เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 29 พฤศจิกายน 2560 ที่ศาลาโครงการ SML 2555 ศูนย์รวบรวมผลผลิตการเกษตร บ้านคลองหงาว หมู่ 9 ต.หาดยาย อ.หลังสวน จ.ชุมพร ตัวแทนสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพบ้านห้วยทรายขาว ประมาณ 40 คน นำโดย นายธนชัย น่วมยิ้ม ประธานกลุ่ม และ นายอภินันท์ บุญสนอง กรรมการกลุ่ม พร้อมตัวแทนวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตทุเรียนคุณภาพบ้านปากทรง ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร อีกประมาณ 10 คน นำโดย นายจันเพชร จิตติราช ประธานกลุ่มฯ ร่วมกันหารือเพื่อหาแนวทางเคลื่อนไหวให้รัฐบาลเร่งหามาตรการป้องกันทุเรียนอ่อนออกสู่ท้องตลาด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ทุเรียนชุมพรมีราคาตกต่ำลงทุกวัน
นายอภินันท์ กล่าวว่า ขณะนี้ทุเรียนชุมพรโดยเฉพาะพันธุ์หมอนทองกำลังมีราคาตกต่ำลงอย่างมาก เนื่องจากมีการตัดทุเรียนที่ไม่มีคุณภาพออกจำหน่าย โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาตรวจสอบในเรื่องการตัด การซื้อ และการขายทุเรียนอย่างจริงจัง จึงอยากให้หน่วยงานระดับจังหวัดเข้ามาดูแลเรื่องคุณภาพของทุเรียนเป็นหลัก ทั้งที่ในความเป็นจริงเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่วนใหญ่ตัดทุเรียนที่มีคุณภาพ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังมีการตัดทุเรียนอ่อนออกจำหน่าย จนทำให้มีการพูดว่าทุเรียนชุมพรเป็นทุเรียนที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของทุเรียนให้เป็นในทิศทางเดียวกันด้วย
นายอภินันท์ กล่าวต่อไปว่า การเข้ามาเหมาสวนตัดทุเรียนของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งเป็นตัวแทนของล้งที่ส่วนใหญ่เป็นการร่วมทุนระหว่างชาวจีนกับคนไทย เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ได้ทุเรียนด้อยคุณภาพ เพราะมักจะมีการตัดทุเรียนทั้งสวนพร้อมๆ กันทีเดียวและใช้เวลาไม่นาน ทั้งที่ทุเรียนในสวนเดียวกันไม่ได้ออกดอกพร้อมๆ กัน หากตัดวันที่ 1 ก็ควรต้องเว้นไปประมาณ 7-10 วันถึงจะตัดทุเรียนที่ได้ขนาดได้อีก แต่ที่ผ่านมาผู้ที่เข้ามาตัดทุเรียนไม่มีความรู้ในเรื่องทุเรียน จึงมีทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดอยู่เสมอ ส่งผลต่อราคาทุเรียนที่เคยขึ้นสูงถึงกิโลกรัมละ 140 บาท แต่ขณะนี้เหลือแค่กิโลกรัมละ 90 บาทเท่านั้น
“ส่วนการทำทุเรียนนอกฤดูที่เรียกว่า “ทุเรียนทวาย” ที่ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าทุเรียนตามฤดู เกษตรกรหลายคนก็ไม่กล้าทำ เพราะจากเดิมที่เคยตั้งเป้าว่าทุเรียนทวายจะมีราคาดีกว่าทุเรียนตามฤดูคือกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 100 บาท แต่ขณะนี้ราคาเหลือแค่กิโลกรัมละ 85-90 บาท หากทำไปก็ต้องขาดทุนอย่างแน่นอน” นายอภินันท์ กล่าว
นายอภินันท์ กล่าวว่า สรุปสาเหตุที่ทำให้ทุเรียนชุมพรมีราคาตกต่ำคือ
1.การตัดทุเรียนอ่อนของชาวสวนเองและผู้ที่รับจ้างตัด
2.การเหมาตัดทุเรียนยกแปลงในรอบเดียวของล้งโดยไม่มีผู้มีความรู้
3.การนำทุเรียนจากจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาจำหน่ายโดยไม่มีการตรวจสอบ
4.ยังไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบการซื้อขายทุเรียนอย่างจริงจัง
