คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 27
ที่ดินที่มีเสาไฟฟ้า(แรงสุง)ตั้งอยู่ และที่ดินที่มีสายไฟฟ้าแรงสูงพาดผ่าน บริเวณตรงนั้นต้องเว้นระยะห่างตามแต่ขนาดของกระแสไฟ เช่น 115,000-240,000. ต้องเว้นระยะใช้สอยและห้ามปลูกต้นไม้ยืนต้นและปลูกสร้างบ้านเรือน และแม้การถมดินเป็นเนินสูง วัดระยะดิ่งจากใต้สายไฟเส้นที่มีกำลังสูงสุด กรณีบนที่ดินของผมมีสายไฟแรงสูงพาดผ่านหลายเส้น ทราบว่าเส้นที่กำลังไฟสูงสุดประมาณ 240,000. ตามข้อกำหนดต้องเว้นระยะจากระยะดิ่งลงมาออกไปทางซ้ายและขวา ถึงด้านละ 15-20เมตร และเพื่อความแน่ใจต้องให้เจ้าพนักงานไฟฟ้ากำลังมาวัดระยะและกำหนดจุดให้แน่อน (มีหมุดแท่งปูน6เหลี่ยนมาตั้ง) กรณีของผมมีเว้นระยะเผื่ออีก5เมตร รวมเป็นเว้นพื้นที่ด้านละ 25เมตร กรรมสิทธิ์ในพื้นที่ตรงนั้นยังเป็นของเจ้าของที่ดินตามโฉนดครับ เพียงแต่จะเสียสิทธิ์ในการใช้สอยประโยชน์บ้างตามเงื่อนไข แต่การไฟฟ้าฯ เค้าก็จ่ายค่าตอบแทนไปตั้งแต่ต้นแล้ว และอีกอย่างเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะและส่วนรวม กรณีตามต้นกระทู้ ผมพิจารณาว่า แนวรั้วและบ้านหลังขวามือ อาจเว้นระยะไม่พอ ที่เจ้าของที่ดินให้ส่วนลดมากๆ ก็เพราะมันมีเรื่องการเสียสิทธิ์ในการใช้สอยนั่นเอง เพื่อความสบายใจต้องไปยื่นคำร้องกับการไฟฟ้าพื้นที่รับผิดชอบตรงนั้นครับ เจ้าหน้าที่เค้าวัดระยะออกมาเท่าไหร่และกางข้อกำหนด(เค้ามีเอกสารแจกให้) ก็ต้องยึดตามนั้น
ความคิดเห็นที่ 14
ตัวสนามหน้ากว้างๆข้างบ้านที่อยู่ใต้สายไฟ เป็นกรรมสิทธิ์ของ กฟผ หรือเปล่าครับ
บางที่ที่ราคาถูกกว่า 40% เพราะเขาเอาที่ดินส่วนของ กฟผ มาใส่ในคำนวณเป็นพื้นที่ใช้สอยด้วยหรือเปล่า
เช่น ในโฉนดจริงๆมีแค่ 50 ตร.วา อีก 20 ตร.วา เป็นที่ดินที่สายไฟแรงสูงผ่าน เป็นของ กฟผ
แต่ติ๊ต่างว่า เจ้าของกระทู้ใช้ที่ดินของ กฟผ ได้เพราะอยู่ติดตัวบ้านและไม่มีใครเข้าออกนอกจากเจ้าของบ้านอยู่แล้ว
บางที่ที่ราคาถูกกว่า 40% เพราะเขาเอาที่ดินส่วนของ กฟผ มาใส่ในคำนวณเป็นพื้นที่ใช้สอยด้วยหรือเปล่า
เช่น ในโฉนดจริงๆมีแค่ 50 ตร.วา อีก 20 ตร.วา เป็นที่ดินที่สายไฟแรงสูงผ่าน เป็นของ กฟผ
แต่ติ๊ต่างว่า เจ้าของกระทู้ใช้ที่ดินของ กฟผ ได้เพราะอยู่ติดตัวบ้านและไม่มีใครเข้าออกนอกจากเจ้าของบ้านอยู่แล้ว
ความคิดเห็นที่ 12
ที่ดินใต้แนวสายส่งนี้ เจ้าของที่ถูกรอนสิทธิให้ กฟผ.นะครับ เขาห้ามก่อสร้างอาคารและโรงเรือนใต้แนว และต้องเว้นระยะเพื่อความปลอดภัยไว้ด้วย หากแรงดันช่วง 115-132 kV ระยะห่างเพื่อความปลอดภัยนับจากแนวศูนย์กลางสายส่ง ด้านละ 12 เมตร ส่วนสาเหตุอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ก็มีได้มากมายหลายแบบ เช่น สัมผัสสาย สายขาด ปัญหาเสาไฟ หรือแม้กระทั่งความไม่สะดวกจากกการก่อสร้างหรือซ่อมแซมระบบสายส่ง ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมให้ดีก่อนครับ
แสดงความคิดเห็น
ซื้อบ้าน ที่มีเสาไฟฟ้าแรงสูงอยู่ในเนื้อที่ มีข้อเสียงยังไงบ้างครับ
คุ้ม หรือมีข้อดีข้อเสียยังไงบ้างครับ ควรซื้อดีไหม