สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 50
อ่านกระทู้นี้ แล้วต้องขอเข้ามาร่วมตอบอีกคนครับ
อยากให้เห็น รพ.เด็ก ในอีกแง่มุมหนึ่งนะครับ (ยาวนะครับ)
ในฐานะคนที่ทำงานด้านการแพทย์ที่เคยไปวนช่วยที่ รพ.เด็ก
เกริ่นก่อนว่า
รพ.เด็ก เป็น รพ.รัฐบาล ในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่ให้บริการเฉพาะเด็กน่ะครับ
ซึ่งหมายความว่า ไม่ได้รับเป็นต้นสังกัดของผู้ป่วยสิทธิ์ 30 บาทนะครับ
แล้วข้อดีของการเป็น ต้นสังกัด 30 บาท คืออะไร?
ก็คือ เงินที่รัฐบาลจะมอบให้แบบเหมาจ่ายรายหัวต่อปี (ประมาณ 2XXX-3XXX บาท/คน/ปี)
ซึ่ง รพ อื่นๆ ทุก รพ. จะมีเงินจำนวนนี้เป็นต้นทุน
แล้วนำไปใช้บริหารกับผู้ป่วยทั้งหมดที่มา (ด้วยสิทธิ์ 30 บาท)
แล้วมันจะพอเหรอ? เพราะงบแค่ 2000 ต่อปี มา 1-2 ครั้งก็หมดแล้วมั้ย???
ถ้าเราแบ่งประชากรสิทธิ์ 30 บาท ก็จะมีคนป่วยกะคนไม่ป่วยถูกมั้ยครับ
ทำให้ในแง่ปฏิบัติสามารถโยกเงินส่วนของคนไม่ป่วยไปใช้กับคนที่ป่วยเรื้อรังได้
ทำให้รพ.ไม่ขาดทุน หรือขาดทุนน้อย
เพราะปกติถึงแม้จะมีเงินให้เพิ่ม สำหรับการตรวจต่อครั้ง (จำไม่ได้ว่างบเท่าไหร่ ถ้าจำไม่ผิดเป็นหลัก XX บาท ไม่ถึงร้อย แค่ค่าเอกสาร+ค่าไฟแปบๆ ก็หมดแล้ว ยังไม่ได้ค่ายาเลย — ค่าหมอไม่นับ เพราะเป็นในเวลาราชการ หมอไม่ได้ค่าตรวจเพิ่มอยู่แล้ว) และเงินเพิ่มกรณีแอดมิท (ซึ่งต้องเขียนเอกสารมากมาย+ข้อแม้มากมายจากองค์กร สปสช ที่จะหักเงิน — ไม่เคยได้ตามที่ใช้จ่ายจริง)
แล้วไงต่อ?
ก็ปกติ รพ ทั่วไป อยู่ได้ด้วยงบ 30 บาทไงครับ
แต่พอ รพ เด็ก ไม่มี ก็จะเหลือรับ Refer ผู้ป่วยมาอย่างเดียว
ทำให้ไม่มีเงินส่วนแรกเค้ามาช่วยเหลือ
ผลก็คือ รพ ขาดทุนนั่นแหล่ะครับ
เล่ามาทั้งหมดเพื่อ?
