+ ผมตื่นเต้น กับหนังเรื่องนี้ ไม่ใช่เพราะมันเป็นหนังสืบสวนของ Agatha Christie แต่เป็นเพราะมีน้อง Daisy Ridley อยู่ในเรื่อง (555) แถมยังมีดาราระดับเทพตบเท้าเข้ามาเล่นอีกหลายคน ไม่รู้ว่านายทุนจะกระเป๋าฉีกไปมากน้อยแค่ไหน
+ ผมไม่เคยอ่านหนังสือ ฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังจึงเป็นอะไรที่สดใหม่ สำหรับผม
+ สิ่งท้าทายในการกำกับหนังเรื่องนี้ คือ มีเวลาให้แค่สองชั่วโมง แต่มีนักแสดงเป็นสิบ แถมยังเป็นหนังสืบสวน ที่จะต้องให้ตัวละครทุกตัวน่าสงสัย ฉะนั้นการปรากฎตัวบนจอจึงต้องเท่าๆกัน เพื่อทำให้ตัวละครมีความน่าสงสัยเท่าๆกัน หนังทำได้ดีในจุดนี้
+ นักแสดงที่แสดงเป็นผู้ต้องสงสัยทุกคน ทำหน้าที่ได้ดี ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไร เพราะแต่ละคนล้วนเป็นตัวพ่อตัวแม่ของวงการทั้งนั้น
+ Rey กับ Finn ...ไม่ใช่สิ Daisy Ridley และ Leslie Odom Jr. สองดาราที่อาจจะมีรัศมีดาราน้อยกว่าคนอื่น แต่ปรากฎตัวแต่ละครั้ง เรียกได้ว่าสะกดคนดูอยู่ โดยเฉพาะ Daisy Ridley ในหนังเรืองนี้...น่ารักโคตร
+ สำหรับผู้ชมและผู้ที่เข้าไปชม ความท้าท้ายใหญ่ของคุณคือ การมีสติ อยู่กับหนังให้ได้ ด้วยเพราะตัวละครมีเยอะ และเนื่องจากเป็นหนังสืบสวน 100% บทพูดก็เลยเยอะ แอ็คชั่นแทบไม่มี (มีไม่ถึง 15 วินาที)
+ อย่าไปเปรียบเทียบกับหนังอย่าง Sherlock Holmes ที่ Robert Downey Jr. นำแสดง นั้นมันหนังแอ็คชั่น ที่มีการสืบสวนเป็นแค่ตัวประกอบ
+ ข้อเสียในหนังเรื่องนี้คือ เหตุการณ์และบุคคลที่ถูกกล่าวถึงซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดการฆาตกรรม ด้วยความที่หนังสละเวลาให้กับผู้ต้องสงสัยทั้งหมด และพูดถึงเหตุกาณ์และบุคคลที่ถูกกล่าวถึงเพียงผิวเผิน ทำให้ผมไม่ค่อยรู้สึกอินกับแรงจูงใจในการฆาตกรรมนั้น
+ ขนบของหนังสืบสวนฆาตกรรม คือ การตั้งคำถามว่า "ใครคือฆาตกร" เมื่อเรื่องราวจบลง ทุกอย่างจะถูกเฉลยทั้งตัวฆาตกรและวํธีการฆาตกรรม หนังเรื่องนี้ก็อยู่ในขนบนั้น แต่คำถามที่ว่า "ใครคือฆาตกร" กลับคงยังก้องอยู่ในหัวแม้เรื่องราวจะจบไปแล้ว มันเป็นคำถามเดียวกับตอนต้นเรื่อง แต่เป้าหมายต่างกัน "ใครคือฆาตกร" ในตอนต้นเรื่อง เป็นการตามหาในเชิงรูปธรรม ตัวคน วิธีการ หลักฐาน แต่ "ใครคือฆาตกร" ในตอนจบของเรื่อง เป็นการตามหาในเชิงนามธรรม สังคม กระบวนการ ความถูกต้อง ซึ่งหนังไม่ได้ให้คำตอบ เป็นสิ่งที่ผู้ชมต้องกลับไปคิดและหาเอาเอง
+ ผมได้ยินว่ามาบ้างว่า Murder on the Orient Express เป็นตอนที่หลายคนชอบมากที่สุดตอนหนึ่งของจักรวาลปัวโรว์ (คำว่าจักรวาลกำลังฮิต ขอใช้หน่อย) ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ ด้วยหนังมีจุดหักมุมที่หลายคนไม่คาดคิด และ มันทำให้ผู้ชมหันกลับไปทบทวนกับคำว่าความยุติธรรมใหม่
+ สรุป ในแง่ขอการแสดง เรื่องนี้ผ่านฉลุย แต่ผู้ชมอาจจะต้องตั้งสมาธิกับหนังอย่างหนัก เพื่อตามหนังให้ทัน
+ ขอฝากเพจ...ไม่มีหรอก ^^
