เนื่องจากสังคมไทยเรามีแนวโน้มว่าจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยนั่นคือ ปัญหาสุขภาพและรายจ่ายในการดูแลสุขภาพ ดังนั้นการหมั่นดูแลสุขภาพของตนเอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตลอดจนหมั่นมาตรวจสุขภาพร่างกายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค ย่อมดีกว่ารอให้ป่วยแล้วจึงค่อยมาพบแพทย์เพื่อรักษาในวันที่สายเกินไป โดย “วัคซีน” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้สามารถป้องกันการติดเชื้อจากโรคที่สามารถป้องกันได้
โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า ในช่วงวัยเด็กหากฉีดวัคซีนครบแล้ว เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนซ้ำอีก เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงวัคซีนหลายชนิดที่เคยฉีดนั้น ไม่สามารถป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต เพราะภูมิคุ้มกันโรคจากวัคซีนที่ฉีดนั้นจะเสื่อมลงไปตามอายุที่มากขึ้น
ดังนั้น ถึงแม้จะอยู่ในวัยผู้ใหญ่แล้วก็ตาม ก็ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีน โดยเฉพาะ “ ผู้สูงอายุ ” หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้แล้ว ยังช่วยลดโอกาสการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่ให้เสียค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากแล้ว ยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตที่อาจเกิดจากการติดเชื้อได้อีกด้วย
วัคซีนที่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุควรฉีดมีอะไรบ้าง?
1. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine) แนะนำให้ฉีดทุกปี เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี โดยฉีดปีละ 1 ครั้ง ช่วงก่อนมีการระบาด ในประเทศไทยมักระบาด 2 ช่วงคือช่วงฤดูฝน และช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้ห้ามฉีดในผู้ที่แพ้ไข่อย่างรุนแรง เนื่องจากไข่เป็นส่วนหนึ่งในขบวนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่
2. วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (Diphtheria-Tetanus-Pertussis vaccine ย่อว่า DTP) แนะนำให้ฉีด 1 ครั้ง โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีบาดแผลหรือทำงานเสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยักที่ โดยฉีด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่สอง 6-12 เดือน และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน
3. วัคซีนอีสุกอีใส (Varicella vaccine) ควรฉีดในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน โดยฉีด 2 ครั้งห่างกัน 4-8 สัปดาห์ หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นเวลา 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน
4. วัคซีนงูสวัด แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปเนื่องจากเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัดสูงสุด ผู้ป่วยที่มีอายุ 50 - 59 ปีที่มีความประสงค์จะรับวัคซีนนี้ ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากวัคซีนนี้สามารถป้องกันโรคงูสวัดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในช่วง 5 ปีแรก แนะนำฉีดเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้นซ้ำ
5. วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม (Measles-Mumps-Rubella vaccine ย่อว่า MMR) ในผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยป่วยเป็นโรคทั้ง 3 นี้มาก่อน รวมทั้งผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ 2 ครั้ง ควรได้รับวัคซีนรวมอย่างน้อย 1 ครั้ง หญิงวัยเจริญเจริญพันธุ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันมาก่อน ควรได้รับวัคซีนหัดเยอรมันหรือวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูมอย่างน้อย 1 ครั้ง
6. วัคซีนนิวโมคอคคัส (Pneumococcal vaccine) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเชื้อนิวโมคอคคัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้สูงอายุ (มากกว่า 65ปี) ผู้ที่ไม่มีม้าม หรือผู้ที่มีโรคเรื้อรัง โดยในผู้ใหญ่ฉีดวัคซีนชนิด 23-valent polysaccharide pneumococcal vaccine โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่อาจฉีดกระตุ้นอีกครั้งหลังฉีดครั้งแรก 3-5 ปี
7. วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A vaccine) โรคนี้ติดต่อทางอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ ผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง ผู้ที่มีอาชีพประกอบอาหาร หรือผู้อาศัยอยู่ในที่ที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างแออัด โดยฉีด 2 ครั้งห่างกัน 6-12 เดือน เชื่อว่าจะมีภูมิคุ้มกันนานเกิน 10 ปี
8. วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine) แนะนำให้ฉีดเนื่องจากคนที่ติดเชื้อส่วนหนึ่งเมื่อหายจากตับอักเสบอาจกลายเป็นพาหะของโรค โดยสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ทางสารคัดหลั่ง เช่น ทางเพศสัมพันธ์ จากแม่สู่ลูกขณะคลอด ทางการให้เลือด หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน อีกทั้งผู้ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับในอนาคต โดยวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีต้องฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างครั้งแรก 1 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างครั้งแรก 6 เดือน
เมื่ออายุเพิ่มขึ้นภูมิคุ้มกันโรคก็ย่อมลดลงตามไปด้วย การฉีดวัคซีนถือเป็นการป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดโรค
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอัตราการเสียชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียจากการเกิดโรคที่อาจเกิดขึ้น
ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น ยิ่งต้องดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นกันด้วยนะครับ ^-^
ทำไมต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ?
