การลงแข่งวิ่งระยะ 100 Km.ว่ายากแล้ว
แต่ใครจะรู้ว่าสำหรับคนใจสู้นั้น การยอมให้ตัวเองออกจากการแข่งขัน
..มั น ย า ก ก ว่ า..
อีกครั้งกับกระทู้เรื่องวิ่ง ที่ครั้งนี้แทบจะไม่ได้วิ่งของ ออ.(อุ๊บอิ๊บ)เลย
"Ultra Trail Chiang Rai ระยะทาง 122 Km."
ภายใน 2 ปีกว่า ออ. ผ่านการลงสนามแข่งระยะ 100 -100+ มาทั้งหมด 13 สนาม
สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง สุข เศร้าปนกันไป
สนามที่เข้าเส้นชัย สร้างความภูมิใจและความทรงจำที่ดี
แต่สนามที่ต้องบาดเจ็บนั้นต่างหากคือสิ่งที่มีค่าสำหรับชีวิตนักวิ่งกิ๊กก๊อกคนนี้มาก
เพราะความบาดเจ็บจากความดื้อของตัวเองนั้นมันสอน ออ.จนถึงวันนี้ว่า
“อย่าเอาร่างกายไปแลกกับสิ่งท้าทายหัวใจเพียงชั่วคราว”
เดือนมกราคม 2016 เกิดเหตุการณ์สำคัญในชีวิต
เป็นเหตุการณ์ที่ตัวเองอยู่กึ่งกลางระหว่างความเป็นกับความตาย
การแข่งขันวิ่ง Hongkong100
แม้จะเป็นรายการแข่งที่ไม่ได้น่ากลัวอะไรนักสำหรับ ออ.
เพราะมั่นใจว่าพร้อมทุกอย่างทั้งร่างกายและจิตใจ
แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้กับวิถีธรรมชาติบนโลกของเรา
พายุน้ำแข็งในรอบ 40 ปีของฮ่องกงเกิดขึ้นบนยอดเขา
ทำให้ ออ. ติดอยู่บนนั้นโดยไม่สามารถลงมาจากเขาได้
( อ่านได้จากกระทู้เก่าที่เคยเขียนเล่าไว้นะคะ )
จำได้ว่าตอนนั้นทำใจแล้ว
บอกลาพ่อ แม่ บอกลาครอบครัวด้วยความหนาวเย็นที่จับไปถึงขั้วกระดูก
ยกมือพนมสวดมนต์แบบตัวสั่นไปทั้งตัว
คิดว่าไม่วินาทีใดวินาทีหนึ่ง ตัวเองคงช๊อคแล้วหลับตาไปพร้อมกับร่างที่ถูกแช่แข็งด้วยอุณหภูมิที่ติดลบเป็นแน่
แต่ปาฎิหาริย์ก็ทำให้ ออ. รอด
และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ
“ร่างกายที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป”
ออ. มีอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าจากการล้มกระแทกเข่าปักบนพื้นถนนน้ำแข็ง
ข้อเท้าพลิกซ้ำแล้วซ้ำอีกจนทำให้เส้นเอ็นข้อเท้าขาด (แต่เอ็นที่เหลืออยู่ยังพอใช้ได้)
2 อวัยวะนี้สำคัญมากกับนักวิ่งเทรล
แต่ด้วยความดื้อและอวดดีลึกๆ ในตัวเอง
ทำให้ ออ.ไม่เกรงต่อสนาม 100 Km. อีกหลายๆสนามที่ตามมา
บาดเจ็บสาหัสเดือน ม.ค.
ก.พ. ก็ยังแข่ง 100 ที่นิวซิแลนด์
มี.ค. ก็มีอีก 100 ที่ฮ่องกง(เป็นการวิ่งที่ใช้คำว่าแสบหัวเข่า แทนคำว่าเจ็บไปได้เลย)
เม.ย. ตัดใจเปลี่ยนระยะจาก 100 เป็น 50 ที่ฟิลิปปินส์
พ.ค. อีก 100 ที่ออสเตรเลีย
มิ.ย. 50 ที่ญี่ปุ่น
ยาวไปเรื่อยๆ จน พ.ย. 2016 อีก 100 Km. ที่แม่ฮ่องสอนปิดท้ายปีนั้น
ทุกครั้งที่จบแล้วเข้าเส้นชัย
ทุกคนดีใจและชื่นชม ออ.ที่ทำสำเร็จทั้งๆที่ร่างกายไม่สมบูรณ์นัก
มันอาจจะคล้ายกับคำพูดที่ว่า
“ถ้าร่างกายวิ่งไม่ได้แล้ว ก็ใช้ใจวิ่งแทน”
มันคือ “ใจ” ล้วนๆ จริงๆ
ปาดน้ำตาร้องไห้ ก้าวไปเจ็บไปแต่ก็ไม่ยอมออกจากการแข่งขัน
“ยอมเจ็บ ดีกว่ายอมเดินออกจากสนามอย่างคนพ่ายแพ้”
.
