คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ระบบและขั้นตอนการทำงานของมัณฑนากร
โดยภาพรวมแล้วขั้นตอนในการทำงานของมัณฑนากรสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 : PRESALE PROCESS ขั้นตอนการแนะนำตัว สร้างความมั่นใจ ทำความเข้าใจ และระบุข้อตกลง
- มัณฑนากร/บริษัทออกแบบแนะนำตัวเองกับลูกค้า แสดงประวัติ ผลงานในอดีต ระบบการทำงาน วิธีคิดงาน ไปจนถึงตัวอย่างการแก้ไขปัญหาในงานออกแบบ
- มัณฑนากร/บริษัทออกแบบรับฟังขอบเขตของงาน (Brief) จากลูกค้า พร้อมตั้งคำถามของโครงงานที่จะทำอย่างละเอียด จนกว่าจะเป็นที่เข้าใจการให้ Brief เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะมัณฑนากร/บริษัทออกแบบจำเป็นต้องใช้ข้อมูลและเงื่อนไขต่างๆ จาก Brief นี้ เพื่อวางแผนและวางกลยุทธ์ในการทำงาน หาก Brief ที่ได้รับมีข้อผิดพลาดหรือขาดความชัดเจนแล้ว โอกาสที่ผลงานออกแบบจะออกมาดี เป็นไปอย่างที่คาดหวังก็ไม่ใช่เรื่องง่าย โดย Brief ที่ดีนั้นควรมีองค์ประกอบหลักๆ ดังต่อไปนี้
- ประวัติ ที่มา และลักษณะการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ
- ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ
- เงื่อนไข ขอบเขต รวมถึงข้อจำกัดในการออกแบบ
- แนวคิดเบื้องต้นที่ต้องการจากงานออกแบบ
- เงื่อนไขหรือขอบเขตในลิขสิทธิ์ของงานออกแบบ
- รายละเอียดในการส่งมอบงานออกแบบ
- งบประมาณ
- มัณฑนากร/บริษัทออกแบบนำเสนอโครงงาน (Proposal) ต่อลูกค้า แสดงให้ลูกค้าเข้าใจถึงขอบเขตของงานที่ตนจะรับผิดชอบ รวมทั้งเสนอแนวคิดการออกแบบในเบื้องต้น (Initial Concept)
- มัณฑนากร/บริษัทออกแบบเสนอโครงสร้างของค่าใช้จ่าย นำเสนอราคาค่าออกแบบ พร้อมงบประมาณเบื้องต้นในการก่อสร้าง
- ลูกค้า และมัณฑนากร/บริษัทออกแบบ ทำการเจรจาต่อรองในรายละเอียดของโครงงาน รวมทั้งราคาค่าใช้จ่ายให้เป็นที่เข้าใจ ทำสัญญาว่าจ้าง ตกลงกฏเกณฑ์ต่างๆ และระบุเงื่อนไขการชำระเงินให้ชัดเจน
(ไม่ควรเริ่มขั้นตอนที่ 2 หากรายละเอียดในส่วนที่ 1 ยังไม่เป็นที่ตกลงหรือยอมรับจากทั้งสองฝ่าย)
ส่วนที่ 2 : CONCEPTUAL AND DESIGN DEVELOPMENT ขั้นตอนพัฒนางานออกแบบ ซึ่งสามารถแจกแจงออกโดยคร่าวได้เป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. Discover : ค้นและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวโน้มความเป็นไปได้
มัณฑนากรเริ่มต้นหาแรงบันดาลใจจากข้อมูลเบื้องต้นใน brief รวมทั้งศึกษาตลาดการแข่งขัน สังเกตแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง ทำความเข้าใจกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย ศึกษากรณีอ้างอิงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเชิงสังคมวัฒนธรรม มนุษยวิทยา เทคโนโลยี การตลาด และการออกแบบ เพื่อหาจุดร่วมของการออกแบบกับโจทย์ของลูกค้า
2. Define : ประมวลผลและพัฒนาแผนการทำงาน
ขั้นตอนนี้มัณฑนากรจะเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองความคิด หาคำตอบในวัตถุประสงค์ของลูกค้า รวมถึงวางแผนการทำงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และทำความเข้าใจแผนงานกับลูกค้าจนเป็นที่ยอมรับตรงกัน
3. Develop : พัฒนางานออกแบบ
มัณฑนากรเริ่มลงมือทำงานเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาและหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับโจทย์ของลูกค้า (Design Development) ผ่านกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงแบบ (Layout, Materials, References, Design Presentation) จนกระทั่งเข้าสู่การเตรียมความพร้อมในการก่อสร้าง (Detailing Design / Construction Drawing)
