พอดีได้เห็นในเฟสบุคมีคนกล่าวว่าประเทศไทยควรมีการรณรงค์ให้ร้านสะดวกซื้อสนับสนุนการลดใช้ถุงพลาสติก
ภาพที่เห็นในปัจจุบันคือลูกค้าทุกท่านจะได้ถุงพลาสติกจากการซื้อสินค้าทุกชนิดติดตัวออกไปด้วยโดยอัตโนมัติ (เว้นแต่ว่ากล่าวปฏิเสธไม่รับถุงพลาสติกตอนคิดเงิน) ไม่ว่าจะซื้อสินค้าเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม เช่น ซื้อหมากฝรั่งหนึ่งอัน นมหนึ่งกล่อง ไอติมหนึ่งแท่ง
-----
ตัดภาพมาที่หลายประเทศทั่วโลก ที่ได้เล็งเห็นถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนี้จึงได้มีการห้ามใช้ถุงพลาสติก คิดภาษีการใช้ถุงพลาสติก หรือมีการ "เก็บเงิน" จำนวนเล็กน้อยในการใช้ถุงพลาสติก เพื่อเป็นการ "รณรงค์" ให้คนลดการใช้ถุงพลาสติก เช่น เดินถือสินค้าหนึ่งชิ้นออกไปเลย หรือพกถุงผ้าหรือถุงพลาสติกมาเองเมื่อต้องเข้าร้านสะดวกซื้อ
http://www.bigfatbags.co.uk/bans-taxes-charges-plastic-bags/
https://en.wikipedia.org/wiki/Phase-out_of_lightweight_plastic_bags
----
ยกตัวอย่างเช่น ที่สวิสเซอแลนด์ ร้านสะดวกซื้อ Migros (คล้ายๆ เซเว่นบ้านเรา) มีการเก็บเงินลูกค้า 0.05 สวิสฟรังค์ (ประมาณ 1.64 บาท) ต่อถุงพลาสติกหนึ่งใบ
หรือที่อังกฤษ มีการออกกฎหมายใช้บังคับเมื่อเดือนตุลาคม 2558 ว่าร้านสะดวกซื้อต่างๆ ที่มีลูกจ้างมากกว่า 250 คน จะต้องมีการเก็บเงินลูกค้า 0.05 ปอนด์ (ซึ่งคือ 5 เพนนี = ประมาณ 2.17 บาท) ต่อถุงพลาสติกหนึ่งใบ
แม้ว่าจำนวนเงินนี้จะไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับค่าครองชีพของบ้านเค้า แต่จากสถิติจะเห็นว่ามาตรการนี้ลดการใช้ถุงพลาสติกได้ค่อนข้างจะได้ผล กล่าวคือลดลงถึงร้อยละ 71 หลังจากมีการเริ่มเก็บเงินค่าถุงพลาสติก
(ที่มา: Plastic bag use down 71% since 5p charge was introduced -
http://www.bbc.co.uk/news/uk-wales-politics-34138414 )
----
หากเทียบค่าครองชีพบ้านเรา อาจจะลดลงมาเป็นจำนวน 25 สตางค์ ก็ได้ (หรืออาจจะเป็น 1 บาท เพื่อลดการทอนเงินเป็นเหรียญสตางค์ แต่อาจจะเป็นจำนวนที่สูงไปเมื่อเทียบกับราคาสินค้า
ปล. ปัญหาการทอนเป็นเศษสตางค์อาจจะหมดไปในอนาคตไทยแลนด์ 4.0 เมื่อประเทศไทยเป็น cashless society จึงอาจจะคิดเงิน 25 สตางค์ต่อถุงได้)
แถม
อาจมีคำถามว่าเงินที่เก็บเพิ่มตรงนี้จะไปไหน?
คำตอบตามนี้ครับ (สำหรับประเทศอังกฤษ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Where will the money go?
Initially to the supermarkets. This is not a tax and the money raised by the levy will not go to the government.
Retailers can choose what to do with the proceeds of the charge, but they are expected to donate it to good causes.
Over the next 10 years the government hopes the charge will raise £730m for such causes.
Retailers will need to report to ministers about what they do with the money, and the government will publish this information each year.
