คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 15
ครุฑ นาค ตำนานแค้นสองเผ่าพันธุ์
ตามตำนานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เล่าว่า ในครั้งบรรพกาลยังมีมหาเทพฤษีองค์หนึ่งนามว่า พระกัศยปมุนี ซึ่งเป็นฤษีที่มีฤทธิ์เดชมากและเป็นผู้ให้กำเนิดเทพอีกหลายองค์จนถูกเรียกขานว่า พระกัศยปเทพบิดร พระองค์มีชายาหลายองค์ โดยในบรรดาชายาทั้งหลายนั้นมีชายาสององค์ซึ่งเป็นพี่น้องกันนามว่า วินตาและกัทรุ
นางทั้งสองได้ขอพรให้กำเนิดบุตรจากพระกัศยป โดยนางกัทรุได้ขอพรว่าขอให้มีบุตรจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้ให้กำเนิดนาคหนึ่งพันตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอบุตรเพียงสององค์และขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา ซึ่งเมื่อนางคลอดบุตร ก็ปรากฏว่าออกมาเป็นไข่สองฟอง ด้วยความทนรอดูหน้าบุตรไม่ไหว นางจึงทุบไข่ฟองหนึ่งและปรากฏเป็นเทพบุตรที่มีกายเพียงครึ่งบนชื่อ อรุณ อรุณเทพบุตรโกรธมารดาที่ทำให้ตนออกจากไข่ก่อนกำหนดจนมีร่างกายไม่ครบ จึงสาปให้มารดาของตนต้องเป็นทาสนางกัทรุโดยกำหนดให้บุตรคนที่สองของนางเป็นผู้ช่วยนางให้พ้นจากความเป็นทาส จากนั้นจึงขึ้นไปเป็นสารถีให้กับพระอาทิตย์หรือสุริยเทพ นางวินตาจึงไม่กล้าทุบไข่ฟองที่สองออกมาดู และรอจนถึงกำหนด จนเมื่อไข่ฟักออกมา ก็ปรากฏเป็น พญาครุฑ ซึ่งเมื่อแรกเกิดนั้นก็มีร่างกายขยายออกใหญ่โตจนจรดฟ้า ดวงตายามกะพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกคราใด ขุนเขาก็จะตกใจหนีหายไปพร้อมพระพาย รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ
ในกาลต่อมา นางกัทรุและนางวินตาได้ท้าพนันกันถึงสีของม้าอุไฉศรพ (บางตำราก็ว่าม้าทรงรถของพระอาทิตย์) ที่เกิดเมื่อคราวกวนเกษียรสมุทรและเป็นสมบัติของพระอินทร์ โดยพนันว่าใครแพ้ต้องเป็นทาสอีกฝ่ายห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าม้าสีขาว ส่วนนางกัทรุทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรุใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า (บางตำนานว่าให้พ่นพิษใส่จนม้าเป็นสีดำ) นางวินตาไม่ทราบในอุบายนี้เลยยอมแพ้ จนต้องเป็นทาสของนางกัทรุถึงห้าร้อยปี
ภายหลังเมื่อครุฑได้ทราบถึงสาเหตุที่มารดาต้องตกเป็นทาส จึงไปเจรจาขอให้พวกนาคยอมปล่อยมารดาตน พวกนาคจึงสั่งให้พญาครุฑไปเอาน้ำอมฤตมาให้เพื่อแลกกับอิสรภาพของนางวินตา พญาครุฑจึงบินไปสวรรค์ไปเอาน้ำอมฤตซึ่งอยู่กับพระจันทร์ แล้วคว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมาและเกิดต่อสู้กันขึ้น ฝ่ายเทวดานั้นไม่อาจเอาชนะได้ ร้อนถึงพระวิษณุหรือพระนารายณ์ต้องมาช่วยขวางครุฑไว้และต่อสู้กัน ทว่าต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชนะกันได้ ทั้งสองจึงทำความตกลงยุติศึก โดยพระวิษณุทรงให้พรแก่ครุฑว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะและให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าจะเป็นพาหนะของพระวิษณุและเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักบนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า
