คนออสเตรเลียเหยียดคนเอเชียหนักไหมครับ โดยเฉพาะคนไทย

คนออสเตรเลียเหยียดคนไทยมากไหมครับ แบบหาว่าเราเป็นคนขายตัวประมาณนั้น
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เพิ่งอ่านรายงานในหนังสือพิมพ์  Die Zeit  ในเยอรมนีมาไม่นานนี่เอง  จากชาวเยอรมันที่เข้าไปอยู่ในออสเตรเลียมา 1 ปีเกี่ยวกับประสบการณ์ปัญหาการเหยียดผิวในออสเตรเลีย   ซึ่งเป็นการเผยแพร่สภาพสังคมการเหยียดผิวในออสเตรเลียได้เห็นภาพอย่างชัดเจน

Sebastian Danz  ซึ่งเป็นเยอรมันผิวขาวและเป็นเกย์ได้มีโอกาสไปทำงานที่ออสเตรเลียมา 1 ปีเพราะแฟนหนุ่มได้สัญญาทำงานของ DAAD  ก่อนไปก็ได้รับฟังแต่ชื่อเสียงในด้านดีของออสเตรเลียเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหลากหลายมากมาย   ซึ่งแน่นอนรวมทั้งชายหาดที่เป็นหนึ่งในความสนใจของนักท่องเที่ยวด้วย

Sebastian Danz ก็คิดเหมือนคนทั่วไปที่ว่าการเหยียดผิวมีอยู่ในทุกหนแห่งทั่วโลก    แต่การที่เขาประสบเหตุการณ์การเหยียดผิดอย่างบ่อยมากด้วยตนเองอย่างไม่เคยประสบมาก่อนในที่อื่นๆ นั้นที่ทำให้เขาแปลกใจ    เขาบอกว่าเหตุการณ์เหยียดผิดนั้นเขาได้ประสบพบเห็นแม้แต่ในวันแรกที่ไปถึง  Melbourne  เลยทีเดียวโดยที่สถานีรถไฟ Flinders Station   มีชายผิวดำยืนถือป้ายว่า    „Stop Racism Now“  และมีป้ายแขวนที่คอเขียนไว้ว่า   „We experience racism every day.“  

ชายผิวดำคนนี้ชื่อ Jafri Katagar  เป็นชาวอูกานดาที่เดินทางเข้ามาในออสเตรเลียตั้งแต่ปี 2005   เขาได้ให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น  The Age   ถึงประสบการณ์ที่เขาถูกเหยียดผิวบ่อยที่สุดแทบทุกวัน    เขาถึงได้ทำการรณรงค์ต่อสู้ในที่สาธารณะมาโดยตลอด

ตัว Danz  เองหางานทำพิเศษในขณะที่แฟนทำงานประจำ    โดยที่ Danz ได้ทำงานพิเศษเป็นพนักงานบริการบ้าง   เป็นครูสอนพิเศษภาษาเยอรมันบ้าง    และที่ร้านอาหาร Fishs & Chip ใน Melbourne นี่เองที่เขาได้ประสบเหตุการณ์เหยียดผิวด้วยตนเองอีกเมื่อนายจ้างบอกเขาว่าสาเหตุที่ไม่จ้างคนที่มาสมัครงานวันนี้ซึ่งเป็นหญิงไนจีเรียด้วยเหตุผลที่ว่า   เธอเป็นคนผิวดำ   ไม่ใช่เพราะว่าเธอไม่มีคุณสมบัติพอในการทำงาน

Danz ยื่นใบลาออกทันทีในวันนั้นซึ่งนายจ้างหญิงเองก็ไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงต้องมีปฏิกิริยารุนแรงขนาดนั้นเพราะเธอบอกว่า   ไม่ใช่ว่าเธอนั้นเหยียดผิวแต่เป็นเพราะลูกค้าต่างหาที่ไม่ยอมรับ!!!

เช่นเดียวกับเมื่อเขาได้รับบ้านเช่าและไปพบกับเจ้าของบ้านเช่า   ซึ่งพูดอย่างเปิดเผยว่าเขาดีใจทีทั้งสองเป็นผู้เช่าผิวขาวไม่ใช่ชาวต่างชาติผิวดำ  หรือ เอเชีย   หรือ  อื่นๆ  

