การเขียนข้อสอบ (Exam Writing) 3/12/2450
Cr: Thongchai Rojkangsadan
https://ppantip.com/topic/37150574
อ่านข้อเขียนของท่านอาจารย์ Thongchai Rojkangsadan เรื่องการเขียนข้อสอบแล้ว ผมขอให้ความเห็นเพิ่มเติมครับ...
หลายปีก่อนที่ active สอน ป.โท ป.เอก ทางสังคมศาสตร์ ก่อนสอบผมจะแนะนำการทำข้อสอบดังนี้
1 วางแผน ... ให้เวลาและเนื้อหาในการตอบสัมพันธ์กับคะแนนในแต่ละข้อ ในกรณีที่เป็นข้อสอบแบบอัตนัยอาจารย์ส่วนใหญ่จะบอกว่าแต่ละข้อให้คะแนนเท่าไรซึ่งอาจไม่เท่ากัน
อ่านข้อสอบคร่าวๆ (scan reading) ทุกหน้า ถ้ามีสิ่งปกติรีบทักท้วงกับกรรมการคุมสอบหรือขอความเข้าใจ
การวางแผนนี้กันเวลาสำหรับเขียนโครงร่าง (outline) การตอบ ในการทำข้อสอบอัตนัย อาจแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่หัวข้อย่อยและหรือคำสำคัญ (key word) ที่ควรมีและครอบคลุมทุกประเด็น ที่สำคัญอย่านอกประเด็น และมีตัวอย่างสั้นๆเพื่อให้อาจารย์ผู้ตรวจเชื่อว่าเราเข้าใจจริง แบ่งเวลาในการสรุปด้วย เวลาในการวางแผนนี้ผมอาจใช้ระหว่าง 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด การเขียน outline นี้ให้เขียนในกระดาษคำตอบและส่งพร้อมกับข้อเขียนตอบ เพื่อให้อาจารย์ผู้ตรวจเขาเห็นว่ามีการวางแผนจริง
2 การเขียน เขียนตามที่ได้วางแผนไว้จาก outline และตามกำหนดเวลาที่แบ่งตามความสำคัญกับคะแนน พยายามใช้คำพูดของผู้เขียน ยกเว้นที่สำคัญจริงๆที่นำมากล่าวอ้าง (quoting) และเสนอแนวคิดที่เป็นการวิเคราะห์และหรือสังเคราะห์ (analysis or synthesis) ใช้ตัวอย่างแทนการเขียนอธิบายยืดยาว เพราะอาจารย์ผู้ตรวจเขารู้เนื้อหาอยู่แล้ว และถ้าสามารถเขียนผังหรือรูปประกอบง่ายๆได้ยิ่งดี
3 สรุปทบทวน อ่านซ้ำเร็วๆที่ตอบว่าตอบครบทุกประเด็นไหม และขีดเส้นใต้ที่สำคัญ
.. สรายุทธ อาทิตย์ 3/12/2560
===
ข้อเขียนของท่านอาจารย์ข้างล่างครับ..
Thongchai Rojkangsadan
ผมเคยโพสต์เรื่องนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ช่วงนี้มีหลายคนมาแชร์อีกครั้ง แสดงว่ามีประโยชน์ จึงเอามาให้อ่านเพื่อเตรียมสอบไล่ครับ
——————————————
กฎสามข้อในการทำข้อสอบอัตนัย
——————————————
.
————
กฎข้อ 1
————
อ่านคำสั่งในข้อสอบหน้าแรกให้เข้าใจก่อนลงมือทำ เช่น ถ้าคำสั่งบอกว่า เขียนชื่อทุกหน้า , ห้ามใช้เครื่องคิดเลข , ห้ามใช้ดินสอ ก็ขอให้ทำตามอย่างเคร่งครัดครับ
.
เดี๋ยวนี้ ข้อสอบเกือบทุกวิชากำหนดให้นิสิตเซ็นชื่อรับทราบข้อตกลงที่หน้าแรก ดังนั้น การไม่ทำตามข้อกำหนดของข้อสอบและอ้างว่า เซ็นชื่อโดยไม่ได้อ่านคำสั่ง จึงยอมรับไม่ได้ครับ
.