แค่อยากให้รู้ที่มาที่ไป ว่าทำไม รพ เด็ก ถึงต้องบริหารจัดการแบบนี้
พอขาดทุน ก็ต้องระดมทุนด้วยวิธีที่ถูกต้องตามกฏหมาย/กระทรวง ก็มีรับบริจาค/เก็บค่าบริการนอกเวลา/ค่าที่จอดรถ แต่ทั้งหมด ไม่ใช่คิดเองเก็บเองนะครับ ต้องผ่านการอนุมัติจากเบื้องบนมาแล้ว ซึ่งอัตราทั้งหลาย ก็ต้องผ่านการอนุมัติ และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้แพงกว่า รรพ อื่นๆ
แต่ถึงแม้ทำหมดนี้แล้วก็ตาม รพ.ก็ยังขาดทุนเละเทะอยู่ดี
(เพื่อนๆ ผม ก็ยังโดน รพ ติดค่าเวร ติดค่าเบี้ยเลี้ยง ทีละหลายๆ เดือนเหมือนเดิม)
— อย่าไปเปรียบเทียบกับ รรพ อื่นๆ เช่น รามาฯ ศิริราช นะครับ พวกนั้นเค้าอยู่ได้ด้วยเงินฝั่งที่เป็น premium (ตึกพระเทพฯ/ศิริราชปิยมหาการุณย์) + เคสสิทธิ์ข้าราชการที่มีจำนวนมากกว่า + สิทธิ์ 30 บาท ก็จะสามารถเรียกเก็บจาก สปสช ด้วยอัตราที่แพงกว่าได้ (เพราะไม่ใช่เครือสาธารณสุข—จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเคส 30 บาท จึงมากองกันที่ รพ เด็ก—เพราะ รพ ต้นสังกัดก็ไม่อยากเสียเงินเยอะเช่นกัน เพราะต้องตามไปจ่ายให้)
สำหรับประเด็นเรื่องที่จอดรถ ที่คนอื่นๆ อธิบายไปบ้างแล้ว
สมัยก่อน (ตอนที่ตึกที่จอดรถใหม่นี้ยังสร้างไม่เสร็จ) ที่จอดรถมีน้อยมากกกกก ก็โดนเค้าด่า
— มีปุ๊บ ก็มีคนเอารถมาจอดแช่ เพราะอยู่ใน Business zone + สายรถไฟฟ้า
— เก็บถูก คนก็ไม่แคร์ จอดแช่อยู่ดี เพราะไปจอดที่อื่นแพงกว่านี้
— ไม่เก็บเลย ถ้าใช้บริการ รพ เด็ก = ก็มีบางกลุ่มอาศัยว่า มาใช้บริการ รพ เด็ก แปบๆ ที่เหลือไปนู่นนี่ จอดแช่ ไม่เสียตังค์ คนอื่นไม่มีที่จอด
— มันก็จะปรับกันมาเรื่อยๆ จากปัญหาที่เจอแหล่ะครับ
พอมีปัญหาทีนึง ก็มีการปรับระบบไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังต้องอยู่ในกรอบ
ล่าสุดผมมา รพ.สวนดอก ในเครือ มช. มาใช้บริการมีตราประทับชัดเจน ก็ได้แค่จอดฟรี 1-2 ชม แต่ใช้เวลาหาหมอนานกว่านั้นเยอะ สุดท้ายก็ต้องเสียค่าจอดอยู่ดีครับ
ส่วนเรื่องผ้าเช็ดตัวลดไข้เด็กก็น่าจะมีปัญหาเหมือนกันนะครับ (อันนี้เดา) เพราะสมัยก่อนไม่ได้เก็บ
อาจจะมีปัญหาเรื่องการ re-use แล้วโดนร้องเรียน
หรือเนื่องจากมาตรฐาน รพ. ที่อัพขึ้นเรื่อยๆ พวก HA JCI (พอองค์กรมาตรฐาน รพ. พวกนั้นมาตรวจ ก็อาจจะติงมา ว่าไม่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของเค้า) ก็จะปรับไปเรื่อยๆ
แนะนำเจ้าของกระทู้ให้เขียนใบความเห็นไปที่ รพ.เด็ก นะครับ
ยังไงเชื่อว่าเค้ามีการปรับปรุงของเค้าอยู่เรื่อยๆ
เข้าใจว่าบางทีเราทุกข์จากการมีโรคของเราหรือลูกแล้ว
เจออะไรข้องใจนิดนึง ความรู้สึกอาจจะรุนแรงมากขึ้นหลายเท่ากว่าภาวะปกติ
ฉะนั้นถ้าอ่านจบ อยากให้ทำใจให้สบาย
แล้วทำบุญกับ รพ รัฐ ที่ไหนก็ได้ต่อไปเถอะครับ
ทุกที่ยังไงก็พร้อมให้บริการด้วยใจ ตามความสามารถที่เค้ามีที่สุดแล้วแหล่ะครับ
เค้าไม่ได้จะหวังทำธุรกิจอะไรหรอกครับ
เพราะทำไป เค้าก็ไม่ได้อะไรอยู่ดี
ขรก สังกัดสาธาฯ ไม่มีโบนัสนะครับ เงินเดือนเค้าก็ได้เท่าเดิม ต่างกันตรงที่ได้เร็วหน่อย
ไม่ต้องมีคำว่า ตกเบิก ค้างจ่าย รองบประมาณปีถัดไป มาให้ช้ำใจแค่นั้นเอง
อยากให้เห็น รพ.เด็ก ในอีกแง่มุมหนึ่งนะครับ (ยาวนะครับ)
ในฐานะคนที่ทำงานด้านการแพทย์ที่เคยไปวนช่วยที่ รพ.เด็ก
เกริ่นก่อนว่า
รพ.เด็ก เป็น รพ.รัฐบาล ในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่ให้บริการเฉพาะเด็กน่ะครับ
ซึ่งหมายความว่า ไม่ได้รับเป็นต้นสังกัดของผู้ป่วยสิทธิ์ 30 บาทนะครับ
แล้วข้อดีของการเป็น ต้นสังกัด 30 บาท คืออะไร?