แม้แต่การเฉลิมฉลองวันชาติของออสเตรเลียโดยถือเอาเหตุการณ์ที่ชาวอังกฤษลงเรืออพยพจากอังกฤษในปี 1787  เพื่อไปตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียนั้น    Danz  ได้ตั้งคำถามเอากับเพื่อนในมหาวิทยาลัยว่า    ไม่คิดว่าเหตุการณ์นั้นคือวันที่ชาวผิวขาวอังกฤษได้เริ่มทำการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ชาวพื้นเมือง  Aborigines  หรอกหรือ?   ซึ่งจริงๆ แล้ววันนั้นเป็นวัน Invasion Day  มากกว่า    และการเฉลิมฉลองนี้ถือว่าไม่ได้ให้ความเคารพต่อชาวพื้นเมือง Aborigines  แต่อย่างใด

ปรากฏว่าเพื่อนๆ ชาวออสเตรเลียต่างก็ยือนงงกันไปและยอมรับว่าพวกเขาไม่เคยคิดในแง่นี้มาก่อน

นอกจากนั้นรายงานยังกล่าวถึงมาตรการเฉียบขาดที่ออสเตรเลียปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยทางเรือด้วย   แต่จะไม่ลงรายละเอียดเนื่องจากเรื่องนี้ปรากฏเป็นข่าวไปทั่วโลกอยู่แล้วเป็นระยะ

ท้ายที่สุดแล้วสำหรับ Danz นั้นเขาคิดว่า   การได้มีประสบการณ์ไปถึงออสเตรเลียและอยู่ที่นั่นชั่วคราวถือเป็นคุณค่าในชีวิตช่วงหนึ่ง   แต่ไม่ใช่สถานที่ที่เขาจะอาศัยอยู่ได้ตลอดไป    เขาจึงสรุปว่า   คนที่อยู่ออสเตรเลียได้อย่างมีความสุขคือคนที่สามารถ มองข้ามหรือ ignore ปัญหาการเหยียดผิวในชีวิตประจำวันของชาวออสเตรเลียนี้ได้   สำหรับเขาแล้วการได้เดินทางออกจากออสเตรเลียจึงไม่ได้เกิดความรู้สึกอาลัยแต่อย่างใด

http://ze.tt/rassismus-im-auslandsjahr-australien-macht-nur-spass-wenn-man-weiss-ist/?utm_campaign=ref&utm_content=zett_zon_teaser_teaser_x&utm_medium=fix&utm_source=zon_zettaudev_int&wt_zmc=fix.int.zettaudev.zon.ref.zett.zon_teaser.teaser.x
ความคิดเห็นที่ 9
เหตุการณ์กันยายน เมื่อ 50 ปีมาแล้ว

ขณะเสด็จฯ ณ เมลเบิร์น ออสเตรเลีย



อธิการบดีมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย เมื่อวันจันทร์ ที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๕



พระราชทานพระราชดำรัสในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาบัตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

คำประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย

ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ณ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น วันจันทร์ ที่ ๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๕

ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม

        วันนี้ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่พวกเราทั้งหลายได้มีโอกาสรับเสด็จพระมหากษัตริย์ผู้ยังทรงครองราชย์อยู่ในปัจจุบัน และทรงเป็นประมุข แห่งพระราชวงศ์ที่มิใช่พระราชวงศ์ในเครือจักรภพ

         โอกาสอันดีเช่นนี้ น่าจะเตือนใจพวกเราให้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระประมุข และพระราชวงศ์ผู้ทรงสถาปนา และอุปถัมภ์มหาวิทยาลัยต่างๆ ในหลายประเทศตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ให้จดจำรำลึกถึง “นักบุญหลวง” ผู้ทรงสถาปนาโบสถ์ ประจำคิงส์คอลเลจ แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่และรุ่งโรจน์ในทางภูมิปัญญาอันล้ำลึก และหวนคำนึงถึงมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ในข้อที่ว่า

“พระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระคุณทรงรังสรรค์แต่ครั้งโบราณกาล

ทั้งหอคอยตระหง่าน สุสาน และอนุสาวรีย์ เรียงราย

อีกวิถีหลายสายเพื่อรองบาทบทจรแห่งปราชญ์และบุรุษเกรียงไกร”

        การอุปถัมภ์การศึกษาในประเทศไทยเป็นโบราณราชประเพณีเช่นเดียวกับในประเทศอังกฤษ ในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสถาปนาศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้

       ส่วนในสมัยใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งโรงเรียนมากมาย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นได้กลายเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน

       สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชนก สมเด็จพระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงศึกษา วิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทรงมีส่วนสำคัญในการก่อตั้งคณะแพทย์แห่งโรงพยาบาลศิริราช อีกทั้งได้ทรงพระกรุณาส่งนักศึกษาแพทย์ไทย ไปศึกษา ยังต่างประเทศด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์

