5 ธันวาคม วันดินโลก -- สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ เลือกวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันดินโลกเพื่อยกย่องในหลวงรัชกาลที่ 9

5 ธันวาคม วันดินโลก -- สหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ เลือกวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี   

              ให้   เป็นวันดินโลกเพื่อยกย่องในหลวงรัชกาลที่ 9


                                                              ประวัติวันดินโลก

          วันดินโลก (World Soil Day) ถูกกำหนดขึ้นตามมติขององค์การสหประชาชาติ ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจและการเงินของที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ 68 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2556 ให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันดินโลก (World Soil Day)

และกำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีดินสากล (International Year of Soils) โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของทรัพยากรดิน ต่อการพัฒนาด้านการเกษตร โภชนาการ และความมั่นคงทางอาหาร ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ

          ทั้งนี้สาเหตุที่กำหนดให้วันดินโลก ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมนั้น สืบเนื่องจากการประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยา (World Congress of Soil Science) ครั้งที่ 17 เมื่อปี พ.ศ. 2545 ทางสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ (International Union of Soil Sciences) ได้ตระหนักถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการพัฒนาทรัพยากรดิน โดยเฉพาะการพัฒนาด้านการเกษตร จึงได้เลือกวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ เป็นวันดินโลก เพื่อเทิดพระเกียรติพระวิริยอุตสาหะของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในด้านการปกป้องและพัฒนาทรัพยากรดิน





____________________________


                    soil       แปลว่า  ดิน










เวลา สอน    วิชา วิทย์   ศิลปะ    สังคม    เอาเรื่องดิน มาสอนเกี่ยวเนื่อง กันได้หมด



ดิน ที่ใช้ปั้นใน งานศิลปะ    เราใช้ดินเหนียว  ดินเหนียว อมน้ำมากเม็ดดินละเอียด ..   เม็ดดินละเอียดเหมือนดินร่วนละ

แต่ ดินร่วน อมน้ำ และมีอากาศแทรกอยู๋ พอๆกัน   จึงไม่ติดมือ  ไม่เป็นกกก้อนเวลาโดนบีบ    

นร. ลองเอาดิน ร่วนดินทรายมาบีบสิ  แล้วแบมือออก   จากนั้นเอาปากเป่าลม  .. เห็นมั้ยย ว่าเกิดอะไรขึ้น


...... แต่ดินเหนียว  ไม่มีให้ทดลอง  เราอยู่กลาง กทม.   บนทีดินไร่ละ 500  ล้าน  จะไปหาดินเหนียวที่ไหนละ   



ส่วน เรื่องดิน    ดิน ต่าง.   ดินแต่ละที่มีความต่างกัน  เราจึงเห็นว่าแต่ละที่ปลูกพืชต่างชนิดกัน

และผลไม้ชนิดเดียวกัน ปลูกคนละที่ ความอร่อยต่างกัน..       แต่ครู กินแต่ของ ทอดๆๆๆ  

ไม่ค่อยกินผัก

เรียน ระดับประถม   ง่ายๆ พอ




รถไฟฟ้า ที่ขุดดินออกมา ดินเอาไปทิ้งอยู่แถว พระราม 9


และดินที่อยู่ ลึกๆ ลงไป ธาตุอาหารในดินก็มีไม่มากด้วย   ส่วนใหญ่เป็นดินดาน


และอย่าง กทม. และเขตภาคกลาง    หลายสิบล้านปีก่อนเป็นทะเล  ไปถึง นครสวรรคนั้นละ

ดินใน กทม. จึงต่างกับภาคอีสาน ตอนกลางถึงบน และภาคเหนือ


ฉะนั้น  โอกาส ที่จะเจอ   ฟอสซิลไดโนเสาร์   หลัง ร ร  ใต้. โรงเรียน  ไม่มีแน่นอน

ใต้ดิน ร ร.  มีแต่ ฐานทัพเก็บกันดั้ม  


แต่ถ้าเป็น   เมก้าโลดอน   อาจจะเจอก็ได้   เพราะมันอยู่ในทะเล


... แล้วก็    แล้วก็ไดโนเสาร์   นับเฉพาะพวกที่อยู่บนบก นะ       ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น



   

.............
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่