.
.
“นี่ไม่ใช่ความเก่ง แต่นี่เป็นความดื้อที่ทำร้ายตัวเองอย่างที่สุด”
มันคือสิ่งที่ผิด เมื่อย้อนกลับไปคิด ตัวเองช่าง
“โง่” ชะมัด
ปี 2016 เป็นปีที่เข้า-ออกโรงพยาบาลบ่อยที่สุดตั้งแต่เกิดมา 31 ปี
ทำกายภาพวันเว้นวันติดกันร่วม 3 เดือน
สนิทกับคุณหมอและนักกายภาพบำบัด
รักษาทุกศาสตร์ ทั้งไทย จีน และฝรั่ง
นอนร้องไห้แทบทุกคืน
น้อยใจในความไม่ปกติของร่างกายตัวเอง
จากนักวิ่ง 100 Km. กลายมาเป็นคนที่ทำไม่ได้แม้แต่เดินให้เป็นปกติ
ออ. ไม่ได้บอกใคร
มีแต่คนในครอบครัวที่รู้ว่านี่คือเบื้องหลังของผู้หญิงโคตรเก่งที่ใครต่อใครต่างชื่นชม
คือวันนี้ต้องนั่งมองคนอื่นวิ่งผ่านจอโทรศัพท์แล้วน้อยใจตัวเอง
นี่คือความจริงหลังจากความบาดเจ็บของร่างกายมันเริ่มมีอำนาจมากกว่าจิตใจ
“ไม่ได้สวยงามแบบภาพตอนยิ้มที่เส้นชัยหรอกนะ”
เริ่มปี 2017
ความคิดที่จะเป็นนักวิ่ง 100 Km.แบบเดิมลดลงไปเรื่อยๆ ตามอาการบาดเจ็บที่ดีขึ้นตามลำดับ
คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ ก็คือ ... ทำไมไม่วิ่งเลย ออ.หายไปไหน
ออ.ได้แต่ยิ้มและคิดน้อยใจ...ฉันจะเอาปัญญาที่ไหนไปวิ่งแบบเดิมอีก
กว่าจะกลับมาเดินปกติได้ยังต้องใช้เวลามากมายในการรักษา
แต่ดันติดตรงที่ว่าเดือน ก.พ. รายการแข่งที่ New Zealand ที่สมัครไว้ต้องแต่กลางปีที่แล้ว
ตั๋วเครื่องบิน ที่พักพร้อมแล้ว และ ออ. ต้องไป
ไปแข่งแบบคนอ่อนซ้อม น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น
รู้เลยว่าตัวเองไม่ได้แข็งแรงเหมือนก่อน ความฟิตไม่มี หายใจไม่ทัน ขึ้นเขาลำบาก ลงเขาก็กลัวข้อเท้าพลิก
ปีนี้เลยใช้เวลาช้ากว่าเดิมไปกว่า 2 ชม.
(ปี 2016 17 ชม. ไม่ใช้ trekking poles ... ปี 2017 19 ชม. แถมยังใช้ Trekking Poles ช่วยอีกต่างหาก)
แต่ก็ถือว่ายังโชคดีที่จบมาได้
100 Km ที่ครั้งนั้นทำให้ ออ. เจียมตัวเองมากขึ้น
แต่สิ่งที่รัก ต่อให้เราเป็นยังไง...
