พุทธศักราช 2549...
หลังจากพระหนุ่มแห่งวัดพระธาตุดงสีมาเฝ้ามองสถานการณ์ความขัดแย้งภายในวัดด้วยความหนักใจอยู่ได้ระยะหนึ่ง ก็มีคณะลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งเข้ามากราบนมัสการ
คณะลูกศิษย์กลุ่มดังกล่าว ก็คือ “พ่อหลวงยา ศรีทา” และคณะศรัทธาบ้านป่าตึง ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย นั่นเอง การมาของคณะลูกศิษย์ที่นำโดยพ่อหลวงยา นอกจากมีจุดประสงค์เพื่อขอกราบนมัสการและชื่นชมบารมีของครูบาอริยชาติด้วยความศรัทธายิ่งแล้ว ยังนำความสำคัญเรื่องหนึ่งมาปรึกษาด้วย
มูลเหตุคือ ชาวบ้านป่าตึงมีความต้องการสร้างวัดแห่งใหม่ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ซึ่งจะทำให้สามารถทำบุญและปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ ได้อย่างสะดวกขึ้น แต่การที่จะสร้างวัดมิใช่เรื่องง่าย ดังนั้นคณะชาวบ้านจึงได้นำเรื่องดังกล่าวมาปรึกษาครูบาอริยชาติ และกราบนิมนต์ให้ท่านไปเป็นเสาหลักในการสร้างอารามแห่งใหม่นี้ เนื่องจากเห็นว่าท่านเป็นพระหนุ่มนักพัฒนา ซึ่งได้ริเริ่มและช่วยเหลือด้านการก่อสร้างศาสนสถานตลอดจนศาสนวัตถุต่างๆ เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย
ในที่สุดครูบาอริยชาติก็รับนิมนต์...
หลังจากนั้น ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ร่วมกับพ่อหลวงยา ศรีทา และคณะศรัทธาบ้านป่าตึง สำรวจพื้นที่ในบริเวณหมู่บ้านป่าตึงและพื้นที่โดยรอบเพื่อหาทำเลสำหรับสร้างวัด แต่หลายวันผ่านไปก็ยังไม่พบทำเลที่เหมาะสม
อาจด้วยบารมีของครูบาอริยชาติ กับทั้งแรงศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของชาวบ้านป่าตึงในการที่จะสร้างพุทธสถานเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปในอนาคต ทำให้ในคืนหนึ่ง ครูบาอริยชาติได้เกิด “นิมิต” ขึ้น ในนิมิตนั้น...ครูบาได้พบสถานที่แห่งหนึ่ง มีลักษณะเป็นเนินเขาที่ไม่สูงนัก มีต้นไม้ใหญ่น้อยให้ร่มเงาเย็นสบาย อาณาบริเวณที่กว้างขวางนั้นล้อมรอบด้วยป่าไผ่ เป็นสถานที่ซึ่งสงบร่มรื่นเหมาะแก่การสร้างพุทธสถานเพื่อบำเพ็ญกุศลและปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง
ครูบาอริยชาติรู้สึกพึงพอใจในสถานที่ที่ปรากฏในนิมิตยิ่งนัก จึงเล่านิมิตดังกล่าวให้กับพ่อหลวงยา ศรีทา และชาวบ้านฟัง ดังนั้น คณะชาวบ้านจึงนำครูบาอริยชาติออกสำรวจพื้นที่โดยรอบของหมู่บ้านอีกครั้ง จนกระทั่งมาถึงพื้นที่บริเวณท้ายหมู่บ้าน ซึ่งเป็นเนินดอยเล็กๆ อยู่ห่างจากหมู่บ้านป่าตึงประมาณ 1.5 กิโลเมตร เรียกว่า “ดอยม่อนแสงแก้ว” ครูบาอริยชาติก็พบว่าพื้นที่บริเวณนี้นอกจากจะเป็นที่สวนของชาวบ้านแล้ว ยังมีแนวต้นไผ่ล้อมรอบคล้ายกับภาพในนิมิตของท่านไม่ผิดเพี้ยน !
