จากแมงเม่าที่บอบช้ำ กลายมาเป็นนักล่าหุ้นห่านทองคำ (DCA)

กระทู้นี้แชร์เพื่อเป็นตัวอย่าง แนวทาง และเป็นข้อมูลเพื่อประกอบการศึกษาการลงทุน สำหรับนักลงทุนแนว DCA และสำหรับท่านที่สนใจการลงทุนในแนวนี้เท่านั้น ...  มิได้มุ่งหวังผลเพื่อการอวดภูมิ หรืออวดความเก่ง-ไม่เก่งแต่อย่างใดนะครับ  ท่านใดที่ไม่ชอบการลงทุนแนว DCA หรือไม่อยากเสียเวลาในการอ่านกระทู้นี้ ...กรุณาข้ามกระทู้นี้ไปนะครับ

เม่าอุ้มห่านเม่าอุ้มห่านเม่าอุ้มห่านเม่าอุ้มห่านเม่าอุ้มห่าน

ผมจะขอเล่าประสบการณ์การเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นครั้งแรกเพื่อเป็นความรู้ และความล้มเหลวในการลงทุน ก่อนจะมาลงทุนหุ้นพื้นฐานดี และการออมหุ้น ( DCA ) เพื่อเป็นความรู้ และเป็นวิทยาทานสำหรับนักลงทุน พี่ๆ น้องๆ หรือเพือนนักลงทุนทุกท่าน .. เพื่อเป็นตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งของนักลงทุน ซื่งอาจจะเพิ่มแง่คิดการลงทุนสำหรับบางท่านได้ไม่มากก็น้อยครับ

ห่านทองคำห่านทองคำห่านทองคำห่านทองคำห่านทองคำ

การเข้าสู่สมรภูมิตลาดหุ้นครั้งแรก

ผมได้เข้ามารู้จักหุ้น และได้เริ่มลงทุนในตลาดหุ้นครั้งแรก เพราะเพื่อนที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรมาได้ชักชวนให้มาเล่นหุ้น โดยฝากเพื่อนช่วยซื้อลงทุนในพอร์ตของเพื่อน  หุ้นตัวแรกที่ซื้อคือหุ้นของ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นวธนกิจ (ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว)   เพราะพิษการลดค่าเงินบาท ในตอนนั้นดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรณ ก็เป็นกรรมการผู้จัดการอยู่ที่บงล.แห่งนี้ ครั้งแรกที่ลงทุนเพียงไม่กี่วันก็กำไรเป็นหมื่นบาท  ช่วงนั้นซื้อหุ้นตัวไหนก็กำไร ส่วนมากเล่นสั้นๆก็มีเงินติดไม้มือติดมือกันทุกคน ผมเลยเพิ่มเงินลงทุนไปเรื่อยๆ และเริ่มเปิดพอร์ตลงทุนเอง  ผมเข้ามาลงทุนก่อนสงครามอ่าวเปอร์เซียไม่ถึงปี น่าจะในปี 2532 สงครามก็เกิดขึ้นเมื่อ  2 สิงหาคม 2533  ทำให้ตลาดหุ้นตกหนักมาก แต่ตลาดก็ยังไม่แย่มากนัก อีกไม่นานตลาดหุ้นก็ค่อยๆปรับตัวขึ้นจนไปทำจุดสูงสุด ที่ดัชนีปิดตลาดที่ระดับ 1,643.43 จุด ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2536  มูลค่าการซื้อขาย 57,451.27 ล้านบาท ทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 19 ปี

          2 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 – รัฐบาลไทยได้ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท นับเป็นจุดเริ่มของวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540   (วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า วิกฤตต้มยำกุ้ง เป็นช่วงวิกฤตการณ์เงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน

          วิกฤติดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน (financial over extension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ ในเวลานั้น ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะซึ่งทำให้ประเทศอยู่ในสภาพล้มละลายก่อนหน้าการล่มสลายของค่าเงิน และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้น)

          4 กันยายน พ.ศ. 2541 – ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้สร้างจุดต่ำที่สุดในรอบ 11 ปี โดยในวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541 ดัชนีปิดตลาดที่ 207.40 จุด และวันที่4 กันยายน พ.ศ. 2541 ดัชนีปิดตลาดที่ 207.31 จุด ลดลง 0.09 จุด หรือ 0.04%[12]