จากนั้น พญาครุฑก็นำหม้อน้ำอมฤตลงมา ทว่าพระอินทร์ได้ตามมาขอคืน พญาครุฑก็บอกว่าตนจำต้องรักษาสัตย์ที่จะนำไปให้เหล่านาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาสและให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง จากนั้นครุฑได้เอาน้ำอมฤตไปให้นาคโดยวางไว้บนหญ้าคาและได้ทำน้ำอมฤตหยดบนหญ้าคา 2-3 หยด (ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคลในทางศาสนาพราหมณ์) ส่วนนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดี จึงยอมปล่อยนางวินตาให้เป็นอิสระ
ขณะที่เหล่านาคพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อเตรียมมาดื่มน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็รีบมานำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้พวกนาคไม่ได้กิน พวกนาคจึงเลียที่ใบหญ้าคาด้วยเชื่อว่าอาจมีหยดน้ำอมฤตหลงเหลืออยู่ ทำให้ใบหญ้าคาบาดกลางลิ้นเป็นทางยาว (เรื่องนี้กลายเป็นที่มาว่าทำไมงูจึงมีลิ้นเป็นสองแฉกสืบมาจนทุกวันนี้)
แม้ว่าจะไถ่ตัวมารดากลับมาได้แล้ว แต่พญาครุฑยังแค้นใจที่พวกนาคใช้เล่ห์กลจนมารดาของตนต้องตกเป็นทาส ทำให้พญาครุฑและเหล่าลูกหลานรุ่นต่อมา ตั้งตนเป็นศัตรูกับพวกนาค โดยเหล่าครุฑจะโฉบลงมายังมหาสมุทรและโฉบนาคไปฉีกท้องจิกกินมันเปลวและทิ้งร่างไร้ชีวิตของนาคตกลงมหานที ข้างฝ่ายพวกนาคนั้นแม้จะพยายามต่อสู้แต่ก็ไม่อาจสู้ไหวจึงพากันเลื้อยหนีไปหลบภัยยังสะดือทะเล แต่ก็ถูกครุฑใช้ปีกโบกสะบัดจนน้ำลดแห้งและจับนาคไปฉีกท้องกิน เหล่านาคจึงพยายามกลืนหินใหญ่ลงท้องเพื่อถ่วงตัวให้หนัก ครุฑตนใดไม่รู้อุบายเวลาโฉบลงจับนาคก็ถูกหินที่นาคกลืนลงไปถ่วงน้ำหนักจนบินขึ้นไม่ไหวและจมน้ำตายส่วนครุฑที่รู้อุบายนี้ก็จะจับนาคทางหางและเขย่าจนนาคต้องคายหินออกมา
และนี่เองคือเรื่องราวความพยาบาทของพญาครุฑและพญานาค สองเผ่าพันธุ์สัตว์เทพเจ้าในตำนาน
ขอบคุณ คุณ puma , http://www.komkid.com/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%91-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84-%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%992%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2/
ตามตำนานของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เล่าว่า ในครั้งบรรพกาลยังมีมหาเทพฤษีองค์หนึ่งนามว่า พระกัศยปมุนี ซึ่งเป็นฤษีที่มีฤทธิ์เดชมากและเป็นผู้ให้กำเนิดเทพอีกหลายองค์จนถูกเรียกขานว่า พระกัศยปเทพบิดร พระองค์มีชายาหลายองค์ โดยในบรรดาชายาทั้งหลายนั้นมีชายาสององค์ซึ่งเป็นพี่น้องกันนามว่า วินตาและกัทรุ
นางทั้งสองได้ขอพรให้กำเนิดบุตรจากพระกัศยป โดยนางกัทรุได้ขอพรว่าขอให้มีบุตรจำนวนมาก ซึ่งต่อมาก็ได้ให้กำเนิดนาคหนึ่งพันตัว อาศัยอยู่ในแดนบาดาล ส่วนนางวินตาขอบุตรเพียงสององค์และขอให้ลูกมีอำนาจวาสนา ซึ่งเมื่อนางคลอดบุตร ก็ปรากฏว่าออกมาเป็นไข่สองฟอง ด้วยความทนรอดูหน้าบุตรไม่ไหว นางจึงทุบไข่ฟองหนึ่งและปรากฏเป็นเทพบุตรที่มีกายเพียงครึ่งบนชื่อ อรุณ อรุณเทพบุตรโกรธมารดาที่ทำให้ตนออกจากไข่ก่อนกำหนดจนมีร่างกายไม่ครบ จึงสาปให้มารดาของตนต้องเป็นทาสนางกัทรุโดยกำหนดให้บุตรคนที่สองของนางเป็นผู้ช่วยนางให้พ้นจากความเป็นทาส จากนั้นจึงขึ้นไปเป็นสารถีให้กับพระอาทิตย์หรือสุริยเทพ นางวินตาจึงไม่กล้าทุบไข่ฟองที่สองออกมาดู และรอจนถึงกำหนด จนเมื่อไข่ฟักออกมา ก็ปรากฏเป็น พญาครุฑ ซึ่งเมื่อแรกเกิดนั้นก็มีร่างกายขยายออกใหญ่โตจนจรดฟ้า ดวงตายามกะพริบเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกคราใด ขุนเขาก็จะตกใจหนีหายไปพร้อมพระพาย รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ
