เปลี่ยนทรายให้เป็นดิน

.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
New technology in China
turns desert into land rich with crops
,

.



แผนงานที่จะสู้กับ
การขยายตัวของทะเลทรายทั่วโลก
คือ พันธกิจตามที่ประชุม
องค์การสหประชาชาติที่เมือง Erdos
การต่อสู้พื้นที่ทะเลทรายในมองโกลเลียใน
ทำให้จีนกลายเป็นประเทศเจ้าภาพในเรื่องนี้
จีนได้ออกกฎหมายสนับสนุนเรื่องนี้ในปี 2002
เป็นกฎหมายบูรณาการ
อย่างเป็นระบบครั้งแรกในโลก
เพื่อต่อสู้กับการขยายตัวของทะเลทราย
เป้าหมายหลักที่วางไว้
และประสบความสำเร็จแล้วก็คือ
การบุกเบิกหลายโครงการที่ได้ผลแล้ว
รวมทั้งหยุดยั้งการขยายตัวทะเลทราย
ในที่แห่งหนึ่งทางตอนเหนือของจีน

เรื่องเล็กแต่กลายเป็นเรื่องใหญ่
ถ้าปริมาณฝนน้อย อุณหภูมิที่ร้อนจัด
คือ สภาพวะที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกพืช
แต่ในตอนนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
สภาพผิวดินของพื้นที่ทะเลทราย
ในเขตปกครองตนเองของมองโกเลียใน
ทางตอนเหนือของประเทศจีน
.
.

.


" ตามการคำนวณของเรา
มีพืชมากกว่า 70 ชนิดที่ปลูกที่นี่ได้
มีหลายชนิดที่เติบโตขึ้นมาเอง
โดยที่เราไม่ได้ปลูกมันเลย "
รองศาสตราจารย์ Zhao Chaohua
มหาวิทยาลัย Chongqing Jiaotong กล่าว

ในปี 2013 กลุ่มนักวิจัยได้ทดลอง
ปลูกพืชทนแล้งที่มีปัจจัยควบคุม
บนพื้นที่แบบทะเลทราย 2 แห่ง
ขนาด 550 และ 420 ตร.เมตรใน Chongqing
เมื่อได้ผลแล้วจึงขยายลงในพื้นที่ทะเลทรายขนาด 1.6 เฮกตาร์(ราว 10 ไร่)
ในทะเลทราย Ulan Buh
โดยมีการปลูกพืชประเภทต่าง ๆ เช่น
ข้าวโพด มะเขือเทศ ข้าวฟ่างและทานตะวัน
และกำลังเปลี่ยนแปลงสภาพเนินทราย
ประมาณ 200 เฮกตาร์ (ราว 1,250 ไร่)
ให้เป็นพื้นที่โอเอซิส(ชุ่มน้ำ)
ภายในเวลา 6 เดือนข้างหน้า

เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาโดยกลุ่มนักวิจัย
มหาวิทยาลัย Chongqing Jiaotong คือ
สารผสมที่สะกัดจากผนังเซลล์ของพืช
เมื่อเติมลงในทรายจะสามารถอุ้มน้ำ
เป็นธาตุอาหาร/ปุ๋ย และระบายอากาศได้ดี

" ค่าใช้จ่ายของวัสดุเทียมและเครื่องจักร
ในการเปลี่ยนทรายให้เป็นดินต่ำกว่ามาก
เมื่อเปรียบเทียบกับการทำเกษตร
ที่มีระบบควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงฟื้นฟูสภาพดิน "
อาจารย์ Yang Qingguo
มหาวิทยาลัย Chongqing Jiaotong กล่าว

"  ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสภาพดินราว ๆ
22,500-40,500 หยวน / 1 เฮคตาร์
(112,500-202,500.-บาท/6.25 ไร่
หรือไร่ละ  18,000-32,400.-บาท) "
Yi Zhijian นักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมวิจัย กล่าว
.
.

.


แผนงานครั้งใหญ่ในอนาคตของทีมวิจัยจีน
คือ ในฤดูใบไม้ร่วงนี้จะทำการเปลี่ยนแปลง
พื้นที่ทะเลทรายให้เป็นพื้นดินเพิ่มอีก
200 เฮคตา (2 ตร.กม/1,250 ไร่)
และในอีกไม่กี่ปีข้องหน้านี้อาจจะมากกว่า 13,000 เฮคตาร์ (130 ตร.กม/81,250 ไร่)
เทียบกับพื้นที่ทะทรายโกบี 500,000 ตร.ไมล์
หรือ 1,294,994.06 ตร.กม ยังจัดว่าน้อยมาก

