มหาวิทยาลัยไทยสร้าง Creativity ไหม? Cr: Ravee Phromloungsri .. 19/12/2560 สรายุทธ กันหลง

มหาวิทยาลัยไทยสร้าง Creativity ไหม?  Cr: Ravee Phromloungsri .. 19/12/2560
https://ppantip.com/topic/37201036

ผมได้ความคิดจากการอ่านบทความนี้ทาง FB...
ในสมัยโบราณ...อาชีพคนเลี้ยงนกพิราบสื่อสารคงเฟื่องฟูมาก...พอๆกับอาชีพคนเลี้ยงม้าเร็ว...เพื่อการส่งข่าวแบบเดลิเวอรี่...ในอดีตเมื่อไม่นานมานี้ก็เข้าสู่ยุคของสถานีวิทยุ...และสถานีโทรทัศน์...จนมีการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ได้ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเมื่อราว 70 ปีที่แล้ว...เมื่อมาถึงปัจจุบัน...ยุคสื่อโซเชียลทำมือ...คนธรรมดาที่มี Creativity สามารถสร้างสถานีข่าวหรือสถานีขายสินค้าออนไลน์...มียอดวิวหลักสิบหลักร้อยล้านได้เอง...บรรดาสำนักพิมพ์ ค่ายเพลงหรือ สถานีวิทยุ/โทรทัศน์ต่างๆ ก็อยู่ยาก...ต้องปรับตัวบ่อยๆ และจะค่อยๆ ถูกกาลเวลากลืนกิน...แล้วในส่วนของมหาวิทยาลัยหล่ะ...สถานที่ที่ถือเป็นตลาดวิชา หรือแหล่งสร้าง Creativity ความเสื่อมสลายจะมาในรูปแบบไหน???

ทำให้ผมได้ความคิดและตอบท่าน Ravee Phromloungsri ดังนี้ครับ ...

ให้แง่คิดดีมาครับ สมัยก่อนมหาวิทยาลัยสถาบันต่างๆไม่ว่ารัฐหรือเอกชนหรือธุรกิจถือว่าเป็น "knowledge stocks" หรือแหล่งความรู้ที่เก็บไว้ไม่ให้ใคร ใช้ความได้เปรียบนี้สร้างอำนาจสร้างบารมีสร้างกำไรให้กับตน  แต่ปัจจุบันเป็นโลกของ cloud computing หรือที่ Friedman เรียกว่า "Supernova" (Friedman 2016) ที่กลายเป็น "knowledge flowing" หรือกระแสของความรู้ที่ไหลผ่านรวดเร็วเหมือนกระแสน้ำ คนที่เกี่ยวข้องต้องเรียนรู้ร่วมกันต้องสร้างนวตกรรมและพัฒนาร่วมกันไม่งั้นตกยุค มหาวิทยาลัยดังๆในโลกเขารู้ดีเปลี่ยนบทบาทมีนวตกรรม online learning ต่างๆ เช่น MOOC (Massive Open Online Course) ที่เด็กยากจนในอินเดียสามารถใช้แทบเบล็ตราคาถูกเรียนรู้วิชาต่างๆที่สอนใน MIT หรือ Harvard ได้เช่นเดียวกับลูกเศรษฐีในเมืองใหญ่  แต่ระบบการศึกษาไทยยังยึดติดอยู่กับโครงสร้างไดโนเสาร์ที่ล้าสมัย มีตำแหน่งทางวิชาการต่างๆ  กำหนดคณวุฒิอย่างจำกัด ไม่ได้สนใจเลยว่าโลกนี้พัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วมีนวตกรรมที่พลิกแผ่นดิน (disruptive innovation) เพราะการที่คนหลากหลายสาขามาช่วยกันคิดใหม่ๆและทำให้นวตกรรมเกิดขึ้น ยกตัวอย่างบิลเกตส์ที่ร่ำรวยเพราะบริษัทไมโครซอฟต์ก็เรียนนิติศาสตร์ที่ Harvard ได้สองปีก่อนออกมาตั้งธุรกิจไอที มาค์ซัคเกอร์เบอร์กก็เรียนจิตวิทยาที่ Harvard  ระบบการศึกษาไทยเน้นที่โครงสร้าง เนื้อหา แทนที่จะเน้นผลงานความสัมฤทธิ์ของผู้เรียนให้คิดวิพากษ์เป็นคิดนวตกรรมเป็น
.. สรายุทธ อังคาร 19/12/2560

Friedman, Thomas L.. Thank You for Being Late: An Optimist's Guide to Thriving in the Age of Accelerations (p. 27). Farrar, Straus and Giroux. Kindle Edition.

https://www.amazon.com/Thank-You-Being-Late-Accelerations-ebook/dp/B01N8SJ3MC/ref=tmm_kin_swatch_0?_encoding=UTF8&qid=&sr=

https://en.wikipedia.org/wiki/Massive_open_online_course
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่