เราก็ยังรัก
ในเมื่อวิ่งยาว วิ่งไกล แบบเก่าไม่ได้
ขอให้ทุกเช้าได้วิ่งบนเครื่องวิ่งนิดๆ หน่อยๆ ก็ยังดี
ออ. กลับมาวิ่งอีกครั้งประมาณเดือนมีนาคม
ทุกเช้าบนเครื่องวิ่งที่คอนโด เช้าละ 4-5 Km. ก่อนไปทำงาน
พยายามทำต่อเนื่องให้ได้ทุกวัน แม้จะง่วงแต่ก็ต้องอดทน
ไม่มีการวิ่งยาว 30++ Km.แบบเมื่อก่อน
ไม่ได้เจอป่าเจอเขา ซ้อมวิ่งบนดอยมานานเท่าไหร่แล้ว
ได้แต่นั่งมองคนอื่นแข่ง ดูคนอื่นซ้อม แล้วก็ยิ้มให้กับวันดีๆของตัวเองในอดีต
“เมื่อก่อน ฉันก็ทำแบบนี้นะ”
ทำได้แค่นั้นจริงๆ
พอได้เริ่มกลับมาวิ่ง
แม้จะเป็นเพียงระยะสั้นๆ แต่มันก็ทำให้ความมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น
มั่นใจว่าร่างกายเราเริ่มโอเคแบบคนทั่วไปแล้ว และก็อยากกลับไปวิ่งบนเขาแบบเดิมอีก
ออ. กลับไปซ้อมบนเขา ด้วยระยะทางเบาๆ เพียงไม่กี่กิโล
วันแรกที่กลับไป
ความรู้สึกเหมือนกับคนไม่เคยวิ่งบนเขามาก่อน
ระบบหายใจ ระบบหัวใจทำงานหนักมาก
เหนื่อย หอบ ทรมาน...
นี่มันใช่ ออ.คนที่เคยวิ่ง 100 Km. มาก่อนจริงๆเหรอ
“ท้อมากถึงมากที่สุด”
ทุกก้าวก็วิ่งไปอย่างหวาดระแวง
กลัวไปหมด กลัวข้อเท้าจะพลิก กลัวหัวเข่าจะช้ำ
กลัว กลัว กลัว
และที่กลัวที่สุด
คือกลัวจะกลับไปเจ็บแบบเดิมอีก
ออ. ไม่มีความมั่นใจในการวิ่งเทรลเหมือนเดิม
แต่สิ่งที่เหมือนเดิม คือความรักที่มีให้กับป่ากับเขาทุกครั้งที่ตัวเองได้มาอยู่
วิ่งTrail คือ “ความสุข”
แม้จะเหนื่อยมาก แต่ ออ. ก็ไม่คิดจะทิ้งสิ่งที่รักแม้แต่น้อย
ออ. กลับมาขึ้นดอยบ่อยขึ้น แม้จะวิ่งได้นิดๆ หน่อยๆ
เข้าป่าแค่พอสนุก ไม่ได้ลงแข่งขันแบบเมื่อก่อน
มันเป็นความสุขที่เราเสพได้จากการวิ่งเทรลที่แท้จริง
วิ่งแบบไม่กดดัน
วิ่งแบบไม่มีเวลา cut off
วิ่งแบบไม่ต้องกลัวคนนำหน้า ไม่ต้องกลัวใครตามหลัง
วิ่งแบบเด็กคนนึงที่มีความสุขเหมือนได้วิ่งเล่นในสวนหลังบ้าน
เหมือนได้ค้นพบตัวเองว่า ได้เท่านี้เราก็มีความสุขแล้ว
หลังจากกลับมาวิ่งเล่นบนเขาได้ไม่กี่เดือน สนามที่เลือกจะลงแข่งก็ไม่ใช่สนาม 100 Km. แบบเดิมแล้ว
ออ.แข่งสนามเล็กๆ น้อยๆ แค่พอมีความสุข
สนามเทรลน่าน 50 K ก็เข้ามาซะเกือบหมดเวลา 555
และเลือกที่จะบินไปถึงออส เพียงเพื่อจะลงวิ่งเพียงแค่ 21 Km.
ถ้าเป็นเมื่อก่อน ถ้าเห็นใครเดินทางไปไกลเพื่อวิ่งเพียงเล็กน้อยคงคิดในใจ ... ไปทั้งทีทำไมวิ่งแค่นี้นะ
แต่วันนี้...ตัวเองนี่แหละ ที่เป็นคนทำแบบนั้นเอง
การลงทุนบินไปที่ที่แสนไกลเพียงเพื่อวิ่งระยะแค่ 21 Km. ครั้งนั้น
แม้มันจะไม่ได้สอนให้ ออ. รู้จักอดทนและอยู่กับความทรมานให้ได้เท่าการแข่ง 100 Km.
