สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ตอบจากใจผู้ที่ต้องใช้บริการสนามบินสุวรรณภูมิปีละหลายสิบหน และ ใช้บริการสนามบินชั้นนำ และ ไม่ชั้นนำอีกหลายแห่งในโลกในแต่ละปี
ขอบอกเลยว่า ที่สุวรรณภูมิ ควรกลับไปทำแบบเดิม คือ ไม่ต้องมีประกาศ
ทุกวันนี้เวลาไปใช้บริการ คือ หนวกหูมาก บรรยากาศอย่างกับตลาดสดในเวลาที่พี๊คๆ แน่นๆ
แล้วเสียงที่ประกาศนี่ก็เป็นเสียงที่พูดยานๆ ช้าๆ ฟังแล้วไม่กระฉับกระเฉง ไม่กระตือรือล้น
ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษเลย โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ น่าจะเอาคนที่พูดได้ดีมาประกาศ
ประเทศไทย มีคนพูดภาษาอังกฤษ เก่ง สำเนียงเพราะๆ เยอะแยะ น่าจะคัดเสียงที่เอามาประกาศให้ดูเป็นหน้าเป็นตาของ
สนามบินนานาชาติ และ แห่งชาติ สักหน่อย
แต่คนไทยบางส่วน และ คนเอเชียบางส่วน ชาติที่ประเภทมีคนประเภทใจเสาะๆ ขี้ตกใจ ใจเล็กๆ ปะปนอยู่ในหมู่ประชาชน
คนกลุ่มนี้ มักจะคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษที่เป็นแบบในความคิดของตัวเองว่า ต้องพูดภาษาอังกฤษแบบยานคาง โทนเดียวกันกับภาษาของตัวเอง
หากพูดมีเสียงสูงเสียงต่ำ เน้นคำ เน้นเสียง พูดให้กระชับ มีการเชื่อมคำ เป็นต้น คนกลุ่มนี้จะฟังไม่เข้าใจทันที และ จะคิดว่าพูดไม่เพราะ เหมือนไปตะโกนใส่เขา เพราะฉนั้นต้องพูดแบบยานๆ มีทิ้งเสียง ทอดเสียง หรือ พูดแบบไม่มีโทนเสียง คนกลุ่มนี้จึงจะเข้าใจ และ คิดว่านั่นคือภาษาอังกฤษแบบ
ที่ไพเราะ
//แต่ที่สุวรรณภูมิคงเลิกประกาศยาก เพราะคนไทยบางส่วน มักจะมีจริตที่ชอบอะไรที่วุ่นวาย โกลาหล เอิกเริก
อะไรที่เงียบๆ คนไทยจะไม่ชอบ เพราะดูเหมือนไม่มีอะไร ไม่คึกคัก ไม่สนุก ไม่มีบริการเสริม เหมือนไม่มีพนักงานมาเอาใจใส่
แล้วด้วยวัฒนธรรม การเรียนการสอน ทำให้คนบางส่วน ไม่ชอบที่จะคิดเอง คนบางส่วนไม่เคยถูกสอนให้รู้จักดูแลรับผิดชอบตนเอง ไม่รู้หน้าที่
บางคนก็ขาดคอมม่อนเซ้นส์ แต่ถนัดกับการที่ต้องให้มีคนบอก แล้วทำตาม
//คนไทยบางส่วนไม่ชอบอ่าน แต่ชอบที่จะได้ยินเสียงประกาศ เพราะพื้นฐานส่วนใหญ่ยังเป็นสังคมเกษตรกรรม สังคมชนบทอยู่
คนบางส่วน เจริญตามไม่ทันเทคโนโลยี เจริญตามไม่ทันป่าคอนกรีต คนพัฒนายาก เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกฝึกให้อยู่ในระเบียบ
ทำอะไรตามใจ อยู่แบบปล่อยปละละเลย กฏต่างๆ ไม่เข้มแข็ง
แล้วคนไทยส่วนใหญ่ จะมีนิสัยขี้น้อยใจ หากไม่มีพนักงานบริการมาเอาใจใส่ จะเซ้นท์ซิทีฟมากๆ