5.ยังไม่มีการกำหนดราคากลางที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร
6.ยังไม่มีการกำหนดน้ำหนักทุเรียนเป็นมาตรฐานเดียวกัน
และ 7.ล้งหรือบริษัทส่งออกยังไม่มีการทำบ่อบำบัดน้ำเสียของสารเคมี
จึงขอเรียกร้องให้จังหวัดเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้โดยด่วนและต้องเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนด้วย เพราะหากราคาทุเรียนยังคงตกต่ำเรื่อยๆ เช่นนี้ ชาวสวนคงอยู่ไม่ได้และอาจจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องต่อไป
“การแก้ปัญหาทุเรียนอ่อนต้องมีการตรวจสอบตั้งแต่ตอนก่อนตัด ไม่ใช่สุ่มตรวจทุเรียนที่ตัดออกไปจำหน่ายแล้วในช่วงกลางฤดูเหมือนที่ผ่านมา และยังไม่มีการตรวจสอบว่าล้งหรือบริษัทใดบ้างที่มีการส่งออกทุเรียน จึงทำให้มีทุเรียนอ่อนออกสู่ท้องตลาดจนถูกตีกลับและทำให้ทุเรียนมีราคาตกต่ำลง เกษตรกรทุกคนไม่ใช่คนนำทุเรียนไปส่งถึงเมืองจีนจึงไม่ใช่คนกำหนดราคา หากบริษัทบอกว่าขณะนั้นรับซื้อได้ราคาเท่าใด เกษตรกรก็ต้องขายในราคานั้น” นายอภินันท์ กล่าว
นางสาวแก้วตา ชุ่มน้อย เจ้าของล้งรับซื้อทุเรียน “โชครุ่งเรือง” ในตลาดมรกต ต.วังตะกอ อ.หลังสวน ซึ่งได้เข้าร่วมหารือกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนทั้งสองกลุ่ม กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ก็คือ ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง ส่วนชาวสวนก็ต้องคิดว่าปัญหาเรื่องนี้คือปัญหาของทุกคน ขณะที่ล้งต้องการทุเรียนที่ดีมีคุณภาพ ไม่มีล้งใดต้องการตัดทุเรียนอ่อนที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ทั้งชาวสวนและล้งรับซื้อทุเรียนหันหน้ามาพูดคุยกัน โดยมีหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยแนะนำ จะแก้ไขที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ และการแก้ไขต้องเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนที่ผลผลิตจะออกสู่ท้องตลาด หากผลผลิตไม่มีคุณภาพต้องฉีดสเปรย์แล้วโยนทิ้งออกนอกระบบทันที สรุปก็คือต้องแก้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ไม่ใช่แก้ที่กลางทางเหมือนที่กำลังทำอยู่
JJNY : เสดตะกิดดี๊ดี...ซี้จุกสูญ ชาวสวนทุเรียนขู่เคลื่อนไหว หากไม่ได้รับความสนใจ-ร้องคุมทุเรียนอ่อน ทำมาตรฐานต่ำ ราคาตก
นายอภินันท์ กล่าวว่า ขณะนี้ทุเรียนชุมพรโดยเฉพาะพันธุ์หมอนทองกำลังมีราคาตกต่ำลงอย่างมาก เนื่องจากมีการตัดทุเรียนที่ไม่มีคุณภาพออกจำหน่าย โดยไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาตรวจสอบในเรื่องการตัด การซื้อ และการขายทุเรียนอย่างจริงจัง จึงอยากให้หน่วยงานระดับจังหวัดเข้ามาดูแลเรื่องคุณภาพของทุเรียนเป็นหลัก ทั้งที่ในความเป็นจริงเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนส่วนใหญ่ตัดทุเรียนที่มีคุณภาพ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังมีการตัดทุเรียนอ่อนออกจำหน่าย จนทำให้มีการพูดว่าทุเรียนชุมพรเป็นทุเรียนที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของทุเรียนให้เป็นในทิศทางเดียวกันด้วย
