แม่น้ำปิงถือเป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย มีต้นน้ำหลักอยู่ที่ดอยหลวงเชียงดาว และมีต้นน้ำจากดอยและเขาต่าง ๆ ที่เป็นแม่น้ำสาขาไหลมาบรรจบกันจากหลาย ๆ แห่งไหลรวมกันสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งในครั้งนี้ผมได้มีโอกาสนั่งเรือจากทะเลสาบดอยเต่าซึ่งแห้งเหือดมาเป็นเวลาหลายปี แต่ปีนี้เนื่องจากปริมาณฝนมีจำนวนมากทำให้ทะเลสาบดอยเต่ากลับมาเป็นทะเลสาบที่สวยงามอีกครั้ง โดยมุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทางคือ วัดพระธาตุแก่งสร้อย ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก ระหว่างการเดินทางโดยเรือในครั้งนี้ได้พบกับความสวยงามสองข้างทางจึงนำมาร้อยเรียงเป็นเรื่องเล่าให้ได้อ่านและชมภาพสองข้างทางกันครับ
รูปวัดพระธาตุแก่งสร้อยในจุดชมวิวอันเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางในครั้งนี้
การเดินทางสู่พระธาตุแก่งสร้อยนั้นไปได้แค่วิธีเดียวคือการล่องเรือ โดยจากภาพคือจุดเริ่มต้นอยู่ที่ทะเลสาบดอยเต่าระยะทางสู่พระธาตุแก่งสร้อยนั้นอยู่ที่ราว ๆ 90 กิโลเมตร ถ้าใช้เรือความเร็ว 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะใช้เวลาราว ๆ 2 ชั่วโมงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของผักตบที่ขวางทางน้ำด้วยว่ามีเยอะมากน้อยเพียงใดครับ ซึ่งในเส้นทางเดินเรือเราก็จะผ่านอุทยานแห่งชาติแม่ปิงและสามารถผ่านผาแดงหลวงที่เป็นจุดชมวิวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ครั้งนี้เราจะมองจากด้านล่างขึ้นไป และหากผ่านพระธาตุแก่งสร้อยไปก็จะไปถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่นครับ
เริ่มต้นการเดินทางครั้งนี้จากเพื่อนสนิทเคยล่องเรือบอกกล่าวถึงความงามในเส้นทางซึ่งทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะขอรบกวนให้พาชม ซึ่งปกติไม่ได้มีเรือนำเที่ยว หรือจะมีก็แต่เรือเล็ก ๆ ของชาวบ้านกับเรือลากแพที่ลากจากทะเลสาบดอยเต่าไปจนถึงเขื่อนภูมิพลซึ่งใช้เวลาเป็นวัน ๆ ในการเดินทาง
เรานำเรือลงที่ทะเลสาบดอยเต่าโดยเดินทางมาถึงราว ๆ 7.00 น. อากาศเย็นสบายกำลังดี ผมเริ่มจากการถ่ายรูปบริเวณใกล้ ๆ ทะเลสาบดอยเต่า ซึ่งครั้งนี้หลัก ๆ ผมใช้เลนส์ Canon 100-400 F4.5-5.6L IS II ในการถ่ายภาพ เพราะตั้งใจจะมาถ่ายเหยี่ยวดำใหญ่ และสำรวจเหยี่ยวตามเส้นทางเดินเรือ โดยมีเลนส์ Canon 16-35 F4L IS ไว้ถ่ายภาพวิวเฉพาะตอนอยู่บนพระธาตุแก่งสร้อย (การเปลี่ยนเลนส์บนเรือเป็นเรื่องลำบากสำหรับผมจริง ๆ) หลังจากที่ค่อย ๆ ออกเรือช้า ๆ เราเริ่มเร่งความเร็วมุ่งหน้าสู่เส้นทางเดินเรือหากดูจากแผนที่ของ Google Map จะเห็นได้ว่าสองข้างนั้นเป็นภูเขา ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่งดงามมาก