4. Delivery : ส่งมอบโครงงานออกแบบ
ในขั้นตอนนี้มัณฑนากรจะส่งมอบโครงงานออกแบบที่สมบูรณ์ (พร้อมรายละเอียดในการก่อสร้าง และแผนผังประกอบ) ให้กับผู้รับเหมาก่อสร้าง และทำการชี้แจงจนเป็นที่เข้าใจ อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของมัณฑนากรจะยังไม่จบลงตรงนี้ เพราะในระหว่างการก่อสร้าง ผู้รับเหมาอาจต้องพบปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งมัณฑนากรควรต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารทำความเข้าใจรายละเอียดเหล่านั้นกับลูกค้าเจ้าของพื้นที่ด้วย
ส่วนที่ 3 : CONSTRUCTION PROCESS ขั้นตอนการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างหลักและเริ่มงานก่อสร้าง
มัณฑนากรอาจแนะนำผู้รับเหมาก่อสร้างให้กับลูกค้าได้ แต่ทั้งนี้ไม่ได้บังคับว่าลูกค้าจะต้องตกลงตามนั้นเสมอไป และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านผลประโยชน์และสร้างความโปร่งใส ผู้รับเหมาก่อสร้าง มัณฑนากร และเจ้าของพื้นที่ ควรมีความเป็นกลางและเป็นอิสระจากกัน
ในขั้นตอนการก่อสร้างนี้ มัณฑนากรจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ตรวจสอบโครงงาน (Design Inspector) เข้าควบคุมดูแลและตรวจสอบคุณภาพของงานเป็นระยะๆ ตามข้อตกลงในสัญญาว่าจ้าง
b.jpg
การคิดค่าบริการของมัณฑนากร
มัณฑนากรหรือบริษัทออกแบบแต่ละแห่งล้วนมีคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านทักษะ ความรู้ความสามารถ ความถนัดเฉพาะทาง หรือแม้แต่ชื่อเสียง ทำให้ระดับราคาค่าบริการค่อนข้างหลากหลาย ไม่สามารถกำหนดราคามาตรฐานได้เหมือนกับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป
ปัจจุบันการประเมินราคาค่าออกแบบอาจคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อพื้นที่หรือเป็นเปอร์เซนต์จากงบประมาณการก่อสร้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการด้วย โดยโครงสร้างของราคาค่าบริการนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. ค่าออกแบบ (Fix Fee หรือ แบบเหมาจ่าย) ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ประเมินได้หลายวิธี เช่น
- ประเมินจากงบประมาณของโครงการ (Percent per Total Project Cost) อยู่ในอัตราเฉลี่ยที่ 10- 20% เช่น ถ้างบประมาณก่อสร้างไม่เกิน 10 ล้านบาท จะคิดค่าออกแบบ 10% ของงบประมาณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของโครงการและชื่อเสียงของบริษัทออกแบบแต่ละแห่งด้วย (ขอข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมได้จากสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย)
- ประเมินตามอัตราส่วนเป็นตารางเมตร (Percent per Sq.M.) ส่วนมากมัณฑนากรหรือบริษัทออกแบบมักจะอ้างอิงราคาจากสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย
- ประเมินราคาจากชั่วโมงการทำงาน (Hourly Fee) การคิดค่าบริการในลักษณะนี้เหมาะกับงานที่มีรูปแบบเฉพาะ เช่น งานที่ปรึกษาพิเศษสำหรับโครงการที่ไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอนการออกแบบทั่วไป
2. ค่าตรวจแบบ (Design Inspection) ประเมินจากงบประมาณก่อสร้างของโครงการ อยู่ในอัตราเฉลี่ยที่ 1.5 - 3.0% ของงบก่อสร้าง หรืออ้างอิงจากสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย
3. ค่า Loyalty Fee สำหรับงานออกแบบในลักษณะของ Chain Stores (ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในบ้านเราเท่าที่ควร)
4. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ค่าเดินทาง ค่าส่งเอกสาร ค่าที่พัก (ถ้ามี)
เครดิตข้อมูล : กรมส่งเสริมการส่งออกเครดิตภาพ