ก็คือ เงินที่รัฐบาลจะมอบให้แบบเหมาจ่ายรายหัวต่อปี (ประมาณ 2XXX-3XXX บาท/คน/ปี)
ซึ่ง รพ อื่นๆ ทุก รพ. จะมีเงินจำนวนนี้เป็นต้นทุน
แล้วนำไปใช้บริหารกับผู้ป่วยทั้งหมดที่มา (ด้วยสิทธิ์ 30 บาท)
แล้วมันจะพอเหรอ? เพราะงบแค่ 2000 ต่อปี มา 1-2 ครั้งก็หมดแล้วมั้ย???
ถ้าเราแบ่งประชากรสิทธิ์ 30 บาท ก็จะมีคนป่วยกะคนไม่ป่วยถูกมั้ยครับ
ทำให้ในแง่ปฏิบัติสามารถโยกเงินส่วนของคนไม่ป่วยไปใช้กับคนที่ป่วยเรื้อรังได้
ทำให้รพ.ไม่ขาดทุน หรือขาดทุนน้อย
เพราะปกติถึงแม้จะมีเงินให้เพิ่ม สำหรับการตรวจต่อครั้ง (จำไม่ได้ว่างบเท่าไหร่ ถ้าจำไม่ผิดเป็นหลัก XX บาท ไม่ถึงร้อย แค่ค่าเอกสาร+ค่าไฟแปบๆ ก็หมดแล้ว ยังไม่ได้ค่ายาเลย — ค่าหมอไม่นับ เพราะเป็นในเวลาราชการ หมอไม่ได้ค่าตรวจเพิ่มอยู่แล้ว) และเงินเพิ่มกรณีแอดมิท (ซึ่งต้องเขียนเอกสารมากมาย+ข้อแม้มากมายจากองค์กร สปสช ที่จะหักเงิน — ไม่เคยได้ตามที่ใช้จ่ายจริง)
แล้วไงต่อ?
ก็ปกติ รพ ทั่วไป อยู่ได้ด้วยงบ 30 บาทไงครับ
แต่พอ รพ เด็ก ไม่มี ก็จะเหลือรับ Refer ผู้ป่วยมาอย่างเดียว
ทำให้ไม่มีเงินส่วนแรกเค้ามาช่วยเหลือ
ผลก็คือ รพ ขาดทุนนั่นแหล่ะครับ
เล่ามาทั้งหมดเพื่อ?
แค่อยากให้รู้ที่มาที่ไป ว่าทำไม รพ เด็ก ถึงต้องบริหารจัดการแบบนี้
พอขาดทุน ก็ต้องระดมทุนด้วยวิธีที่ถูกต้องตามกฏหมาย/กระทรวง ก็มีรับบริจาค/เก็บค่าบริการนอกเวลา/ค่าที่จอดรถ แต่ทั้งหมด ไม่ใช่คิดเองเก็บเองนะครับ ต้องผ่านการอนุมัติจากเบื้องบนมาแล้ว ซึ่งอัตราทั้งหลาย ก็ต้องผ่านการอนุมัติ และส่วนใหญ่ก็ไม่ได้แพงกว่า รรพ อื่นๆ
แต่ถึงแม้ทำหมดนี้แล้วก็ตาม รพ.ก็ยังขาดทุนเละเทะอยู่ดี
(เพื่อนๆ ผม ก็ยังโดน รพ ติดค่าเวร ติดค่าเบี้ยเลี้ยง ทีละหลายๆ เดือนเหมือนเดิม)
— อย่าไปเปรียบเทียบกับ รรพ อื่นๆ เช่น รามาฯ ศิริราช นะครับ พวกนั้นเค้าอยู่ได้ด้วยเงินฝั่งที่เป็น premium (ตึกพระเทพฯ/ศิริราชปิยมหาการุณย์) + เคสสิทธิ์ข้าราชการที่มีจำนวนมากกว่า + สิทธิ์ 30 บาท ก็จะสามารถเรียกเก็บจาก สปสช ด้วยอัตราที่แพงกว่าได้ (เพราะไม่ใช่เครือสาธารณสุข—จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเคส 30 บาท จึงมากองกันที่ รพ เด็ก—เพราะ รพ ต้นสังกัดก็ไม่อยากเสียเงินเยอะเช่นกัน เพราะต้องตามไปจ่ายให้)
สำหรับประเด็นเรื่องที่จอดรถ ที่คนอื่นๆ อธิบายไปบ้างแล้ว
สมัยก่อน (ตอนที่ตึกที่จอดรถใหม่นี้ยังสร้างไม่เสร็จ) ที่จอดรถมีน้อยมากกกกก ก็โดนเค้าด่า
— มีปุ๊บ ก็มีคนเอารถมาจอดแช่ เพราะอยู่ใน Business zone + สายรถไฟฟ้า