       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งมิใช่เมืองเคมบริดจ์เก่าแก่ ที่เกี่ยวข้องกับราชสำนัก แต่เป็นเมืองเคมบริดจ์ใหม่ในรัฐแมสซาชูเซตส์แห่งสหรัฐอเมริกา

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แม้จะสนพระราชหฤทัยในสาขาวิทยาศาสตร์แต่ได้ทรงเปลี่ยนไปศึกษากฎหมายและรัฐประศาสนศาสตร์

        ในฐานะพระมหากษัตริย์ ทรงอุปถัมภ์สยามสมาคม และองค์กรทางการศึกษาและอาชีพมากมาย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ก่อตั้งทุนภูมิพลเพื่อพระราชทานแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทุนมูลนิธิ อานันทมหิดลเพื่อพระราชทานแก่บัณฑิตไทยที่มีผลการศึกษายอดเยี่ยมเพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ ในสาขาแพทยศาสตร์

        และเมื่อไม่นานมานี้ได้รวมถึง สาขาวิทยาศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทาน ปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษาด้วยพระองค์เอง

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยในด้านการสาธารณสุขไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการศึกษา ทรงรณรงค์เพื่อต่อสู้กับอหิวาตกโรค เพื่อควบคุมโรคเรื้อน และเพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยโรคโปลิโอ

        ทรงพระกรุณาพระราชทานความช่วยเหลือสนับสนุนกิจการเหล่านี้ ด้วยทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่าง พระราชทานทุนทรัพย์และสิ่งของตลอดจนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ และเรือสำหรับสภากาชาดไทยซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเป็นสภานายิกา

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใฝ่พระราชหฤทัยในการนำประโยชน์จากความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และการแพทย์สมัยใหม่มาใช้ เพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกร และก็ยังทรงสนพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทยโบราณและ การศาสนาอีกด้วย

         ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกของทุกศาสนาในประเทศไทย ทรงส่งเสริมศิลปะและดนตรีประจำชาติ (ทั้งนี้มิใช่จะทรงละเว้นความสนพระราชหฤทัยในศิลปะ และดนตรีแขนงอื่นแต่อย่างใด) ทั้งยังทรงพระราชอุตสาหะในการธำรงรักษาความพิศุทธ์ของภาษาไทย

         สุดท้ายนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมา ณ มหาวิทาลัยเมลเบิร์น บ่ายวันนี้ในฐานะพระประมุขของประเทศที่พวกเราทั้งหลายได้รู้จักพสกนิกรของพระองค์และเรียนรู้ที่จะชื่นชอบในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาไทย ซึ่งเป็นอาคันตุกะของเรา ในรัฐวิกตอเรีย

         ในการประกาศสดุดีพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เราขอแสดงความชื่นชมนักศึกษาเหล่านั้น และประชาชนชาวไทยทั้งประเทศด้วย

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ (*1)

________________________________________

                และขณะที่เสด็จฯในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ทุกคนควรรำลึกเป็นตัวอย่างของผู้นำที่มีความเข้มแข็งและทรงเปี่ยมด้วยพระราชธรรม “ความไม่โกรธ”

กล่าวคือ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปเยือนต่างประเทศเป็นทางการ ในพิธีทูลเกล้าฯ ถวายปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย

ทรงถูกนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีความคิดรุนแรง ไม่เข้าใจพระองค์และเมืองไทย บางคนถือป้ายที่มีข้อความกล่าวร้ายต่อพระองค์ท่าน บางกลุ่มส่งเสียงโห่ ลบหลู่พระเกียรติ และเกียรติภูมิของชาติไทยอย่างรุนแรง

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงบรรยายถึงเหตุการณ์ในวันนั้นในพระราชนิพนธ์ ความทรงจำในการตามเสด็จต่างประเทศ ตอนหนึ่งว่า ถึงเวลาที่พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จไปพระราชทานพระราชดำรัสที่กลางเวที ยังไม่ทันจะอะไร  ก็มีเสียงโห่ดังขึ้นมาจากกลุ่มปัญญาชนข้างนอก

ข้าพเจ้ารู้สึกว่ามือเย็นเฉียบ หัวใจหวิวๆ อย่างไรพิกล รู้สึกสงสารพระเจ้าอยู่หัว จนทำอะไรไม่ถูก ไม่กล้าแม้แต่จะมองขึ้นดูพระพักตร์ท่าน ด้วยความสงสาร และเห็นพระทัย ในที่สุดฝืนใจมองขึ้นไปเพื่อถวายกำลังพระทัย แต่แล้วข้าพเจ้านั่นเองแหละที่เป็นผู้ได้กำลังใจกลับคืนมา เพราะมองดูท่านขณะที่ประทับยืนกลางเวที เห็นพระพักตร์ทรงเฉย