แม้จะรู้สึกยินดีที่ครูบาอริยชาติได้พบสถานที่อันเหมาะสำหรับก่อสร้างวัดตามที่ตั้งใจไว้ แต่ชาวบ้านที่ร่วมออกสำรวจด้วยกันในคราวนั้นก็ยังอดรู้กังวลใจไม่ได้ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่สวนของผู้มีฐานะดีผู้หนึ่ง ซึ่งเขาคงไม่อยากขายที่แปลงงามนี้ให้เป็นแน่แท้ หรือหากจะขายก็คงเรียกร้องในราคาแพงไม่น้อย
เมื่อครูบาอริยชาติได้รับทราบถึงอุปสรรคดังกล่าวจากคำบอกเล่าของพ่อหลวงยา ท่านก็มิได้กล่าวว่ากระไร หากแต่ได้เดินไปจนถึงส่วนยอดของเนินแห่งนั้น จุดธูปเทียนปักไว้บนยอดเนิน และกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลเป็นที่เรียบร้อย ท่านก็ได้ตั้งจิตกล่าวคำอธิษฐานว่า
“...หากสถานที่แห่งนี้ แม้เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่อันเป็นมงคลคู่บารมีเรา ในการที่จะได้จรรโลงพระพุทธศาสนาต่อไปแล้ว ขอให้ได้ที่ดินผืนนี้มา...”
หลังจากนั้น ด้วยการนำของพ่อหลวงยา ศรีทา ครูบาอริยชาติก็มีโอกาสได้พบกับเจ้าของที่ดินแห่งนั้น และที่สุดแล้วปรากฏว่าเจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินจำนวนประมาณ 19 ไร่เศษ ให้กับครูบาอริยชาติอย่างง่ายดายท่ามกลางความประหลาดใจแกมยินดีอย่างยิ่งของพ่อหลวงยาและคณะชาวบ้าน !
เนินดอย “ม่อนแสงแก้ว” ซึ่งปรากฏในนิมิตของครูบาอริยชาติ จึงกลายเป็น “วัดแสงแก้วโพธิญาณ” พุทธสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในดินแดนล้านนา อันเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวบ้านป่าตึงและพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา
...ที่มาของชื่อวัดแสงแก้วโพธิญาณ...
ประวัติแสงแก้วโพธิญาณ
หลังจากพระหนุ่มแห่งวัดพระธาตุดงสีมาเฝ้ามองสถานการณ์ความขัดแย้งภายในวัดด้วยความหนักใจอยู่ได้ระยะหนึ่ง ก็มีคณะลูกศิษย์กลุ่มหนึ่งเข้ามากราบนมัสการ
คณะลูกศิษย์กลุ่มดังกล่าว ก็คือ “พ่อหลวงยา ศรีทา” และคณะศรัทธาบ้านป่าตึง ต.เจดีย์หลวง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย นั่นเอง การมาของคณะลูกศิษย์ที่นำโดยพ่อหลวงยา นอกจากมีจุดประสงค์เพื่อขอกราบนมัสการและชื่นชมบารมีของครูบาอริยชาติด้วยความศรัทธายิ่งแล้ว ยังนำความสำคัญเรื่องหนึ่งมาปรึกษาด้วย
มูลเหตุคือ ชาวบ้านป่าตึงมีความต้องการสร้างวัดแห่งใหม่ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน ซึ่งจะทำให้สามารถทำบุญและปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ ได้อย่างสะดวกขึ้น แต่การที่จะสร้างวัดมิใช่เรื่องง่าย ดังนั้นคณะชาวบ้านจึงได้นำเรื่องดังกล่าวมาปรึกษาครูบาอริยชาติ และกราบนิมนต์ให้ท่านไปเป็นเสาหลักในการสร้างอารามแห่งใหม่นี้ เนื่องจากเห็นว่าท่านเป็นพระหนุ่มนักพัฒนา ซึ่งได้ริเริ่มและช่วยเหลือด้านการก่อสร้างศาสนสถานตลอดจนศาสนวัตถุต่างๆ เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย
ในที่สุดครูบาอริยชาติก็รับนิมนต์...