แต่สิ่งที่ ออ. ได้ คือคำว่า “บาลานซ์” ชีวิต
บาลานซ์ชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับ สิ่งที่รัก
เอาร่างกายมาทำสิ่งที่รัก และยังเหลือเรี่ยวแรงและความแข็งแรงไปใช้ชีวิตด้านอื่นกันต่อ
“ซึ่งมันก็เข้าท่าดี”
แต่ปัญหาใหญ่หลังจากกลับจากออสเตรเลียเพียงไม่ถึง 1 อาทิตย์นั่นคือ
ออ. ลงสมัครวิ่งรายการ
Ultra Trail Chiang Rai ระยะ 122 Km. ไว้
ซึ่งเป็นระยะที่มากที่สุดเท่าที่ ออ. เคยวิ่งมา
“แล้วจะไหวเหรอ”
“แล้วจะไปเหรอ”
“แล้วจะไม่กลับไปบาดเจ็บอีกเหรอ”
ทางเลือกของ ออ. ตอนนั้นมีอยู่ 2 ทางคือ
“ไป” และ
“ไม่ไป”
แต่เจ แฟน ออ. ไปแข่งรายการนี้ด้วย ... ออ. จึงเลือกตัวเลือกแรกคือ
“ไป”
ซึ่งภายใต้คำว่า “ไป” นั้น ก็มีทางเลือกอีก 2 ทางอีกคือ
“วิ่ง” หรือ
“ไม่วิ่ง”
ออ. มั่นใจว่าตัวเอง “วิ่ง” ไม่ได้แน่ๆ เพราะถ้า “วิ่ง” มันต้องมีอาการบาดเจ็บ
และออ. จะไม่ยอมให้ตัวเองกลับไปบาดเจ็บอีก
ออ. ตัดสินใจ
“ไม่วิ่ง”
แต่เดี๋ยวค่ะ...ที่บอกว่า “ไม่วิ่ง” ไม่ได้หมายความว่า ออ. จะไม่ลงสนามแข่งนะ
“ออ. จะแข่ง แต่ ออ. จะไม่วิ่ง”
นี่เป็นการตัดสินใจครั้งแรกในชีวิต ที่มีความคิดแบบนี้ ซึ่งแตกต่างจากออ.คนเก่าโดยสิ้นเชิง
เมื่อก่อน เป้าหมายการแข่งคือการทำเวลาที่ดี ไม่เสียเวลากลางสนาม ตรงไหนวิ่งได้ต้องวิ่ง ตรงไหนยากต้องพยายาม อดทนและรีบเข้าเส้นชัย
แต่คราวนี้กลับไม่ใช่ และแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ฉันต้องไม่บาดเจ็บ
ฉันต้องไม่ทรมาน
ฉันต้องไม่ฝืนตัวเอง
ฉันต้องดูแลตัวเองทุกก้าวตลอดเส้นทาง
สุดท้าย… “ฉันจะมีความสุข”
และถ้าก้าวของความสุขของฉันหยุดลงที่กิโลเมตรไหน ... ฉันจะเดินออกจากการแข่งขันไปอย่างยอมรับความจริง
“นี่คือ...เป้าหมายของการไปครั้งนี้ของตัวเอง”
วันก่อนการแข่งขัน ออ.สดชื่นและมีความสุขมากเป็นพิเศษ
เพราะเราไม่ได้กดดันตัวเองเหมือนเมื่อก่อน
เรามาเพื่ออยากรู้ว่า ด้วยความที่ห่างหายไปขนาดนี้ เราจะมีปัญญาพาตัวเองไปได้ไกลแค่ไหน
ออ. จัดกระเป๋าเป้น้ำอย่างหลงๆ ลืมๆ เพราะห่างหายจากการวิ่งระยะไกลมานานหลายเดือน
น้ำ เจล ไฟฉาย ถ่าน อุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆ จับยัดลงเป้ไปไม่ให้ขาด
ยาดม ยาทา ยาเหลือง และยายูนิเรน สเปรย์ ฉีดพ่นเวลาปวดกล้ามเนื้อ
ตั้งแต่เป็นนักวิ่งที่บาดเจ็บบ่อย
ยาทุกอย่างจึงสำคัญ และ ออ. จะไม่ลืมเอาไปด้วยเสมอ
จะว่าไป ออ. พกยาและอุปกรณ์ฉุกเฉินไปมากกว่าอาหารที่จะทานเสียอีก
❤❤❤ กระทู้ที่เขียนด้วยความรักและเป็นห่วง จากผู้หญิงที่รักการวิ่งคนหนึ่ง ❤❤❤
แต่ใครจะรู้ว่าสำหรับคนใจสู้นั้น การยอมให้ตัวเองออกจากการแข่งขัน
..มั น ย า ก ก ว่ า..
