เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา ผมเห็นข่าวชิ้นนึงเรื่องที่สมาชิกวุฒิสภาของออสเตรเลียชื่อว่า ลิเดีย ธอร์ป
ซึ่งเธอมีเชื้อสายอะบอริจินหรือชนพื้นเมืองดั้งเดิมของแผ่นดินนี้ ได้เรียกร้องความในใจของเธอ
ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่สามแห่งสหราชอาณาจักร
ขณะที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสต่อรัฐสภาออสเตรเลีย ที่กรุงแคนเบอร์ร่าก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพาตัวออกไป ..
ลิเดีย ธอร์ปเป็น 1 ในนักการเมืองที่ต่อสู้เพื่อสิทธิและศักดิ์ศรีของชาวพื้นเมืองมาโดยตลอด
แม้ทางออสเตรเลียจะให้สิทธิต่างๆมากมาย แต่สุดท้ายก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าชาวอะบอริจินปัจจุบันเป็นแค่คนชายขอบของชาติเท่านั้น..
และนั่นทำให้ผมนึกถึงหนังเรื่องนึงที่ผมเคยดูขึ้นมา... Charlie's Country
ชาร์ลี ชายชาวอะบอริจิน ชนพื้นเมืองในดินแดนออสเตรเลียอาศัยอยู่ในตอนเหนือสุดของประเทศ
เขาใช้ชีวิตเรียบง่ายในชุมชนชาวพื้นเมืองที่อยู่รวมกัน ภายใต้กฎหมายและความดูแลของเจ้าหน้าที่รัฐบาลออสเตรเลีย ..
ถึงแม้ว่าชีวิตของเขาจะเรียบง่าย ไม่มีอะไรมากนัก แต่ในใจของชาร์ลีคิดอยู่เสมอว่านี่ไม่ใช่ที่ของเขาอีกต่อไป
เขาคร่ำครวญถึงการสูญเสียวัฒนธรรมดั้งเดิมของเขาไปกับออสเตรเลียในยุคใหม่
ซึ่งแม้กระทั่งหอกไม้ที่ใช้ในการล่าสัตว์ของเขา ก็ยังถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจริบเอาไป ด้วยเหตุผลที่ว่ามันคืออาวุธร้ายแรง...
เหมือนเป็นฟางเส้นสุดท้ายเขารู้สึกโดดเดี่ยวพลัดพรากจากชุมชนบรรพบุรุษที่จากไปนาน
โลกแบบนี้ชาร์ลีไม่ต้องการอยู่อีกต่อไปแล้ว เขาจึงตัดสินใจออกจากชุมชนชาวอะบอริจินในเมือง
และกลับไปยังในป่าห่างไกลจากผู้คน ซึ่งชาร์ลีเชื่อว่านั่นล่ะ คือแผ่นดินแม่ที่เขาถวิลหา
ชาร์ลี ใข้ชีวิตแบบชาวเผ่าดั้งเดิมอีกครั้งคนเดียว สร้างบ้านด้วยต้นไม้กิ่งไม้ จับปลา หาอาหาร
ทำทุกอย่างคนเดียวซึ่งถึงแม้ว่าจะลำบาก แต่ชาร์ลีก็มีความสุข เพราะที่นี่เขาได้เป็นอิสระอย่างแท้จริง
แต่ทว่าในป่านั่นเอง อาการป่วยของชาร์ลีกำเริบหนัก จนกระทั่งมีเจ้าหน้าที่อุทยานมาพบ
ชาร์ลี จึงจำเป็นต้องกลับสู่เมืองอีกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ....
Charlie's Country ของผู้กำกับ Rolf de Heer สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความสัมพันธ์
ระหว่างคนผิวขาวกับชาวอะบอริจินในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอะบอริจิน
ก่อนการตั้งถิ่นฐานของคนผิวขาวที่เกรงว่ากำลังจะสูญสลายไปในไม้ช้าตามการมาของโลกทุนนิยมในปัจจุบัน
ปัจจุบันนั้นคาดกันว่า ชาเผ่าอะบอริจิน มีประชากรราว 7 แสนคน คิดเป็นจำนวน 3% ของประชากรทั้งหมดในออสเตรเลีย
แน่นอนว่าพวกเขาคือเจ้าถิ่นของดินแดนนี้ก่อนการมาเยือนของคนผิวขาวในยุคอาณานิคม
ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความพยายามที่จะเปลี่ยนชาวอะบอริจินให้ “เจริญ” ขึ้น
ด้วยการให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ มีการก่อตั้งโรงเรียนและสำนักสอนศาสนามากมาย แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะชาวอะบอริจินหากไม่หนี ก็ต่อต้าน
ท่ามกลางลัทธิเหยียดผิว และเพื่อป้องกันการเกิดแบบลูกครึ่ง จึงมีนโยบายแยกชาวอะบอริจินแท้ๆ ไปอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์
ส่วนเด็กลูกครึ่งหรือเด็กที่ผิวขาวกว่าชาวอะบอริจินแท้ๆ จะถูกพรากจากครอบครัวไปเลี้ยงดูในสถาบันต่างๆ
เช่น สถานเลี้ยงดูเด็กของรัฐหรือของโบสถ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมระหว่างเผ่าพันธุ์อีก
ดังนั้น ชาวอะบอริจินแท้ๆ จะถูกแยกไปและดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม แต่พวกลูกครึ่งจะถูก ‘กลืน’ เข้าไปในสังคมของคนผิวขาว
นี่คือที่มาของนโยบายกลืนเผ่าพันธุ์
ปัจจุบัน แม้รัฐบาลจะมีกฎหมายคุ้มครองต่อชาวอะบอริจินให้สิทธิต่างๆ มากมาย
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเขายังเหมือนกับคนชายขอบของออสเตรเลีย
เนื่องจากไม่มีสังคมใดยอมรับพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งอย่างแท้จริง ..