(ไปดูได้ ศึกษาได้ สังเกตุการณ์ได้ หลายๆ การบริการในไทย จะเป็นการบริการแบบซ้ำซ้อน ต้องมีหลายเสต็ป ต้องมีคนคอยบอกอยู่ตลอดเวลา
ไม่งั้นคนจะบ่น ว่าบริการไม่ดี ไม่มีใครสนใจ ไม่มีพนักงานคอยบอก บลาๆๆ )
//คนไทยบางส่วน ถือว่าจ่ายเงินแล้ว จึงผลักให้เป็นภาระของสายการบิน ให้ต้องคอยบริการ คอยตาม คอยบอก แต่คนจะไม่คิดเอง
หรือ ไม่ต้องดูอะไรไกล แค่เรื่องยกกระเป๋า ผู้โดยสารไทยบางส่วน ยังถือว่าเป็นหน้าที่ของลูกเรือ แอร์ สจ๊วต เล้ย ที่จะต้องยกเก็บให้
เพราะผู้โดยสารไทยบางส่วนคิดว่าตัวเองจ่ายเงินค่าตั๋วไปแล้ว พนักงานจะต้องมาบริการทุกอย่าง
เมื่อขึ้นเครื่องแล้ว ชีวิตนี้ฝากไว้กับลูกเรือทุกอย่าง ยังดี ที่ยังไม่ได้คิดว่า ลูกเรือต้องมาป้อนข้าวป้อนน้ำ หรือ หายใจแทนให้
//หลายๆ สนามบินหลักๆ ทั่วโลก ใน ปท ที่พัฒนาแล้ว เขาไม่มีประกาศแบบนี้ เงียบสงบมาก สนามบินชั้นนำหลายๆ แห่งของโลก
ที่มีการจัดการบริหารที่ดีๆ แบบอินเตอร์ๆ แบบประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ไม่มีประกาศเรียกผู้โดยสารขึ้นเครื่องในสนามบิน จะมีก็แต่ประกาศที่เกทเท่านั้น คือ ประกาศพรีบอร์ดดิ้ง และ/หรือ ประกาศบอร์ดดิ้ง เท่านั้น
//การไปรอบอร์ดดิ้งขึ้นเครื่องให้ตรงเวลา ถือเป็นเรื่องที่ผู้โดยสารต้องรับผิดชอบตนเอง โดยที่สามารถดูข้อมูลบนบอร์ดดิ้งพาสได้ ดูที่หน้าจอที่สนามบิน
หรือ ถามประชาสัมพันธ์ในท่าอากาศยาน (แต่นิสัยคนไทยส่วนใหญ่ คือไม่ชอบถาม ไม่พูดไม่จากับคนแปลกหน้า คำว่า สวัสดี ขอโทษ
ขอบคุณ ซึ่งเป็นมารยาทพื้นฐาน หลายๆ คนไม่พูดติดปาก )
คือ หลักๆ เป็นหน้าที่ของตัวผู้โดยสารเอง ไม่ใช่หน้าที่ของสายการบิน และ ไม่ใช่หน้าที่ของการท่าอากาศยานใดๆ
___________________________________
ขอยกตัวอย่างให้ฟัง ถึงสนามบินสักสองแห่งหลักๆ ของโลก เช่น สนามบินฮีทโธร์ว และ สนามบินดูไบ
สนามบินฮีทโธร์ว หากใครเคยใช้บริการบ่อยๆ จะทราบว่า หลายๆ เทอร์มินั่ล หลายๆ ไฟล์ท ผู้โดยสารจะยังไม่ทราบว่า จะต้องไปขึ้นเครื่องที่เกทไหน
แต่เลขที่เกท จะปรากฏบนจอ ประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนเครื่องออกเท่านั้น
ผู้โดยสารต้องคอยเช็คที่หน้าจอเองเป็นระยะๆ หรือ ถามประชาสัมพันธ์ที่ห้องโถงขาออก
ที่ฮีทโธร์ว ไม่มีประกาศรวมเพื่อเรียกขึ้นเครื่อง จะมีแต่ก็การประกาศพรีบอร์ดดิ้งที่เกท หรือ ไม่มีเลย
แต่ก็เห็นผู้โดยสารไปขึ้นเครื่องกันถูก ไปตรงเวลา
หรือ อย่างสนามบินดูไบ โดยเฉพาะที่เทอร์มินั่ล 3 รวมทั้งเทอร์มินั่ล 1 ด้วย