อีกครั้งกับกระทู้เรื่องวิ่ง ที่ครั้งนี้แทบจะไม่ได้วิ่งของ ออ.(อุ๊บอิ๊บ)เลย
"Ultra Trail Chiang Rai ระยะทาง 122 Km."
ภายใน 2 ปีกว่า ออ. ผ่านการลงสนามแข่งระยะ 100 -100+ มาทั้งหมด 13 สนาม
สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง สุข เศร้าปนกันไป
สนามที่เข้าเส้นชัย สร้างความภูมิใจและความทรงจำที่ดี
แต่สนามที่ต้องบาดเจ็บนั้นต่างหากคือสิ่งที่มีค่าสำหรับชีวิตนักวิ่งกิ๊กก๊อกคนนี้มาก
เพราะความบาดเจ็บจากความดื้อของตัวเองนั้นมันสอน ออ.จนถึงวันนี้ว่า
“อย่าเอาร่างกายไปแลกกับสิ่งท้าทายหัวใจเพียงชั่วคราว”
เดือนมกราคม 2016 เกิดเหตุการณ์สำคัญในชีวิต
เป็นเหตุการณ์ที่ตัวเองอยู่กึ่งกลางระหว่างความเป็นกับความตาย
การแข่งขันวิ่ง Hongkong100
แม้จะเป็นรายการแข่งที่ไม่ได้น่ากลัวอะไรนักสำหรับ ออ.
เพราะมั่นใจว่าพร้อมทุกอย่างทั้งร่างกายและจิตใจ
แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้กับวิถีธรรมชาติบนโลกของเรา
พายุน้ำแข็งในรอบ 40 ปีของฮ่องกงเกิดขึ้นบนยอดเขา
ทำให้ ออ. ติดอยู่บนนั้นโดยไม่สามารถลงมาจากเขาได้
( อ่านได้จากกระทู้เก่าที่เคยเขียนเล่าไว้นะคะ )
จำได้ว่าตอนนั้นทำใจแล้ว
บอกลาพ่อ แม่ บอกลาครอบครัวด้วยความหนาวเย็นที่จับไปถึงขั้วกระดูก
ยกมือพนมสวดมนต์แบบตัวสั่นไปทั้งตัว
คิดว่าไม่วินาทีใดวินาทีหนึ่ง ตัวเองคงช๊อคแล้วหลับตาไปพร้อมกับร่างที่ถูกแช่แข็งด้วยอุณหภูมิที่ติดลบเป็นแน่
แต่ปาฎิหาริย์ก็ทำให้ ออ. รอด
และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของ “ร่างกายที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป”
ออ. มีอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าจากการล้มกระแทกเข่าปักบนพื้นถนนน้ำแข็ง
ข้อเท้าพลิกซ้ำแล้วซ้ำอีกจนทำให้เส้นเอ็นข้อเท้าขาด (แต่เอ็นที่เหลืออยู่ยังพอใช้ได้)
2 อวัยวะนี้สำคัญมากกับนักวิ่งเทรล
แต่ด้วยความดื้อและอวดดีลึกๆ ในตัวเอง
ทำให้ ออ.ไม่เกรงต่อสนาม 100 Km. อีกหลายๆสนามที่ตามมา
บาดเจ็บสาหัสเดือน ม.ค.
ก.พ. ก็ยังแข่ง 100 ที่นิวซิแลนด์
มี.ค. ก็มีอีก 100 ที่ฮ่องกง(เป็นการวิ่งที่ใช้คำว่าแสบหัวเข่า แทนคำว่าเจ็บไปได้เลย)
เม.ย. ตัดใจเปลี่ยนระยะจาก 100 เป็น 50 ที่ฟิลิปปินส์
พ.ค. อีก 100 ที่ออสเตรเลีย
มิ.ย. 50 ที่ญี่ปุ่น
ยาวไปเรื่อยๆ จน พ.ย. 2016 อีก 100 Km. ที่แม่ฮ่องสอนปิดท้ายปีนั้น
ทุกครั้งที่จบแล้วเข้าเส้นชัย
ทุกคนดีใจและชื่นชม ออ.ที่ทำสำเร็จทั้งๆที่ร่างกายไม่สมบูรณ์นัก
มันอาจจะคล้ายกับคำพูดที่ว่า
“ถ้าร่างกายวิ่งไม่ได้แล้ว ก็ใช้ใจวิ่งแทน”
มันคือ “ใจ” ล้วนๆ จริงๆ
ปาดน้ำตาร้องไห้ ก้าวไปเจ็บไปแต่ก็ไม่ยอมออกจากการแข่งขัน
“ยอมเจ็บ ดีกว่ายอมเดินออกจากสนามอย่างคนพ่ายแพ้”
.