บรรยากาศยามเช้าด้านหลังเป็นวัดที่ผมไม่แน่ใจชื่อเนื่องจากมีหลายวัดมาก ทั้งพระธาตุดอยเกิ้ง พระธาตุดอยต๊อก ฯลฯ
นกที่เห็นจากระยะไกล น่าจะเป็นนกแซงแซวหางปลา มีอยู่ทั่วบริเวณนี้
เรือนแพของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้
ภูเขาที่มีป่าอันสมบูรณ์
ในการออกเรือสิ่งที่ต้องระวังคือผักตบชวา และตาข่ายดักปลาของชาวบ้านซึ่งพบเรื่อย ๆ ตลอดเส้นทางการเดินเรือเนื่องจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตลอดสองฝั่งของแม่น้ำนั้นหาเลี้ยงชีพด้วยการหาปลาเป็นหลัก ซึ่งผมจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป
หลังจากที่ออกเรือไปได้ไม่นานเท่าไหร่นักก็เจอเหยี่ยวดำใหญ่ กำลังบินโฉบอยู่ในบริเวณทะเลสาบซึ่งเหยี่ยวชนิดนี้คือเหยี่ยวดำใหญ่ (Black-eared Kite) เป็นเหยี่ยวอีก 1 ชนิดในเมืองไทยที่มีปลายหางเป็นทรงเว้า ส่วนอีกชนิดคือเหยี่ยวดำที่เว้ากว่าและหายากมาก ๆ ตอนที่เริ่มออกเดินเรือเจอเจ้าตัวนี้กำลังโฉบลงน้ำเพื่อจับปลาในระยะไม่ห่างเท่าไหร่พอดี (แต่วืด) ได้ฉากหลังเป็นวิวในทะเลสาบดอยเต่าที่ด้านหลังมีวัดอยู่แต่ไม่แน่ใจชื่อน่าจะเป็นวัดพระธาตุดอยเกิ้งกับแสงเช้าที่ให้สีอุ่น ๆ กำลังดี เหยี่ยวชนิดนี้เป็นชนิดที่อาหารหลากหลายมาก จับได้ตั้งแต่ปลา และสัตว์ขนาดเล็ก
ผมเป็นคนชอบเหยี่ยว และตระกูลนกนักล่ามาก แต่เอาจริง ๆ เหยี่ยวที่สีและลายขนแบบนี้แยกชนิดยากจริง ๆ เห็นไกล ๆ ตัวลาย ๆ คล้าย ๆ กัน แต่มันสนุกตรงนี้ เราสามารถจำแนกได้จากแหล่งที่พบ ลักษณะขน และอาหารการกิน เหมือนเล่นเกมแฟนพันธุ์แท้ในหมวดคุณสมบัติค่อย ๆ ตัดออกไปทีละข้อจนรู้ว่าเป็นชนิดใด
ภาพเหยี่ยวดำใหญ่กำลังโฉบลงน้ำเพื่อจับเหยื่อ
ภาพเหยี่ยวดำใหญ่บินบนท้องฟ้า
เนื่องจากทริปนี้ไม่ได้มาแค่เพียงถ่ายภาพเหยี่ยวเท่านั้น เราเริ่มเร่งความเร็วเรือมากขึ้นเพื่อมุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทาง ระหว่างทางนั้นผมได้ถ่ายภาพของวิวสองข้างทางเรื่อย ๆ ซึ่งผมได้เขียนคำบรรยายไว้พร้อมภาพแล้วครับ
แสงใกล้รุ่งเช้าในเส้นทางแม่น้ำปิงส่องลงมาที่บริเวณตรงกลางเล็ก ๆ นั่นคือบ้านของชาวบ้านพอดี ซึ่งเราสามารถพบเห็นบ้านในลักษณะแบบนี้ได้ตลอดเส้นทางในการเดินเรือ ส่วนใหญ่จะเลือกทำเลอยู่ริมห้วยที่น้ำไหลมาจากต้นน้ำ วิถีชีวิตเน้นการหาปลาแต่บางคนก็ยังมีการล่าสัตว์และการปล่อยสัตว์เลี้ยงเช่นวัว ขึ้นไปหากินบนเขาซึ่งทางอุทยานแห่งชาติแม่ปิงก็ได้มีการจัดการโดยขอความร่วมมือให้มีการกำหนดพื้นที่ชัดเจน รูปนี้ดรอปแสงจากภาพจริงลงมาให้ตรงกลางดูเด่น ที่เห็นแสงเป็นลำลงมานั่นของจริง ไม่ได้เอา Photoshop ใส่เพิ่มเติม