— เก็บถูก คนก็ไม่แคร์ จอดแช่อยู่ดี เพราะไปจอดที่อื่นแพงกว่านี้
— ไม่เก็บเลย ถ้าใช้บริการ รพ เด็ก = ก็มีบางกลุ่มอาศัยว่า มาใช้บริการ รพ เด็ก แปบๆ ที่เหลือไปนู่นนี่ จอดแช่ ไม่เสียตังค์ คนอื่นไม่มีที่จอด
— มันก็จะปรับกันมาเรื่อยๆ จากปัญหาที่เจอแหล่ะครับ
พอมีปัญหาทีนึง ก็มีการปรับระบบไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังต้องอยู่ในกรอบ
ล่าสุดผมมา รพ.สวนดอก ในเครือ มช. มาใช้บริการมีตราประทับชัดเจน ก็ได้แค่จอดฟรี 1-2 ชม แต่ใช้เวลาหาหมอนานกว่านั้นเยอะ สุดท้ายก็ต้องเสียค่าจอดอยู่ดีครับ
ส่วนเรื่องผ้าเช็ดตัวลดไข้เด็กก็น่าจะมีปัญหาเหมือนกันนะครับ (อันนี้เดา) เพราะสมัยก่อนไม่ได้เก็บ
อาจจะมีปัญหาเรื่องการ re-use แล้วโดนร้องเรียน
หรือเนื่องจากมาตรฐาน รพ. ที่อัพขึ้นเรื่อยๆ พวก HA JCI (พอองค์กรมาตรฐาน รพ. พวกนั้นมาตรวจ ก็อาจจะติงมา ว่าไม่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของเค้า) ก็จะปรับไปเรื่อยๆ
แนะนำเจ้าของกระทู้ให้เขียนใบความเห็นไปที่ รพ.เด็ก นะครับ
ยังไงเชื่อว่าเค้ามีการปรับปรุงของเค้าอยู่เรื่อยๆ
เข้าใจว่าบางทีเราทุกข์จากการมีโรคของเราหรือลูกแล้ว
เจออะไรข้องใจนิดนึง ความรู้สึกอาจจะรุนแรงมากขึ้นหลายเท่ากว่าภาวะปกติ
ฉะนั้นถ้าอ่านจบ อยากให้ทำใจให้สบาย
แล้วทำบุญกับ รพ รัฐ ที่ไหนก็ได้ต่อไปเถอะครับ
ทุกที่ยังไงก็พร้อมให้บริการด้วยใจ ตามความสามารถที่เค้ามีที่สุดแล้วแหล่ะครับ
เค้าไม่ได้จะหวังทำธุรกิจอะไรหรอกครับ
เพราะทำไป เค้าก็ไม่ได้อะไรอยู่ดี
ขรก สังกัดสาธาฯ ไม่มีโบนัสนะครับ เงินเดือนเค้าก็ได้เท่าเดิม ต่างกันตรงที่ได้เร็วหน่อย
ไม่ต้องมีคำว่า ตกเบิก ค้างจ่าย รองบประมาณปีถัดไป มาให้ช้ำใจแค่นั้นเอง
ความคิดเห็นที่ 72
คนไทยคุ้นเคยกับของฟรีมากเกินไปสินะ ถึงไม่รู้ว่าการจะมีเงินซื้อรถขับที่สบายกว่าคนขึ้นรถเมล์ แทกซี่รถสาธารณะ สิ่งที่จะต้องมีมากกว่านั้นคือความรับผิดชอบกับการจอดรถ ชินกับการจอดแอบข้างทางลงไปซื้อของ จอดข้างถนนฟรีแต่ทำให้ช่องการจราจรหายไป1ช่อง ใครเดือดร้อนเท่าไหร่ไม่รู้ ในห้างเค้ายังเก็บค่าที่จอดรถเลยขนาดคุณไปซื้อของเค้านะ เค้ายังไม่ง้อเลย