วิธีการนี้อาจเป็นไปได้สำหรับจีน
เพราะในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
จีนได้ตั้งเป้าหมายปลูกป่า
ในเขตทะเลทรายที่กำหนดไว้ถึง 50%
ซึ่งสามารถรักษาพื้นที่ป่าไม้ได้จนทุกวันนี้

ในปี 2030 องค์การสหประชาชาติ
วางเป้าหมายไว้ว่า การขยายตัวของ
พื้นที่ทะเลทรายจะเป็นศูนย์ทั่วโลก

การทดลองครั้งสำคัญของจีน
ในการเปลี่ยนทรายให้เป็นดิน
มีแนวโน้มที่จะทำให้แผ่นดิน
มีความอุดมสมบูรณ์ในการทำการเกษตร
และเหมาะสมกับดำรงชีวิตของคนและสัตว์
.
.

.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Chinese scientists find way
to convert sand to soil
.


ทะเลทรายโกบี ดินแดนแห้งแล้ง
ขนาด 500,000 ตารางไมล์
อยู่ทางตอนเหนือของจีน
และตอนใต้ของมองโกเลีย
ทะเลทรายนี้ได้แบ่งประเทศทั้งสอง
ออกจากกันและที่นี่เคยเป็นดินแดน
ที่อยู่ของพวกชนเผ่าป่าเถื่อนมองโกลในอดีต
รวมทั้งชนเผ่ามองโกลเคยยีดครองจีน
เป็นเมืองขึ้นร่วมร้อยปี
ก่อนจะถูกขับไล่ออกไปโดย จูหยวนจาง  
ยาจก นักพรต นักรบ ผู้โลดแล่น
ในตำนานนิยายเรื่อง มังกรหยก
ทำให้จีนมีความย้อนแย้งตนเองตลอดมา  
เรื่องดินแดนกว้างไกลก็ไม่ค่อยยอมพูดถึงว่า
เป็นฝีมือของชนเผ่ามองโกลในอดีต
จูหยวนจาง คือต้นสกุล จูหรงจี
อดีตนายกรัฐมนตรีจีน

แต่ทะเลทรายกลับสร้างปัญหา
อย่างใหญ่หลวงให้กับจีน
แม้ว่าตอนนี้จะไม่มีผู้รุกรานแล้วก็ตาม
แต่ภัยอันตรายที่น่ากลัวกว่าการรุกราน
คือ พายุทรายที่พัดเข้านครปักกิ่ง
เพราะสร้างปัญหาด้านความเสี่ยงต่าง ๆ
ให้กับประเทศชาติและประชาชน

ทะเลทรายโกบีมีการขยายตัวรวดเร็วมาก
ทำลายทุ่งหญ้าราว ๆ 2,250 ตร.ไมล์/ปี
ทำให้ที่ดินมีสภาพเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า
ไม่เหมาะกับการปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์อย่างเดิม
ทั้งยังสร้างพายุทรายโหมเข้าโจมตี
เมืองที่อยู่รอบ ๆ ใกล้ทะเลทรายโกบี

เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
มีพายุทรายกินพื้นที่ราว 1 ล้านตร.ไมล์
ทางตอนเหนือของจีน
ทำให้ทั้งเมืองเต็มไปด้วยผงฝุ่นทราย
สร้างมลภาวะในกรุงปักกิ่ง
โดยมีดัชนีคุณภาพอากาศสูงถึง 621
จากระดับที่ไม่ควรเกิน 200
ที่สหรัฐอเมริกาจะระบุว่าไม่ดีต่อสุขภาพ
ระดับ 301 - 500 อยู่ในระดับอันตราย

การเป็นทะเลทราย คือ
รูปแบบหนึ่งของการเสื่อมโทรมของดิน
จากก่อนหน้านี้ที่เป็นดินอุดมสมบูรณ์
กลายเป็นดินแห้งแล้ง/ทราย
ประสิทธิภาพของกระะบวนการ
เปลี่ยนดินให้เป็นทราย
มาจากสาเหตุทั้งมนุษย์
และสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น

ในศตวรรษที่ 20
ผลการพัฒนาอย่างบ้าคลั่งของจีน
ได้ทำลายทรัพยากรป่าไม้ของประเทศ
ผลของการตัดไม้ทำลายป่านี้
ทำให้ไม่มีรากไม้เกาะยึดดิน
ทำให้ดินพังทลาย ลมยิ่งพัดแรงหน้าดินยิ่งเสีย
และการขาดน้ำเพราะไม่มีต้นไม้ดูดซับน้ำ
ยิ่งเร่งรัดให้เกิดความแห้งแล้งเร็วยิ่งขึ้น