บ้านในลักษณะแบบนี้เราจะพบเจอได้เรื่อย ๆ ตลอดสองข้างของภูเขาจะเห็นได้ว่าบางส่วนมีการกั้นคอกในการทำปศุสัตว์ด้วย
สายหมอกยังไม่หายไป แม้จะเป็นเวลาสายแล้ว
ชาวบ้านที่เลี้ยงสัตว์ การขนส่งหรือเคลื่อนย้ายนั้นทำได้โดยวิธีทางเรือเท่านั้น ในภาพจะเห็นได้ว่าผักตบเยอะมากซึ่งทำให้เราเสียเวลาในการเดินทางพอสมควร
ในระหว่างการเดินทางเราจะพบหินงอกหินย้อยและถ้ำเล็ก ๆ ตลอดสองข้างทาง
ในภาพด้านบนนี้คือเรือลากแพที่เราสามารถใช้บริการได้โดยจะลากจากเขื่อนภูมิพลมายังทะเลสาบดอยเต่าหรือในเส้นทางสลับกัน
ในภาพที่เห็นนี้คือโรงเรียนเรือนแพที่เป็นที่รู้จักมาจากภาพยนตร์
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เป็นหน่วยย่อยที่ค่อยดูแลพื้นที่ในบริเวณนี้
ในภาพนี้เป็นจุดที่ชาวบ้านค่อนข้างอยู่กันหลายครัวเรือน
วิวสองข้างทางนั้นงดงามตลอด กดชัตเตอร์ไปเรื่อย ๆ จนลืมเลยว่ากดไปกี่ครั้ง
ระหว่างการเดินเรือสิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างก็คืองูจงอาง ซึ่งเวลาผักตบชวามากองกันเป็นจำนวนมาก ๆ นั้นจะพบตอไม้ขนาดใหญ่ที่เกี่ยวติดกับลำต้นของผักซึ่งอาจทำให้เรือเกิดความเสียหายได้ แต่สิ่งที่น่ากลัวเหนือไปกว่านั้นคืองูจงอาง ซึ่งระหว่างที่เราแล่นเรือไปนั้นก็ได้พบงูซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นงูจงอางกำลังเลื้อยว่ายข้ามน้ำไปยังอีกฝั่งโดยไม่มีทีท่าว่าจะหวาดกลัวเลย
ภาพงูที่คาดว่าน่าจะเป็นงูจงอางกำลังเลื้อยว่ายข้ามน้ำไป
หลังจากที่เราล่องเรือผ่านไปเรื่อย ๆ เราก็จะผ่านทั้งแก่งก้อในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง และผาแดงหลวงแต่หนนี้เรามองจากด้านล่างขึ้นไปยังด้านบนแทนซึ่งจุดนี้เป็นอีกฝั่งหนึ่งจากจุดชมวิว
ภาพของจุดที่คาดว่าน่าจะเป็นผาแดงหลวงอีกฝั่งหนึ่ง
สภาพของภูเขาในลักษณะนี้เป็นที่อยู่อาศัยของเหยี่ยว
เนื่องจากตั้งแต่บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ปิงเป็นต้นไปลักษณะของป่านั้นจะเป็นป่าเต็งรังเราจะพบว่าใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีซึ่งหากมาในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เราจะได้เห็นป่าสลับสีสวยงามตลอดสองข้างทาง
หลังจากที่เราล่องเรือมาเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมงในที่สุดก็มาถึงวัดพระธาตุแก่งสร้อย เราจอดเรือไว้ที่บริเวณทางขึ้นสู่พระธาตุ และใช้เวลาอยู่ที่นี่ในการถ่ายภาพต่าง ๆ พอสมควร โดยประวัติบางส่วนของพระธาตุแก่งสร้อยสามารถสรุปมาได้ดังนี้ครับ