ในกาลต่อมา นางกัทรุและนางวินตาได้ท้าพนันกันถึงสีของม้าอุไฉศรพ (บางตำราก็ว่าม้าทรงรถของพระอาทิตย์) ที่เกิดเมื่อคราวกวนเกษียรสมุทรและเป็นสมบัติของพระอินทร์ โดยพนันว่าใครแพ้ต้องเป็นทาสอีกฝ่ายห้าร้อยปี นางวินตาทายว่าม้าสีขาว ส่วนนางกัทรุทายว่าสีดำ ซึ่งความจริงม้าเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรุใช้อุบายให้นาคลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า (บางตำนานว่าให้พ่นพิษใส่จนม้าเป็นสีดำ) นางวินตาไม่ทราบในอุบายนี้เลยยอมแพ้ จนต้องเป็นทาสของนางกัทรุถึงห้าร้อยปี
ภายหลังเมื่อครุฑได้ทราบถึงสาเหตุที่มารดาต้องตกเป็นทาส จึงไปเจรจาขอให้พวกนาคยอมปล่อยมารดาตน พวกนาคจึงสั่งให้พญาครุฑไปเอาน้ำอมฤตมาให้เพื่อแลกกับอิสรภาพของนางวินตา พญาครุฑจึงบินไปสวรรค์ไปเอาน้ำอมฤตซึ่งอยู่กับพระจันทร์ แล้วคว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมาและเกิดต่อสู้กันขึ้น ฝ่ายเทวดานั้นไม่อาจเอาชนะได้ ร้อนถึงพระวิษณุหรือพระนารายณ์ต้องมาช่วยขวางครุฑไว้และต่อสู้กัน ทว่าต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชนะกันได้ ทั้งสองจึงทำความตกลงยุติศึก โดยพระวิษณุทรงให้พรแก่ครุฑว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะและให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าจะเป็นพาหนะของพระวิษณุและเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักบนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า
จากนั้น พญาครุฑก็นำหม้อน้ำอมฤตลงมา ทว่าพระอินทร์ได้ตามมาขอคืน พญาครุฑก็บอกว่าตนจำต้องรักษาสัตย์ที่จะนำไปให้เหล่านาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาสและให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง จากนั้นครุฑได้เอาน้ำอมฤตไปให้นาคโดยวางไว้บนหญ้าคาและได้ทำน้ำอมฤตหยดบนหญ้าคา 2-3 หยด (ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคลในทางศาสนาพราหมณ์) ส่วนนาคเมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดี จึงยอมปล่อยนางวินตาให้เป็นอิสระ
ขณะที่เหล่านาคพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อเตรียมมาดื่มน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็รีบมานำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้พวกนาคไม่ได้กิน พวกนาคจึงเลียที่ใบหญ้าคาด้วยเชื่อว่าอาจมีหยดน้ำอมฤตหลงเหลืออยู่ ทำให้ใบหญ้าคาบาดกลางลิ้นเป็นทางยาว (เรื่องนี้กลายเป็นที่มาว่าทำไมงูจึงมีลิ้นเป็นสองแฉกสืบมาจนทุกวันนี้)
แม้ว่าจะไถ่ตัวมารดากลับมาได้แล้ว แต่พญาครุฑยังแค้นใจที่พวกนาคใช้เล่ห์กลจนมารดาของตนต้องตกเป็นทาส ทำให้พญาครุฑและเหล่าลูกหลานรุ่นต่อมา ตั้งตนเป็นศัตรูกับพวกนาค โดยเหล่าครุฑจะโฉบลงมายังมหาสมุทรและโฉบนาคไปฉีกท้องจิกกินมันเปลวและทิ้งร่างไร้ชีวิตของนาคตกลงมหานที ข้างฝ่ายพวกนาคนั้นแม้จะพยายามต่อสู้แต่ก็ไม่อาจสู้ไหวจึงพากันเลื้อยหนีไปหลบภัยยังสะดือทะเล แต่ก็ถูกครุฑใช้ปีกโบกสะบัดจนน้ำลดแห้งและจับนาคไปฉีกท้องกิน เหล่านาคจึงพยายามกลืนหินใหญ่ลงท้องเพื่อถ่วงตัวให้หนัก ครุฑตนใดไม่รู้อุบายเวลาโฉบลงจับนาคก็ถูกหินที่นาคกลืนลงไปถ่วงน้ำหนักจนบินขึ้นไม่ไหวและจมน้ำตายส่วนครุฑที่รู้อุบายนี้ก็จะจับนาคทางหางและเขย่าจนนาคต้องคายหินออกมา