นายอภินันท์ กล่าวต่อไปว่า การเข้ามาเหมาสวนตัดทุเรียนของพ่อค้าคนกลาง ซึ่งเป็นตัวแทนของล้งที่ส่วนใหญ่เป็นการร่วมทุนระหว่างชาวจีนกับคนไทย เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ได้ทุเรียนด้อยคุณภาพ เพราะมักจะมีการตัดทุเรียนทั้งสวนพร้อมๆ กันทีเดียวและใช้เวลาไม่นาน ทั้งที่ทุเรียนในสวนเดียวกันไม่ได้ออกดอกพร้อมๆ กัน หากตัดวันที่ 1 ก็ควรต้องเว้นไปประมาณ 7-10 วันถึงจะตัดทุเรียนที่ได้ขนาดได้อีก แต่ที่ผ่านมาผู้ที่เข้ามาตัดทุเรียนไม่มีความรู้ในเรื่องทุเรียน จึงมีทุเรียนอ่อนออกสู่ตลาดอยู่เสมอ ส่งผลต่อราคาทุเรียนที่เคยขึ้นสูงถึงกิโลกรัมละ 140 บาท แต่ขณะนี้เหลือแค่กิโลกรัมละ 90 บาทเท่านั้น
“ส่วนการทำทุเรียนนอกฤดูที่เรียกว่า “ทุเรียนทวาย” ที่ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าทุเรียนตามฤดู เกษตรกรหลายคนก็ไม่กล้าทำ เพราะจากเดิมที่เคยตั้งเป้าว่าทุเรียนทวายจะมีราคาดีกว่าทุเรียนตามฤดูคือกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 100 บาท แต่ขณะนี้ราคาเหลือแค่กิโลกรัมละ 85-90 บาท หากทำไปก็ต้องขาดทุนอย่างแน่นอน” นายอภินันท์ กล่าว
นายอภินันท์ กล่าวว่า สรุปสาเหตุที่ทำให้ทุเรียนชุมพรมีราคาตกต่ำคือ
1.การตัดทุเรียนอ่อนของชาวสวนเองและผู้ที่รับจ้างตัด
2.การเหมาตัดทุเรียนยกแปลงในรอบเดียวของล้งโดยไม่มีผู้มีความรู้
3.การนำทุเรียนจากจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาจำหน่ายโดยไม่มีการตรวจสอบ
4.ยังไม่มีหน่วยงานใดตรวจสอบการซื้อขายทุเรียนอย่างจริงจัง
5.ยังไม่มีการกำหนดราคากลางที่เป็นธรรมต่อเกษตรกร
6.ยังไม่มีการกำหนดน้ำหนักทุเรียนเป็นมาตรฐานเดียวกัน
และ 7.ล้งหรือบริษัทส่งออกยังไม่มีการทำบ่อบำบัดน้ำเสียของสารเคมี
จึงขอเรียกร้องให้จังหวัดเร่งหาแนวทางแก้ปัญหาเหล่านี้โดยด่วนและต้องเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนด้วย เพราะหากราคาทุเรียนยังคงตกต่ำเรื่อยๆ เช่นนี้ ชาวสวนคงอยู่ไม่ได้และอาจจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องต่อไป
“การแก้ปัญหาทุเรียนอ่อนต้องมีการตรวจสอบตั้งแต่ตอนก่อนตัด ไม่ใช่สุ่มตรวจทุเรียนที่ตัดออกไปจำหน่ายแล้วในช่วงกลางฤดูเหมือนที่ผ่านมา และยังไม่มีการตรวจสอบว่าล้งหรือบริษัทใดบ้างที่มีการส่งออกทุเรียน จึงทำให้มีทุเรียนอ่อนออกสู่ท้องตลาดจนถูกตีกลับและทำให้ทุเรียนมีราคาตกต่ำลง เกษตรกรทุกคนไม่ใช่คนนำทุเรียนไปส่งถึงเมืองจีนจึงไม่ใช่คนกำหนดราคา หากบริษัทบอกว่าขณะนั้นรับซื้อได้ราคาเท่าใด เกษตรกรก็ต้องขายในราคานั้น” นายอภินันท์ กล่าว
นางสาวแก้วตา ชุ่มน้อย เจ้าของล้งรับซื้อทุเรียน “โชครุ่งเรือง” ในตลาดมรกต ต.วังตะกอ อ.หลังสวน ซึ่งได้เข้าร่วมหารือกับสมาชิกวิสาหกิจชุมชนทั้งสองกลุ่ม กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้ก็คือ ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง ส่วนชาวสวนก็ต้องคิดว่าปัญหาเรื่องนี้คือปัญหาของทุกคน ขณะที่ล้งต้องการทุเรียนที่ดีมีคุณภาพ ไม่มีล้งใดต้องการตัดทุเรียนอ่อนที่ไม่มีคุณภาพ ดังนั้น ทั้งชาวสวนและล้งรับซื้อทุเรียนหันหน้ามาพูดคุยกัน โดยมีหน่วยงานราชการเข้ามาช่วยแนะนำ จะแก้ไขที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ และการแก้ไขต้องเริ่มต้นตั้งแต่ก่อนที่ผลผลิตจะออกสู่ท้องตลาด หากผลผลิตไม่มีคุณภาพต้องฉีดสเปรย์แล้วโยนทิ้งออกนอกระบบทันที สรุปก็คือต้องแก้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ไม่ใช่แก้ที่กลางทางเหมือนที่กำลังทำอยู่