17 มี.ค. 2556
ข่าวสดออนไลน์
"การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้ เป็นการลงทุนเพื่อชีวิตของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่เคยมีมา เพื่อให้ประชาชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน ถือเป็นการลงทุนที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของเศรษฐกิจภายในประเทศไทย ที่รัฐบาลจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในช่วง 7 ปีต่อไปนี้ เพื่อให้ระบบขนส่งทุกรูปแบบสามารถเชื่อมต่อระหว่างเมืองเศรษฐกิจทั้งภายใน และต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำที่สุด พร้อมส่งเสริมให้ไทยสามารถก้าวไปสู่ศูนย์กลางระบบขนส่งแห่งภูมิภาคเอเชียอย่างเต็มภาคภูมิ"
นี่คือคำกล่าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประธานเปิดงาน "Thailad 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก" ซึ่งเป็นการแสดงนิทรรศการแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กว่า 2 ล้านล้านบาท และการพัฒนางานทางหลวงเชื่อมโยงภายในประเทศและระหว่างประเทศ และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558
นิทรรศการดังกล่าวจัดเป็นเวลา 9 วัน ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และปิดฉากไปแล้ว เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้าชมจำนวนมาก
การจัดนิทรรศการ ครั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพรวมมีอะไรบ้าง รวมถึงความจำเป็นในการลงทุน โดยทางรางจะก่อสร้างรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ รวม 3,000 กว่ากิโลเมตร ทำเส้นทางรถไฟใหม่อีก 3 เส้น รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 4 สาย เส้นทางรถไฟที่ทำเพิ่มในภาคเหนือ อีสาน และกลาง รถไฟฟ้า 10 สาย ถนน 4 เลน ถนนเชื่อมด่าน 12 แห่ง
ในแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขนส่งทางรางประมาณ 80% คิดเป็นเงิน 1.3-1.6 ล้านล้านบาท โดยแยกเสนอเป็นรายภาคดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ 3 โครงการ ได้แก่ 1.สายจิระ-หนองคาย ระยะทาง 359 ก.ม. 2.สาย จิระ-อุบลราชธานี 309 ก.ม. 3.สายบ้านไผ่-นครพนม 347 ก.ม. รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 256 ก.ม. และเตรียมขยายจากนครราชสีมาไปขอนแก่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และโครงการขยาย 4 ช่องจราจร 11 โครงการ ระยะทาง 776 ก.ม.
ภาคกลางและตะวันออก ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะทาง 410 ก.ม. โครงการรถไฟทางคู่ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สายนครปฐม-หัวหิน เชื่อมต่อด้วยทางรถไฟสายใหม่บ้านภาชี-อ.นครหลวง 468 ก.ม. โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน 225 ก.ม. รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิงก์-พัทยา-ระยอง 221 ก.ม. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 2 สาย คือ สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด เป็นต้น
ภาคใต้ ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, สายประจวบ คีรีขันธ์-ชุมพร, สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สายสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทางรวม 763 ก.ม. เชื่อมต่อประตูการค้าด่านสะเดา-ปราดังเบซาร์ โครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 1 โครงการ จ.สงขลา โครงการขยาย 4 ช่องจราจร 5 โครงการ 132 ก.ม.
ภาคเหนือ ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ ระยะทางรวม 611 ก.ม. รถไฟความ เร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 745 ก.ม. โครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 4 โครงการ 128.4 ก.ม. โครงการขยาย 4 ช่องจราจร 10 โครงการ ระยะทางรวม 579 ก.ม. โครงการบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค 24 โครงการ โครงข่ายทางหลวงชนบท เชื่อมต่อด้านการค้า ประกอบด้วย ถนนเชื่อมต่อท่าเรือเชียงแสน 45.74 ก.ม. สะพานและอุโมงค์ข้ามทางรถไฟจ.อุตรดิตถ์ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย สถานีขนส่งสินค้า 5 จังหวัด เชียงราย ตาก เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน
1.ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัฑณ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ลดลงจากปัจจุบันไม่น้อยกว่า 2% (ปัจจุบัน 15.2%)
2.สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคลลดลงจาก 59% เหลือ 40% 3.ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้นจาก 39 ก.ม./ช.ม. เป็น 60 ก.ม./ช.ม. และขบวนรถโดยสารเพิ่มขึ้นจาก 60 ก.ม./ช.ม. เป็น 100 ก.ม./ช.ม.
4. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นจาก 2.5% เป็น 5% 5.สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 19% 6.ลดความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี 7.สัดส่วนการเดินทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 30% 8.ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก ณ ด่านการค้าชายแดนที่สำคัญ เพิ่มขึ้น 5%
9. ปริมาณผู้โดยสารทางรถไฟเพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคนเที่ยว/ปี เป็น 75 ล้านคนเที่ยว/ปี 10.ลดระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังเมืองภูมิภาค ด้วยรถไฟความเร็วสูงภายในรัศมี 300 ก.ม. รอบกรุงเทพฯ ในระยะเวลาไม่เกิน 90 นาที จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมง
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก 1% ต่อปี การจ้างงานรวมเพิ่มขึ้น 5 แสนตำแหน่ง
สำหรับการลงทุน จะเป็นการออก พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท รวมระยะยาว 7 ปี เฉลี่ยใช้เงินกู้ปีละ 3-4 แสนล้านบาท ซึ่งนอกจาก พ.ร.บ.เงินกู้แล้ว ในภาพรวมของการลงทุน ไม่ได้มีวงเงินเพียงแค่ 2 ล้านล้านบาท แต่จะมีถึง 4 ล้านล้านบาท โดยจะนำจากส่วนอื่นมาช่วยในการลงทุน เช่น งบประมาณลงทุนปกติของภาครัฐวิสาหกิจ ที่รัฐบาลต้องกู้ให้ การลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งมีหลายส่วนประกอบกันรวมเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด
คาดว่า พ.ร.บ.เงินกู้ จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายใน วันที่ 19 มี.ค.นี้
SET 2000 +
"4ล้านล้าน" พลิกประเทศไทย โปรเจ็กต์ยักษ์เชื่อมไทยสู่โลก THAILAND 2020 -- Set ทะลุ 2000 !!!
ข่าวสดออนไลน์
"การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานครั้งนี้ เป็นการลงทุนเพื่อชีวิตของประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่เคยมีมา เพื่อให้ประชาชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน ถือเป็นการลงทุนที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของเศรษฐกิจภายในประเทศไทย ที่รัฐบาลจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งในช่วง 7 ปีต่อไปนี้ เพื่อให้ระบบขนส่งทุกรูปแบบสามารถเชื่อมต่อระหว่างเมืองเศรษฐกิจทั้งภายใน และต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว และมีต้นทุนต่ำที่สุด พร้อมส่งเสริมให้ไทยสามารถก้าวไปสู่ศูนย์กลางระบบขนส่งแห่งภูมิภาคเอเชียอย่างเต็มภาคภูมิ"
นี่คือคำกล่าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประธานเปิดงาน "Thailad 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก" ซึ่งเป็นการแสดงนิทรรศการแผนลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กว่า 2 ล้านล้านบาท และการพัฒนางานทางหลวงเชื่อมโยงภายในประเทศและระหว่างประเทศ และรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558
นิทรรศการดังกล่าวจัดเป็นเวลา 9 วัน ที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ และปิดฉากไปแล้ว เมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมา มีผู้สนใจเข้าชมจำนวนมาก
การจัดนิทรรศการ ครั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพรวมมีอะไรบ้าง รวมถึงความจำเป็นในการลงทุน โดยทางรางจะก่อสร้างรถไฟรางคู่ทั่วประเทศ รวม 3,000 กว่ากิโลเมตร ทำเส้นทางรถไฟใหม่อีก 3 เส้น รถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 4 สาย เส้นทางรถไฟที่ทำเพิ่มในภาคเหนือ อีสาน และกลาง รถไฟฟ้า 10 สาย ถนน 4 เลน ถนนเชื่อมด่าน 12 แห่ง
ในแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการขนส่งทางรางประมาณ 80% คิดเป็นเงิน 1.3-1.6 ล้านล้านบาท โดยแยกเสนอเป็นรายภาคดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ 3 โครงการ ได้แก่ 1.สายจิระ-หนองคาย ระยะทาง 359 ก.ม. 2.สาย จิระ-อุบลราชธานี 309 ก.ม. 3.สายบ้านไผ่-นครพนม 347 ก.ม. รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 256 ก.ม. และเตรียมขยายจากนครราชสีมาไปขอนแก่น โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง และโครงการขยาย 4 ช่องจราจร 11 โครงการ ระยะทาง 776 ก.ม.
