2560 จากการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง จากกรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐทางภาคเหนือ-ปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส รอยต่อปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา มีชาวมาเลเซียเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก
ไทย VS มาเลเซีย ใครจะเป็นเสือแห่งเอเซียตัวต่อไป ?
แต่ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย ที่มีพื้นที่น้อยกว่าไทย ถึงให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ... ที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้าน เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ โดยโครงสร้างพื้นฐานจะรองรับชุมชน หรือความเจริญของชุมชน อาทิเช่น ที่อยู่อาศัย ระบบคมนาคม การสื่อสาร ระบบไฟฟ้า และประปา เป็นต้น
คนไทยก็ได้แค่หวังว่า การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของรัฐบาลจะมีความชัดเจน มีรูปธรรม และจับต้องได้จริง
ว่าจะแล้วเสร็จตามกำหนด เพื่อเป็นแม่แบบในการทำโครงการร่วมอื่นๆ ต่อไปหรือไม่
เพราะเพื่อนบ้านเรา เสร็จพร้อมใช้งานก็หลายประเทศ และอีกหลายประเทศก็เริ่มโครงการแล้ว
แล้วประเทศไทยเรา จะต้องปล่อยให้รออีกนานแค่ไหน ...
นายซับบรี มะสมัน ผู้จัดการ บริษัท หาดใหญ่เรนโบว์แทรเวล แอนด์ ทัวร์ ผู้แทนจำหน่าย ตั๋วรถไฟฟ้าความเร็วสูง (อีทีเอส) มาเลเซีย เปิดเผยว่า บริษัทได้รับลิขสิทธิ์เป็นตัวแทนจำหน่ายออกตั๋วรถไฟฟ้าความเร็วสูงของประเทศมาเลเซีย ขณะนี้ได้รับการตอบรับดีมาก
สำหรับรถไฟความเร็วสูงมาเลเซีย ต้นทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มาสุดปลายทางที่ปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส มาเลเซีย รอยต่อแนวพรมแดนไทย ที่เขตเทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา โดยให้บริการโดยสาร รวม 12 เที่ยว/วัน
"รถไฟฟ้าความเร็วสูงมาเลเซีย ได้ส่งผลทำให้ธุรกิจแนวพรมแดนไทย จ.สงขลา กระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.เติบโตดีมาก เพราะประเทศมาเลเซียปิดเทอมใหญ่ รวม 2 เดือน จึงพาครอบครัวมาพักผ่อนท่องเที่ยว โดยเดินทางมากับรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ขณะนี้ได้รับนิยมมาก
ทั้งนี้ การที่รัฐบาลไทยมีโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะเชื่อมต่อกับประเทศมาเลเซียอยู่แล้ว ในช่วงนี้หากเร่งดำเนินโครงการเชื่อมต่อจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ธุรกิจการท่องเที่ยวได้ดี"
นายประดิษฐ์ กาญจโนทัย ผู้ประกอบการรถตู้นำเที่ยว เทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา เปิดเผยว่า ตลาดปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา รอยต่อปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส ประเทศมาเลเซีย ภาวะทางเศรษฐกิจได้เริ่มกระเตื้องขึ้นตามลำดับมาตั้งแต่ต้นปี 2560 จากการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง จากกรุงกัวลาลัมเปอร์ รัฐทางภาคเหนือ-ปาดังเบซาร์ รัฐปะลิส รอยต่อปาดังเบซาร์ อ.สะเดา จ.สงขลา มีชาวมาเลเซียเข้ามาใช้บริการจำนวนมาก