ทันใดนั้นเอง คนที่อยู่ในหอประชุมทั้งหมดปรบมือเสียงสนั่นหวั่นไหวคล้ายจะถวายกำลังพระทัยท่าน พอเสียงปรบมือเงียบลง

คราวนี้ข้าพเจ้ามองขึ้นไปบนเวทีอีก เห็นพระเจ้าอยู่หัวทรงเปิดพระมาลาที่ทรงคู่กับฉลองพระองค์ครุย แล้วหันพระองค์ไปโค้งคำนับกลุ่มที่ส่งเสียงเอะอะอยู่ข้างนอกอย่างงดงาม และน่าดูที่สุด

พระพักตร์ยิ้มนิดๆ พระเนตรมีแววเยาะหน่อยๆ แต่พระสุรเสียงราบเรียบยิ่งนัก

“ขอขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอันมาก ในการต้อนรับอันอบอุ่น และสุภาพเรียบร้อยที่ท่านแสดงต่อแขกเมืองของท่าน” รับสั่งเพียงเท่านั้นเอง (*2)

แล้วหันพระองค์มารับสั่งต่อกับผู้ที่นั่งฟังอยู่ในหอประชุม

“…เป็นประเทศเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับออสเตรเลีย แต่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีอารยธรรมสูงส่งมานาน นานมาก…”

รับสั่งว่า ต้องขอโทษที่จะบอกว่า

(ถึงจังหวะนี้ ทรงหันไปทางผู้ชุมนุม แล้วน้อมพระเศียรลงเล็กน้อย)

         “..นานจนข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่า ขณะนั้น  ประเทศออสเตรเลียอยู่ที่ไหน…”

ผลปรากฏว่า นักศึกษาเงียบกริบทั้งบริเวณงาน และเปลี่ยนเป็นปรบมือสนั่นหวั่นไหว  (*3)

แสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถมากในการแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้า และทรงเปี่ยมด้วยพระราชธรรม “ความไม่โกรธ” อย่างแท้จริง

        พระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชอัธยาศัยประกอบด้วยพระเมตตา ไม่ปรารถนาก่อเวรภัยให้ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ทรงพระพิโรธด้วยเหตุที่ไม่ควร

         แม้มีเหตุให้ทรงพระพิโรธ แต่ทรงข่มได้ สงบระงับโดยการใส่ใจพิจารณาจนพบต้นเหตุ

         แม้แต่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไม่เคยเห็นพระเจ้าอยู่หัวแสดงอาการโกรธผู้ใด

________________________________________



คุณธรรมของผู้นำ (ความไม่โกรธ)

ความไม่โกรธ หมายถึง ผู้มีอัธยาศัย ประกอบด้วยเมตตาธรรม

เป็นคนใจเย็น อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ เป็นคนหนักแน่น

ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ ไม่โกรธง่าย ไม่เอาแต่ใจตนเอง

ไม่ปรารถนาก่อเวรภัยกับใครๆ เป็นคนมีเหตุผล

ไม่ขุ่นเคืองใจในเหตุที่ไม่ควรขุ่นเคือง

แม้มีเหตุที่ควรจะขุ่นเคืองใจสามารถระงับใจไว้มิให้ขุ่นเคือง

ผู้นำทุกระดับ หากมีใจเปี่ยมด้วยเมตตา บรรยากาศในการทำงานจะราบรื่น

แม้บางครั้งผู้อยู่ในปกครองกระทำความผิด

จะพิจารณาตามเหตุผลเสียก่อนจึงลงโทษ

ไม่ทำด้วยความโกรธ

ยอมรับว่าคนเราอยู่รวมกัน อาจมีผิดพลาด กระทบใจกันบ้าง

แต่คนที่ควบคุมอารมณ์ได้จะได้รับการยกย่องและยอมรับจากหมู่ชน (*2)

________________________________________

ที่มา  : (*1) (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) หน้าสารานุกรมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว www.haii.or.th

        : (*2) คุณธรรมของผู้นำ (ความไม่โกรธ) โดย อ.วันเพ็ญ social.thepbodint.ac.th/topmenu.php?c=listknowledge&q_id=230

        : (*3) หนังสือ “โลกนี้คือละคร” โดย ดร.วิษณุ เครืองาม

http://www.chaoprayanews.com/2012/10/01/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD-50/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่