พระบรมธาตุแก่งสร้อยตั้งอยู่ในเขต ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระธาตุส่วนแขนซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวัดเก่าแก่ และสำคัญยิ่งในแม่น้ำปิง วัดหนึ่งในเขตแคว้นดินแดนแห่งล้านนาไทยเป็นสมบัติเหนือเขื่อนภูมิพลชิ้นสุดท้ายที่ได้เห็นอยู่จนทุกวันนี้ เวียงสร้อยหรือเมืองสร้อยเป็นดินแดนที่อยู่ในหุบเขาลำเนาไพร รถไม่สามารถเข้าไปได้ ใช้เส้นทางน้ำคือนั่งเรือไปอย่างเดียว และยังเป็นเส้นทางที่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ที่เคยเสด็จผ่าน เช่น พระแม่จามเทวี วีรกษัติรีย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัยที่เสด็จผ่านและเคยบูรณวัดพระธาตุเมื่อพันกว่าปีก่อน จนถึงยุคแห่งกษัตริย์องค์สุดท้ายของเมืองสร้อย ทรงพระนามว่า "พยาปาตุมมะราช" ทรงสร้างวัดวาอารามในเมืองสร้อยถึง 99 วัด ต่อมาในปี พ.ศ.2467 พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปองค์พระบรมธาตุได้ทรุดโทรม จนถึงปี พ.ศ.2537 พระครูบาเจ้าชัยยะวงษาพัฒนา จันทวังโส ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์จนถึงทุกวันนี้ ต่อไปขอเชิญชมความงามของพระธาตุแก่งสร้อยกันครับ
พระพุทธรูปในภาพจมน้ำไปบางส่วน เชื่อว่าใต้น้ำนั้นน่าจะมีพระพุทธรูปที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มในหลายปีก่อนจมอยู่เช่นกัน
จากการสำรวจในครั้งนี้ผมได้เห็นภาพความสวยงามในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยปกตินั้นผมจะเดินป่าเป็นหลัก การล่องเรือเป็นอีกมุมมองประสบการณ์ใหม่ที่ได้สัมผัสจริง ๆ ซึ่งจากที่ได้เก็บข้อมูลมาในครั้งนี้ทำให้ครั้งต่อไปผมเตรียมตัวที่จะล่องไปจนถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่นเพื่อถ่ายภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ทั้งสัตว์ป่า พันธุ์พืชและ ทัศนียภาพครับ สำหรับวันนี้คงลากันไปด้วยภาพเหยี่ยวดำใหญ่ในมุมสูงแทนความหมายของชีวิตอิสระเสรีในธรรมชาติครับ
ล่องเรือชมความงามแห่งแม่น้ำปิงและขุนเขา จากเชียงใหม่สู่ตาก (จากทะเลสาบดอยเต่าสู่พระธาตุแก่งสร้อย)
รูปวัดพระธาตุแก่งสร้อยในจุดชมวิวอันเป็นจุดหมายปลายทางของการเดินทางในครั้งนี้
การเดินทางสู่พระธาตุแก่งสร้อยนั้นไปได้แค่วิธีเดียวคือการล่องเรือ โดยจากภาพคือจุดเริ่มต้นอยู่ที่ทะเลสาบดอยเต่าระยะทางสู่พระธาตุแก่งสร้อยนั้นอยู่ที่ราว ๆ 90 กิโลเมตร ถ้าใช้เรือความเร็ว 45 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะใช้เวลาราว ๆ 2 ชั่วโมงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของผักตบที่ขวางทางน้ำด้วยว่ามีเยอะมากน้อยเพียงใดครับ ซึ่งในเส้นทางเดินเรือเราก็จะผ่านอุทยานแห่งชาติแม่ปิงและสามารถผ่านผาแดงหลวงที่เป็นจุดชมวิวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ครั้งนี้เราจะมองจากด้านล่างขึ้นไป และหากผ่านพระธาตุแก่งสร้อยไปก็จะไปถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่นครับ