.
.
“นี่ไม่ใช่ความเก่ง แต่นี่เป็นความดื้อที่ทำร้ายตัวเองอย่างที่สุด”
มันคือสิ่งที่ผิด เมื่อย้อนกลับไปคิด ตัวเองช่าง “โง่” ชะมัด
ปี 2016 เป็นปีที่เข้า-ออกโรงพยาบาลบ่อยที่สุดตั้งแต่เกิดมา 31 ปี
ทำกายภาพวันเว้นวันติดกันร่วม 3 เดือน
สนิทกับคุณหมอและนักกายภาพบำบัด
รักษาทุกศาสตร์ ทั้งไทย จีน และฝรั่ง
นอนร้องไห้แทบทุกคืน
น้อยใจในความไม่ปกติของร่างกายตัวเอง
จากนักวิ่ง 100 Km. กลายมาเป็นคนที่ทำไม่ได้แม้แต่เดินให้เป็นปกติ
ออ. ไม่ได้บอกใคร
มีแต่คนในครอบครัวที่รู้ว่านี่คือเบื้องหลังของผู้หญิงโคตรเก่งที่ใครต่อใครต่างชื่นชม
คือวันนี้ต้องนั่งมองคนอื่นวิ่งผ่านจอโทรศัพท์แล้วน้อยใจตัวเอง
นี่คือความจริงหลังจากความบาดเจ็บของร่างกายมันเริ่มมีอำนาจมากกว่าจิตใจ
“ไม่ได้สวยงามแบบภาพตอนยิ้มที่เส้นชัยหรอกนะ”
เริ่มปี 2017
ความคิดที่จะเป็นนักวิ่ง 100 Km.แบบเดิมลดลงไปเรื่อยๆ ตามอาการบาดเจ็บที่ดีขึ้นตามลำดับ
คำถามที่ได้ยินบ่อยๆ ก็คือ ... ทำไมไม่วิ่งเลย ออ.หายไปไหน
ออ.ได้แต่ยิ้มและคิดน้อยใจ...ฉันจะเอาปัญญาที่ไหนไปวิ่งแบบเดิมอีก
กว่าจะกลับมาเดินปกติได้ยังต้องใช้เวลามากมายในการรักษา
แต่ดันติดตรงที่ว่าเดือน ก.พ. รายการแข่งที่ New Zealand ที่สมัครไว้ต้องแต่กลางปีที่แล้ว
ตั๋วเครื่องบิน ที่พักพร้อมแล้ว และ ออ. ต้องไป
ไปแข่งแบบคนอ่อนซ้อม น้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น
รู้เลยว่าตัวเองไม่ได้แข็งแรงเหมือนก่อน ความฟิตไม่มี หายใจไม่ทัน ขึ้นเขาลำบาก ลงเขาก็กลัวข้อเท้าพลิก
ปีนี้เลยใช้เวลาช้ากว่าเดิมไปกว่า 2 ชม.
