เชื่อหรือไม่ว่าก่อนที่ “ทีวี ดิจิตอล” จะเกิดก่อนปีหนึ่ง ช่อง 3 เคยมีรายได้สูงเกือบๆ 17,000 ล้านบาท มีกำไรสูงถึง 5,600 ล้านบาท จ่ายโบนัสพนักงานขั้นต่ำถึง 2 เดือน แต่ข่าวล่าสุดคือสิ้นปี 2017 ช่อง 3 งดให้โบนัสพนักงานหลายคนเลยทีเดียว
ครั้งหนึ่ง ไตรภพ ลิมปพัทธ์ เคยบอกถึงสาเหตุให้ Marketeer ฟังว่า
“ในอดีตคนมองว่าช่อง 3 และ 7 ผูกขาดเม็ดเงินโฆษณาทีวี ไม่แบ่งให้ใคร ปัจจุบันเป็นอย่างไรทีวีมีถึง 24 ช่องแต่เม็ดเงินโฆษณาเฉลี่ยแล้วเท่าเดิมไม่เพิ่มขึ้น เพราะถูกสื่อออนไลน์มาแย่งเม็ดเงินไป เค้กรายได้เท่าเดิมแต่มีคนแย่งชิงเพิ่มจาก 6 เป็น 24 สุดท้ายมีแค่ไม่กี่ช่องเท่านั้นที่มีกำไรในเกมนี้ เพราะต้นทุนผลิตรายการเท่าเดิมแต่รายได้น้อยลง”
เป็นผลกระทบที่สร้างแรงสั่นสะเทือนตึกมาลีนนท์ จนทำให้มีสารพัดข่าวลือว่าช่อง 3 อาจมีการขายหุ้นเพื่อเพิ่มทุน แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจน แต่ที่แน่ๆ เวลานี้ช่อง 3 มีการ “แก้เกม” นำคนนอกมานั่งแท่นผู้บริหารในตำแหน่งระดับสูงอยู่หลายคน
ปี 2018 สิ่งที่ทีมผู้บริหารช่อง 3 ต้องทำคือต้องมีกำไรมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ณ เวลานี้ ซึ่งต้องบอกว่าเป็นความ “ยากระดับ10” เพราะช่องคู่แข่งเองก็ทำได้ดีขึ้นหลายช่อง แถมยังมี “เม็ดเงินหมุนเวียนลงทุน” มากขึ้นจากการขายหุ้น
สุดท้ายในยุคทีวีดิจิตอล ช่อง 3 ไม่ได้ขายโฆษณาถล่มทลายจนกลายเป็นผู้กำหนดให้แบรนด์สินค้าลงโฆษณาเวลาไหน
แต่ “เกมพลิก” ช่อง 3 กลายเป็นผู้ต้องวิ่งเข้าหาเอเจนซี่และแบรนด์สินค้า ว่าเวลานี้เวลาโฆษณายังเหลืออยู่ในมือล้นเหลือ “ไม่ทราบว่าสนใจช่วงเวลาไหนครับ”
ขอบคุณเนื้อหาจาก
marketeeronline
อ่านต่อได้ที่
https://marketeeronline.co/archives/6772/amp
ช่อง 3 ความสำเร็จในอดีตที่เสื่อมมนต์ขลัง
เชื่อหรือไม่ว่าก่อนที่ “ทีวี ดิจิตอล” จะเกิดก่อนปีหนึ่ง ช่อง 3 เคยมีรายได้สูงเกือบๆ 17,000 ล้านบาท มีกำไรสูงถึง 5,600 ล้านบาท จ่ายโบนัสพนักงานขั้นต่ำถึง 2 เดือน แต่ข่าวล่าสุดคือสิ้นปี 2017 ช่อง 3 งดให้โบนัสพนักงานหลายคนเลยทีเดียว
ครั้งหนึ่ง ไตรภพ ลิมปพัทธ์ เคยบอกถึงสาเหตุให้ Marketeer ฟังว่า
“ในอดีตคนมองว่าช่อง 3 และ 7 ผูกขาดเม็ดเงินโฆษณาทีวี ไม่แบ่งให้ใคร ปัจจุบันเป็นอย่างไรทีวีมีถึง 24 ช่องแต่เม็ดเงินโฆษณาเฉลี่ยแล้วเท่าเดิมไม่เพิ่มขึ้น เพราะถูกสื่อออนไลน์มาแย่งเม็ดเงินไป เค้กรายได้เท่าเดิมแต่มีคนแย่งชิงเพิ่มจาก 6 เป็น 24 สุดท้ายมีแค่ไม่กี่ช่องเท่านั้นที่มีกำไรในเกมนี้ เพราะต้นทุนผลิตรายการเท่าเดิมแต่รายได้น้อยลง”
เป็นผลกระทบที่สร้างแรงสั่นสะเทือนตึกมาลีนนท์ จนทำให้มีสารพัดข่าวลือว่าช่อง 3 อาจมีการขายหุ้นเพื่อเพิ่มทุน แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจน แต่ที่แน่ๆ เวลานี้ช่อง 3 มีการ “แก้เกม” นำคนนอกมานั่งแท่นผู้บริหารในตำแหน่งระดับสูงอยู่หลายคน
ปี 2018 สิ่งที่ทีมผู้บริหารช่อง 3 ต้องทำคือต้องมีกำไรมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ ณ เวลานี้ ซึ่งต้องบอกว่าเป็นความ “ยากระดับ10” เพราะช่องคู่แข่งเองก็ทำได้ดีขึ้นหลายช่อง แถมยังมี “เม็ดเงินหมุนเวียนลงทุน” มากขึ้นจากการขายหุ้น
สุดท้ายในยุคทีวีดิจิตอล ช่อง 3 ไม่ได้ขายโฆษณาถล่มทลายจนกลายเป็นผู้กำหนดให้แบรนด์สินค้าลงโฆษณาเวลาไหน
แต่ “เกมพลิก” ช่อง 3 กลายเป็นผู้ต้องวิ่งเข้าหาเอเจนซี่และแบรนด์สินค้า ว่าเวลานี้เวลาโฆษณายังเหลืออยู่ในมือล้นเหลือ “ไม่ทราบว่าสนใจช่วงเวลาไหนครับ”
ขอบคุณเนื้อหาจาก marketeeronline
อ่านต่อได้ที่ https://marketeeronline.co/archives/6772/amp