[CR] [รีวิว ไม่สปอย] Murder on the Orient Express: ใครคือฆาตกร
+ ผมตื่นเต้น กับหนังเรื่องนี้ ไม่ใช่เพราะมันเป็นหนังสืบสวนของ Agatha Christie แต่เป็นเพราะมีน้อง Daisy Ridley อยู่ในเรื่อง (555) แถมยังมีดาราระดับเทพตบเท้าเข้ามาเล่นอีกหลายคน ไม่รู้ว่านายทุนจะกระเป๋าฉีกไปมากน้อยแค่ไหน
+ ผมไม่เคยอ่านหนังสือ ฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังจึงเป็นอะไรที่สดใหม่ สำหรับผม
+ สิ่งท้าทายในการกำกับหนังเรื่องนี้ คือ มีเวลาให้แค่สองชั่วโมง แต่มีนักแสดงเป็นสิบ แถมยังเป็นหนังสืบสวน ที่จะต้องให้ตัวละครทุกตัวน่าสงสัย ฉะนั้นการปรากฎตัวบนจอจึงต้องเท่าๆกัน เพื่อทำให้ตัวละครมีความน่าสงสัยเท่าๆกัน หนังทำได้ดีในจุดนี้
+ นักแสดงที่แสดงเป็นผู้ต้องสงสัยทุกคน ทำหน้าที่ได้ดี ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไร เพราะแต่ละคนล้วนเป็นตัวพ่อตัวแม่ของวงการทั้งนั้น
+ Rey กับ Finn ...ไม่ใช่สิ Daisy Ridley และ Leslie Odom Jr. สองดาราที่อาจจะมีรัศมีดาราน้อยกว่าคนอื่น แต่ปรากฎตัวแต่ละครั้ง เรียกได้ว่าสะกดคนดูอยู่ โดยเฉพาะ Daisy Ridley ในหนังเรืองนี้...น่ารักโคตร
+ สำหรับผู้ชมและผู้ที่เข้าไปชม ความท้าท้ายใหญ่ของคุณคือ การมีสติ อยู่กับหนังให้ได้ ด้วยเพราะตัวละครมีเยอะ และเนื่องจากเป็นหนังสืบสวน 100% บทพูดก็เลยเยอะ แอ็คชั่นแทบไม่มี (มีไม่ถึง 15 วินาที)
+ อย่าไปเปรียบเทียบกับหนังอย่าง Sherlock Holmes ที่ Robert Downey Jr. นำแสดง นั้นมันหนังแอ็คชั่น ที่มีการสืบสวนเป็นแค่ตัวประกอบ
+ ข้อเสียในหนังเรื่องนี้คือ เหตุการณ์และบุคคลที่ถูกกล่าวถึงซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดการฆาตกรรม ด้วยความที่หนังสละเวลาให้กับผู้ต้องสงสัยทั้งหมด และพูดถึงเหตุกาณ์และบุคคลที่ถูกกล่าวถึงเพียงผิวเผิน ทำให้ผมไม่ค่อยรู้สึกอินกับแรงจูงใจในการฆาตกรรมนั้น
+ ขนบของหนังสืบสวนฆาตกรรม คือ การตั้งคำถามว่า "ใครคือฆาตกร" เมื่อเรื่องราวจบลง ทุกอย่างจะถูกเฉลยทั้งตัวฆาตกรและวํธีการฆาตกรรม หนังเรื่องนี้ก็อยู่ในขนบนั้น แต่คำถามที่ว่า "ใครคือฆาตกร" กลับคงยังก้องอยู่ในหัวแม้เรื่องราวจะจบไปแล้ว มันเป็นคำถามเดียวกับตอนต้นเรื่อง แต่เป้าหมายต่างกัน "ใครคือฆาตกร" ในตอนต้นเรื่อง เป็นการตามหาในเชิงรูปธรรม ตัวคน วิธีการ หลักฐาน แต่ "ใครคือฆาตกร" ในตอนจบของเรื่อง เป็นการตามหาในเชิงนามธรรม สังคม กระบวนการ ความถูกต้อง ซึ่งหนังไม่ได้ให้คำตอบ เป็นสิ่งที่ผู้ชมต้องกลับไปคิดและหาเอาเอง
+ ผมได้ยินว่ามาบ้างว่า Murder on the Orient Express เป็นตอนที่หลายคนชอบมากที่สุดตอนหนึ่งของจักรวาลปัวโรว์ (คำว่าจักรวาลกำลังฮิต ขอใช้หน่อย) ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจ ด้วยหนังมีจุดหักมุมที่หลายคนไม่คาดคิด และ มันทำให้ผู้ชมหันกลับไปทบทวนกับคำว่าความยุติธรรมใหม่
+ สรุป ในแง่ขอการแสดง เรื่องนี้ผ่านฉลุย แต่ผู้ชมอาจจะต้องตั้งสมาธิกับหนังอย่างหนัก เพื่อตามหนังให้ทัน
+ ขอฝากเพจ...ไม่มีหรอก ^^