รพ.อำนวยความสะดวกให้คุณไม่ต้องไปวนหาที่จอดไกลๆแล้ว ค่ำคืนดึกดื่นไม่ต้องเดินที่เปลี่ยว ยังจะบ่นว่าเค้าเก็บค่าจอดรถอีกเหรอคะ ทุกอย่างมีต้นทุนนะคะ ฟืนไฟส่องทาง กล้องวงจรปิด เจ้าหน้าที่เวรยามเป็นของฟรีเหรอคะ ใครว่างๆอยากเป็นจิตอาสามาลองเดินยามดูมั้ย งบสร้างตึกก็ขอรับบริจาคมาจากกองสลาก ตึกที่เพิ่งสร้างข้างในยังไม่มีงบตกแต่งหรืออุปกรณ์การแพทย์ใดๆ ต้องระดมทุนขอรับบริจาค เอาแค่ค่าไฟก็เดือนละล้านกว่าบาทแล้ว คิดว่ารพ.ของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธาระสุขสามารถชาร์จค่ารักษาได้ตามอำเภอใจเหรอคะ แถมยังไม่สามารถทำระบบPremium เหมือนรพ.สังกัดอื่นได้ค่ะ ค่าบริการจึงเป็นไปตามอัตราที่รัฐกำหนดและเป็นไปตามจริง
รพ.เด็กเป็นรพ.ระดับทุติยภูมิรับส่งต่อผู้ป่วยจากทั่วประเทศด้วย 30บาทรักษาทุกโรคนั้นได้แค่เคสละ700฿ค่ะ เผื่อใครยังไม่รู้ มีแต่คนไข้หนักๆทั้งนั้น นับเลขดูมันไม่มีทางได้กำไรหรอกค่ะ มีแต่จะขาดทุนหนักระดับร้อยล้าน ติดตัวแดงตลอด ไม่งั้นพี่ตูนคงไม่ออกมาวิ่งให้กับรพ.ต่างๆหรอกค่ะ คนไข้เด็กเป็นสาขาไม่ทำเงิน ไม่มีสิทธิ์ประกันสังคม มีแต่สิทธิ์30บาทอันน้อยนิดอย่างที่กล่าวไปแล้ว สิทธิ์จ่ายตรงและจ่ายเงินเองที่เป็นส่วนน้อย เบื้องลึกเบื้องหลังยังมีคนไข้หนักต่างด้าวที่ต้องรับรักษาตามหลักมนุษยธรรมแต่ไม่สามารถเก็บเงินค่ารักษาได้ รักษาเสร็จไม่มีเงินจ่ายแล้วก็กลับประเทศไป ใบแจ้งหนี้ก็ไม่มีความหมายใดๆ หนี้สูญแล้วจะเอาเงินที่ไหนมาบริหารงานคะ สถานพยาบาลจึงต้องมีรายรับสถานพยาบาลเพื่อเลี้ยงตัวเอง แถวนี้สถานที่คับแคบแออัด ลำพังแค่ที่จอดของเจ้าหน้าที่ก็แทบจะไม่พอแล้วค่ะ เหลือบ้างนิดหน่อยสำหรับผู้ป่วย อย่างที่หลายๆท่านบอกไปแล้ว ทำเลใจกลางเมืองแบบนี้หาที่จอดรถยากมากมักจะมีคนลักไก่มาแอบจอดแช่นานๆแล้วไปธุระ เบียดเบียนทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย จึงมีการเก็บค่าที่จอดรถ รายได้จากการเก็บค่าที่จอดรถไม่มากพอจะเอาไปทำอะไรหรอกค่ะ อย่างมากก็เป็นค่าบริหารจัดการในส่วนลานจอดรถที่เป็นต้นทุนที่ได้บอกไป
ค่ารักษานอกเวลาเราว่าสมเหตุสมผลแล้วที่ไม่สบายค่ำคืนดึกดื่นก็ยังมีหมอรักษาให้ ถ้าเป็นตปท. เวลาอย่างนี้คงไม่มีที่ไหนเปิด หรือถ้ามีเค้าก็รับแต่คนไข้ฉุกเฉินนะคะ ฉุกเฉินแบบฉุกเฉินจริงๆ อย่างอื่นต้องนัดล่วงหน้าเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ยิ่งลูกเป็นไข้ตัวร้อนนี่ลืมไปได้เลยค่ะ หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่เค้าก็เป็นคนไม่ใช่หุ่นยนต์ ถ้าเลือกได้คงไม่อยากจะทำงานเกินเวลาหรอก เค้าคงอยากไปพักผ่อนกับครอบครัวมากกว่าต้องมาคอยบริการใคร ทุกคนที่อยู่ที่นั่นไม่ใช่เค้าร้อนเงินถึงต้องอยู่ทำงานต่อ แต่เค้าบริการด้วยใจ บางคนกลับคิดว่าเป็นหมอก็ต้องรักษาคนไข้สิแต่คงลืมว่าหมอก็คน ไม่ใช่แค่ลูกจ้าง ไม่ใช่คนรับใช้ต้องคอยอยู่บริการตลอดเวลา และบางทีคงไม่มีใครรู้ว่าหมอคนนั้นอาจจะขึ้นเวรติดต่อกันโดยไม่ได้พักเลยก็ได้ คนไทยยังติดความคุ้นเคยแบบไทยๆอยู่ จนลืมนึกถึงผู้อื่น