นอกจากนี้ ควรตรวจข้อสอบก่อนทำ เช่น มีครบทุกหน้าหรือไม่ , มีหน้าซ้ำหรือไม่ มิฉะนั้น อาจเสียเวลาทำหรือเสียคะแนนโดยไม่รู้ตัว เพราะทำข้อสอบไม่ครบครับ
————
กฎข้อ 2
————
เขียนด้วยปากกาสีดำหรือสีน้ำเงินด้วยลายมือที่อ่านง่าย ตัวใหญ่ และใช้ปากกาไฮไลท์เน้นข้อความสำคัญ จะช่วยทำให้ตรวจง่ายและให้คะแนนง่ายขึ้นครับ
.
ถ้าเขียนตัวเล็กด้วยลายมือที่หวัดมากและใช้ดินสอที่สีจางจนมองแทบไม่เห็น อาจโดนหักคะแนนครับ เพราะอาจารย์คงไม่เรียกตัวมาถามว่า เขียนอะไร ให้ศูนย์ ง่ายกว่าเยอะ !
————
กฎข้อ 3
————
ตอบคำถามให้ครบถ้วน เช่น โจทย์บอกว่า จงเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียอย่างละสองข้อ ก็ต้องตอบให้ครบครับ ถ้าตอบไม่ครบ ก็จะโดนหักคะแนน แต่ถ้าไม่ตอบเลย ก็ได้ศูนย์แน่นอน
.
เขียนคำตอบให้เหมาะสมกับพื้นที่ว่างและคะแนนครับ อย่าเขียนสะเปะสะปะแบบน้ำท่วมทุ่งมากเกินไป หรือเขียนสั้นมากเช่น มี 10 คะแนน เว้นเนื้อที่ให้ 1 หน้า แต่เขียนแค่ 1 - 2 บรรทัด ก็คงไม่ได้เต็ม 10 ครับ ควรตอบให้สมน้ำสมเนื้อหน่อย
.
ขอให้พลังอยู่กับท่าน !
การเขียนข้อสอบ (Exam Writing) 3/12/2450 สรายุทธ กันหลง
Cr: Thongchai Rojkangsadan
https://ppantip.com/topic/37150574
อ่านข้อเขียนของท่านอาจารย์ Thongchai Rojkangsadan เรื่องการเขียนข้อสอบแล้ว ผมขอให้ความเห็นเพิ่มเติมครับ...
หลายปีก่อนที่ active สอน ป.โท ป.เอก ทางสังคมศาสตร์ ก่อนสอบผมจะแนะนำการทำข้อสอบดังนี้
1 วางแผน ... ให้เวลาและเนื้อหาในการตอบสัมพันธ์กับคะแนนในแต่ละข้อ ในกรณีที่เป็นข้อสอบแบบอัตนัยอาจารย์ส่วนใหญ่จะบอกว่าแต่ละข้อให้คะแนนเท่าไรซึ่งอาจไม่เท่ากัน
อ่านข้อสอบคร่าวๆ (scan reading) ทุกหน้า ถ้ามีสิ่งปกติรีบทักท้วงกับกรรมการคุมสอบหรือขอความเข้าใจ
การวางแผนนี้กันเวลาสำหรับเขียนโครงร่าง (outline) การตอบ ในการทำข้อสอบอัตนัย อาจแบ่งเป็นหัวข้อใหญ่หัวข้อย่อยและหรือคำสำคัญ (key word) ที่ควรมีและครอบคลุมทุกประเด็น ที่สำคัญอย่านอกประเด็น และมีตัวอย่างสั้นๆเพื่อให้อาจารย์ผู้ตรวจเชื่อว่าเราเข้าใจจริง แบ่งเวลาในการสรุปด้วย เวลาในการวางแผนนี้ผมอาจใช้ระหว่าง 10 ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งหมด การเขียน outline นี้ให้เขียนในกระดาษคำตอบและส่งพร้อมกับข้อเขียนตอบ เพื่อให้อาจารย์ผู้ตรวจเขาเห็นว่ามีการวางแผนจริง
2 การเขียน เขียนตามที่ได้วางแผนไว้จาก outline และตามกำหนดเวลาที่แบ่งตามความสำคัญกับคะแนน พยายามใช้คำพูดของผู้เขียน ยกเว้นที่สำคัญจริงๆที่นำมากล่าวอ้าง (quoting) และเสนอแนวคิดที่เป็นการวิเคราะห์และหรือสังเคราะห์ (analysis or synthesis) ใช้ตัวอย่างแทนการเขียนอธิบายยืดยาว เพราะอาจารย์ผู้ตรวจเขารู้เนื้อหาอยู่แล้ว และถ้าสามารถเขียนผังหรือรูปประกอบง่ายๆได้ยิ่งดี
3 สรุปทบทวน อ่านซ้ำเร็วๆที่ตอบว่าตอบครบทุกประเด็นไหม และขีดเส้นใต้ที่สำคัญ
.. สรายุทธ อาทิตย์ 3/12/2560
===
ข้อเขียนของท่านอาจารย์ข้างล่างครับ..