: TCDC Thailand Creative & Design Center
โดยภาพรวมแล้วขั้นตอนในการทำงานของมัณฑนากรสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 : PRESALE PROCESS ขั้นตอนการแนะนำตัว สร้างความมั่นใจ ทำความเข้าใจ และระบุข้อตกลง
- มัณฑนากร/บริษัทออกแบบแนะนำตัวเองกับลูกค้า แสดงประวัติ ผลงานในอดีต ระบบการทำงาน วิธีคิดงาน ไปจนถึงตัวอย่างการแก้ไขปัญหาในงานออกแบบ
- มัณฑนากร/บริษัทออกแบบรับฟังขอบเขตของงาน (Brief) จากลูกค้า พร้อมตั้งคำถามของโครงงานที่จะทำอย่างละเอียด จนกว่าจะเป็นที่เข้าใจการให้ Brief เป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เพราะมัณฑนากร/บริษัทออกแบบจำเป็นต้องใช้ข้อมูลและเงื่อนไขต่างๆ จาก Brief นี้ เพื่อวางแผนและวางกลยุทธ์ในการทำงาน หาก Brief ที่ได้รับมีข้อผิดพลาดหรือขาดความชัดเจนแล้ว โอกาสที่ผลงานออกแบบจะออกมาดี เป็นไปอย่างที่คาดหวังก็ไม่ใช่เรื่องง่าย โดย Brief ที่ดีนั้นควรมีองค์ประกอบหลักๆ ดังต่อไปนี้
- ประวัติ ที่มา และลักษณะการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ
- ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการ
- เงื่อนไข ขอบเขต รวมถึงข้อจำกัดในการออกแบบ
- แนวคิดเบื้องต้นที่ต้องการจากงานออกแบบ
- เงื่อนไขหรือขอบเขตในลิขสิทธิ์ของงานออกแบบ
- รายละเอียดในการส่งมอบงานออกแบบ
- งบประมาณ
- มัณฑนากร/บริษัทออกแบบนำเสนอโครงงาน (Proposal) ต่อลูกค้า แสดงให้ลูกค้าเข้าใจถึงขอบเขตของงานที่ตนจะรับผิดชอบ รวมทั้งเสนอแนวคิดการออกแบบในเบื้องต้น (Initial Concept)
- มัณฑนากร/บริษัทออกแบบเสนอโครงสร้างของค่าใช้จ่าย นำเสนอราคาค่าออกแบบ พร้อมงบประมาณเบื้องต้นในการก่อสร้าง
- ลูกค้า และมัณฑนากร/บริษัทออกแบบ ทำการเจรจาต่อรองในรายละเอียดของโครงงาน รวมทั้งราคาค่าใช้จ่ายให้เป็นที่เข้าใจ ทำสัญญาว่าจ้าง ตกลงกฏเกณฑ์ต่างๆ และระบุเงื่อนไขการชำระเงินให้ชัดเจน
(ไม่ควรเริ่มขั้นตอนที่ 2 หากรายละเอียดในส่วนที่ 1 ยังไม่เป็นที่ตกลงหรือยอมรับจากทั้งสองฝ่าย)
ส่วนที่ 2 : CONCEPTUAL AND DESIGN DEVELOPMENT ขั้นตอนพัฒนางานออกแบบ ซึ่งสามารถแจกแจงออกโดยคร่าวได้เป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. Discover : ค้นและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวโน้มความเป็นไปได้
มัณฑนากรเริ่มต้นหาแรงบันดาลใจจากข้อมูลเบื้องต้นใน brief รวมทั้งศึกษาตลาดการแข่งขัน สังเกตแนวโน้มความเปลี่ยนแปลง ทำความเข้าใจกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย ศึกษากรณีอ้างอิงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเชิงสังคมวัฒนธรรม มนุษยวิทยา เทคโนโลยี การตลาด และการออกแบบ เพื่อหาจุดร่วมของการออกแบบกับโจทย์ของลูกค้า
2. Define : ประมวลผลและพัฒนาแผนการทำงาน
ขั้นตอนนี้มัณฑนากรจะเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองความคิด หาคำตอบในวัตถุประสงค์ของลูกค้า รวมถึงวางแผนการทำงานที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และทำความเข้าใจแผนงานกับลูกค้าจนเป็นที่ยอมรับตรงกัน
3. Develop : พัฒนางานออกแบบ
มัณฑนากรเริ่มลงมือทำงานเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาและหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับโจทย์ของลูกค้า (Design Development) ผ่านกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงแบบ (Layout, Materials, References, Design Presentation) จนกระทั่งเข้าสู่การเตรียมความพร้อมในการก่อสร้าง (Detailing Design / Construction Drawing)
4. Delivery : ส่งมอบโครงงานออกแบบ
