อัพเกรดลงทะเบียนซิม “สแกนหน้า-สแกนนิ้ว” หนีโจรไฮเทค
เมื่อโทรศัพท์มือถือกลายเป็นทุกสิ่ง ระบบลงทะเบียนซิมการ์ด จึงต้องมีการอัพเกรดให้ทันสมัยอยู่เสมอ “กสทช.” จึงพัฒนาระบบลงทะเบียนด้วยวิธี “อัตลักษณ์” หรือที่เรียกว่า “2 แชะอัตลักษณ์” ยืนยันตัวตนด้วยการตรวจสอบใบหน้า (face recognition) หรือสแกนลายนิ้วมือ (finger print) ดีเดย์พร้อมกันทั่วประเทศ 15 ธ.ค.นี้
“ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ได้แจ้งผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือให้เตรียมตัวจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องนำไปติดตั้งที่จุดจำหน่ายซิมการ์ด ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา ก่อนที่จะเริ่มใช้ทั่วประเทศในวันที่ 15 ธ.ค.นี้
โดยจุดจำหน่ายซิมการ์ดที่ต้องมีอุปกรณ์ลงทะเบียนแบบใหม่มีอยู่ราว 55,000 แห่งทั่วประเทศ แยกเป็น ศูนย์บริการค่ายมือถือ 2,000 แห่ง ร้านแฟรนไชส์ 3,000 แห่ง และลูกตู้ที่เป็นร้านค้าย่อยราว 50,000 แห่ง ไม่รวมร้านสะดวกซื้อ และโมเดิร์นเทรด อีกราว 10,000 จุด ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจาให้ใช้ระบบดังกล่าวด้วย
***
“ระบบนี้จริง ๆ เริ่มใช้ไปแล้วใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่จะใช้พร้อมกันทั่วประเทศ 15 ธ.ค.นี้ สำหรับเปิดใช้เบอร์ใหม่ทั้งแบบรายเดือน และเติมเงิน รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เราไม่ได้ต้องการติดตามการใช้งานของประชาชน แต่เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานของผู้บริโภค เช่น กรณีที่มีการนำมือถือไปผูกกับโมบายเพย์เมนต์ต่าง ๆ”
***
โดยซิมเดิมที่ลงทะเบียนแล้ว ไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่ เว้นแต่จะอยากยืนยันตัวตนเพื่อความปลอดภัยเพิ่มเติม
ขณะที่ยอดเปิดเบอร์ใหม่ของทุกค่ายมือถือรวมกันจะอยู่ที่ 4.24 ล้านเลขหมาย/เดือน
ด้าน “ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร” รองเลขาธิการ กสทช. เสริมว่า กสทช.พัฒนาระบบ 2 แชะอัตลักษณ์ ขึ้นเองในวงเงิน 5 ล้านบาท เป็นการพัฒนาระบบเพื่อปิดช่องโหว่ของการลงทะเบียนด้วยแอปพลิเคชั่น 2 แชะเดิม ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ มิ.ย. 2557 ขณะที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจะลงทุนจัดซื้ออุปกรณ์ตรวจสอบอัตลักษณ์ ตามมาตรฐานเครื่องที่ กสทช.กำหนด โดยแต่ละจุดจะเลือกได้ว่าจะใช้เครื่องตรวจสอบใบหน้า (face recognition) ซึ่งปัจจุบันมีราคาถูกลงมาก ราวเครื่องละ 500 บาท หรือระบบสแกนลายนิ้วมือ (finger print) ที่ยังมีราคาสูงราว 9,000 บาทต่อเครื่อง ซึ่งอุปกรณ์ 1 ชุด นำไปใช้ลงทะเบียนซิมของทุกค่ายมือถือได้ เพราะภายในแอปพลิเคชั่นได้ออกแบบมาให้กดเลือกค่ายมือถือที่ต้องการเปิดให้บริการได้เอง
“กสทช.” ได้พัฒนาระบบตามมาตรฐานความปลอดภัย KYC ในระนาบเดียวกับที่สถาบันการเงินเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยข้อมูลหรือการใช้แอปพลิเคชั่นไม่ได้เชื่อมโยงกับระบบทะเบียนราษฎรของกรมการปกครองแต่อย่างใด เป็นการอ่านข้อมูลจากลายนิ้วมือ และรูปที่บันทึกไว้ในซิมของบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด ด้วยการเสียบบัตรประชาชนเข้ากับการ์ดรีดเดอร์ ระบบจะให้ถ่ายรูปหน้า หรือสแกนลายนิ้วมือ เพื่อเทียบว่าตรงกันหรือไม่ หากไม่ตรง ระบบจะไม่อนุญาตให้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป ทำให้ป้องกันการปลอมเป็นผู้อื่น และหยิบบัตรผู้อื่นมาลงทะเบียนได้
สำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการสแกนใบหน้าหรือลายนิ้วมือ กับข้อมูลที่บันทึกไว้ในบัตรสมาร์ทการ์ดนั้น แอปพลิเคชั่นออกแบบให้ส่งข้อมูลทั้งหมดที่ได้ในการยื่นขอลงทะเบียนแต่ละครั้งไปยังระบบเปรียบเทียบของ “ไมโครซอฟท์” ซึ่งมีความแม่นยำสูงมาก โดย กสทช.เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจเช็กครั้งละ 0.25 บาท
กรณีเทียบข้อมูลจากการสแกนใบหน้าหรือลายนิ้วมือแล้วไม่ตรงกัน จะไม่สามารถลงทะเบียนซิมเพื่อเปิดใช้งานผ่านระบบได้ และจะต้องนำเอกสารไปเปิดบริการที่ศูนย์บริการของโอเปอเรเตอร์ หากศูนย์ได้ตรวจสอบจนมั่นใจ พร้อมรับผิดชอบการเปิดใช้งานซิมการ์ดนั้น ๆ ได้ ก็แจ้งรับรองการจดทะเบียนซิมเข้ามาในระบบได้
“คิดเผื่อไว้สำหรับลูกค้าบางรายที่อาจศัลยกรรมจนใบหน้าเปลี่ยนไปมาก รวมถึงกลุ่มที่ลายนิ้วมือจางมาก ซึ่งมีอยู่ราว 5% ของประชากร จึงออกแบบฟังก์ชั่นให้ศูนย์บริการแต่ละค่ายกดยืนยันการลงทะเบียนซิมได้ เมื่อสแกนใบหน้าและลายนิ้วมือไม่ผ่าน แต่ศูนย์บริการจะต้องรับผิดชอบการลงทะเบียนซิมนั้น ๆ”
ปัจจุบันค่ายมือถือมีการเก็บข้อมูลการลงทะเบียน และข้อมูลการใช้งานของลูกค้าเป็นจำนวนมาก ณ เดือน ก.ย. 2560 เอไอเอสมีฐานลูกค้า 39.6 ล้านเลขหมาย ทรูมูฟ เอช มี 34.1 ล้านเลขหมาย ดีแทคมี 33.8 ล้าน my by CAT มี 4 แสนเลขหมาย และ TOT 3G มีลูกค้า 1.8 แสนเลขหมาย
และเร็ว ๆ นี้ “กสทช.” ยังเตรียมยกร่างประกาศ กสทช. เรื่องการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการฉบับใหม่ให้มีมาตรฐานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้สอดรับมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล โดยคาดว่าจะเริ่มนำมาบังคับใช้ได้ในปี 2561
เครดิต :
https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-69270
ทำไมต้อง ลงทะเบียน ซิม ?
อัพเกรดลงทะเบียนซิม “สแกนหน้า-สแกนนิ้ว” หนีโจรไฮเทค
เมื่อโทรศัพท์มือถือกลายเป็นทุกสิ่ง ระบบลงทะเบียนซิมการ์ด จึงต้องมีการอัพเกรดให้ทันสมัยอยู่เสมอ “กสทช.” จึงพัฒนาระบบลงทะเบียนด้วยวิธี “อัตลักษณ์” หรือที่เรียกว่า “2 แชะอัตลักษณ์” ยืนยันตัวตนด้วยการตรวจสอบใบหน้า (face recognition) หรือสแกนลายนิ้วมือ (finger print) ดีเดย์พร้อมกันทั่วประเทศ 15 ธ.ค.นี้
“ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ได้แจ้งผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือให้เตรียมตัวจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องนำไปติดตั้งที่จุดจำหน่ายซิมการ์ด ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา ก่อนที่จะเริ่มใช้ทั่วประเทศในวันที่ 15 ธ.ค.นี้
โดยจุดจำหน่ายซิมการ์ดที่ต้องมีอุปกรณ์ลงทะเบียนแบบใหม่มีอยู่ราว 55,000 แห่งทั่วประเทศ แยกเป็น ศูนย์บริการค่ายมือถือ 2,000 แห่ง ร้านแฟรนไชส์ 3,000 แห่ง และลูกตู้ที่เป็นร้านค้าย่อยราว 50,000 แห่ง ไม่รวมร้านสะดวกซื้อ และโมเดิร์นเทรด อีกราว 10,000 จุด ซึ่งอยู่ระหว่างเจรจาให้ใช้ระบบดังกล่าวด้วย
***
“ระบบนี้จริง ๆ เริ่มใช้ไปแล้วใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่จะใช้พร้อมกันทั่วประเทศ 15 ธ.ค.นี้ สำหรับเปิดใช้เบอร์ใหม่ทั้งแบบรายเดือน และเติมเงิน รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เราไม่ได้ต้องการติดตามการใช้งานของประชาชน แต่เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานของผู้บริโภค เช่น กรณีที่มีการนำมือถือไปผูกกับโมบายเพย์เมนต์ต่าง ๆ”
***
โดยซิมเดิมที่ลงทะเบียนแล้ว ไม่ต้องมาลงทะเบียนใหม่ เว้นแต่จะอยากยืนยันตัวตนเพื่อความปลอดภัยเพิ่มเติม