รัฐบาลจีนจึงเกิดการตื่นตระหนก
เรื่องทะเลทรายรุกล้ำขยายตัวมาก
ในปี 1978 จึงได้ริเริ่มโครงการ
Three-North Shelter Forest Program
หรือฉายา Great Wall Green
โดยมีเป้าหมายเพื่อหยุดยั้ง
การขยายตัวของทะเลทรายโกบี
ด้วยการสร้างกำแพงต้นไม้
ระยะทางยาว 2,800 ไมล์
เพื่อป้องกันเส้นทางขยายตัวของทะเลทราย
มีการปลูกต้นไม้มากกว่า 66,000 ล้านต้นแล้ว
เป็นการปลูกป่าไม้ครั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก

แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญหลายคนจะสงสัยว่า
โครงการนี้ประสบความสำเร็จหรือไม่
แต่การขยายตัวของทะเลทราย
ก็ชะลอตัวลงในบางพื้นที่
แม้ว่ายังคงมีผลกระทบอยู่บ้างก็ตาม

การปลูกต้นไม้ต่างถิ่นในภาคเหนือของจีน
โครงการนี้ทำให้ใช้ทรัพยากร
แหล่งน้ำบาดาลมากขึ้นเพื่อรดน้ำ
ทำให้ในภูมิภาคเริ่มเผชิญกับความแห้งแล้งเพราะมีการใช้น้ำมากไป
และพวกต้นไม้ต่างถิ่นยังได้ทำลาย
พืชชนิดอื่น ๆ รอบต้นมันด้วย
.
.

ในปี 2004 ผลการศึกษา
โครงการ Great Green Wall โดย Su Yang
มีเพียง 15% ของต้นไม้ต่างถิ่น
ที่ปลูกในปี 1978 ที่เหลือรอดมาได้

นอกจากนี้ การปลูกพืชเชิงเดี่ยว
ยิ่งทำให้พื้นที่ป่ามีความเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น
เพราะในปี 2000 ต้น Poplar
ราว 1 พันล้านต้นในเขตปกครองตนเอง
Ningxia Hu ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน
ที่ปลูกมาถึงสองทศวรรษตายเกือบหมด
จากโรคพืชชนิดเดียว

การปลูกพืชเชิงเดี่ยวหรือสายพันธุ์เดียว
จะช่วยร่นเวลา/ขับเคลื่อนการเพาะปลูกได้
แต่ป่าไม้พืชเชิงเดี่ยวมักมีความอ่อนไหว
กับมีความต้านทานต่อเชื้อโรคได้ต่ำ
ช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดินได้น้อย
และไม่อาจสร้างระบบนิเวศที่หลากหลายได้
ซึ่งมีความจำเป็นกับพืชชนิดอื่น ๆ
ให้งอกงาม/เขียวชอุ่มอยู่ร่วมกันได้

นอกเหนือจากผลกระทบ
ด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงแล้ว
เมืองต่าง ๆ  ที่ถูกทะเลทรายกลืนกิน
ได้ทำลายโครงสร้างเศรษฐกิจชาวบ้าน
ทำให้เกิดการว่างงานอย่างรวดเร็ว
ยิ่งก่อให้เกิดภัยคุกคามทางการเมือง
ที่ร้ายแรงต่อรัฐบาลกรุงปักกิ่ง

ในระหว่างปี 2003-2008
รัฐบาลจีนต้องบังคับให้ชาวบ้าน
ย้ายออกจากเขตพื้นที่ดินที่เสื่อมทราม  
มีผลทำให้ผู้คนกว่า 650,000 คน
ในเขตมองโกเลียในถูกสั่งย้ายออกมา

ในระหว่างปี 1997-2008
จีนต้องสูญเสียพื้นที่เพาะปลูก
ราว 6.2% ของพื้นที่ทำการเกษตร
ขณะที่ประชากรเกือบ 100 ล้านคน
เริ่มมีความเสี่ยงด้านอาหาร
และจะไม่มีข้อแก้ตัวกับชาวบ้านที่หิวโหย
ที่อาจก่อการจลาจลขึ้นมาได้

การเปลี่ยนทะเลทรายให้เป็นดิน
เพื่อให้มีสภาพที่เหมาะสมสำหรับการทำเกษตร
เป็นเรื่องที่เกือบเป็นไปไม่ได้เลย
พื้นที่ประมาณ 27% ของจีน
ปกคลุมไปด้วยทะเลทราย
ในขณะนี้มีเนินทรายอยู่ห่างจากกรุงปักกิ่ง
ราว 44 ไมล์ และจากการคาดการณ์
ทะเลทรายโกบีจะคุกคามลงมาทางทิศใต้
มุ่งหน้าสู่เมืองหลวงปักกิ่ง
ด้วยความเร็วเกือบ 2 ไมล์ต่อปี

วิธีที่ดีที่สุดสำหรับรัฐบาลกลาง
ในการปิดกั้นทะเลทราย
ก็คือ การมุ่งเน้นไปที่การฟื้นฟู
ระบบนิเวศตามธรรมชาติ
ด้วยการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด
ในโครงการภายในท้องถิ่น
เพื่อให้แน่ใจว่าจะไปถูกทิศถูกทาง
ไม่ใช่เน้นแต่การประชุม ๆ ไปวัน ๆ
แต่ไม่มีบทสรุป/การลงมือปฏิบัติแต่อย่างใด
.
.