เริ่มต้นการเดินทางครั้งนี้จากเพื่อนสนิทเคยล่องเรือบอกกล่าวถึงความงามในเส้นทางซึ่งทำให้ผมอดไม่ได้ที่จะขอรบกวนให้พาชม ซึ่งปกติไม่ได้มีเรือนำเที่ยว หรือจะมีก็แต่เรือเล็ก ๆ ของชาวบ้านกับเรือลากแพที่ลากจากทะเลสาบดอยเต่าไปจนถึงเขื่อนภูมิพลซึ่งใช้เวลาเป็นวัน ๆ ในการเดินทาง
เรานำเรือลงที่ทะเลสาบดอยเต่าโดยเดินทางมาถึงราว ๆ 7.00 น. อากาศเย็นสบายกำลังดี ผมเริ่มจากการถ่ายรูปบริเวณใกล้ ๆ ทะเลสาบดอยเต่า ซึ่งครั้งนี้หลัก ๆ ผมใช้เลนส์ Canon 100-400 F4.5-5.6L IS II ในการถ่ายภาพ เพราะตั้งใจจะมาถ่ายเหยี่ยวดำใหญ่ และสำรวจเหยี่ยวตามเส้นทางเดินเรือ โดยมีเลนส์ Canon 16-35 F4L IS ไว้ถ่ายภาพวิวเฉพาะตอนอยู่บนพระธาตุแก่งสร้อย (การเปลี่ยนเลนส์บนเรือเป็นเรื่องลำบากสำหรับผมจริง ๆ) หลังจากที่ค่อย ๆ ออกเรือช้า ๆ เราเริ่มเร่งความเร็วมุ่งหน้าสู่เส้นทางเดินเรือหากดูจากแผนที่ของ Google Map จะเห็นได้ว่าสองข้างนั้นเป็นภูเขา ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่งดงามมาก
บรรยากาศยามเช้าด้านหลังเป็นวัดที่ผมไม่แน่ใจชื่อเนื่องจากมีหลายวัดมาก ทั้งพระธาตุดอยเกิ้ง พระธาตุดอยต๊อก ฯลฯ
นกที่เห็นจากระยะไกล น่าจะเป็นนกแซงแซวหางปลา มีอยู่ทั่วบริเวณนี้
เรือนแพของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้
ภูเขาที่มีป่าอันสมบูรณ์
ในการออกเรือสิ่งที่ต้องระวังคือผักตบชวา และตาข่ายดักปลาของชาวบ้านซึ่งพบเรื่อย ๆ ตลอดเส้นทางการเดินเรือเนื่องจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตลอดสองฝั่งของแม่น้ำนั้นหาเลี้ยงชีพด้วยการหาปลาเป็นหลัก ซึ่งผมจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป
หลังจากที่ออกเรือไปได้ไม่นานเท่าไหร่นักก็เจอเหยี่ยวดำใหญ่ กำลังบินโฉบอยู่ในบริเวณทะเลสาบซึ่งเหยี่ยวชนิดนี้คือเหยี่ยวดำใหญ่ (Black-eared Kite) เป็นเหยี่ยวอีก 1 ชนิดในเมืองไทยที่มีปลายหางเป็นทรงเว้า ส่วนอีกชนิดคือเหยี่ยวดำที่เว้ากว่าและหายากมาก ๆ ตอนที่เริ่มออกเดินเรือเจอเจ้าตัวนี้กำลังโฉบลงน้ำเพื่อจับปลาในระยะไม่ห่างเท่าไหร่พอดี (แต่วืด) ได้ฉากหลังเป็นวิวในทะเลสาบดอยเต่าที่ด้านหลังมีวัดอยู่แต่ไม่แน่ใจชื่อน่าจะเป็นวัดพระธาตุดอยเกิ้งกับแสงเช้าที่ให้สีอุ่น ๆ กำลังดี เหยี่ยวชนิดนี้เป็นชนิดที่อาหารหลากหลายมาก จับได้ตั้งแต่ปลา และสัตว์ขนาดเล็ก
ผมเป็นคนชอบเหยี่ยว และตระกูลนกนักล่ามาก แต่เอาจริง ๆ เหยี่ยวที่สีและลายขนแบบนี้แยกชนิดยากจริง ๆ เห็นไกล ๆ ตัวลาย ๆ คล้าย ๆ กัน แต่มันสนุกตรงนี้ เราสามารถจำแนกได้จากแหล่งที่พบ ลักษณะขน และอาหารการกิน เหมือนเล่นเกมแฟนพันธุ์แท้ในหมวดคุณสมบัติค่อย ๆ ตัดออกไปทีละข้อจนรู้ว่าเป็นชนิดใด
