บ้านร้าง 20 ปี แต่ราคาประมูลเริ่มต้นสูงเกินไป ต่อรองยังไงได้บ้างครับ

พอดีผมมีประสพการณ์ซื้อที่ๆไม่มีคนสนใจมาก่อนตอนนั้นเป็นที่ทรัพย์ธนาคาร ประกาศขายอยู่นานไม่มีคนสนใจ ผมดูประกาศแล้วเข้าไปคุยกับธ.ว่าราคาที่ต้งไว้อีก 10 ปีก็ไม่มีคนซื้อ ขอซื้อราคา 50% จากราคาประเมินที่ดิน เพราะที่มึสลัมบุกรุกอยู่ ก็อ้างว่าจะต้องไปเคลียร์นั้นแหละ ปรากฏว่าธ.ก็ยอมนิ คงเห็นค้างมาหลายปีปล่อยไปเอาเงินสดจะดีกว่า ก็วินๆครับธนาคารได้เงินสดไป ผมเสียเงิน+เสียเวลาเคลียร์ให้ชุมชนย้ายออก + เงินจมไปอีก 5 ปีเพิ่งจะปล่อยได้ราคา 90%  ของราคาประเมิน ก็เลยจะเอามาซื้อแปลงใหม่นี่

ปัญหาคือพอดีแถวบ้านมีบ้านหลังนึงเจ้าของล้มละลายหายไปกว่า 20 ปี แต่เพิ่งมีประกาศขายทอดตลาดมาอีกรอบ (ไม่รู้รอบที่เท่าไหร่แล้ว) ผมเห็นแล้วก็สนใจเพราะเพิ่งขายที่ดินได้เงินมา แต่ปรากฏว่าราคาประมูลเริ่มต้นสูงมากพอๆกับราคาตลาด(คนตั้งไม่ดูสภาพบ้านเลย) ฉะนั้นต่อให้ลดเต็มที่ 70% ตามเงื่อนไขในประกาศก็ยังแพงไปอยู่ดี ตอนนี้ผ่านนัดที่ 4 ผ่านไปยังไม่มีใครสนใจเลยเพราะที่มีปัญหาพอสมควร ผมประเมินดูแล้วว่าตัวบ้าน 20 กว่าปีไม่มีคนดูแลสภาพไม่เหลือแล้วตีเท่ากับที่ดินเปล่า แถมที่ดินมีปัญหาไม่มีทางออก(ที่ดินญาติเขาล้อมอยู่) ถ้าซื้อมาแล้วต้องไปเคลียร์กับญาติเขาอีกกว่าจะขายได้คงเงินจมไปหลายปี+มีค่าเคลียร์ ผมเลยมองว่าราคาที่เหมาะสมมันน่าจะอยู่ไม่เกิน 70% ของราคาที่ดินเปล่า หรือประมาณ 40% ของราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซื้อมาเก็บมาเคลียร์แล้วถึงจะพอเหลือกำไรบ้าง  ไม่รู้ว่าจะต้องทำยังไง

จะว่าผมให้ถูกไปก็คงไม่ได้ 20 ปีมาแล้วไม่มีคนสนใจบ้านหลังนี้เลย เคยเห็นประกาศประมูลไปหลายนัดแล้วเงียบไปหลายปีแล้ว เพิ่งมีประกาศอีกรอบ ตามประกาศที่โดนยึดตามเลขคดีแดงตั้งแต่ปี 2543 หรือ 17 ปีก่อน แต่ดูในประกาศกรมบังคับคดีมี ธ.ไทยพานิชย์เป็นเจ้าหนี้ และมี บบส.มหานคร ผู้สวมสิทธิ์โจทก์โผล่มาด้วย (ของรอบก่อนๆจำไม่ได้ครับว่ามีชื่อนี้หรือเปล่านานแล้ว)  แล้วคนจากบบส.นี้ก็เห็นมาคุยกับคนแถวนี้เชียร์ให้ไปร่วมประมูลแต่ไม่มีคนสนใจ ผมเลยเอะใจขึ้นมาว่าจะลองเอามาปัดฝุ่นลงทุนได้ไหม เพราะญาติบ้านนั้นผมก็พอรู้จักอยู่น่าจะเจรจาพอได้

คำถามครับ
1.  ปัญหาอยู่ที่ไม่รู้จะไปคุยต่อรองกับใคร
1.1 ถ้าไปกรมบังคับคดี ประกาศมันก็ยันไว้ว่าราคาประมูลไม่ต่ำกว่า 70% ของราคาบ้าน+ที่ดินซึ่งต่อไห้ไม่มีคนแข่งก็ขาดทุนเห็นๆ
1.2 บบส.มหานคร ผู้สวมสิทธิ์โจทก์
1.3 ธ.ไทยพานิชย์ โจทก์

2. ผู้สวมสิทธิ์โจทก์ นี่แปลว่าอะไรครับ  แปลว่าบบส.มหานครซื้อทรัพย์มาจากโจทก์(ธ.ไทยพานิชย์) แล้วหรือแค่เป็นนายหน้าเอามาประมูล
3. กรณีนี้จะเหมือนกับกรณีที่ผมเคยซื้อทรัพย์ธนาคารหรือไม่ ที่สามารถซื้อได้ในราคาที่เหมาะสมตามสภาพทรัพย์สินที่มีปัญหา หรือว่ามันจะต้องซื้อขายตามราคาประเมินอย่างเดียว เพราะถ้าอย่างนั้นตอนนี้ผ่านมาแล้ว 20 ปี ผมให้อีก 20 ปีก็ขายไม่ได้

ขอบคุณทุกท่านล่วงหน้าครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่