            จากวิกฤติลดค่าเงินบาท และฟองสบู่ทางการเงินแตก ทำให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดเงินล่มสลาย มีหนี้สินเพิ้มขึ้นจนต้องล้มละลายหายไป เช่นบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นวธนกิจ  บงล.เอกธนกิจ ธนายง (BTS ปัจจุบัน) ธนาคารศรีนคร ธนาคารนครหลวงไทย  TPI เป็นต้น  แม้ธนาคารใหญ่ๆอีกหลายธนาคารไม่ถีงกับต้องเลิกกิจการต่มูลค่าหุ้นแทบไร้ค่า จากราคาหุ้น 200 บาท เหลือไม่กี่สิบบาท จำได้ว่าธนาคารนครหลวงไทย  จาก40-50 บาทเหลือแค่ 1 สตางค์  เงินออมที่ผมได้จากการทำงานหลายปี เป็นเงินหลักล้าน ก็ขาดทุนเหลือแค่หลักหมื่นครับ สุดท้ายก็ต้องเลิกลงทุนไปโดยปริยาย

เม่าบาดเจ็บเม่าบาดเจ็บเม่าบาดเจ็บเม่าบาดเจ็บเม่าบาดเจ็บ

        จนประมาณปี 2547 -2548   ได้ไปอ่านหนังสือการออมเงินและการบริหารเงินให้เงินทำงานแทนเราได้อย่างไร? ( ความมหัศจรรย์ของดอกเบี้ยทบต้น) และ หนังสือหุ้นห่านทองคำ ของ อ.เทพ รุ่งธนาภิรมย์ ซึ่งท่านก็ขาดทุนกับวิกฤติต้มยำกุ้งจนหยุดลงทุนไปพักใหญ่เช่นกัน   จนอาจารย์ได้ไปอ่านหนังสือการลงทุนแนวหุ้นห่านทองคำ(เลือกหุ้นปันผลพื้นฐานดี มีเงินปันผลจ่ายทุกๆปี )   ซึ่งเป็นการลงทุนที่น่าจะมั่นคง หากลงทุนหุ้นในระยะยาวหลายๆปี  แม้ผลตอบแทนอาจจะไม่สูงมาก  แต่ก็ไม่เสี่ยง (อาจารย์เทพฯ ก็ได้กลับมาลงทุนหุ้นคุณค่าอีกครั้ง )  และผมได้อ่านหนังสือของดร.นิเวศน์ ในการลงทุนหุ้นคุณค่า จากสถิติการลงทุนระยะยาวก็ให้ผลตอบแทนสูงกว่า 10 ต่อปี ยิ่งนานเท่าไรความเสี่ยงที่จะขาดทุนจะยิ่งน้อยลง และเห็นว่าเป็นแนวทางเดียวกับหุ้นห่านทองคำ จึงตัดสินใจเริ่มคัดเลือกหุ้นคุณค่าเพื่อออมหุ้นรายเดือนอีกครั้งหนึ่ง (DCA) กับ บล. SICCO Securities (ปัจจุบันคือ CIMB) และได้ออมหุ้นเรื่อยมาทุกเดือน โดยเอาเงินเดือนที่ไม่ได้ใช้ เอามาออมเป็นหุ้นแทนฝากเงินไว้ในธนาคาร  ซึ่งก็ให้ผลตอบแทนได้มากกว่าการฝากธนาคาร โดยเฉลี่ยก็มากกว่า 10 % ต่อปี


ในการลงทุนคำรบสอง ในช่วงแรกๆที่กลับมาลงทุนรอบใหม่ก็ยังลงทุนแบบสะเปะสะปะอยู่ ในช่วงปี 2548 มีหุ้นหลายสิบตัว กำไรบ้าง ขาดทุนบ้าง ติดดอยก็เยอะ และได้ค่อยๆเรียนรู้จากความล้มเหลวในการเล่นหุ้นที่ยังไม่ตกผลึกกับความรู้ที่ผมมี ... จนมาได้อ่านหุ้นห่านทองคำ และดูพอร์ตหุ้นดีๆของดร.นิเวศน์ ที่ให้ผลตอบแทนดีหลายๆตัว ก็ลงทุนตามอาจารย์ โดยเลือกหุ้นดี แล้วลงทุนออมหุ้นไปนานหลายๆปี แค่นี้ก็ไม่เจ้งแล้ว ....ก็เลยเริ่มปรับพอร์ตหันมาเริ่ม DCA ไปด้วยทุกเดือนจากเงินเดือนที่เหลือทุกๆเดือน และขายหุ้นในพอร์ตออกไปบ้าง เมื่อจำเป็นต้องใช้เงิน ทำให้มีกำไรแต่ไม่มากครับ พอร์ตตอนนั้นก็เป็นอย่างนี้ครับ