ภาคกลางและตะวันออก ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ระยะทาง 410 ก.ม. โครงการรถไฟทางคู่ สายลพบุรี-ปากน้ำโพ สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สายนครปฐม-หัวหิน เชื่อมต่อด้วยทางรถไฟสายใหม่บ้านภาชี-อ.นครหลวง 468 ก.ม. โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน 225 ก.ม. รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิงก์-พัทยา-ระยอง 221 ก.ม. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 2 สาย คือ สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี และสายพัทยา-มาบตาพุด เป็นต้น
ภาคใต้ ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่สายหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, สายประจวบ คีรีขันธ์-ชุมพร, สายชุมพร-สุราษฎร์ธานี, สายสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ระยะทางรวม 763 ก.ม. เชื่อมต่อประตูการค้าด่านสะเดา-ปราดังเบซาร์ โครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 1 โครงการ จ.สงขลา โครงการขยาย 4 ช่องจราจร 5 โครงการ 132 ก.ม.
ภาคเหนือ ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่ ระยะทางรวม 611 ก.ม. รถไฟความ เร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 745 ก.ม. โครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 4 โครงการ 128.4 ก.ม. โครงการขยาย 4 ช่องจราจร 10 โครงการ ระยะทางรวม 579 ก.ม. โครงการบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค 24 โครงการ โครงข่ายทางหลวงชนบท เชื่อมต่อด้านการค้า ประกอบด้วย ถนนเชื่อมต่อท่าเรือเชียงแสน 45.74 ก.ม. สะพานและอุโมงค์ข้ามทางรถไฟจ.อุตรดิตถ์ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย สถานีขนส่งสินค้า 5 จังหวัด เชียงราย ตาก เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุน
1.ต้นทุนโลจิสติกส์ต่อผลิตภัฑณ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ลดลงจากปัจจุบันไม่น้อยกว่า 2% (ปัจจุบัน 15.2%)
2.สัดส่วนผู้เดินทางระหว่างจังหวัดโดยรถยนต์ส่วนบุคคลลดลงจาก 59% เหลือ 40% 3.ความเร็วเฉลี่ยของรถไฟขนส่งสินค้า เพิ่มขึ้นจาก 39 ก.ม./ช.ม. เป็น 60 ก.ม./ช.ม. และขบวนรถโดยสารเพิ่มขึ้นจาก 60 ก.ม./ช.ม. เป็น 100 ก.ม./ช.ม.
4. สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้นจาก 2.5% เป็น 5% 5.สัดส่วนการขนส่งสินค้าทางน้ำเพิ่มขึ้นจาก 15% เป็น 19% 6.ลดความสูญเสียจากน้ำมันเชื้อเพลิงไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท/ปี 7.สัดส่วนการเดินทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 30% 8.ปริมาณการขนส่งสินค้าผ่านเข้า-ออก ณ ด่านการค้าชายแดนที่สำคัญ เพิ่มขึ้น 5%
9. ปริมาณผู้โดยสารทางรถไฟเพิ่มขึ้นจาก 45 ล้านคนเที่ยว/ปี เป็น 75 ล้านคนเที่ยว/ปี 10.ลดระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปยังเมืองภูมิภาค ด้วยรถไฟความเร็วสูงภายในรัศมี 300 ก.ม. รอบกรุงเทพฯ ในระยะเวลาไม่เกิน 90 นาที จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 3 ชั่วโมง
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีก 1% ต่อปี การจ้างงานรวมเพิ่มขึ้น 5 แสนตำแหน่ง
สำหรับการลงทุน จะเป็นการออก พ.ร.บ. เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท รวมระยะยาว 7 ปี เฉลี่ยใช้เงินกู้ปีละ 3-4 แสนล้านบาท ซึ่งนอกจาก พ.ร.บ.เงินกู้แล้ว ในภาพรวมของการลงทุน ไม่ได้มีวงเงินเพียงแค่ 2 ล้านล้านบาท แต่จะมีถึง 4 ล้านล้านบาท โดยจะนำจากส่วนอื่นมาช่วยในการลงทุน เช่น งบประมาณลงทุนปกติของภาครัฐวิสาหกิจ ที่รัฐบาลต้องกู้ให้ การลงทุนของภาคเอกชน ซึ่งมีหลายส่วนประกอบกันรวมเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด
คาดว่า พ.ร.บ.เงินกู้ จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบภายใน วันที่ 19 มี.ค.นี้
SET 2000 +