และนี่เองคือเรื่องราวความพยาบาทของพญาครุฑและพญานาค สองเผ่าพันธุ์สัตว์เทพเจ้าในตำนาน
ขอบคุณ คุณ puma , http://www.komkid.com/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%91-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84-%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%992%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2/
แสดงความคิดเห็น
ห้องเพลง**คนรากหญ้า**พักยกการเมือง มุมเสียงเพลง มุมนี้ไม่มีสีไม่มีกลุ่ม มีแต่เสียง 16/12/2560 - ว่าด้วยเรื่อง "พญานาค"
สวัสดีครับ สมาชิกห้องเพลงทุกๆท่าน วันนี้วันเสาร์ MC แอ๊ด (WANG JIE) เข้าประจำการครับ
วันนี้ นำเรื่องราวเกี่ยวกับ "พญานาค" มาฝากครับ ใครที่มีความเชื่ออยู่แล้วว่าเขามีจริง ก็จงอ่านและใคร่ครวญด้วยปัญญาอิงพุทธธรรม (ถ้าเป็นชาวพุทธ) แต่ถ้าใครไม่เชื่อ ก็ถือว่าอ่านเล่นๆเพลินๆเพื่อความบันเทิงก็แล้วกัน
ตามความเชื่อในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นาค (ภาษาบาลี นาค <อ่านว่า นาคะ ถ้าเป็นเพศหญิงเรียก นาคี>) สันสกฤต: नाग Nāga) เป็นงูขนาดใหญ่มีหงอน เป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย
ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาค คาดว่าน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่า พญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่า เคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่
ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือ พญานาคนั้น มีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่ มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลา มีหลายสี แตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี 7 สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือ นาคตระกูลธรรมดา จะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษะ (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร
อนันตนาคราชนั้น เล่ากันว่า มีกายใหญ่โตมหึมา มีความยาวไม่สิ้นสุด (สมชื่อครับ เพราะภาษาบาลี คำว่า "อนันตะ" แปลว่า "หาที่สิ้นสุดมิได้") มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นแปลงร่างเป็นมนุษย์ได้ และมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์ที่มีรูปร่างสวยงาม
นาคเป็นเจ้าแห่งงู ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เพราะยังเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ก็จัดอยู่ฝ่ายสุคติภูมิ อยู่สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มี 4 ตระกูลใหญ่ (สปีชี่ส์ ?) คือ
1. ตระกูล วิรูปักษ์ มีสีทอง
2. ตระกูล เอราปถ มีสีเขียว
3. ตระกูล ฉัพพยาปุตตะ มีสีรุ้ง
4. ตระกูล กัณหาโคตมะ มีสีดำ
ทั้ง 4 ตระกูล มีปรากฏอยู่ ในบทสวดมนต์ ขันธปริตตะคาถา (พระเณรต้องสวดกันประจำ) ช่วงแรก ดังนี้
วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม ฉัพพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิ จะ...ฯลฯ (แปลว่า เราจงมีความเป็นมิตรกับเหล่าพญานาคตระกูลวิรูปักข์ เอราปถะ ฉัพพยาบุตร และกัณหาโคตมะทั้งหลายด้วยเทอญ...ฯลฯ)
พญานาค เกิดได้ครบทั้ง 4 รูปแบบการเกิดที่มีในจักรวาล คือ
1. แบบ โอปะปาติกะ เกิดแล้วโตทันที (ภาษาบาลีแปลว่า "ลอยเกิด" คือ จู่ๆก็ปรากฏตัว ฟึ่บ ขึ้นมาเลย หลังจากตายจากอัตภาพที่แล้ว)
2. แบบ สังเสทชะ เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมม ของเน่า ของสกปรก เช่นพวกหนอน
3. แบบ ชลาพุชะ เกิดจากครรภ์ เช่น มนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลาย
4. แบบ อัณฑชะ เกิดจากฟองไข่ (ดังนั้นจึงเคยมีข่าวคนพบไข่พญานาค ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างใด! แต่ไข่ที่เคยเจอแล้วเป็นข่าวหลายสิบปีก่อนนั่นจะเป็นไข่พญานาคจริงหรือเปล่า อันนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง รอการพิสูจน์ต่อไป)
พญานาคชั้นสูง เกิดแบบโอปะปาติกะ เป็นชนชั้นปกครอง ที่อยู่ของพญานาค มีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึงต่างๆ ในอากาศ จนไปถึงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พวกพญานาค อยู่ในการปกครองของ ท้าววิรูปักษ์ ผู้ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก เหตุที่มาเกิดเป็นพญานาคเพราะทำบุญเจือด้วยราคะ
ท้าววิรูปักษ์ เจ้าผู้ปกครองพญานาคทั้งหลาย
ชาวฮินดูถือว่า นาคเป็นผู้ใกล้ชิดกับเทพองค์ต่างๆ เป็นเทพเจ้าแห่งน้ำ เช่น อนันตนาคราช ที่เป็นบัลลังก์ของพระนารายณ์ ตรงกับความเชื่อของลัทธิของพราหมณ์ที่เชื่อว่า นาค เป็นเทพแห่งน้ำ เช่นปีนี้ นาค ให้น้ำ 1 ตัว แปลว่า น้ำจะมาก จะท่วมที่ทำการเกษตร ไร่นา ถ้าปีไหน นาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อย ตัวเลขนาคให้น้ำจะกลับกันกับเหตุการณ์ เนื่องจาก ถ้านาคให้น้ำ 7 ตัว น้ำจะน้อย เพราะนาคกลืนน้ำไว้
นาคมีคุณสมบัติพิเศษ คือ สามารถแปลงกายได้ มีอิทธิฤทธิ์และมีชีวิตใกล้กับคน สามารถแปลงเป็นคนได้ เช่นคราวที่แปลงเป็นคนมาขอบวชกับพระพุทธเจ้า ครั้นได้บวชแล้ว วันหนึ่งเผลอม่อยหลับไป ร่างแปลงนั้นจึงแปรเปลี่ยนกลับมาเป็นร่างเดิม และนี่เป็น 1 ใน 5 ธรรมชาติของนาคที่จะต้องกลับร่างมาเป็นนาคตามเดิมก็เลยต้องลาสิกขาบทไปเพราะเป็นสัตว์เดรัจฉานไม่อาจบรรลุธรรมได้ และเหตุการณ์นั้นจึงส่งผลที่สำคัญหลายประการ เช่น
1. มีการ "บวชนาค" สำหรับคนที่จะบวชเป็นพระ
2. มีการ "สร้างบันไดนาค" ตามวัดต่างๆ....2 ข้อนี้ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งนั้น (นาคขอไว้เป็นที่ระลึกว่างั้น)
3. อันนี้ สำคัญที่สุด และทำให้น่าเชื่อว่า มีพญานาคจริงๆ คือ ในการสวดของพระคู่สวด ในพิธีอุปสมบท จะมีการ "สวดสอนซ้อม" และ "สวดอนุสาวนา" ซึ่งเนื้อหา เป็นการสอบถาม ซักไซ้ไล่เรียง "อันตรายิกธรรม" คือ ธรรม หรือความเป็นจริงซึ่งทำอันตรายต่อการบวชเป็นพระ ซึ่งเมื่อพระคู่สวด สวดถามผู้บวช ผู้บวชต้องตอบปฏิเสธว่า "นัตถิ ภันเต" (แปลว่า "ไม่มี ไม่เป็๋นขอรับ") 5 ข้อ และที่เป็นจริงต้องตอบรับว่า "อามะ ภันเต" อีก 8 ข้อ และหนึ่งในคำสวดซักไซ้ไล่เรียงซึ่งต้องตอบรับนั้น คือคำถามว่า "มนุสโสสิ (เจ้าเป็นมนุษย์หรือเปล่า) ?"