แต่ที่เทอร์มินั่ล 3 จะเป็นอะไรที่ คนเยอะมาก ร้านค้าเยอะมาก สถานที่กว้างขวางโอ่โถงมาก
อันนี้ก็ไม่มีประกาศรวมทั่วสนามบินเพื่อเรียกขึ้นเครื่อง ผู้โดยสารก็ไปกันถูกนะ ไม่ต้องมีใครตาม
แล้วดูไบนี่ เป็นทางผ่านเป็นจุดเชื่อมของหลายทวีป ผู้โดยสารวันๆ นึงนี่ มีไม่ต่ำกว่า 200 สัญชาติ
ก็เห็นเค้าไปกันได้นะ ไม่ต้องประกาศ ไม่ต้องคอยมีคนมาเดินตาม
นี่คือตัวอย่างของสนามบินที่เจริญแล้ว มีการจัดการที่ดี มีระบบ สนามบินใช้งานง่าย
หรือ อย่างสนามบินชางงีนี่ ปกติแล้ว เขาก็ไม่ได้ประกาศบ่อยนะ แล้วเป็นหนึ่งในสนามบินที่ใช้งานง่ายที่สุดในโลกแล้ว
เป็นมิตรกับผู้โดยสารที่สุดในโลกแล้ว
การเดินทางผ่านเข้า-ออก ที่สนามบินชางงี ง่ายที่สุดในโลกแล้ว
หลายๆ ครั้ง ตั้งแต่เครื่องแตะพื้นสนามบินชางงี จนกระทั่งผ่าน ต.ม. รับกระเป๋า ออกไปขึ้นแท็กซี่เข้าเมือง จนกระทั่งถึงที่หมายในเมือง
จะใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 25-45 นาทีเท่านั้น ไม่เคยเกินจากนี้ (เข้าๆ ออกๆ สิงคโปร์มา รวมแล้ว เกิน 100 ครั้งขึ้นไป)
ขอบอกเลยว่า ที่สุวรรณภูมิ ควรกลับไปทำแบบเดิม คือ ไม่ต้องมีประกาศ
ทุกวันนี้เวลาไปใช้บริการ คือ หนวกหูมาก บรรยากาศอย่างกับตลาดสดในเวลาที่พี๊คๆ แน่นๆ
แล้วเสียงที่ประกาศนี่ก็เป็นเสียงที่พูดยานๆ ช้าๆ ฟังแล้วไม่กระฉับกระเฉง ไม่กระตือรือล้น
ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษเลย โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ น่าจะเอาคนที่พูดได้ดีมาประกาศ
ประเทศไทย มีคนพูดภาษาอังกฤษ เก่ง สำเนียงเพราะๆ เยอะแยะ น่าจะคัดเสียงที่เอามาประกาศให้ดูเป็นหน้าเป็นตาของ
สนามบินนานาชาติ และ แห่งชาติ สักหน่อย
แต่คนไทยบางส่วน และ คนเอเชียบางส่วน ชาติที่ประเภทมีคนประเภทใจเสาะๆ ขี้ตกใจ ใจเล็กๆ ปะปนอยู่ในหมู่ประชาชน
คนกลุ่มนี้ มักจะคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษที่เป็นแบบในความคิดของตัวเองว่า ต้องพูดภาษาอังกฤษแบบยานคาง โทนเดียวกันกับภาษาของตัวเอง
หากพูดมีเสียงสูงเสียงต่ำ เน้นคำ เน้นเสียง พูดให้กระชับ มีการเชื่อมคำ เป็นต้น คนกลุ่มนี้จะฟังไม่เข้าใจทันที และ จะคิดว่าพูดไม่เพราะ เหมือนไปตะโกนใส่เขา เพราะฉนั้นต้องพูดแบบยานๆ มีทิ้งเสียง ทอดเสียง หรือ พูดแบบไม่มีโทนเสียง คนกลุ่มนี้จึงจะเข้าใจ และ คิดว่านั่นคือภาษาอังกฤษแบบ
ที่ไพเราะ
//แต่ที่สุวรรณภูมิคงเลิกประกาศยาก เพราะคนไทยบางส่วน มักจะมีจริตที่ชอบอะไรที่วุ่นวาย โกลาหล เอิกเริก