ส่วนเรื่องผ้าเช็ดตัว 1 ส่วนเป็นเรื่องความสะอาดสุขอนามัย ถ้าใช้ผ้าของรพ. ขอถามว่าใครซักคะ เสื้อผ้าของคุณคุณยังซักเองเลยถ้าไม่ซักก็เสียเงินส่งซัก แล้วนี่ค่าแฟ๊บค่าส่งซักใครจ่ายคะ หรือคุณจะเอาแฟ๊บมาจากบ้านพอใช้เสร็จแล้วซักแล้วตากพร้อมรีดให้เสร็จสรรพ สมมติพอเค้าไม่มีบริการแปลว่าต้องเตรียมมาเองจากบ้าน ถ้าลืมเอามาไม่ต้องขับรถกลับไปเอาเหรอคะ แต่เราว่าร้านสะดวกซื้อแถวนั้นก็น่าจะมี”ขาย” นะคะ ส่วนที่2 มีจำนวนมากที่เอาของรพ. ติดไม้ติดมือกลับบ้านทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ผ้าหนึ่งผืนสมมติ 20฿ ถ้าหายทุกวัน ตลอด1ปี เป็นเงินเท่าไหร่คะ ใครจะจ่ายในส่วนที่ต้อง”ซื้อของใหม่มาทดแทน” ใครใช้ใครจ่ายไปเลยแฟร์ๆดี จะเอากลับบ้านด้วยหรือทิ้งไว้ก็ตามสะดวก รพ.จนๆ แค่จะหาเงินมาบริหารภายในรพ. ก็แทบรากเลือดแล้ว ยังต้องมาคอยตามเก็บตามอุดรอยรั่วตรงนั้นตรงนี้แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายเงินเดือนเจ้าหน้าทีในรพ. ปรับปรุงพัฒนาบริการให้ดีขึ้นไป
ใจเย็นๆแล้วมองรอบๆด้านค่ะ
ทั้งนี้ที่คุณเคยทำบุญทำทานมาทั้งชีวิต เราขออนุโมทนาด้วยค่ะ และขอให้คุณตั้งมั่นในความดีที่พึงกระทำต่อไปนะคะ เรื่องทำบุญทำทานใครมาบังคับก็ไม่ได้ค่ะ แต่จะทำที่ไหนก็เหมือนกันค่ะ ทำแล้วดีต่อใจ ทำแล้วอิ่มใจมีความสุข
ไหนๆก็ไหนละ ใครอยากทำบุญ ขอเชิญนะคะ จขกท.งดบริจาคกับรพ.เด็กไปแล้ว น่าจะไม่เป็นผลดีกับรพ.เด็กค่ะ
ช่องทางการบริจาค
1. สั่งจ่ายเช็คในนาม มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
2. โอนเงินเข้าบัญชี มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
• ธ. กรุงเทพ สาขาคณะทันตแพทย์ศาสตร์ ม.มหิดล เลขที่ 046-7-00688-8
• ธ.ไทยพาณิชย์ สำนักรัชโยธิน เลขที่ 111-410586-1
• ธ.ออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ เลขที่ 02-8888-99999-3
3. เคาน์เตอร์เซอร์วิส แจ้งรหัสบริจาค มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก
4. ATM ธ.ไทยพาณิชย์ (กระแสรายวัน) สาขา รพ.ราชวิถี เลขที่ 051 -301713-0 และ ธ.กรุงเทพ ทุกสาขา