ภาพเหยี่ยวดำใหญ่กำลังโฉบลงน้ำเพื่อจับเหยื่อ
ภาพเหยี่ยวดำใหญ่บินบนท้องฟ้า
เนื่องจากทริปนี้ไม่ได้มาแค่เพียงถ่ายภาพเหยี่ยวเท่านั้น เราเริ่มเร่งความเร็วเรือมากขึ้นเพื่อมุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทาง ระหว่างทางนั้นผมได้ถ่ายภาพของวิวสองข้างทางเรื่อย ๆ ซึ่งผมได้เขียนคำบรรยายไว้พร้อมภาพแล้วครับ
แสงใกล้รุ่งเช้าในเส้นทางแม่น้ำปิงส่องลงมาที่บริเวณตรงกลางเล็ก ๆ นั่นคือบ้านของชาวบ้านพอดี ซึ่งเราสามารถพบเห็นบ้านในลักษณะแบบนี้ได้ตลอดเส้นทางในการเดินเรือ ส่วนใหญ่จะเลือกทำเลอยู่ริมห้วยที่น้ำไหลมาจากต้นน้ำ วิถีชีวิตเน้นการหาปลาแต่บางคนก็ยังมีการล่าสัตว์และการปล่อยสัตว์เลี้ยงเช่นวัว ขึ้นไปหากินบนเขาซึ่งทางอุทยานแห่งชาติแม่ปิงก็ได้มีการจัดการโดยขอความร่วมมือให้มีการกำหนดพื้นที่ชัดเจน รูปนี้ดรอปแสงจากภาพจริงลงมาให้ตรงกลางดูเด่น ที่เห็นแสงเป็นลำลงมานั่นของจริง ไม่ได้เอา Photoshop ใส่เพิ่มเติม
บ้านในลักษณะแบบนี้เราจะพบเจอได้เรื่อย ๆ ตลอดสองข้างของภูเขาจะเห็นได้ว่าบางส่วนมีการกั้นคอกในการทำปศุสัตว์ด้วย
สายหมอกยังไม่หายไป แม้จะเป็นเวลาสายแล้ว
ชาวบ้านที่เลี้ยงสัตว์ การขนส่งหรือเคลื่อนย้ายนั้นทำได้โดยวิธีทางเรือเท่านั้น ในภาพจะเห็นได้ว่าผักตบเยอะมากซึ่งทำให้เราเสียเวลาในการเดินทางพอสมควร
ในระหว่างการเดินทางเราจะพบหินงอกหินย้อยและถ้ำเล็ก ๆ ตลอดสองข้างทาง
ในภาพด้านบนนี้คือเรือลากแพที่เราสามารถใช้บริการได้โดยจะลากจากเขื่อนภูมิพลมายังทะเลสาบดอยเต่าหรือในเส้นทางสลับกัน
ในภาพที่เห็นนี้คือโรงเรียนเรือนแพที่เป็นที่รู้จักมาจากภาพยนตร์
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่ปิง เป็นหน่วยย่อยที่ค่อยดูแลพื้นที่ในบริเวณนี้
ในภาพนี้เป็นจุดที่ชาวบ้านค่อนข้างอยู่กันหลายครัวเรือน
วิวสองข้างทางนั้นงดงามตลอด กดชัตเตอร์ไปเรื่อย ๆ จนลืมเลยว่ากดไปกี่ครั้ง
ระหว่างการเดินเรือสิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างก็คืองูจงอาง ซึ่งเวลาผักตบชวามากองกันเป็นจำนวนมาก ๆ นั้นจะพบตอไม้ขนาดใหญ่ที่เกี่ยวติดกับลำต้นของผักซึ่งอาจทำให้เรือเกิดความเสียหายได้ แต่สิ่งที่น่ากลัวเหนือไปกว่านั้นคืองูจงอาง ซึ่งระหว่างที่เราแล่นเรือไปนั้นก็ได้พบงูซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นงูจงอางกำลังเลื้อยว่ายข้ามน้ำไปยังอีกฝั่งโดยไม่มีทีท่าว่าจะหวาดกลัวเลย
ภาพงูที่คาดว่าน่าจะเป็นงูจงอางกำลังเลื้อยว่ายข้ามน้ำไป
หลังจากที่เราล่องเรือผ่านไปเรื่อย ๆ เราก็จะผ่านทั้งแก่งก้อในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง และผาแดงหลวงแต่หนนี้เรามองจากด้านล่างขึ้นไปยังด้านบนแทนซึ่งจุดนี้เป็นอีกฝั่งหนึ่งจากจุดชมวิว
