สารานุกรมปืนตอนที่ 62 เปิดตระกูลปืนไรเฟิล เอ็ม1 กาแรนด์

คำเตือนบทความต่อไปนี้ไม่สามรถหาเเหล่งอ้างอิงที่ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นได้โปรดใช้วิจารณญาณ
(การระบุจำเเนกจะอ้างอิงตามโมเดลหลัก)

ประวัติเต็ม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 จนถึงปลายทศวรรษที่ 1920 ถึงกลางทศวรรษที่ 1930  กองทัพสหรัฐต้องการปืนไรเฟิลประจำการในกองทหารราบแบบใหม่ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ semi Auto เพื่อหนีให้พ้นข้อเสียเปรียบของปืนไรเฟิลระบบ bolt action ที่ถูกมองว่าล้าสมัยไปแล้วในสหรัฐในขณะที่ประเทศมหาอำนาจด้วยกันในสมัยนั้นยังคงใช้ปืนแบบ bolt action กันอยู่แต่ก็มีโครงการสร้างปืนไรเฟิลแบบ semi Auto ขึ้นมาเหมือนกันแต่ไม่ได้จริงจังและสนใจเท่ากับที่สหรัฐทำปืนไรเฟิล เอ็ม1 กาแรนด์ ออกแบบโดย จอห์น ซี กาแรนด์ (John C. Garand) ชาวแคนาดา เชื้อสายฝรั่งเศสใช้ระบบปฏิบัติการแบบ    Gas-operated, rotating bolt บรรจุกระสุนด้วยคลิป  8 นัดเมื่อกระสุนหมดคลิปหนีบกระสุนจะเด้งออกมาจากตัวปืนโดยอัตโนมัติเป็นเสียงดัง ปิ๊ง!!!  ซึ่งเป็นการบอกศัตรูให้รู้แล้วว่าปืนกระสุนหมดแต่ในเวลาต่อมาทหาร GI ก็ได้เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนเสียงปิ๊ง!!!มรณะนี้ให้กลายเป็นข้อได้เปรียบด้วยการทำให้เกิดเสียงปิ๊ง!!!ขึ้นในปืนเมื่อศัตรูโผล่หัวออกมาเพื่อยิงทหาร GI อีกคนนึงที่รออยู่ก็ยิงให้มันให้ร่วงทันที

ปืนชนิดนี้มีรุ่นต่างๆอยู่ไม่มากแต่หลักหลักก็มีดังนี้

1. เอ็ม1 กาแรนด์  -.30-06 Springfield


2. T26 Tanker กาแรนด์ คาร์ไบน์- .30-06 Springfield


3.  เอ็ม1C Sniper  -.30-06 Springfield


4.เอ็ม1D Sniper   -.30-06 Springfield


ข้อได้เปรียบมหาศาลของทหารสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่ 2 กล่าวได้ว่าเกิดจากปืนไรเฟิลก็ไม่ผิดนะเพราะระบบปฏิบัติการแบบ semi Auto นั้นถือเป็นของค่อนข้างจะใหม่มากในตอนนั้นทหารอเมริกัน 1 คนมีกระสุน 8 นัดในพื้นที่พร้อมจะยิงในขณะที่ทหารฝ่ายอักษะมีกระสุนแค่หนึ่งนัดเท่านั้นในการที่จะยิงเพราะปืนพวกเขาใช้นั้นส่วนใหญ่เป็นระบบ bolt action แบบเก่าซึ่งทำให้ต้องทำการขัดกลอนเพื่อบรรจุกระสุนใหม่นายพลแพตตันพูดถึงเอ็ม1 กาแรนด์ว่า

"the greatest battle implement ever devised"


อุปกรณ์พิเศษ M7 Rifle Grenade Launcher


กระสุน

M9A1 22mm Rifle Grenade


M17 22mm Rifle Grenade





ญี่ปุ่นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยึดปืนกาแรนด์บางส่วนมาจากแนวหน้าในแปซิฟิกและฟิลิปปินส์จากนั้นก็นำกลับไปถอดประกอบและศึกษาดูพวกเขามองเห็นถึงความได้เปรียบมหาศาลของปืนไรเฟิลกาแรนด์พวกเขาจึงทำการสร้าง Type 5 เลียนเเบบแบบระบบปฏิบัติการของปืนกาแรนด์แต่ปืนที่พวกเขาสร้างขึ้นมานั้นไม่มีความเสถียรในเรื่องของการใช้งานปัจจุบันกลายเป็นของหายากมากและซื้อขายกันในหมู่นักสะสมในราคาที่สูงลิบ

Type 5- 7.7x58mm บรรจุกระสุน 10 นัด



หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ปืนเอ็ม1 กาแรนด์ก็ได้ถูกนำไปเป็นต้นแบบในการพัฒนาปืนเล็กยาวชนิดใหม่ซึ่งนำไปสู่การสร้าง M14

Springfield T20E2 ใช้ซองกระสุน 20 นัดของ BAR โหมดการยิง semi-auto/full auto


Beretta BM59 อิตาลี copy เอ็ม1 กาแรนด์ 7.62x51 mm NATO ซองกระสุน 20 นัด โหมดการยิง semi-auto/full auto



ประจำการในกองทัพอิตาลี 1959-1990





สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่