สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ผมเรียนธรณีวิทยามา ขอเล่าให้ฟังครับ
จริง ๆ แล้วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราเป็นแผ่นดินลูกของทวีปกอนด์วานามั้งหมด คือเกิดจากแผ่นเปลือกโลกอินโดจีน (Indochina plate) ประกบกับแผ่นเปลือกโลกฉาน-ไทย (Shan-Thai plate)
แผ่นอินโดจีนกับฉานไทยแตกออกมาจากออสเตรเลียมาชนกับยูเรเซียช่วงปลายยุคคาร์บอนิฟอรัสถึงต้นไทรแอสสิก โดยอินโดจีนมาก่อน ชนกับตอนใต้ของจีนเกิดรอยเลื่อนแนวยาวระหว่างยูนนาน ลาว เวียดนาม เกิดเทือกเขาภูเขาไฟวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตกเช่น เทือกเขาพนมดงรัก ด้วยความที่การชนไม่รุนแรงนักทำให้เทือกเขาไม่สูงมากนัก
ต่อมาแผ่นฉานไทยหมุนควงแหวกทะเลมาชนกับอินโดจีนทางตะวันตกที่มาประกบกับยูเรเซียก่อนหน้านี้ พบหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่พบบนภูเขาสูงตลอดแนวภาคเหนือ ตะวันตก และภาคใต้ และธรณีสันฐานที่เป็นหินปูน แสดงว่าแผ่นฉานไทยหมุนกวาดเอาซากสิ่งมีชีวิตจากก้นทะเลติดมาด้วย
ในที่สุดทั้งสองแผ่นก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของยูเรเซียโดยสมบูรณ์แล้ว (แน่นอนภาคกลางของไทย พม่า และกัมพูชายังเป็นท้องทะเลอยู่)
การชนกันของอนุทวีปอินเดียกับยูเรเซียตั้งแต่ต้นยุคครีเทเชียสจนถึงเทอร์เชียรีทำให้เกิดผลกระทบมหาศาลต่อบ้านเรา เนื่องจากเป็นการชนกันครั้งรุนแรงมาก ๆ ส่งผลให้แผ่นดินทิเบตที่เคยเป็นชายทะเลต่ำ ๆ ยกตัวขึ้นเป็นที่ราบสูง เกิดเทือกเขาหิมาลัย ยูนนานนอต เทือกเขาสูงภาคเหนือ และแนวเทือกเขาถนนธงชัย-ตะนาวศรี-ภูเก็ต-นครศรีธรรมราช และแน่นอน เกิดแม่น้ำโขง แม่น้ำปิงวังยมน่าน ซึ่งนำพาเอาตะกอนทรายมหาศาลจากภูเขาพัดพามาทับถมกันหลายชั้นเกิดเป็นที่ราบสูงโคราชและภาคอีสาน
ส่วนตะกอนแม่น้ำจากภูเขาภาคเหนือค่อย ๆ ทับถมในทะเลระหว่างแผ่นฉานไทยกับอินโดจีนยาวนานจนถึงยุคควอร์เทอร์นารี ทำให้เกิดที่ราบภาคกลางของเราในที่สุด
ตอบคำถามครับ ถ้าไม่มีการชนกันของอินเดียกับยูเรเซีย ภาคกลางกับภาคอีสานและกัมพูชาจะไม่เกิดขึ้น เพราะภาคเหนือจะไม่มีภูเขาสูง และตะกอนแม่น้ำจะน้อยกว่านี้มาก ๆ
จริง ๆ แล้วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราเป็นแผ่นดินลูกของทวีปกอนด์วานามั้งหมด คือเกิดจากแผ่นเปลือกโลกอินโดจีน (Indochina plate) ประกบกับแผ่นเปลือกโลกฉาน-ไทย (Shan-Thai plate)