แม้ว่านี่จะเป็นแผ่นดินของพวกเขามาก่อนที่พวกคนขาวจะมาครอบครองก็ตาม
คนอะบอริจินที่เติบโตมากับครอบครัว สังคมปัจจุบัน จะรู้สึกผูกพันกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนได้อย่างไร
หากว่าวิถีนั้น ถูกทำลายลง และมีคนอีกกลุ่มที่ไม่ยอมทำความเข้าใจในพวกเขาหยิบยื่นความเจริญมาให้
โดยไม่ได้ตระหนักว่า มนุษย์ทุกคนต้องการที่เลือกวิถีชีวิตของตนเอง ไม่ได้อยากจะใช้ชีวิตตามที่คนอื่นเลือกให้เดิน ..
เหมือนเช่น ชาร์ลี....
และกระทู้นี้ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของ David Gulpilil ผู้รับบทนำของเรื่องชาร์ลี
Gulpilil คือนักแสดงที่เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของแผ่นดินแห่งนี้ และมีผลงานการแสดงภาพยนตร์สูงถึง 40 เรื่องด้วยกัน
เขาจากไปด้วยโรคมะเร็งปอดเมื่อปี 2021 ด้วยวัย 68 ปี
ร่างของ Gulpilil ทอดกายอย่างสงบลงบนแผ่นดินแม่ของเขาชั่วนิรันดร์....
เพราะหนังมันฝังใจ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===
== Charlie's Country (2013) ..แผ่นดินแม่.. แผ่นดินของเรา.... ==
เมื่อสองสามวันที่ผ่านมา ผมเห็นข่าวชิ้นนึงเรื่องที่สมาชิกวุฒิสภาของออสเตรเลียชื่อว่า ลิเดีย ธอร์ป
ซึ่งเธอมีเชื้อสายอะบอริจินหรือชนพื้นเมืองดั้งเดิมของแผ่นดินนี้ ได้เรียกร้องความในใจของเธอ
ต่อหน้าพระพักตร์สมเด็จพระราชาธิบดีชาร์ลส์ที่สามแห่งสหราชอาณาจักร
ขณะที่พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสต่อรัฐสภาออสเตรเลีย ที่กรุงแคนเบอร์ร่าก่อนที่จะถูกเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยพาตัวออกไป ..
ลิเดีย ธอร์ปเป็น 1 ในนักการเมืองที่ต่อสู้เพื่อสิทธิและศักดิ์ศรีของชาวพื้นเมืองมาโดยตลอด
แม้ทางออสเตรเลียจะให้สิทธิต่างๆมากมาย แต่สุดท้ายก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าชาวอะบอริจินปัจจุบันเป็นแค่คนชายขอบของชาติเท่านั้น..
และนั่นทำให้ผมนึกถึงหนังเรื่องนึงที่ผมเคยดูขึ้นมา... Charlie's Country
ชาร์ลี ชายชาวอะบอริจิน ชนพื้นเมืองในดินแดนออสเตรเลียอาศัยอยู่ในตอนเหนือสุดของประเทศ
เขาใช้ชีวิตเรียบง่ายในชุมชนชาวพื้นเมืองที่อยู่รวมกัน ภายใต้กฎหมายและความดูแลของเจ้าหน้าที่รัฐบาลออสเตรเลีย ..
ถึงแม้ว่าชีวิตของเขาจะเรียบง่าย ไม่มีอะไรมากนัก แต่ในใจของชาร์ลีคิดอยู่เสมอว่านี่ไม่ใช่ที่ของเขาอีกต่อไป
เขาคร่ำครวญถึงการสูญเสียวัฒนธรรมดั้งเดิมของเขาไปกับออสเตรเลียในยุคใหม่
ซึ่งแม้กระทั่งหอกไม้ที่ใช้ในการล่าสัตว์ของเขา ก็ยังถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจริบเอาไป ด้วยเหตุผลที่ว่ามันคืออาวุธร้ายแรง...
