[CR] รีวิวสีไม้ 6 รุ่น 5 ยี่ห้อ

**การรีวิวสีไม้ต่อไปนี้เป็นการให้คะเนนแบบระดับ Artist ซึ่งคล้ายกับการรีวิวแบบฝรั่ง โดยใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการรีวิวแบบล้วนๆ โปรดใช้วิจารณญานในการอ่านและตัดสินใจในการซื้อและผมต้องขออภัยหากมีความไม่สบายใจในรีวิวครั้งนี้**

Colleen Colored Pencils

เรามาเริ่มต้นการรีวิวสีไม้รุ่นแรกกัน สีไม้ Colleen Colored Pencils เป็นสีไม้ที่ผลิตในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย สีไม้รุ่นนี้ต้องการให้ความรู้สึกถึงความเป็น ‘ญี่ปุ่น’ ให้ได้มากที่สุด ตอนนี้มีขายสูงสุดถึง 72 สี ณ ปัจจุบัน

ส่วนตัวผมซื้อเป็นตัว 48 สีเมื่อ 5 กว่าปีที่แล้ว (ซึ่งเป็นช่วงที่มีขายสูงสุดถึง 48 สี)
รูปร่างของตัวดินสอสีไม้จะเป็นแท่งหกเหลี่ยม ส่วนตัวผมก็ชอบจับแท่งหกเหลี่ยมบ้างบางครั้งและมีข้อดีก็คือ แท่งจะไม่ไหลเองจนตกจากโต๊ะ ซึ่งหมายความว่า ตัวใส้ภายในอาจจะหักเป็นสองสามท่อนเมื่อตกจากโต๊ะ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเหลาสีไม้ในครั้งต่อๆ ไป แต่ข้อเสียก็คือ เมื่อเวลาจับแท่งหกเหลี่ยมเป็นเวลานานๆ จะรู้สึกถึงการเจ็บที่นิ้วมือได้เลย สำหรับคุณภาพตัวไม้ของสีไม้รุ่นนี้จะทำมาไม่ค่อยดีมากนัก ตัวไม้จะดูผุๆ ซึ่งตอนเวลาเหลาสีไม้จะเสี่ยงในการหักของตัวใส้สูงกว่าตัวสีไม้ที่ดูเรียบและคุณภาพ

ภายใน 48 สีนี้โดยเฉพาะ ผมว่าในกลุ่มสีเหลืองและสีม่วงจะให้เยอะไปหน่อย สีเนี้อมีแค่สีเดียวเป็นโทนออกชมพู และสีเทา 2 สีออกโทนอุ่นและเย็น สีไม้รุ่นนี้เป็นประเภท oil-based ซึ่งให้ผลดีเรื่องความสด ปลายหัวดินสอจะคมนานกว่า และจะไม่ค่อยมีฝุ่นตอนเวลาระบาย แต่ให้ผลเสียเรื่องการเลอะมือไปโดนผิวกระดาษและการเกลี่ยสีที่ยากพอสมควร

ตอนที่ผมขณะระบายสีตัวละคร Sherman ที่เห็นอยู่บนภาพดังกล่าวที่จะเริ่มใช้ในการรีวิวครั้งนี้ เนี้อสีสดดีครับ น่าจะสดที่สุดในสีไม้ระดับเดียวกัน ส่วนเรื่องของการเกลี่ยสีจะไม่สะดวกนิดนึง โดยเฉพาะการเกลี่ยสีอ่อนไปหาเข้ม

ผมพยายามระบายสีจนสุดความสามารถแล้ว ผลออกมาประมาณนี้ครับ:

สรุปผมว่าเป็นสีไม้ที่ออกข้อเสียสำหรับผมมากไปหน่อย ผมให้คะแนน 5 เต็ม 10 สำหรับสีไม้คอลลีนรุ่นนี้ แต่ผมให้ข้อดีแค่ความสดของสีเท่านั้น

Faber-Castell Classic Colour Pencils

มาต่อกันที่สีไม้ Faber-Castell Classic Colour Pencils กล่องกระดาษสีแดง แบรนด์เก่าแก่จากเยอรมันนี แต่เป็นสีไม้ที่ผลิตในประเทศอินโดนีเซีย สีไม้รุ่นนี้ต้องการให้ความรู้สึกถึงความเป็น ‘คลาสสิก’ ให้ได้มากที่สุด ปัจจุบันมีขายสูงสุดแค่ 48 สีเท่านั้น