ใน The Grapes of Wrath
ผลพวงแห่งความคับแค้น (John Steinbeck)
ได้เล่าถึงความพยายามที่จะต่อสู้กับ
ฝุ่นทราย Dust Bowl ช่วงภาวะฝนแล้งรุนแรง
" ทางหลวงที่ 66 คือ เส้นทางของผู้คน
ที่ลี้ภัยจากฝุ่นละอองและที่ดินที่หายไป
จากเสียงก้องคำราญของรถแทรกเตอร์
และการล่มสลายของเจ้าของที่ดิน
ทะเลทรายที่เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ
รุกรานมาจากทางตอนเหนือ "
ที่มา วิจารณ์หนังสือ/สรุป

ทุกวันนี้ จีนมีการพัฒนาวิธีการที่ดีกว่า
ในการต่อสู้กับทะเลทรายมากกว่าสหรัฐฯ
ทำมาในช่วงทศวรรษที่ 1930
แต่จีนต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์บางอย่าง
มิฉะนั้นอาจจะตกอยู่ภายใต้ชะตากรรมเดิม คือ

กำแพงเมืองจีนไม่อาจหยุดยั้งนักรบชนเผ่านอก
กำแพงต้นไม้ไม่อาจหยุดยั้งทะเลทราย
ที่รุกรานพื้นที่ได้เร็วที่สุดในโลกได้
.
.
.

.
เติ้งเสี่ยวผิง
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
เติ้งลี่จวิน
.
.


จีนได้ส่งคนจีนไปเรียนต่อต่างประเทศทั่วโลก
ตั้งแต่ยุค เติ้งเสี่ยวผิง ขึ้นครองอำนาจ
หลังโค่นล้มแก้งค์สี่คน ในปึ พ.ศ.2519

สอง Big เติ้ง ผู้ยิ่งใหญ่ทึ่โด่งดังทั่วโลก

กลางวันฟังเฒ่าเตื้งพร่ำบ่น
กลางคืนฟังเติ้งน้อยร้องเพลง

ทั้งสองคนนี้ดีอุปมาดั่ง หยินกับหยาง
ทั้งคู่ดังพอ ๆ กันในแบบฉบับของตนเอง
เรียกว่าไม่มีใครด้อยกว่าใคร

กว่า 40 ปีแล้ว ที่จีนส่งคนไปเรียนเมืองนอก
ปีละไม่น้อยกว่า 70,000 คนโดยเฉลี่ย
โดยเน้นให้ไปเรียนด้านวิทยาศาสตร
และวิศวกรรมในประเทศต่าง ๆ
ทำให้ตอนนี้มีนักเรียนนอกกลับมา
ทำงานไม่น้อยกว่า 2.65 ล้านคน
และยังมีนักวิชาการจีนในต่างแดนที่กลับมาทำงานในจีนมากกว่า 24,000 คน
ที่มา  https://goo.gl/rgsTvp

จีนจึงสามารถพัฒนาด้านเทคโนโลยี/อุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

ขณะเดียวกันจีนก็วางโครงสร้างพื้นฐาน
ระบบน้ำ โดยการผันน้ำจากเขตตอนใต้
ไปสู่เขตภาคเหนือภาคอีสาน
เพื่อใช้ในชลประทาน/ประปาในเขตแห้งแล้ง
ระยะทางเป็นพันกิโลเมตรขึ้นไปก็ยอมลงทุน
ทำให้มีผลกระทบกับ ไทย ลาว เขมร เวียตนาม
ที่เห็นได้ชัดคือ ผลกระทบจากน้ำของแม่น้ำโขง
เพราะจีนสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำไว้ใช้
ใช้ในชาติตนเองก่อนชาติอื่น
และในตอนนี้จีนกำลังจะรุกราน
แถวใกล้ ๆ กับอินเดีย
เพื่อสูบน้ำในทะเลสาบแถวธิเบตไปใช้อีก
ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลลงไปทางอินเดีย
ทำให้อินเดียต้องจ้องมองอยู่อย่างใกล้ชิด
.

เรียบเรียง/ที่มา

https://goo.gl/76pzmc
https://goo.gl/YmHfSj
https://goo.gl/CbrfBL
https://goo.gl/GB1RC5
https://goo.gl/gA8MLB
.
.
.

.

.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่