(ปี 2016 17 ชม. ไม่ใช้ trekking poles ... ปี 2017 19 ชม. แถมยังใช้ Trekking Poles ช่วยอีกต่างหาก)
แต่ก็ถือว่ายังโชคดีที่จบมาได้
100 Km ที่ครั้งนั้นทำให้ ออ. เจียมตัวเองมากขึ้น
แต่สิ่งที่รัก ต่อให้เราเป็นยังไง...เราก็ยังรัก
ในเมื่อวิ่งยาว วิ่งไกล แบบเก่าไม่ได้
ขอให้ทุกเช้าได้วิ่งบนเครื่องวิ่งนิดๆ หน่อยๆ ก็ยังดี
ออ. กลับมาวิ่งอีกครั้งประมาณเดือนมีนาคม
ทุกเช้าบนเครื่องวิ่งที่คอนโด เช้าละ 4-5 Km. ก่อนไปทำงาน
พยายามทำต่อเนื่องให้ได้ทุกวัน แม้จะง่วงแต่ก็ต้องอดทน
ไม่มีการวิ่งยาว 30++ Km.แบบเมื่อก่อน
ไม่ได้เจอป่าเจอเขา ซ้อมวิ่งบนดอยมานานเท่าไหร่แล้ว
ได้แต่นั่งมองคนอื่นแข่ง ดูคนอื่นซ้อม แล้วก็ยิ้มให้กับวันดีๆของตัวเองในอดีต
“เมื่อก่อน ฉันก็ทำแบบนี้นะ”
ทำได้แค่นั้นจริงๆ
พอได้เริ่มกลับมาวิ่ง
แม้จะเป็นเพียงระยะสั้นๆ แต่มันก็ทำให้ความมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น
มั่นใจว่าร่างกายเราเริ่มโอเคแบบคนทั่วไปแล้ว และก็อยากกลับไปวิ่งบนเขาแบบเดิมอีก
ออ. กลับไปซ้อมบนเขา ด้วยระยะทางเบาๆ เพียงไม่กี่กิโล
วันแรกที่กลับไป
ความรู้สึกเหมือนกับคนไม่เคยวิ่งบนเขามาก่อน
ระบบหายใจ ระบบหัวใจทำงานหนักมาก
เหนื่อย หอบ ทรมาน...นี่มันใช่ ออ.คนที่เคยวิ่ง 100 Km. มาก่อนจริงๆเหรอ
“ท้อมากถึงมากที่สุด”
ทุกก้าวก็วิ่งไปอย่างหวาดระแวง
กลัวไปหมด กลัวข้อเท้าจะพลิก กลัวหัวเข่าจะช้ำ
กลัว กลัว กลัว
และที่กลัวที่สุด คือกลัวจะกลับไปเจ็บแบบเดิมอีก
ออ. ไม่มีความมั่นใจในการวิ่งเทรลเหมือนเดิม
แต่สิ่งที่เหมือนเดิม คือความรักที่มีให้กับป่ากับเขาทุกครั้งที่ตัวเองได้มาอยู่
วิ่งTrail คือ “ความสุข”
แม้จะเหนื่อยมาก แต่ ออ. ก็ไม่คิดจะทิ้งสิ่งที่รักแม้แต่น้อย
ออ. กลับมาขึ้นดอยบ่อยขึ้น แม้จะวิ่งได้นิดๆ หน่อยๆ
เข้าป่าแค่พอสนุก ไม่ได้ลงแข่งขันแบบเมื่อก่อน
มันเป็นความสุขที่เราเสพได้จากการวิ่งเทรลที่แท้จริง
วิ่งแบบไม่กดดัน
วิ่งแบบไม่มีเวลา cut off
วิ่งแบบไม่ต้องกลัวคนนำหน้า ไม่ต้องกลัวใครตามหลัง
วิ่งแบบเด็กคนนึงที่มีความสุขเหมือนได้วิ่งเล่นในสวนหลังบ้าน
เหมือนได้ค้นพบตัวเองว่า ได้เท่านี้เราก็มีความสุขแล้ว
หลังจากกลับมาวิ่งเล่นบนเขาได้ไม่กี่เดือน สนามที่เลือกจะลงแข่งก็ไม่ใช่สนาม 100 Km. แบบเดิมแล้ว
ออ.แข่งสนามเล็กๆ น้อยๆ แค่พอมีความสุข
สนามเทรลน่าน 50 K ก็เข้ามาซะเกือบหมดเวลา 555
และเลือกที่จะบินไปถึงออส เพียงเพื่อจะลงวิ่งเพียงแค่ 21 Km.
ถ้าเป็นเมื่อก่อน ถ้าเห็นใครเดินทางไปไกลเพื่อวิ่งเพียงเล็กน้อยคงคิดในใจ ... ไปทั้งทีทำไมวิ่งแค่นี้นะ
แต่วันนี้...ตัวเองนี่แหละ ที่เป็นคนทำแบบนั้นเอง
การลงทุนบินไปที่ที่แสนไกลเพียงเพื่อวิ่งระยะแค่ 21 Km. ครั้งนั้น
แม้มันจะไม่ได้สอนให้ ออ. รู้จักอดทนและอยู่กับความทรมานให้ได้เท่าการแข่ง 100 Km.