ภาพของจุดที่คาดว่าน่าจะเป็นผาแดงหลวงอีกฝั่งหนึ่ง
สภาพของภูเขาในลักษณะนี้เป็นที่อยู่อาศัยของเหยี่ยว
เนื่องจากตั้งแต่บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่ปิงเป็นต้นไปลักษณะของป่านั้นจะเป็นป่าเต็งรังเราจะพบว่าใบไม้เริ่มเปลี่ยนสีซึ่งหากมาในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม เราจะได้เห็นป่าสลับสีสวยงามตลอดสองข้างทาง
หลังจากที่เราล่องเรือมาเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมงในที่สุดก็มาถึงวัดพระธาตุแก่งสร้อย เราจอดเรือไว้ที่บริเวณทางขึ้นสู่พระธาตุ และใช้เวลาอยู่ที่นี่ในการถ่ายภาพต่าง ๆ พอสมควร โดยประวัติบางส่วนของพระธาตุแก่งสร้อยสามารถสรุปมาได้ดังนี้ครับ
พระบรมธาตุแก่งสร้อยตั้งอยู่ในเขต ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระธาตุส่วนแขนซ้ายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวัดเก่าแก่ และสำคัญยิ่งในแม่น้ำปิง วัดหนึ่งในเขตแคว้นดินแดนแห่งล้านนาไทยเป็นสมบัติเหนือเขื่อนภูมิพลชิ้นสุดท้ายที่ได้เห็นอยู่จนทุกวันนี้ เวียงสร้อยหรือเมืองสร้อยเป็นดินแดนที่อยู่ในหุบเขาลำเนาไพร รถไม่สามารถเข้าไปได้ ใช้เส้นทางน้ำคือนั่งเรือไปอย่างเดียว และยังเป็นเส้นทางที่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ที่เคยเสด็จผ่าน เช่น พระแม่จามเทวี วีรกษัติรีย์แห่งอาณาจักรหริภุญชัยที่เสด็จผ่านและเคยบูรณวัดพระธาตุเมื่อพันกว่าปีก่อน จนถึงยุคแห่งกษัตริย์องค์สุดท้ายของเมืองสร้อย ทรงพระนามว่า "พยาปาตุมมะราช" ทรงสร้างวัดวาอารามในเมืองสร้อยถึง 99 วัด ต่อมาในปี พ.ศ.2467 พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปองค์พระบรมธาตุได้ทรุดโทรม จนถึงปี พ.ศ.2537 พระครูบาเจ้าชัยยะวงษาพัฒนา จันทวังโส ได้มาบูรณปฏิสังขรณ์จนถึงทุกวันนี้ ต่อไปขอเชิญชมความงามของพระธาตุแก่งสร้อยกันครับ
พระพุทธรูปในภาพจมน้ำไปบางส่วน เชื่อว่าใต้น้ำนั้นน่าจะมีพระพุทธรูปที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มในหลายปีก่อนจมอยู่เช่นกัน
จากการสำรวจในครั้งนี้ผมได้เห็นภาพความสวยงามในอีกรูปแบบหนึ่ง โดยปกตินั้นผมจะเดินป่าเป็นหลัก การล่องเรือเป็นอีกมุมมองประสบการณ์ใหม่ที่ได้สัมผัสจริง ๆ ซึ่งจากที่ได้เก็บข้อมูลมาในครั้งนี้ทำให้ครั้งต่อไปผมเตรียมตัวที่จะล่องไปจนถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่นเพื่อถ่ายภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติ ทั้งสัตว์ป่า พันธุ์พืชและ ทัศนียภาพครับ สำหรับวันนี้คงลากันไปด้วยภาพเหยี่ยวดำใหญ่ในมุมสูงแทนความหมายของชีวิตอิสระเสรีในธรรมชาติครับ