น่าคิดว่า เหตุใด จึงต้องถามคำถามนี้ ? ถ้าไม่เคยเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ปกติธรรมดาอย่างนั้นมาก่อน ข้อนี้คือข้อแรกสุดด้วยที่ต้องตอบรับ ถัดจากนั้นก็จะถามสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั่วไปทั้งนั้น เช่น "ปุริโสสิ เจ้าเป็นผู้ชายหรือเปล่า ? ภุชิสโสสิ เจ้าเป็นไท (มิใช่ทาสของใคร) หรือเปล่า ? อะนะโนสิ เจ้าเป็นคนมีหนี้สินไหม ? นะสิราชะภะโต เจ้า ไม่ใช่เป็นคนที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง (ข้าราชการ) นะ ? อนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ เจ้าเป็นผู้ที่พ่อแม่อนุญาต(ให้มาบวช)แล้วใช่ไหม ? ปริปุณณะวีสะติวัสโสสิ เจ้าเป็นผู้มีอายุครบ(หรือเกิน)20 ปีแล้วใช่ไหม ? ปริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง ? บาตรและจีวรของเจ้ามีครบแล้วใช่ไหม...
ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวถึงนาคที่ชื่อ ถลชะ ที่แปลว่า เกิดบนบก จะเนรมิตกายได้เฉพาะเมื่ออยู่บนบก และนาคชื่อ ชลชะ แปลว่า เกิดจากน้ำ ซึ่งก็จะเนรมิตกายได้เฉพาะเมื่ออยู่ในน้ำเท่านั้น
นาค ถึงแม้จะเนรมิตกายเป็นอะไร แต่ในสภาวะ 5 จะต้องปรากฏรูปลักษณ์เป็นนาคเช่นเดิม คือ ขณะเกิด, ขณะลอกคราบ, ขณะสมสู่กันระหว่างนาคกับนาค (แปลงร่างเป็นมนุษย์มากินตับกันไม่ได้!) ขณะนอนหลับโดยไม่มีสติ (เหมือนนาคที่เผลอหลับบนวิหารที่กล่าวถึงมา) และตอนตาย ก็กลับเป็นงูใหญ่เหมือนเดิม
นาค มีพิษร้าย สามารถทำอันตรายผู้อื่นได้ด้วยพิษ ถึง 64 ชนิด ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า สัตว์จำพวก งู แมงป่อง, ตะขาบ, คางคก, มด ฯลฯ มีพิษได้ ก็เพราะนาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วพวกงูไปเลีย พวกที่มาถึงก่อนก็เอาไปมาก พวกมาทีหลัง เช่น แมงป่อง กับ มด ได้พิษน้อย แค่เอาหาง เอากันไปป้ายเศษพิษ จำพวกนี้จึงมีพิษน้อย และพญานาคต้องคายพิษทุก 15 วัน (และสัตว์พวกนี้ก็ถือว่าเป็นบริวารของนาคด้วย)
นาค อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล (อันนี้สงสัยจะคนละพวกกับบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา) คนโบราณเชื่อว่า เมื่อบนสวรรค์มีเทพอาศัยอยู่ ลึกลงไปใต้พื้นโลก ก็น่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง กล่าวว่า ที่ที่นาคอยู่นั้น ลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดาร ไม่แพ้สวรรค์ ที่มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อนๆ กัน ชั้นสูงๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์ เรื่องเมืองพญานาค มีเรื่องหนึ่งที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายธรรมบท เป็นเรื่องราวของ พระเจ้าวิฑูฑภะ (วันหลังจะเล่าให้ฟังครับ สนุกดีเหมือนกัน) ตอนที่ พระเจ้ามหานาม ดำลงน้ำ หนีพระเจ้าวิฑูฑภะ เพราะไม่ยอมเสวยพระกระยาหารร่วมด้วย เพราะทรงรังเกียจว่าพระเจ้าวิฑูฑภะเป็นจัณฑาล! และถ้าไม่ยอมเสวยด้วยก็ทรงหวั่นเกรงว่าพระเจ้าวิฑูฑภะอาจจะกริ้วสั่งประหารตนเสียก็เป็นได้ และเมื่อพระเจ้ามหานามดำลงน้ำไป เดชแห่งคุณของพระองค์ทำให้ภพแห่งนาคหวั่นไหวเร่าร้อน พญานาคจึงมารับพระองค์ไปประทับอยู่ในนาคพิภพ