หลังจากนั้น ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต ร่วมกับพ่อหลวงยา ศรีทา และคณะศรัทธาบ้านป่าตึง สำรวจพื้นที่ในบริเวณหมู่บ้านป่าตึงและพื้นที่โดยรอบเพื่อหาทำเลสำหรับสร้างวัด แต่หลายวันผ่านไปก็ยังไม่พบทำเลที่เหมาะสม
อาจด้วยบารมีของครูบาอริยชาติ กับทั้งแรงศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของชาวบ้านป่าตึงในการที่จะสร้างพุทธสถานเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไปในอนาคต ทำให้ในคืนหนึ่ง ครูบาอริยชาติได้เกิด “นิมิต” ขึ้น ในนิมิตนั้น...ครูบาได้พบสถานที่แห่งหนึ่ง มีลักษณะเป็นเนินเขาที่ไม่สูงนัก มีต้นไม้ใหญ่น้อยให้ร่มเงาเย็นสบาย อาณาบริเวณที่กว้างขวางนั้นล้อมรอบด้วยป่าไผ่ เป็นสถานที่ซึ่งสงบร่มรื่นเหมาะแก่การสร้างพุทธสถานเพื่อบำเพ็ญกุศลและปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง
ครูบาอริยชาติรู้สึกพึงพอใจในสถานที่ที่ปรากฏในนิมิตยิ่งนัก จึงเล่านิมิตดังกล่าวให้กับพ่อหลวงยา ศรีทา และชาวบ้านฟัง ดังนั้น คณะชาวบ้านจึงนำครูบาอริยชาติออกสำรวจพื้นที่โดยรอบของหมู่บ้านอีกครั้ง จนกระทั่งมาถึงพื้นที่บริเวณท้ายหมู่บ้าน ซึ่งเป็นเนินดอยเล็กๆ อยู่ห่างจากหมู่บ้านป่าตึงประมาณ 1.5 กิโลเมตร เรียกว่า “ดอยม่อนแสงแก้ว” ครูบาอริยชาติก็พบว่าพื้นที่บริเวณนี้นอกจากจะเป็นที่สวนของชาวบ้านแล้ว ยังมีแนวต้นไผ่ล้อมรอบคล้ายกับภาพในนิมิตของท่านไม่ผิดเพี้ยน !
แม้จะรู้สึกยินดีที่ครูบาอริยชาติได้พบสถานที่อันเหมาะสำหรับก่อสร้างวัดตามที่ตั้งใจไว้ แต่ชาวบ้านที่ร่วมออกสำรวจด้วยกันในคราวนั้นก็ยังอดรู้กังวลใจไม่ได้ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่สวนของผู้มีฐานะดีผู้หนึ่ง ซึ่งเขาคงไม่อยากขายที่แปลงงามนี้ให้เป็นแน่แท้ หรือหากจะขายก็คงเรียกร้องในราคาแพงไม่น้อย
เมื่อครูบาอริยชาติได้รับทราบถึงอุปสรรคดังกล่าวจากคำบอกเล่าของพ่อหลวงยา ท่านก็มิได้กล่าวว่ากระไร หากแต่ได้เดินไปจนถึงส่วนยอดของเนินแห่งนั้น จุดธูปเทียนปักไว้บนยอดเนิน และกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลเป็นที่เรียบร้อย ท่านก็ได้ตั้งจิตกล่าวคำอธิษฐานว่า
“...หากสถานที่แห่งนี้ แม้เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่อันเป็นมงคลคู่บารมีเรา ในการที่จะได้จรรโลงพระพุทธศาสนาต่อไปแล้ว ขอให้ได้ที่ดินผืนนี้มา...”
หลังจากนั้น ด้วยการนำของพ่อหลวงยา ศรีทา ครูบาอริยชาติก็มีโอกาสได้พบกับเจ้าของที่ดินแห่งนั้น และที่สุดแล้วปรากฏว่าเจ้าของที่ดินได้ถวายที่ดินจำนวนประมาณ 19 ไร่เศษ ให้กับครูบาอริยชาติอย่างง่ายดายท่ามกลางความประหลาดใจแกมยินดีอย่างยิ่งของพ่อหลวงยาและคณะชาวบ้าน !
เนินดอย “ม่อนแสงแก้ว” ซึ่งปรากฏในนิมิตของครูบาอริยชาติ จึงกลายเป็น “วัดแสงแก้วโพธิญาณ” พุทธสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งในดินแดนล้านนา อันเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวบ้านป่าตึงและพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา
...ที่มาของชื่อวัดแสงแก้วโพธิญาณ...