อะไรที่เงียบๆ คนไทยจะไม่ชอบ เพราะดูเหมือนไม่มีอะไร ไม่คึกคัก ไม่สนุก ไม่มีบริการเสริม เหมือนไม่มีพนักงานมาเอาใจใส่
แล้วด้วยวัฒนธรรม การเรียนการสอน ทำให้คนบางส่วน ไม่ชอบที่จะคิดเอง คนบางส่วนไม่เคยถูกสอนให้รู้จักดูแลรับผิดชอบตนเอง ไม่รู้หน้าที่
บางคนก็ขาดคอมม่อนเซ้นส์ แต่ถนัดกับการที่ต้องให้มีคนบอก แล้วทำตาม
//คนไทยบางส่วนไม่ชอบอ่าน แต่ชอบที่จะได้ยินเสียงประกาศ เพราะพื้นฐานส่วนใหญ่ยังเป็นสังคมเกษตรกรรม สังคมชนบทอยู่
คนบางส่วน เจริญตามไม่ทันเทคโนโลยี เจริญตามไม่ทันป่าคอนกรีต คนพัฒนายาก เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกฝึกให้อยู่ในระเบียบ
ทำอะไรตามใจ อยู่แบบปล่อยปละละเลย กฏต่างๆ ไม่เข้มแข็ง
แล้วคนไทยส่วนใหญ่ จะมีนิสัยขี้น้อยใจ หากไม่มีพนักงานบริการมาเอาใจใส่ จะเซ้นท์ซิทีฟมากๆ
(ไปดูได้ ศึกษาได้ สังเกตุการณ์ได้ หลายๆ การบริการในไทย จะเป็นการบริการแบบซ้ำซ้อน ต้องมีหลายเสต็ป ต้องมีคนคอยบอกอยู่ตลอดเวลา
ไม่งั้นคนจะบ่น ว่าบริการไม่ดี ไม่มีใครสนใจ ไม่มีพนักงานคอยบอก บลาๆๆ )
//คนไทยบางส่วน ถือว่าจ่ายเงินแล้ว จึงผลักให้เป็นภาระของสายการบิน ให้ต้องคอยบริการ คอยตาม คอยบอก แต่คนจะไม่คิดเอง
หรือ ไม่ต้องดูอะไรไกล แค่เรื่องยกกระเป๋า ผู้โดยสารไทยบางส่วน ยังถือว่าเป็นหน้าที่ของลูกเรือ แอร์ สจ๊วต เล้ย ที่จะต้องยกเก็บให้
เพราะผู้โดยสารไทยบางส่วนคิดว่าตัวเองจ่ายเงินค่าตั๋วไปแล้ว พนักงานจะต้องมาบริการทุกอย่าง
เมื่อขึ้นเครื่องแล้ว ชีวิตนี้ฝากไว้กับลูกเรือทุกอย่าง ยังดี ที่ยังไม่ได้คิดว่า ลูกเรือต้องมาป้อนข้าวป้อนน้ำ หรือ หายใจแทนให้
//หลายๆ สนามบินหลักๆ ทั่วโลก ใน ปท ที่พัฒนาแล้ว เขาไม่มีประกาศแบบนี้ เงียบสงบมาก สนามบินชั้นนำหลายๆ แห่งของโลก
ที่มีการจัดการบริหารที่ดีๆ แบบอินเตอร์ๆ แบบประเทศที่พัฒนาแล้ว ก็ไม่มีประกาศเรียกผู้โดยสารขึ้นเครื่องในสนามบิน จะมีก็แต่ประกาศที่เกทเท่านั้น คือ ประกาศพรีบอร์ดดิ้ง และ/หรือ ประกาศบอร์ดดิ้ง เท่านั้น
//การไปรอบอร์ดดิ้งขึ้นเครื่องให้ตรงเวลา ถือเป็นเรื่องที่ผู้โดยสารต้องรับผิดชอบตนเอง โดยที่สามารถดูข้อมูลบนบอร์ดดิ้งพาสได้ ดูที่หน้าจอที่สนามบิน
หรือ ถามประชาสัมพันธ์ในท่าอากาศยาน (แต่นิสัยคนไทยส่วนใหญ่ คือไม่ชอบถาม ไม่พูดไม่จากับคนแปลกหน้า คำว่า สวัสดี ขอโทษ
ขอบคุณ ซึ่งเป็นมารยาทพื้นฐาน หลายๆ คนไม่พูดติดปาก )
คือ หลักๆ เป็นหน้าที่ของตัวผู้โดยสารเอง ไม่ใช่หน้าที่ของสายการบิน และ ไม่ใช่หน้าที่ของการท่าอากาศยานใดๆ