รพ.อำนวยความสะดวกให้คุณไม่ต้องไปวนหาที่จอดไกลๆแล้ว ค่ำคืนดึกดื่นไม่ต้องเดินที่เปลี่ยว ยังจะบ่นว่าเค้าเก็บค่าจอดรถอีกเหรอคะ ทุกอย่างมีต้นทุนนะคะ ฟืนไฟส่องทาง กล้องวงจรปิด เจ้าหน้าที่เวรยามเป็นของฟรีเหรอคะ ใครว่างๆอยากเป็นจิตอาสามาลองเดินยามดูมั้ย งบสร้างตึกก็ขอรับบริจาคมาจากกองสลาก ตึกที่เพิ่งสร้างข้างในยังไม่มีงบตกแต่งหรืออุปกรณ์การแพทย์ใดๆ ต้องระดมทุนขอรับบริจาค เอาแค่ค่าไฟก็เดือนละล้านกว่าบาทแล้ว คิดว่ารพ.ของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธาระสุขสามารถชาร์จค่ารักษาได้ตามอำเภอใจเหรอคะ แถมยังไม่สามารถทำระบบPremium เหมือนรพ.สังกัดอื่นได้ค่ะ ค่าบริการจึงเป็นไปตามอัตราที่รัฐกำหนดและเป็นไปตามจริง
รพ.เด็กเป็นรพ.ระดับทุติยภูมิรับส่งต่อผู้ป่วยจากทั่วประเทศด้วย 30บาทรักษาทุกโรคนั้นได้แค่เคสละ700฿ค่ะ เผื่อใครยังไม่รู้ มีแต่คนไข้หนักๆทั้งนั้น นับเลขดูมันไม่มีทางได้กำไรหรอกค่ะ มีแต่จะขาดทุนหนักระดับร้อยล้าน ติดตัวแดงตลอด ไม่งั้นพี่ตูนคงไม่ออกมาวิ่งให้กับรพ.ต่างๆหรอกค่ะ คนไข้เด็กเป็นสาขาไม่ทำเงิน ไม่มีสิทธิ์ประกันสังคม มีแต่สิทธิ์30บาทอันน้อยนิดอย่างที่กล่าวไปแล้ว สิทธิ์จ่ายตรงและจ่ายเงินเองที่เป็นส่วนน้อย เบื้องลึกเบื้องหลังยังมีคนไข้หนักต่างด้าวที่ต้องรับรักษาตามหลักมนุษยธรรมแต่ไม่สามารถเก็บเงินค่ารักษาได้ รักษาเสร็จไม่มีเงินจ่ายแล้วก็กลับประเทศไป ใบแจ้งหนี้ก็ไม่มีความหมายใดๆ หนี้สูญแล้วจะเอาเงินที่ไหนมาบริหารงานคะ สถานพยาบาลจึงต้องมีรายรับสถานพยาบาลเพื่อเลี้ยงตัวเอง แถวนี้สถานที่คับแคบแออัด ลำพังแค่ที่จอดของเจ้าหน้าที่ก็แทบจะไม่พอแล้วค่ะ เหลือบ้างนิดหน่อยสำหรับผู้ป่วย อย่างที่หลายๆท่านบอกไปแล้ว ทำเลใจกลางเมืองแบบนี้หาที่จอดรถยากมากมักจะมีคนลักไก่มาแอบจอดแช่นานๆแล้วไปธุระ เบียดเบียนทั้งเจ้าหน้าที่และผู้ป่วย จึงมีการเก็บค่าที่จอดรถ รายได้จากการเก็บค่าที่จอดรถไม่มากพอจะเอาไปทำอะไรหรอกค่ะ อย่างมากก็เป็นค่าบริหารจัดการในส่วนลานจอดรถที่เป็นต้นทุนที่ได้บอกไป
ค่ารักษานอกเวลาเราว่าสมเหตุสมผลแล้วที่ไม่สบายค่ำคืนดึกดื่นก็ยังมีหมอรักษาให้ ถ้าเป็นตปท. เวลาอย่างนี้คงไม่มีที่ไหนเปิด หรือถ้ามีเค้าก็รับแต่คนไข้ฉุกเฉินนะคะ ฉุกเฉินแบบฉุกเฉินจริงๆ อย่างอื่นต้องนัดล่วงหน้าเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน ยิ่งลูกเป็นไข้ตัวร้อนนี่ลืมไปได้เลยค่ะ หมอ พยาบาล เจ้าหน้าที่เค้าก็เป็นคนไม่ใช่หุ่นยนต์ ถ้าเลือกได้คงไม่อยากจะทำงานเกินเวลาหรอก เค้าคงอยากไปพักผ่อนกับครอบครัวมากกว่าต้องมาคอยบริการใคร ทุกคนที่อยู่ที่นั่นไม่ใช่เค้าร้อนเงินถึงต้องอยู่ทำงานต่อ แต่เค้าบริการด้วยใจ บางคนกลับคิดว่าเป็นหมอก็ต้องรักษาคนไข้สิแต่คงลืมว่าหมอก็คน ไม่ใช่แค่ลูกจ้าง ไม่ใช่คนรับใช้ต้องคอยอยู่บริการตลอดเวลา และบางทีคงไม่มีใครรู้ว่าหมอคนนั้นอาจจะขึ้นเวรติดต่อกันโดยไม่ได้พักเลยก็ได้ คนไทยยังติดความคุ้นเคยแบบไทยๆอยู่ จนลืมนึกถึงผู้อื่น