ส่วนตัวผมซื้อมานานมากแล้วแต่ผมไม่ค่อยได้ใช้รุ่นนี้มากนัก

รูปร่างของตัวดินสอสีไม้จะเป็นแท่งหกเหลี่ยมซึ่งเหมือนกับสีไม้คอลลีน สำหรับคุณภาพตัวไม้ของสีไม้รุ่นนี้จะทำดีกว่าสีไม้คอลลีน ตัวไม้จะดูไม่ค่อยผุ ตอนเวลาเหลาสีไม้จะเหลาได้ลื่นกว่า

ภายใน 48 สีนี้โดยเฉพาะ ผมว่าในกลุ่มสีเขียวอมฟ้าให้จะเยอะไปหน่อย สีเนี้อมีแค่สีเดียวเช่นกันแต่จะเป็นโทนออกชมพูแดงกว่า และสีเทา 3 สี ออกโทน warm grey อ่อน cool grey กลางและ warm grey เข้ม สีไม้รุ่นนี้ก็เป็นประเภท oil-based เหมือนกัน

ลองมาชมผลงานจากสีไม้ยี่ห้อนี้กัน ตัวละคร Chat Noir:

สำหรับการระบายสีภาพนี้ ผมว่าสีจะสดน้อยกว่าสีคอลลีน สีขาวจะระบายไม่แรงมาก ส่วนเรื่องของการเกลี่ยสีและระบายทับก็ยาก

สรุปผมว่าเป็นสีไม้ที่ออกมาสีไม่สดสำหรับผมแม้จะวาดจนสุดความสามารถแล้วก็ตาม ผมให้คะแนน 4.5 เต็ม 10 สำหรับสีไม้รุ่นนี้ แต่ผมให้ข้อดีแค่ตัวดินสอสีไม้เท่านั้น

Renaissance Artist’s Coloured Pencils

ต่อกันกับสีไม้ที่มีคุณภาพสูงขึ้นมาอีกระดับนึง Renaissance Artist’s Coloured Pencils เป็นสีไม้ที่โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่า เค้าต้องการให้ความรู้สึกถึงความเป็น ‘อิตาลี’ ให้ได้มากที่สุด แต่เป็นสีไม้ที่ผลิตในประเทศจีน ปัจจุบันมีขายแบบเซ็ทสูงสุดแค่ 24 สีและแบบแยกแท่งสูงสุดถึง 48 สีเท่านั้น

สีไม้รุ่นนี้ผมขอบอกเลยนะว่าตัวไม้ รูปร่างต่างๆ มาจากสีไม้ Marco Renoir ยกเว้นแค่เปลี่ยนชื่อยี่ห้อเท่านั้น

ส่วนตัวผมซื้อเซ็ท 24 สีมาเพื่อรีวิวครั้งนี้เท่านั้น ส่วนแยกแท่งก็มีซื้อมานานแล้ว แต่เอามาใช้ในการวาดรูปตามปกติเท่านั้น

รูปร่างของตัวดินสอสีไม้จะเป็นแท่งกลมซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างจากแท่งเหลี่ยมกันไป ข้อดีก็คือ สามารถระบายสีได้นานโดยจะไม่รู้สึกถึงการเจ็บที่นิ้วมือได้เลย แต่ข้อเสียก็ระวังหน่อยก็คือ แท่งจะไหลเองจนตกจากโต๊ะ ซึ่งเมื่อตกจากโต๊ะตัวใส้ภายในอาจจะหักเป็นสองสามท่อน จะส่งผลกระทบต่อการเหลาสีไม้ในครั้งต่อๆ ไป