ขณะที่ยอดเปิดเบอร์ใหม่ของทุกค่ายมือถือรวมกันจะอยู่ที่ 4.24 ล้านเลขหมาย/เดือน
ด้าน “ก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร” รองเลขาธิการ กสทช. เสริมว่า กสทช.พัฒนาระบบ 2 แชะอัตลักษณ์ ขึ้นเองในวงเงิน 5 ล้านบาท เป็นการพัฒนาระบบเพื่อปิดช่องโหว่ของการลงทะเบียนด้วยแอปพลิเคชั่น 2 แชะเดิม ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ มิ.ย. 2557 ขณะที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจะลงทุนจัดซื้ออุปกรณ์ตรวจสอบอัตลักษณ์ ตามมาตรฐานเครื่องที่ กสทช.กำหนด โดยแต่ละจุดจะเลือกได้ว่าจะใช้เครื่องตรวจสอบใบหน้า (face recognition) ซึ่งปัจจุบันมีราคาถูกลงมาก ราวเครื่องละ 500 บาท หรือระบบสแกนลายนิ้วมือ (finger print) ที่ยังมีราคาสูงราว 9,000 บาทต่อเครื่อง ซึ่งอุปกรณ์ 1 ชุด นำไปใช้ลงทะเบียนซิมของทุกค่ายมือถือได้ เพราะภายในแอปพลิเคชั่นได้ออกแบบมาให้กดเลือกค่ายมือถือที่ต้องการเปิดให้บริการได้เอง
“กสทช.” ได้พัฒนาระบบตามมาตรฐานความปลอดภัย KYC ในระนาบเดียวกับที่สถาบันการเงินเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยข้อมูลหรือการใช้แอปพลิเคชั่นไม่ได้เชื่อมโยงกับระบบทะเบียนราษฎรของกรมการปกครองแต่อย่างใด เป็นการอ่านข้อมูลจากลายนิ้วมือ และรูปที่บันทึกไว้ในซิมของบัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด ด้วยการเสียบบัตรประชาชนเข้ากับการ์ดรีดเดอร์ ระบบจะให้ถ่ายรูปหน้า หรือสแกนลายนิ้วมือ เพื่อเทียบว่าตรงกันหรือไม่ หากไม่ตรง ระบบจะไม่อนุญาตให้ดำเนินการขั้นตอนต่อไป ทำให้ป้องกันการปลอมเป็นผู้อื่น และหยิบบัตรผู้อื่นมาลงทะเบียนได้
สำหรับการเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการสแกนใบหน้าหรือลายนิ้วมือ กับข้อมูลที่บันทึกไว้ในบัตรสมาร์ทการ์ดนั้น แอปพลิเคชั่นออกแบบให้ส่งข้อมูลทั้งหมดที่ได้ในการยื่นขอลงทะเบียนแต่ละครั้งไปยังระบบเปรียบเทียบของ “ไมโครซอฟท์” ซึ่งมีความแม่นยำสูงมาก โดย กสทช.เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจเช็กครั้งละ 0.25 บาท
กรณีเทียบข้อมูลจากการสแกนใบหน้าหรือลายนิ้วมือแล้วไม่ตรงกัน จะไม่สามารถลงทะเบียนซิมเพื่อเปิดใช้งานผ่านระบบได้ และจะต้องนำเอกสารไปเปิดบริการที่ศูนย์บริการของโอเปอเรเตอร์ หากศูนย์ได้ตรวจสอบจนมั่นใจ พร้อมรับผิดชอบการเปิดใช้งานซิมการ์ดนั้น ๆ ได้ ก็แจ้งรับรองการจดทะเบียนซิมเข้ามาในระบบได้
“คิดเผื่อไว้สำหรับลูกค้าบางรายที่อาจศัลยกรรมจนใบหน้าเปลี่ยนไปมาก รวมถึงกลุ่มที่ลายนิ้วมือจางมาก ซึ่งมีอยู่ราว 5% ของประชากร จึงออกแบบฟังก์ชั่นให้ศูนย์บริการแต่ละค่ายกดยืนยันการลงทะเบียนซิมได้ เมื่อสแกนใบหน้าและลายนิ้วมือไม่ผ่าน แต่ศูนย์บริการจะต้องรับผิดชอบการลงทะเบียนซิมนั้น ๆ”
ปัจจุบันค่ายมือถือมีการเก็บข้อมูลการลงทะเบียน และข้อมูลการใช้งานของลูกค้าเป็นจำนวนมาก ณ เดือน ก.ย. 2560 เอไอเอสมีฐานลูกค้า 39.6 ล้านเลขหมาย ทรูมูฟ เอช มี 34.1 ล้านเลขหมาย ดีแทคมี 33.8 ล้าน my by CAT มี 4 แสนเลขหมาย และ TOT 3G มีลูกค้า 1.8 แสนเลขหมาย
และเร็ว ๆ นี้ “กสทช.” ยังเตรียมยกร่างประกาศ กสทช. เรื่องการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการฉบับใหม่ให้มีมาตรฐานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้สอดรับมาตรฐานการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล โดยคาดว่าจะเริ่มนำมาบังคับใช้ได้ในปี 2561
เครดิต : https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-69270