Thongchai Rojkangsadan
ผมเคยโพสต์เรื่องนี้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ช่วงนี้มีหลายคนมาแชร์อีกครั้ง แสดงว่ามีประโยชน์ จึงเอามาให้อ่านเพื่อเตรียมสอบไล่ครับ
——————————————
กฎสามข้อในการทำข้อสอบอัตนัย
——————————————
.
————
กฎข้อ 1
————
อ่านคำสั่งในข้อสอบหน้าแรกให้เข้าใจก่อนลงมือทำ เช่น ถ้าคำสั่งบอกว่า เขียนชื่อทุกหน้า , ห้ามใช้เครื่องคิดเลข , ห้ามใช้ดินสอ ก็ขอให้ทำตามอย่างเคร่งครัดครับ
.
เดี๋ยวนี้ ข้อสอบเกือบทุกวิชากำหนดให้นิสิตเซ็นชื่อรับทราบข้อตกลงที่หน้าแรก ดังนั้น การไม่ทำตามข้อกำหนดของข้อสอบและอ้างว่า เซ็นชื่อโดยไม่ได้อ่านคำสั่ง จึงยอมรับไม่ได้ครับ
.
นอกจากนี้ ควรตรวจข้อสอบก่อนทำ เช่น มีครบทุกหน้าหรือไม่ , มีหน้าซ้ำหรือไม่ มิฉะนั้น อาจเสียเวลาทำหรือเสียคะแนนโดยไม่รู้ตัว เพราะทำข้อสอบไม่ครบครับ
————
กฎข้อ 2
————
เขียนด้วยปากกาสีดำหรือสีน้ำเงินด้วยลายมือที่อ่านง่าย ตัวใหญ่ และใช้ปากกาไฮไลท์เน้นข้อความสำคัญ จะช่วยทำให้ตรวจง่ายและให้คะแนนง่ายขึ้นครับ
.
ถ้าเขียนตัวเล็กด้วยลายมือที่หวัดมากและใช้ดินสอที่สีจางจนมองแทบไม่เห็น อาจโดนหักคะแนนครับ เพราะอาจารย์คงไม่เรียกตัวมาถามว่า เขียนอะไร ให้ศูนย์ ง่ายกว่าเยอะ !
————
กฎข้อ 3
————
ตอบคำถามให้ครบถ้วน เช่น โจทย์บอกว่า จงเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียอย่างละสองข้อ ก็ต้องตอบให้ครบครับ ถ้าตอบไม่ครบ ก็จะโดนหักคะแนน แต่ถ้าไม่ตอบเลย ก็ได้ศูนย์แน่นอน
.
เขียนคำตอบให้เหมาะสมกับพื้นที่ว่างและคะแนนครับ อย่าเขียนสะเปะสะปะแบบน้ำท่วมทุ่งมากเกินไป หรือเขียนสั้นมากเช่น มี 10 คะแนน เว้นเนื้อที่ให้ 1 หน้า แต่เขียนแค่ 1 - 2 บรรทัด ก็คงไม่ได้เต็ม 10 ครับ ควรตอบให้สมน้ำสมเนื้อหน่อย
.
ขอให้พลังอยู่กับท่าน !