สำหรับคุณภาพตัวไม้ของสีไม้รุ่นนี้ทำมาดีมาก รู้สึกการจับจะลื่นๆ ดูเป็นระดับ artist ตอนเวลาเหลาสีก็ลื่นเหมือนกัน
ภายใน 24 สีนี้โดยเฉพาะ จัดมาได้ดีและเป็นสีที่จำเป็นเกือบทั้งหมด สีเนี้อจะมี 2 สีเป็นโทนออกชมพูแดงและออกโทนส้มแต่จะไม่มีสีออกโทนเหลือง ส่วนสีเทามีแค่สีเดียวเป็นสีออกโทน cool grey สีไม้รุ่นนี้เป็นประเภท oil-based ซึ่งรุ่นนี้อาจจะสามารถเกลี่ยสีด้วยน้ำหรือตัว blender (ผมยังไม่ได้ลอง) แต่ปลายหัวดินสอจะไม่ค่อยคมสำหรับรุ่นนี้

สำหรับดินสอสีไม้รุ่นนี้ ผมขอวาดเป็น Miraculous Ladybug ละกัน ผลงาน:

สำหรับการระบายสีภาพนี้ เรื่องความสดของสีก็ถึอว่าดีมาก สดกว่าสีคอลลีนเกือบ 2 เท่าแต่จะต้องลุ้นอีก 3 รุ่นสุดท้ายว่าจะสดกว่ารุ่นนี้หรือไม่? เรื่องการเกลี่ยสีถึอว่าดีมาอีกระดับนึงและสามารถระบายทับได้หลายชั้นจริงๆ แต่ข้อเสียอีกอย่างก็คือ สีขาวจะระบายไม่ค่อยแรง แต่จะใช้ในการเกลี่ยสีอย่างเดียว

สรุปผมว่าเป็นสีไม้ที่มีคุณภาพออกกึ่งระดับ artist ขึ้นมา ถึงแม้ผมจะได้ลองใช้เพียงแค่ครั้งเดียวก็ตาม ผมให้คะแนน 6 เต็ม 10 สำหรับสีไม้รุ่นนี้ ผมให้ข้อดีสำหรับความสดและตัวแท่งไม้ที่มีคุณภาพเรียบง่าย แต่ข้อเสียอยู่ที่จำนวนสี 48 สีที่ออกมาน้อยเกินไปสำหรับเกรดกึ่ง artist

Prismacolor Premier Colored Pencils

ต่อไปจะเป็นสีไม้เกรด artist ซึ่งการรีวิวครั้งต่อไปนี้จะเป็นการรีวิวแบบระเอียดและยาวนิดนึง เพราะว่าป็นสีไม้ที่ผมใช้อยู่ในปัจจุบัน
Prismacolor Premier Colored Pencils เป็นสีไม้ที่คาดว่าจะนิยมมากที่สุดในโลก เพราะเวลาผมดูคลิปวาดรูปบน YouTube ของต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะใช้สีรุ่นนี้กัน และบางคลิปจะควบคู่กับรุ่นอื่น ส่วนใหญ่คลิปจะใช้กระดาษ Bristol หนาๆ ซึ่งล้วนจะเป็นรุ่นที่ไม่มีในประเทศไทยขาย

Prismacolor Premier Colored Pencils เป็นสีไม้ที่ต้องการให้ความรู้สึกถึงความเป็น ‘artist’ ให้ได้มากที่สุด เป็นสีไม้ที่ผลิตในประเทศเม็กซิโก มีสูงสุดถึง 150 สีและแบบแยกแท่งขาย

สำหรับในประเทศไทย จะหายากพอสมควรและขายแพงกว่าราคาต่างประเทศเกือบเท่าตัว ราคาที่อเมริกาบางร้านจะขายไม่ถึง 3,000 บาทส่วนที่ประเทศไทยจะขายในประมาณ 8000-9500 บาท

ส่วนตัวผมซื้อเป็น 48 สีมานานมากแล้วและมีการซื้อแบบแยกแท่งทั้งในและนอกจากออนไลน์

รูปร่างของตัวดินสอสีไม้จะเป็นแท่งกลม แต่คุณภาพของตัวไม้จะดูคล้ายๆ เป็นแท่งธรรมดามากกว่า บางแท่งจะมีตำหนิ (ใส้ไม่ตรง, ใส้งอ, ใส้หักใน เป็นต้น) ซึ่งโรงงานผลิตจะไม่ค่อยตรวจสอบคุณภาพ ก่อนจะซื้อ(แบบแยกแท่ง)ควรที่จะดูตำหนิก่อนเป็นอันดับแรก