แผ่นอินโดจีนกับฉานไทยแตกออกมาจากออสเตรเลียมาชนกับยูเรเซียช่วงปลายยุคคาร์บอนิฟอรัสถึงต้นไทรแอสสิก โดยอินโดจีนมาก่อน ชนกับตอนใต้ของจีนเกิดรอยเลื่อนแนวยาวระหว่างยูนนาน ลาว เวียดนาม เกิดเทือกเขาภูเขาไฟวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตกเช่น เทือกเขาพนมดงรัก ด้วยความที่การชนไม่รุนแรงนักทำให้เทือกเขาไม่สูงมากนัก
ต่อมาแผ่นฉานไทยหมุนควงแหวกทะเลมาชนกับอินโดจีนทางตะวันตกที่มาประกบกับยูเรเซียก่อนหน้านี้ พบหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ที่พบบนภูเขาสูงตลอดแนวภาคเหนือ ตะวันตก และภาคใต้ และธรณีสันฐานที่เป็นหินปูน แสดงว่าแผ่นฉานไทยหมุนกวาดเอาซากสิ่งมีชีวิตจากก้นทะเลติดมาด้วย
ในที่สุดทั้งสองแผ่นก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของยูเรเซียโดยสมบูรณ์แล้ว (แน่นอนภาคกลางของไทย พม่า และกัมพูชายังเป็นท้องทะเลอยู่)
การชนกันของอนุทวีปอินเดียกับยูเรเซียตั้งแต่ต้นยุคครีเทเชียสจนถึงเทอร์เชียรีทำให้เกิดผลกระทบมหาศาลต่อบ้านเรา เนื่องจากเป็นการชนกันครั้งรุนแรงมาก ๆ ส่งผลให้แผ่นดินทิเบตที่เคยเป็นชายทะเลต่ำ ๆ ยกตัวขึ้นเป็นที่ราบสูง เกิดเทือกเขาหิมาลัย ยูนนานนอต เทือกเขาสูงภาคเหนือ และแนวเทือกเขาถนนธงชัย-ตะนาวศรี-ภูเก็ต-นครศรีธรรมราช และแน่นอน เกิดแม่น้ำโขง แม่น้ำปิงวังยมน่าน ซึ่งนำพาเอาตะกอนทรายมหาศาลจากภูเขาพัดพามาทับถมกันหลายชั้นเกิดเป็นที่ราบสูงโคราชและภาคอีสาน
ส่วนตะกอนแม่น้ำจากภูเขาภาคเหนือค่อย ๆ ทับถมในทะเลระหว่างแผ่นฉานไทยกับอินโดจีนยาวนานจนถึงยุคควอร์เทอร์นารี ทำให้เกิดที่ราบภาคกลางของเราในที่สุด
ตอบคำถามครับ ถ้าไม่มีการชนกันของอินเดียกับยูเรเซีย ภาคกลางกับภาคอีสานและกัมพูชาจะไม่เกิดขึ้น เพราะภาคเหนือจะไม่มีภูเขาสูง และตะกอนแม่น้ำจะน้อยกว่านี้มาก ๆ
แสดงความคิดเห็น
สมมุติว่าถ้าเปลือกแผ่นอินเดียไม่ชนทวีปเอเชียจะเป็นอย่างไร
1.ถ้าเปลือกแผ่นอินเดียไม่ชนทวีปเอเชีย หน้าตาประเทศไทยจะเป็นยังไง และ ประเทศไทยจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้นไหม
2.คนอินเดีย บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล จะอยู่ที่ไหน หรืออยู่ที่อัฟกันกับเอเชียกลาง และ อิหร่าน
3.ทิเบต กับ พม่า ถ้าไม่โดนเปลือกแผ่นอินเดียชน หน้าตาจะเป็นยังไร
4.ถ้าเปลือกแผ่นอินเดียไม่ชนทวีปเอเชีย ประวัติศาสตร์มันจะเปลี่ยนไปไหม และ คนโบราณจะเดินเรือลำบากขึ้นไหม