โดยทั่วไปคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า ในช่วงวัยเด็กหากฉีดวัคซีนครบแล้ว เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนซ้ำอีก เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันโรคอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงวัคซีนหลายชนิดที่เคยฉีดนั้น ไม่สามารถป้องกันโรคได้ตลอดชีวิต เพราะภูมิคุ้มกันโรคจากวัคซีนที่ฉีดนั้นจะเสื่อมลงไปตามอายุที่มากขึ้น
ดังนั้น ถึงแม้จะอยู่ในวัยผู้ใหญ่แล้วก็ตาม ก็ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีน โดยเฉพาะ “ ผู้สูงอายุ ” หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย เพราะนอกจากจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้แล้ว ยังช่วยลดโอกาสการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ไม่ให้เสียค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมากแล้ว ยังช่วยลดอัตราการเสียชีวิตที่อาจเกิดจากการติดเชื้อได้อีกด้วย
วัคซีนที่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุควรฉีดมีอะไรบ้าง?
1. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine) แนะนำให้ฉีดทุกปี เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี โดยฉีดปีละ 1 ครั้ง ช่วงก่อนมีการระบาด ในประเทศไทยมักระบาด 2 ช่วงคือช่วงฤดูฝน และช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้ห้ามฉีดในผู้ที่แพ้ไข่อย่างรุนแรง เนื่องจากไข่เป็นส่วนหนึ่งในขบวนการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่
2. วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (Diphtheria-Tetanus-Pertussis vaccine ย่อว่า DTP) แนะนำให้ฉีด 1 ครั้ง โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีบาดแผลหรือทำงานเสี่ยงต่อการเกิดบาดทะยักที่ โดยฉีด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 1-2 เดือน และครั้งที่ 3 ห่างจากครั้งที่สอง 6-12 เดือน และฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน
3. วัคซีนอีสุกอีใส (Varicella vaccine) ควรฉีดในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนหรือไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน โดยฉีด 2 ครั้งห่างกัน 4-8 สัปดาห์ หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์เป็นเวลา 1 เดือนหลังฉีดวัคซีน
4. วัคซีนงูสวัด แนะนำให้ฉีดในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปเนื่องจากเป็นช่วงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัดสูงสุด ผู้ป่วยที่มีอายุ 50 - 59 ปีที่มีความประสงค์จะรับวัคซีนนี้ ควรปรึกษาแพทย์เนื่องจากวัคซีนนี้สามารถป้องกันโรคงูสวัดได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในช่วง 5 ปีแรก แนะนำฉีดเพียงครั้งเดียว ไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้นซ้ำ
5. วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม (Measles-Mumps-Rubella vaccine ย่อว่า MMR) ในผู้ใหญ่ที่ยังไม่เคยป่วยเป็นโรคทั้ง 3 นี้มาก่อน รวมทั้งผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ 2 ครั้ง ควรได้รับวัคซีนรวมอย่างน้อย 1 ครั้ง หญิงวัยเจริญเจริญพันธุ์ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันมาก่อน ควรได้รับวัคซีนหัดเยอรมันหรือวัคซีนรวมหัด หัดเยอรมัน คางทูมอย่างน้อย 1 ครั้ง
6. วัคซีนนิวโมคอคคัส (Pneumococcal vaccine) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเชื้อนิวโมคอคคัสที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคติดเชื้อในกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้สูงอายุ (มากกว่า 65ปี) ผู้ที่ไม่มีม้าม หรือผู้ที่มีโรคเรื้อรัง โดยในผู้ใหญ่ฉีดวัคซีนชนิด 23-valent polysaccharide pneumococcal vaccine โดยฉีดเพียงครั้งเดียว แต่อาจฉีดกระตุ้นอีกครั้งหลังฉีดครั้งแรก 3-5 ปี
7. วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A vaccine) โรคนี้ติดต่อทางอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ ผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง ผู้ที่มีอาชีพประกอบอาหาร หรือผู้อาศัยอยู่ในที่ที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างแออัด โดยฉีด 2 ครั้งห่างกัน 6-12 เดือน เชื่อว่าจะมีภูมิคุ้มกันนานเกิน 10 ปี
8. วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B vaccine) แนะนำให้ฉีดเนื่องจากคนที่ติดเชื้อส่วนหนึ่งเมื่อหายจากตับอักเสบอาจกลายเป็นพาหะของโรค โดยสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ทางสารคัดหลั่ง เช่น ทางเพศสัมพันธ์ จากแม่สู่ลูกขณะคลอด ทางการให้เลือด หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน อีกทั้งผู้ที่มีเชื้ออยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับในอนาคต โดยวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีต้องฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 ห่างครั้งแรก 1 เดือน ครั้งที่ 3 ห่างครั้งแรก 6 เดือน
เมื่ออายุเพิ่มขึ้นภูมิคุ้มกันโรคก็ย่อมลดลงตามไปด้วย การฉีดวัคซีนถือเป็นการป้องกันและลดความรุนแรงของการเกิดโรค
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอัตราการเสียชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียจากการเกิดโรคที่อาจเกิดขึ้น
ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้น ยิ่งต้องดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นกันด้วยนะครับ ^-^