ส่วนเรื่องผ้าเช็ดตัว 1 ส่วนเป็นเรื่องความสะอาดสุขอนามัย ถ้าใช้ผ้าของรพ. ขอถามว่าใครซักคะ เสื้อผ้าของคุณคุณยังซักเองเลยถ้าไม่ซักก็เสียเงินส่งซัก แล้วนี่ค่าแฟ๊บค่าส่งซักใครจ่ายคะ หรือคุณจะเอาแฟ๊บมาจากบ้านพอใช้เสร็จแล้วซักแล้วตากพร้อมรีดให้เสร็จสรรพ สมมติพอเค้าไม่มีบริการแปลว่าต้องเตรียมมาเองจากบ้าน ถ้าลืมเอามาไม่ต้องขับรถกลับไปเอาเหรอคะ แต่เราว่าร้านสะดวกซื้อแถวนั้นก็น่าจะมี”ขาย” นะคะ ส่วนที่2 มีจำนวนมากที่เอาของรพ. ติดไม้ติดมือกลับบ้านทั้งตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ ผ้าหนึ่งผืนสมมติ 20฿ ถ้าหายทุกวัน ตลอด1ปี เป็นเงินเท่าไหร่คะ ใครจะจ่ายในส่วนที่ต้อง”ซื้อของใหม่มาทดแทน” ใครใช้ใครจ่ายไปเลยแฟร์ๆดี จะเอากลับบ้านด้วยหรือทิ้งไว้ก็ตามสะดวก รพ.จนๆ แค่จะหาเงินมาบริหารภายในรพ. ก็แทบรากเลือดแล้ว ยังต้องมาคอยตามเก็บตามอุดรอยรั่วตรงนั้นตรงนี้แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายเงินเดือนเจ้าหน้าทีในรพ. ปรับปรุงพัฒนาบริการให้ดีขึ้นไป
ใจเย็นๆแล้วมองรอบๆด้านค่ะ
ทั้งนี้ที่คุณเคยทำบุญทำทานมาทั้งชีวิต เราขออนุโมทนาด้วยค่ะ และขอให้คุณตั้งมั่นในความดีที่พึงกระทำต่อไปนะคะ เรื่องทำบุญทำทานใครมาบังคับก็ไม่ได้ค่ะ แต่จะทำที่ไหนก็เหมือนกันค่ะ ทำแล้วดีต่อใจ ทำแล้วอิ่มใจมีความสุข
ไหนๆก็ไหนละ ใครอยากทำบุญ ขอเชิญนะคะ จขกท.งดบริจาคกับรพ.เด็กไปแล้ว น่าจะไม่เป็นผลดีกับรพ.เด็กค่ะ
ช่องทางการบริจาค
1. สั่งจ่ายเช็คในนาม มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
2. โอนเงินเข้าบัญชี มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ
• ธ. กรุงเทพ สาขาคณะทันตแพทย์ศาสตร์ ม.มหิดล เลขที่ 046-7-00688-8
• ธ.ไทยพาณิชย์ สำนักรัชโยธิน เลขที่ 111-410586-1
• ธ.ออมสิน สาขาชัยสมรภูมิ เลขที่ 02-8888-99999-3
3. เคาน์เตอร์เซอร์วิส แจ้งรหัสบริจาค มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก
4. ATM ธ.ไทยพาณิชย์ (กระแสรายวัน) สาขา รพ.ราชวิถี เลขที่ 051 -301713-0 และ ธ.กรุงเทพ ทุกสาขา
แสดงความคิดเห็น
คิดยังไงคะ เมื่อใช้บริการ รพ. เด็ก แล้วยังต้องจ่ายค่าจอดรถในราคาแพง ???