แต่สิ่งที่ ออ. ได้ คือคำว่า “บาลานซ์” ชีวิต
บาลานซ์ชีวิตประจำวัน ควบคู่ไปกับ สิ่งที่รัก
เอาร่างกายมาทำสิ่งที่รัก และยังเหลือเรี่ยวแรงและความแข็งแรงไปใช้ชีวิตด้านอื่นกันต่อ
“ซึ่งมันก็เข้าท่าดี”
แต่ปัญหาใหญ่หลังจากกลับจากออสเตรเลียเพียงไม่ถึง 1 อาทิตย์นั่นคือ
ออ. ลงสมัครวิ่งรายการ Ultra Trail Chiang Rai ระยะ 122 Km. ไว้
ซึ่งเป็นระยะที่มากที่สุดเท่าที่ ออ. เคยวิ่งมา
“แล้วจะไหวเหรอ”
“แล้วจะไปเหรอ”
“แล้วจะไม่กลับไปบาดเจ็บอีกเหรอ”
ทางเลือกของ ออ. ตอนนั้นมีอยู่ 2 ทางคือ “ไป” และ “ไม่ไป”
แต่เจ แฟน ออ. ไปแข่งรายการนี้ด้วย ... ออ. จึงเลือกตัวเลือกแรกคือ “ไป”
ซึ่งภายใต้คำว่า “ไป” นั้น ก็มีทางเลือกอีก 2 ทางอีกคือ “วิ่ง” หรือ “ไม่วิ่ง”
ออ. มั่นใจว่าตัวเอง “วิ่ง” ไม่ได้แน่ๆ เพราะถ้า “วิ่ง” มันต้องมีอาการบาดเจ็บ
และออ. จะไม่ยอมให้ตัวเองกลับไปบาดเจ็บอีก
ออ. ตัดสินใจ “ไม่วิ่ง”
แต่เดี๋ยวค่ะ...ที่บอกว่า “ไม่วิ่ง” ไม่ได้หมายความว่า ออ. จะไม่ลงสนามแข่งนะ
“ออ. จะแข่ง แต่ ออ. จะไม่วิ่ง”
นี่เป็นการตัดสินใจครั้งแรกในชีวิต ที่มีความคิดแบบนี้ ซึ่งแตกต่างจากออ.คนเก่าโดยสิ้นเชิง
เมื่อก่อน เป้าหมายการแข่งคือการทำเวลาที่ดี ไม่เสียเวลากลางสนาม ตรงไหนวิ่งได้ต้องวิ่ง ตรงไหนยากต้องพยายาม อดทนและรีบเข้าเส้นชัย
แต่คราวนี้กลับไม่ใช่ และแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
ฉันต้องไม่บาดเจ็บ
ฉันต้องไม่ทรมาน
ฉันต้องไม่ฝืนตัวเอง
ฉันต้องดูแลตัวเองทุกก้าวตลอดเส้นทาง
สุดท้าย… “ฉันจะมีความสุข”
และถ้าก้าวของความสุขของฉันหยุดลงที่กิโลเมตรไหน ... ฉันจะเดินออกจากการแข่งขันไปอย่างยอมรับความจริง
“นี่คือ...เป้าหมายของการไปครั้งนี้ของตัวเอง”
วันก่อนการแข่งขัน ออ.สดชื่นและมีความสุขมากเป็นพิเศษ
เพราะเราไม่ได้กดดันตัวเองเหมือนเมื่อก่อน
เรามาเพื่ออยากรู้ว่า ด้วยความที่ห่างหายไปขนาดนี้ เราจะมีปัญญาพาตัวเองไปได้ไกลแค่ไหน
ออ. จัดกระเป๋าเป้น้ำอย่างหลงๆ ลืมๆ เพราะห่างหายจากการวิ่งระยะไกลมานานหลายเดือน
น้ำ เจล ไฟฉาย ถ่าน อุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆ จับยัดลงเป้ไปไม่ให้ขาด
ยาดม ยาทา ยาเหลือง และยายูนิเรน สเปรย์ ฉีดพ่นเวลาปวดกล้ามเนื้อ
ตั้งแต่เป็นนักวิ่งที่บาดเจ็บบ่อย
ยาทุกอย่างจึงสำคัญ และ ออ. จะไม่ลืมเอาไปด้วยเสมอ
จะว่าไป ออ. พกยาและอุปกรณ์ฉุกเฉินไปมากกว่าอาหารที่จะทานเสียอีก