___________________________________
ขอยกตัวอย่างให้ฟัง ถึงสนามบินสักสองแห่งหลักๆ ของโลก เช่น สนามบินฮีทโธร์ว และ สนามบินดูไบ
สนามบินฮีทโธร์ว หากใครเคยใช้บริการบ่อยๆ จะทราบว่า หลายๆ เทอร์มินั่ล หลายๆ ไฟล์ท ผู้โดยสารจะยังไม่ทราบว่า จะต้องไปขึ้นเครื่องที่เกทไหน
แต่เลขที่เกท จะปรากฏบนจอ ประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนเครื่องออกเท่านั้น
ผู้โดยสารต้องคอยเช็คที่หน้าจอเองเป็นระยะๆ หรือ ถามประชาสัมพันธ์ที่ห้องโถงขาออก
ที่ฮีทโธร์ว ไม่มีประกาศรวมเพื่อเรียกขึ้นเครื่อง จะมีแต่ก็การประกาศพรีบอร์ดดิ้งที่เกท หรือ ไม่มีเลย
แต่ก็เห็นผู้โดยสารไปขึ้นเครื่องกันถูก ไปตรงเวลา
หรือ อย่างสนามบินดูไบ โดยเฉพาะที่เทอร์มินั่ล 3 รวมทั้งเทอร์มินั่ล 1 ด้วย
แต่ที่เทอร์มินั่ล 3 จะเป็นอะไรที่ คนเยอะมาก ร้านค้าเยอะมาก สถานที่กว้างขวางโอ่โถงมาก
อันนี้ก็ไม่มีประกาศรวมทั่วสนามบินเพื่อเรียกขึ้นเครื่อง ผู้โดยสารก็ไปกันถูกนะ ไม่ต้องมีใครตาม
แล้วดูไบนี่ เป็นทางผ่านเป็นจุดเชื่อมของหลายทวีป ผู้โดยสารวันๆ นึงนี่ มีไม่ต่ำกว่า 200 สัญชาติ
ก็เห็นเค้าไปกันได้นะ ไม่ต้องประกาศ ไม่ต้องคอยมีคนมาเดินตาม
นี่คือตัวอย่างของสนามบินที่เจริญแล้ว มีการจัดการที่ดี มีระบบ สนามบินใช้งานง่าย
หรือ อย่างสนามบินชางงีนี่ ปกติแล้ว เขาก็ไม่ได้ประกาศบ่อยนะ แล้วเป็นหนึ่งในสนามบินที่ใช้งานง่ายที่สุดในโลกแล้ว
เป็นมิตรกับผู้โดยสารที่สุดในโลกแล้ว
การเดินทางผ่านเข้า-ออก ที่สนามบินชางงี ง่ายที่สุดในโลกแล้ว
หลายๆ ครั้ง ตั้งแต่เครื่องแตะพื้นสนามบินชางงี จนกระทั่งผ่าน ต.ม. รับกระเป๋า ออกไปขึ้นแท็กซี่เข้าเมือง จนกระทั่งถึงที่หมายในเมือง
จะใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 25-45 นาทีเท่านั้น ไม่เคยเกินจากนี้ (เข้าๆ ออกๆ สิงคโปร์มา รวมแล้ว เกิน 100 ครั้งขึ้นไป)
แสดงความคิดเห็น
ควรคงอยู่หรือเลิกประกาศเสียงเตือนผู้โดยสารในท่าอากาศยาน
อ่านเจอใน twitter จึงนำมาถากถาม
1 ม.ค. 2561 สนามบินชางงี สิงคโปร์ เตรียมยกเลิกการประกาศเรียกผู้โดยสารขึ้นเครื่อง (Final call) โดยสายการบินจะไม่ประกาศเรียก ผดส.
รายบุคคลเช่นกัน
เพื่อลดการใช้เสียงในสนามบินและช่วยให้ ผดส. ใส่ใจฟังประกาศสำคัญ เช่น เครื่องดีเลย์
หรือคนหาย มากกว่าเดิม
http://www.straitstimes.com/singapore/transport/changi-airport-to-stop-announcing-final-calls-for-boarding-paging-for-late