ภาวะนอนกรน เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กปัจจุบัน จะเริ่มพบในช่วงอายุ 2-8 ปี วัยอนุบาลหรือปฐมวัย
มักจะมีคำถามว่า ภาวะนอนกรนมีอันตรายไหม ?
คำตอบคือ อาจจะมีอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลูกน้อยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยในเด็กคือ ต่อมอะดีนอยด์และทอลซิลโต และยังมีสาเหตุอื่นที่พบอีก ได้แก่
โรคอ้วน โรคภูมิแพ้โพรงจมูก โรคไซนัสอักเสบ หรือ ความผิดปกติของกระดูกใบหน้า
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ทำให้เกิดการขาดออกซิเจนในเลือดและเกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด
มีผลทำให้คุณภาพของการนอนหลับลดลงได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ ในระบบพัฒนาการลูกน้อยจะมีอาการซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น
เด็กอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือหลับมากผิดปกติในช่วงกลางวัน จะส่งผลกระทบต่อความจำ ความคิด ความฉลาด
โดยจะสัมพันธ์กับภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งส่งผลถึงระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบต่อมไร้ท่ออีกด้วย
จะทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
- นอนกรนบ่อยมากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์
- มีเสียงเงียบเหมือนหยุดหายใจสักพักแล้วตามมาด้วยเสียงหายใจดังเฮือกๆ
- นอนในท่านั่งหลับหรือแหงนคอขึ้น หรือ ปวดหัวเวลาตื่นนอน
- ปัสสาวะรดที่นอน ทั้งที่เคยควบคุมได้มาก่อน
- ง่วงเวลากลางวัน หรือ หลับเวลาเรียน
- ริมฝีปากเขียวคล้ำ
หากเด็กมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น จะทำให้เกิดปัญหาการเรียนและพฤติกรรม
เช่น ผลการเรียนแย่ลง ก้าวร้าวซุกซนผิดปกติ และมีความดันโลหิตสูง
ลองสังเกตุการนอนของลูกน้อย กันดูนะคะ ว่าขณะนอนหล้บ กรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะร่วมด้วยหรือไม่นะคะ
เพราะถ้าหากพบว่าเด็กมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้ตรวจการนอนหลับ ( sleep test )
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือเป็นเพียงนอนกรนธรรมดา
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก
https://bit.ly/2R98HsM
#โรงพยาบาลสินแพทย์
#โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
#เบื้องหลังทุกการรักษา คือ ความใส่ใจ
ลูกน้อยนอนกรน....เสี่ยงหยุดหายใจ
ภาวะนอนกรน เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กปัจจุบัน จะเริ่มพบในช่วงอายุ 2-8 ปี วัยอนุบาลหรือปฐมวัย
มักจะมีคำถามว่า ภาวะนอนกรนมีอันตรายไหม ?
คำตอบคือ อาจจะมีอันตรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลูกน้อยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
ซึ่งสาเหตุที่พบบ่อยในเด็กคือ ต่อมอะดีนอยด์และทอลซิลโต และยังมีสาเหตุอื่นที่พบอีก ได้แก่
โรคอ้วน โรคภูมิแพ้โพรงจมูก โรคไซนัสอักเสบ หรือ ความผิดปกติของกระดูกใบหน้า
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น ทำให้เกิดการขาดออกซิเจนในเลือดและเกิดภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด
มีผลทำให้คุณภาพของการนอนหลับลดลงได้ หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่ ในระบบพัฒนาการลูกน้อยจะมีอาการซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น
เด็กอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือหลับมากผิดปกติในช่วงกลางวัน จะส่งผลกระทบต่อความจำ ความคิด ความฉลาด
โดยจะสัมพันธ์กับภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ซึ่งส่งผลถึงระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบต่อมไร้ท่ออีกด้วย
จะทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีอาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
- นอนกรนบ่อยมากกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์
- มีเสียงเงียบเหมือนหยุดหายใจสักพักแล้วตามมาด้วยเสียงหายใจดังเฮือกๆ
- นอนในท่านั่งหลับหรือแหงนคอขึ้น หรือ ปวดหัวเวลาตื่นนอน
- ปัสสาวะรดที่นอน ทั้งที่เคยควบคุมได้มาก่อน
- ง่วงเวลากลางวัน หรือ หลับเวลาเรียน
- ริมฝีปากเขียวคล้ำ
หากเด็กมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น จะทำให้เกิดปัญหาการเรียนและพฤติกรรม
เช่น ผลการเรียนแย่ลง ก้าวร้าวซุกซนผิดปกติ และมีความดันโลหิตสูง
ลองสังเกตุการนอนของลูกน้อย กันดูนะคะ ว่าขณะนอนหล้บ กรน และมีภาวะหยุดหายใจขณะร่วมด้วยหรือไม่นะคะ
เพราะถ้าหากพบว่าเด็กมีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้ตรวจการนอนหลับ ( sleep test )
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น หรือเป็นเพียงนอนกรนธรรมดา
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/2R98HsM
#โรงพยาบาลสินแพทย์
#โรงพยาบาลเด็กสินแพทย์
#เบื้องหลังทุกการรักษา คือ ความใส่ใจ