ต่อมาจึงได้เริ่มออมหุ้นกับ บล.ซิกโก้ จำกัด ต่อมาได้ขายให้บล.ซีไอเอ็มบีไป ในช่วงปีแรกๆ หุ้นในพอร์ตก็ยังไม่มีกำไรเพราะเพิ่งเริ่มออม  และยังลงทุนเหวี่ยงแหไปทั่วๆ คิดว่าหุ้นไหนดีก็เลือกออม จนมีหุ้นในพอร์มมากเกือบ 30  ตัว  ปีที่ 2  ปีที่ 3 ก็ยังมีทั้งกำไรและขาดทุนปนๆกันไป จนมาถึงปีที่ 4 ก็เริ่มมีกำไรให้เห็นบ้าง การลงทุนระยะยาวเริ่มให้ผลตอบแทนมากขึ้น  และเริ่มลดจำนวนหุ้นที่จะ DCA ลงให้น้อยตัว เน้นหุ้นที่มั่นใจว่าเติบโตดีเป็นหลัก






แต่พอผ่านมา 3-4 ปี การออมหุ้นระยะยาวก็เริ่มให้ผลตอบแทนที่มีกำไรมากขึ้น และโชคดีที่ช่วงที่เริ่มซื้อหุ้น ราคาหุ้นก็ยังถูกอยู่เพราะเจอวิกฤติซับไพร์ม แต่พอผ่านวิกฤติมาได้ ราคาหุ้นก็เริ่มปรับตัวสูงขึ้นๆ  หุ้นในพอร์ตก็เริ่มกำไรมากขึ้นเรื่อยๆทุกปีๆ 4-5 ปีแรกออมหุ้นอย่างเดียว มาทยอยขายหลังจากนั้น และเปลี่ยนหุ้นลงทุนไปเรื่อยๆครับ

ผลตอบแทนแต่ละปีในพอร์ต DCA คงเหลือแต่ละปี เทียบกับต้นทน (ไม่รวมกำไรที่ได้ขายออกไประหว่างปี)


ผลตอบแทนแต่ละปีในพอร์ตรวม ทั้ง DCA และ ซื้อขายเอง


พอร์ตที่ซื้อทุกวันที่ 5 ของเดือน



พอร์ตที่ซื้อทุกวันที่ 15 ของเดือน



พอร์ตที่ซื้อทุกวันที่ 25 ของเดือน



เดือนพฤษภาคม 2560 ตลาดหลักทรัพย์แต่งประเทศไทย ได้เพิ่มโปรแกรมออมหุ้นรายเดือน (DCA) เป็นครั้งแรก โดยมีโบรกเกอร์หลายบริษัทได้เพิ่มโปรแกรม DCA ให้ลูกค้าสามาถสั่งซื้อ DCA ได้เอง  นอกเหนือการสั่งซื้อโดยตรงตามปรกติ  เช่น บล.บัวหลวง บล.กสิกรไทย บล.ทิสโก้ เป็นต้น

บล.ทิสโก้



บล. บัวหลวง



บล.กสิกรไทย



ปีที่ผ่านมาเป็นอีกปีที่หุ้นปรับขึ้นเยอะทั้งตลาด ทำให้ปีนีผลตอบแทนได้สูงกว่าปีอื่นๆ คิดว่าส่วนใหญ่ก็ได้กำไรกันทุกคน มากน้อยแล้วแต่เก็บหุ้นตัวไหนกลุ่มไหน เก็บหุ้นถูกตัวมั้ย

สำหรับพอร์ตผมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนได้ดีที่ผ่านมาก็เป็น AOT EA BEAUTY (เพิ่งเข้าตอนต้นปี 60) CPN CPALL ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่