เหมือนเป็นฟางเส้นสุดท้ายเขารู้สึกโดดเดี่ยวพลัดพรากจากชุมชนบรรพบุรุษที่จากไปนาน
โลกแบบนี้ชาร์ลีไม่ต้องการอยู่อีกต่อไปแล้ว เขาจึงตัดสินใจออกจากชุมชนชาวอะบอริจินในเมือง
และกลับไปยังในป่าห่างไกลจากผู้คน ซึ่งชาร์ลีเชื่อว่านั่นล่ะ คือแผ่นดินแม่ที่เขาถวิลหา
ชาร์ลี ใข้ชีวิตแบบชาวเผ่าดั้งเดิมอีกครั้งคนเดียว สร้างบ้านด้วยต้นไม้กิ่งไม้ จับปลา หาอาหาร
ทำทุกอย่างคนเดียวซึ่งถึงแม้ว่าจะลำบาก แต่ชาร์ลีก็มีความสุข เพราะที่นี่เขาได้เป็นอิสระอย่างแท้จริง
แต่ทว่าในป่านั่นเอง อาการป่วยของชาร์ลีกำเริบหนัก จนกระทั่งมีเจ้าหน้าที่อุทยานมาพบ
ชาร์ลี จึงจำเป็นต้องกลับสู่เมืองอีกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ....
Charlie's Country ของผู้กำกับ Rolf de Heer สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความสัมพันธ์
ระหว่างคนผิวขาวกับชาวอะบอริจินในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวอะบอริจิน
ก่อนการตั้งถิ่นฐานของคนผิวขาวที่เกรงว่ากำลังจะสูญสลายไปในไม้ช้าตามการมาของโลกทุนนิยมในปัจจุบัน
ปัจจุบันนั้นคาดกันว่า ชาเผ่าอะบอริจิน มีประชากรราว 7 แสนคน คิดเป็นจำนวน 3% ของประชากรทั้งหมดในออสเตรเลีย
แน่นอนว่าพวกเขาคือเจ้าถิ่นของดินแดนนี้ก่อนการมาเยือนของคนผิวขาวในยุคอาณานิคม
ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีความพยายามที่จะเปลี่ยนชาวอะบอริจินให้ “เจริญ” ขึ้น
ด้วยการให้หันมานับถือศาสนาคริสต์ มีการก่อตั้งโรงเรียนและสำนักสอนศาสนามากมาย แต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ
เพราะชาวอะบอริจินหากไม่หนี ก็ต่อต้าน
ท่ามกลางลัทธิเหยียดผิว และเพื่อป้องกันการเกิดแบบลูกครึ่ง จึงมีนโยบายแยกชาวอะบอริจินแท้ๆ ไปอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์
ส่วนเด็กลูกครึ่งหรือเด็กที่ผิวขาวกว่าชาวอะบอริจินแท้ๆ จะถูกพรากจากครอบครัวไปเลี้ยงดูในสถาบันต่างๆ
เช่น สถานเลี้ยงดูเด็กของรัฐหรือของโบสถ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผสมระหว่างเผ่าพันธุ์อีก
ดังนั้น ชาวอะบอริจินแท้ๆ จะถูกแยกไปและดำรงชีวิตแบบดั้งเดิม แต่พวกลูกครึ่งจะถูก ‘กลืน’ เข้าไปในสังคมของคนผิวขาว
นี่คือที่มาของนโยบายกลืนเผ่าพันธุ์
ปัจจุบัน แม้รัฐบาลจะมีกฎหมายคุ้มครองต่อชาวอะบอริจินให้สิทธิต่างๆ มากมาย
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า พวกเขายังเหมือนกับคนชายขอบของออสเตรเลีย
เนื่องจากไม่มีสังคมใดยอมรับพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งอย่างแท้จริง ..
แม้ว่านี่จะเป็นแผ่นดินของพวกเขามาก่อนที่พวกคนขาวจะมาครอบครองก็ตาม
คนอะบอริจินที่เติบโตมากับครอบครัว สังคมปัจจุบัน จะรู้สึกผูกพันกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนได้อย่างไร
หากว่าวิถีนั้น ถูกทำลายลง และมีคนอีกกลุ่มที่ไม่ยอมทำความเข้าใจในพวกเขาหยิบยื่นความเจริญมาให้
โดยไม่ได้ตระหนักว่า มนุษย์ทุกคนต้องการที่เลือกวิถีชีวิตของตนเอง ไม่ได้อยากจะใช้ชีวิตตามที่คนอื่นเลือกให้เดิน ..
เหมือนเช่น ชาร์ลี....
และกระทู้นี้ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของ David Gulpilil ผู้รับบทนำของเรื่องชาร์ลี
Gulpilil คือนักแสดงที่เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของแผ่นดินแห่งนี้ และมีผลงานการแสดงภาพยนตร์สูงถึง 40 เรื่องด้วยกัน
เขาจากไปด้วยโรคมะเร็งปอดเมื่อปี 2021 ด้วยวัย 68 ปี
ร่างของ Gulpilil ทอดกายอย่างสงบลงบนแผ่นดินแม่ของเขาชั่วนิรันดร์....
เพราะหนังมันฝังใจ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===