Source: http://www.bbc.co.uk/news/uk-34346309
คือเข้ากระเป๋าร้านค้า โดยที่รัฐบาลก็คาดหวังว่าร้านค้าจะเอาเงินตรงนี้ไปบริจาค
ซึ่งร้านค้าต้องรายงานต่อรัฐบาลว่าเอาเงินตรงนี้ไปใช้ทำอะไร และรัฐบาลจะนำไปประกาศต่อประชาชนในแต่ละปี
ควรมีการ "เก็บเงิน" ในการใช้ถุงพลาสติก เพื่อลดขยะจากร้านสะดวกซื้อหรือไม่?
ภาพที่เห็นในปัจจุบันคือลูกค้าทุกท่านจะได้ถุงพลาสติกจากการซื้อสินค้าทุกชนิดติดตัวออกไปด้วยโดยอัตโนมัติ (เว้นแต่ว่ากล่าวปฏิเสธไม่รับถุงพลาสติกตอนคิดเงิน) ไม่ว่าจะซื้อสินค้าเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม เช่น ซื้อหมากฝรั่งหนึ่งอัน นมหนึ่งกล่อง ไอติมหนึ่งแท่ง
-----
ตัดภาพมาที่หลายประเทศทั่วโลก ที่ได้เล็งเห็นถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมนี้จึงได้มีการห้ามใช้ถุงพลาสติก คิดภาษีการใช้ถุงพลาสติก หรือมีการ "เก็บเงิน" จำนวนเล็กน้อยในการใช้ถุงพลาสติก เพื่อเป็นการ "รณรงค์" ให้คนลดการใช้ถุงพลาสติก เช่น เดินถือสินค้าหนึ่งชิ้นออกไปเลย หรือพกถุงผ้าหรือถุงพลาสติกมาเองเมื่อต้องเข้าร้านสะดวกซื้อ
http://www.bigfatbags.co.uk/bans-taxes-charges-plastic-bags/
https://en.wikipedia.org/wiki/Phase-out_of_lightweight_plastic_bags
----
ยกตัวอย่างเช่น ที่สวิสเซอแลนด์ ร้านสะดวกซื้อ Migros (คล้ายๆ เซเว่นบ้านเรา) มีการเก็บเงินลูกค้า 0.05 สวิสฟรังค์ (ประมาณ 1.64 บาท) ต่อถุงพลาสติกหนึ่งใบ
หรือที่อังกฤษ มีการออกกฎหมายใช้บังคับเมื่อเดือนตุลาคม 2558 ว่าร้านสะดวกซื้อต่างๆ ที่มีลูกจ้างมากกว่า 250 คน จะต้องมีการเก็บเงินลูกค้า 0.05 ปอนด์ (ซึ่งคือ 5 เพนนี = ประมาณ 2.17 บาท) ต่อถุงพลาสติกหนึ่งใบ
แม้ว่าจำนวนเงินนี้จะไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับค่าครองชีพของบ้านเค้า แต่จากสถิติจะเห็นว่ามาตรการนี้ลดการใช้ถุงพลาสติกได้ค่อนข้างจะได้ผล กล่าวคือลดลงถึงร้อยละ 71 หลังจากมีการเริ่มเก็บเงินค่าถุงพลาสติก
(ที่มา: Plastic bag use down 71% since 5p charge was introduced - http://www.bbc.co.uk/news/uk-wales-politics-34138414 )
----
หากเทียบค่าครองชีพบ้านเรา อาจจะลดลงมาเป็นจำนวน 25 สตางค์ ก็ได้ (หรืออาจจะเป็น 1 บาท เพื่อลดการทอนเงินเป็นเหรียญสตางค์ แต่อาจจะเป็นจำนวนที่สูงไปเมื่อเทียบกับราคาสินค้า
ปล. ปัญหาการทอนเป็นเศษสตางค์อาจจะหมดไปในอนาคตไทยแลนด์ 4.0 เมื่อประเทศไทยเป็น cashless society จึงอาจจะคิดเงิน 25 สตางค์ต่อถุงได้)
แถม
อาจมีคำถามว่าเงินที่เก็บเพิ่มตรงนี้จะไปไหน?
คำตอบตามนี้ครับ (สำหรับประเทศอังกฤษ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คือเข้ากระเป๋าร้านค้า โดยที่รัฐบาลก็คาดหวังว่าร้านค้าจะเอาเงินตรงนี้ไปบริจาค
ซึ่งร้านค้าต้องรายงานต่อรัฐบาลว่าเอาเงินตรงนี้ไปใช้ทำอะไร และรัฐบาลจะนำไปประกาศต่อประชาชนในแต่ละปี