นาค สามารถผสมพันธุ์กับสัตว์ชนิดอื่นได้ แปลงกายแล้วสมสู่กับมนุษย์ได้ เมื่อนาคตั้งท้องจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู มีทั้งพันธุ์เศียรเดียว 3, 5 และ 7 เศียร
นาค สามารถขึ้นลง ตั้งแต่ใต้บาดาล พื้นโลก จนถึงสวรรค์ ในทุกตำนานมักจะกล่าวถึงนาคที่ขึ้น-ลง ระหว่างเมืองบาดาล กับเมืองสวรรค์ ที่จะแปลงกายเป็นอะไรตามที่คิด ตามสภาวะเหตุการณ์นั้น ๆ
นาคเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ จึงปรากฏความเชื่อเรื่องนาคที่เกี่ยวกับน้ำไว้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
ในตำนาน สิงหนวัติ กล่าวว่า เมื่อเจ้าเมืองสิงหนวัติ อพยพคนมาจากทางเหนือ พญานาคแปลงกายมาช่วยชี้ที่ตั้งเมืองใหม่ และขอให้อยู่ในทศพิธราชธรรม พอตกกลางคืน ก็ขึ้นมาสร้างคูเมือง 4 ด้าน เป็น เมืองนาคพันธุ์สิงหนวัติ ต่อมา เมื่อยกทัพปราบเมืองอื่นได้ และรวมดินแดนเข้าด้วยกัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโยนกนาคราช
ที่ปราสาทพนมรุ้ง คูเมืองที่เป็นสระน้ำ 4 ด้าน รอบปราสาท และมีพญานาคอยู่ด้วย ตามความเชื่อของคนสมัยโบราณ ดังนั้น นาคจะมีความหมายเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากน้ำ เช่น การสร้างศาสนสถาน ไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ นาคที่ราวบันได จึงมีพญานาค ซึ่งตามความเป็นจริง (ความเชื่อ) การสร้างต้องสร้างกลางน้ำ เพื่อให้ดูเหมือนว่าศาสนสถานนั้นลอยอยู่เหนือน้ำ แต่ก็ไม่ต้องสร้างจริงๆ เพียงแต่มีสัญลักษณ์ พญานาค ไว้ เช่น ที่ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น
แม้เกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ก็จะมีอยู่ในราศีเกิด เช่น คนนักษัตร ปีมะโรง ที่มีความหมายถึง ความยิ่งใหญ่และพลังอำนาจ ที่มีพญานาค เป็นสัญลักษณ์
ด้วยความที่นาคเป็นสัญลักษณ์แห่งน้ำ ดังนั้น คำเสี่ยงทายในแต่ละปีที่จะทำนายถึง ปริมาณของน้ำ และฝนที่จะตกในแต่ละปีเพื่อใช้ในการเกษตร จึงเรียกว่า "นาคให้น้ำ" จำนวนนาคให้น้ำมีไม่เกิน 7 ตัว ถ้าปีไหนอุดมสมบูรณ์มีน้ำมากเรียกว่า "นาคให้น้ำ 1 ตัว" แต่หากปีไหนแห้งแล้งเรียกว่าปีนั้น "มีนาคให้น้ำ 7 ตัว" จะวัดกลับกันกับจำนวนนาค ที่น้ำหายไป เกิดความแห้งแล้ง ก็เพราะพญานาคเกี่ยงกันให้น้ำ! แต่ละตัวจึงกลืนน้ำไว้ในท้องไม่ยอมพ่นน้ำลงมา ซึ่งคำทำนายเรื่องนาคให้น้ำนี้ จะปรากฏเห็นได้ชัดที่สุด คือ ในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในวันพืชมงคลของแต่ละปี
เรื่องของพญานาค ยังไม่จบ ต้องต่อวันพรุ่งนี้ อีกสักวันครับ
ขอบคุณ ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84 และภาพประกอบจาก กูเกิ้ล