ในขั้นตอนนี้มัณฑนากรจะส่งมอบโครงงานออกแบบที่สมบูรณ์ (พร้อมรายละเอียดในการก่อสร้าง และแผนผังประกอบ) ให้กับผู้รับเหมาก่อสร้าง และทำการชี้แจงจนเป็นที่เข้าใจ อย่างไรก็ตาม หน้าที่ของมัณฑนากรจะยังไม่จบลงตรงนี้ เพราะในระหว่างการก่อสร้าง ผู้รับเหมาอาจต้องพบปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งมัณฑนากรควรต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการสื่อสารทำความเข้าใจรายละเอียดเหล่านั้นกับลูกค้าเจ้าของพื้นที่ด้วย
ส่วนที่ 3 : CONSTRUCTION PROCESS ขั้นตอนการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างหลักและเริ่มงานก่อสร้าง
มัณฑนากรอาจแนะนำผู้รับเหมาก่อสร้างให้กับลูกค้าได้ แต่ทั้งนี้ไม่ได้บังคับว่าลูกค้าจะต้องตกลงตามนั้นเสมอไป และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านผลประโยชน์และสร้างความโปร่งใส ผู้รับเหมาก่อสร้าง มัณฑนากร และเจ้าของพื้นที่ ควรมีความเป็นกลางและเป็นอิสระจากกัน
ในขั้นตอนการก่อสร้างนี้ มัณฑนากรจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ตรวจสอบโครงงาน (Design Inspector) เข้าควบคุมดูแลและตรวจสอบคุณภาพของงานเป็นระยะๆ ตามข้อตกลงในสัญญาว่าจ้าง
b.jpg
การคิดค่าบริการของมัณฑนากร
มัณฑนากรหรือบริษัทออกแบบแต่ละแห่งล้วนมีคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นในด้านทักษะ ความรู้ความสามารถ ความถนัดเฉพาะทาง หรือแม้แต่ชื่อเสียง ทำให้ระดับราคาค่าบริการค่อนข้างหลากหลาย ไม่สามารถกำหนดราคามาตรฐานได้เหมือนกับสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป
ปัจจุบันการประเมินราคาค่าออกแบบอาจคิดเป็นเปอร์เซนต์ต่อพื้นที่หรือเป็นเปอร์เซนต์จากงบประมาณการก่อสร้าง รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงการด้วย โดยโครงสร้างของราคาค่าบริการนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. ค่าออกแบบ (Fix Fee หรือ แบบเหมาจ่าย) ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ประเมินได้หลายวิธี เช่น
- ประเมินจากงบประมาณของโครงการ (Percent per Total Project Cost) อยู่ในอัตราเฉลี่ยที่ 10- 20% เช่น ถ้างบประมาณก่อสร้างไม่เกิน 10 ล้านบาท จะคิดค่าออกแบบ 10% ของงบประมาณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของโครงการและชื่อเสียงของบริษัทออกแบบแต่ละแห่งด้วย (ขอข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมได้จากสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย)
- ประเมินตามอัตราส่วนเป็นตารางเมตร (Percent per Sq.M.) ส่วนมากมัณฑนากรหรือบริษัทออกแบบมักจะอ้างอิงราคาจากสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย
- ประเมินราคาจากชั่วโมงการทำงาน (Hourly Fee) การคิดค่าบริการในลักษณะนี้เหมาะกับงานที่มีรูปแบบเฉพาะ เช่น งานที่ปรึกษาพิเศษสำหรับโครงการที่ไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอนการออกแบบทั่วไป
2. ค่าตรวจแบบ (Design Inspection) ประเมินจากงบประมาณก่อสร้างของโครงการ อยู่ในอัตราเฉลี่ยที่ 1.5 - 3.0% ของงบก่อสร้าง หรืออ้างอิงจากสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย
3. ค่า Loyalty Fee สำหรับงานออกแบบในลักษณะของ Chain Stores (ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในบ้านเราเท่าที่ควร)
4. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ค่าเดินทาง ค่าส่งเอกสาร ค่าที่พัก (ถ้ามี)
เครดิตข้อมูล : กรมส่งเสริมการส่งออกเครดิตภาพ
: TCDC Thailand Creative & Design Center
แสดงความคิดเห็น
ขั้นตอนการทำงานของมัณฑนากรที่ออกแบบตกแต่งโครงการบ้านเป็นยังไงคะ