เซอร์จอห์น เบาริ่งได้รับความไว้วางพระทัยจากพระนางวิคตอเรียให้มาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามในรัชสมัยร.๔ หลังจากความล้มเลวในครั้งแรกที่ส่งเซอร์จอห์น ครอว์เฟิร์ดมาในรัชสมัยร.๓ เซอร์จอห์น เบาริ่งคนนี้ไม่ธรรมดาเลย เขาเป็นนักการทูตที่พูด อ่าน ได้สิบกว่าภาษา รวมทั้งภาษาไทยและจีนด้วย (เบื้องหลังความสำเร็จของสนธิสัญญาหนานกิงระหว่างจีนกับอังกฤษ ก็เขาคนนี้แหละ) ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือของเขา(ฉบับภาษาอังกฤษ ไม่ทราบว่ามีการแปลเป็นภาษาไทยหรือยัง?) ที่เขาได้เขียนเกี่ยวกับสยามนานมาแล้ว อ่านไปก็รู้สึกทึ่งไป เขาเรียนรู้วัฒนธรรมและประเพณีไทยได้อย่างลึกซึ้งและแตกฉานมาก จะว่ามากกว่าคนไทยหลายคนสมัยนี้ด้วยซ้ำไปคงไม่เกินเลยนัก เช่นว่าเขาแยกแยะให้รู้ว่า มณฑปคืออะไร เจดีย์คืออะไร สถูปคืออะไร เล่าถึงพระราชประเพณีไทยต่างๆ ได้อย่างละเอียด เขียนเล่าถึงพระพุทธศาสนาและพระนิพพานราวกับเป็นพระมหาเปรียญเลยทีเดียว
ก่อนเดินทางเข้าสยาม เขา “ทำการบ้าน” มาเป็นอย่างดี เขารู้ว่าใครมีอำนาจโดยเฉพาะอำนาจทางทหาร และรู้ว่าท่านนายพล...เอ้ย! ไม่ใช่ท่านสมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา หรือแม้กระทั่งลูกหลานของท่านขุนนางเหล่านั้นชอบอะไร ซึ่งเขาได้เตรียมการตรงนี้ไว้ล่วงหน้า โดยได้เขียนจดหมายขอเบิกเงินจากกระทรวงต่างประเทศเป็น “งบประมาณลับ” อะไรประมาณนี้ จดหมายฉบับนั้นลงวันที่ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ค.ศ ๑๘๕๕ ว่าขอเบิกเงินจำนวน ๔๐๐ ปอนด์ ไว้ใช้จ่ายในคณะทูตของเขา โดยกักไว้ส่วนหนึ่งในการซื้อของ “กำนัล” ให้คณะเจ้าหน้าที่สยาม(ที่จะต่อต้านเขา)ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้:-
....โซ่ทองคำ ๑ เส้น
นาฬิการแขวนฝังเพชร ๑ เรือน
นาฬิกาข้อมือ ๑ เรือน
ภาพสไลด์ลงยาฝังเพชร ๑ ภาพ
สร้ายสร้อยคอลงยาและตรา ๑ เส้น
แบบจำลองนครลอนดอน ๓ รูป
ภาพต่อสู้ทางทะเล ๙ ภาพ
ปืนไรเฟิลล์ ๑ กระบอก
ปืนนกชนิดลูกโม่ ๑ กระบอก
ปืนนกชนิดลูกโม่ ดีนและอดัม ๑ กระบอก
เครื่องวัดแดดอย่างดีที่สุด ๑ เครื่อง
คานตั้งสำหรับใช้ทั่วไป ๑ อัน
ปรอดแบบแนวนอนดีที่สุด ๑ ชิ้น
เครื่องวัดความกดอากาศ ๑ เครื่อง
เครื่องมือวาดเขียน ๑ ชุด
สินค้าต่างๆ และพวกเครื่องหอม(ซื้อที่ฮ่องกง)....
รวมราคาประมาณ ๓๐๐ ปอนด์ เพื่อจัดแบ่งให้แก่ข้าหลวงและลูกๆ ของเจ้านายที่สำคัญๆ (ข้อมูล: ศิวะลีย์ ภู่เพ็ชร บันทึกสัมพันธภาพระหว่างสยามกับนานาประเทศ; ๒๕๔๐)
...นาฬิกาข้อมือ กับการ่วมลงนามสนธิสัญญาเบาริ่ง.../วัชรานนท์
ก่อนเดินทางเข้าสยาม เขา “ทำการบ้าน” มาเป็นอย่างดี เขารู้ว่าใครมีอำนาจโดยเฉพาะอำนาจทางทหาร และรู้ว่าท่านนายพล...เอ้ย! ไม่ใช่ท่านสมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา หรือแม้กระทั่งลูกหลานของท่านขุนนางเหล่านั้นชอบอะไร ซึ่งเขาได้เตรียมการตรงนี้ไว้ล่วงหน้า โดยได้เขียนจดหมายขอเบิกเงินจากกระทรวงต่างประเทศเป็น “งบประมาณลับ” อะไรประมาณนี้ จดหมายฉบับนั้นลงวันที่ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ค.ศ ๑๘๕๕ ว่าขอเบิกเงินจำนวน ๔๐๐ ปอนด์ ไว้ใช้จ่ายในคณะทูตของเขา โดยกักไว้ส่วนหนึ่งในการซื้อของ “กำนัล” ให้คณะเจ้าหน้าที่สยาม(ที่จะต่อต้านเขา)ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้:-
....โซ่ทองคำ ๑ เส้น
นาฬิการแขวนฝังเพชร ๑ เรือน
นาฬิกาข้อมือ ๑ เรือน
ภาพสไลด์ลงยาฝังเพชร ๑ ภาพ
สร้ายสร้อยคอลงยาและตรา ๑ เส้น
แบบจำลองนครลอนดอน ๓ รูป
ภาพต่อสู้ทางทะเล ๙ ภาพ
ปืนไรเฟิลล์ ๑ กระบอก
ปืนนกชนิดลูกโม่ ๑ กระบอก
ปืนนกชนิดลูกโม่ ดีนและอดัม ๑ กระบอก
เครื่องวัดแดดอย่างดีที่สุด ๑ เครื่อง
คานตั้งสำหรับใช้ทั่วไป ๑ อัน
ปรอดแบบแนวนอนดีที่สุด ๑ ชิ้น
เครื่องวัดความกดอากาศ ๑ เครื่อง
เครื่องมือวาดเขียน ๑ ชุด
สินค้าต่างๆ และพวกเครื่องหอม(ซื้อที่ฮ่องกง)....
รวมราคาประมาณ ๓๐๐ ปอนด์ เพื่อจัดแบ่งให้แก่ข้าหลวงและลูกๆ ของเจ้านายที่สำคัญๆ (ข้อมูล: ศิวะลีย์ ภู่เพ็ชร บันทึกสัมพันธภาพระหว่างสยามกับนานาประเทศ; ๒๕๔๐)