เรื่องของค่า lightfastness หรือภาษาไทยก็คือ “ค่าป้องกันสีซีด” เป็นสิ่งสำคัญสำหรับศิลปินที่ต้องการเก็บภาพแบบระยะยาวโดยสีจะไม่ซีดจางเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ นับ 10+ ปี สำหรับ Prismacolor จะไม่บอกค่า lightfastness แต่สีรุ่นนี้จะไม่ค่อยทนต่อแสง หากจะต้องการเก็บภาพแบบระยะยาวอย่างจริงจัง ควรจะใช้สีที่มีค่า Blue Wool scale 7-8 หรือ ASTM I เป็นสีหลัก และอาจมีการใช้ Blue Wool scale 6 หรือ ASTM II เป็นสีรอง สีไม้รุ่นประหยัดมักจะไม่คำนึงค่า lightfastness มากกว่า 90% ของสีไม้รุ่นประหยัดจะทำค่า Blue Wool scale ได้แค่ 1-3 ASTM IV-V ถึอว่าแย่ที่สุด สำหรับสีไม้รุ่นกลางๆ จะมีการบอกค่า lightfastness ในบางยี่ห้อ แต่ค่า lightfastness จะมาแบบทุกระดับ ตั้งแต่ 1-8

ภายใน 48 สีนี้ที่ผมซื้อมาโดยเฉพาะ สีเนี้อจะมี 2 สีคือ Peach กับ Light Peach แต่ไม่มีสีออกโทนเหลืองอ่อน ไม่มีสีเทาให้มาเลย (สี Silver ไม่นับ) และให้โทนสีฟ้า-เขียวมากเกินไป สีไม้รุ่นนี้เป็นประเภท wax-based หรือภาษาไทยแปลว่า “สูตรขึ้ผึ้ง” สีไม้ wax-based จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป โดยเบื้องต้นจะลบสีออกได้ดีกว่า oil-based ระบายทับสีได้มากกว่า oil-based และพลังของเม็ดสีจะวาดนุ่มและสดกว่าสีไม้รุ่นประหยัดเกือบเท่าตัว อย่างไรก็ตามสีไม้ wax-based สามารถเกิดปรากฏการณ์ wax bloom ได้หากระบายทับสีหนาจนเกินไป เมื่อเวลาผ่านไปสั้นๆ ขึ้ผึ้งได้ระเหยออกมาจากผิวกระดาษเป็นสีขาวๆ ปรากฏการณ์ wax bloom สามารถแก้ใขได้โดยเอาผ้าชุบน้ำมาเช็ดที่ภาพเบาๆ ซึ่งเป็นข้อเสียเล็กน้อยสำหรับศิลปินทั่วๆ ไป

ผมขอวาดรูปเป็น Joy จาก Inside Out โดยใช้สีไม้ Prismacolor ผลงานและ working in progress:
สำหรับการระบายสีภาพนี้ สีสดมากครับ แต่จำนวนสีที่น้อยผมก็อาจจะไม่ได้ค่า bonus ความสวย
แล้วก็ตาม ข้อดีอยู่อย่างนึงว่า เป็นสีที่สามารถระบายสวยได้ตลอดเวลา เกลี่ยนุ่มและลื่น และสามารถลบสีออกได้ดีมาก แต่ข้อเสียก็คือ ผมระบายสีหนาๆ อยู่ตลอดเวลาและมีฝุ่นขึ้ผึ้งออกมาและไปติดกระดาษทั้งหน้าและหลัง ซึ่งเป็นความไม่สะดวกสำหรับส่วนตัวผมและยิ่งร้ายแรงกว่าปรากฏการณ์ wax bloom ซะอีก ผมจะต้องเขี่ยและลบฝุ่นที่ติดอยู่บนกระดาษเพื่อไม่ให้ผลงานสกปรก และผมจะต้องทำความสะอาดโต๊ะหลังจากวาดรูปเสร็จ

สรุปผมว่าเป็นสีไม้ที่มีคุณภาพตัวท็อปรุ่นนึงถึงแม้จะหายากและแพงในประเทศไทยก็ตาม ผมให้คะแนน 7.5 เต็ม 10 สำหรับสีไม้รุ่นนี้
ชื่อสินค้า:   สีไม้ 6 รุ่น 5 ยี่ห้อ
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่