ทำไมลูกจ้างหน่วยงานราชการถึงไม่ลาออกมาทำเอกชน!

ผมเห็นหลายคนที่เป็นลูกจ้างส่วนราชการชอบบ่นว่าเงินน้อยสวัสดิการไม่ดี ไม่ได้บรรจุเป็นข้าราชการ แต่ทำไมถึงไม่มีความคิดลาออกมาทำงานเอกชน หรือถ้าลาออกจริงก็ไปสมัครเป็นลูกจ้างสังกัดส่วนราชการอื่น (งานราชการไม่สบายอย่างหลายคนคิดเสาร์อาทิตย์ก็ต้องทำงานนะ)
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ขอตอบในฐานะลูกจ้างชั่วคราวครับ จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับกระทรวงหรือกรมฯ ที่ทำงานด้วยครับ อธิบายในขั้นตอนที่ผมไปบรรจุนะครับ

1. ผมสอบบรรจุในตำแหน่งลูกจ้างฯ วุฒิ ป.ตรี ณ กรมฯ หนึ่ง ซึ่งเปิดรับ 1 ตำแหน่ง จำนวนผู้สมัคร 100 กว่าคน สอบผ่าน 9 คน ผมได้ขึ้นบัญชี ลำดับที่ 7 ขึ้นบัญชี 2 ปี เดือนพฤษภาคม 2558 ก็คิดแล้วว่าคงยาก ได้ลำดับท้ายๆ เลย

2. ผ่านมา 1 ปี 5 เดือน ผมได้รับจดหมายให้ไปรายงานตัวเป็นตัวสำรอง และได้บรรจุ เดือนตุลาคม 2559 ครับ ตอนนั้นทำงานเอกชนเงินเดือน 18,000 บาท สิ้นปีได้โบนัส 2 เดือน ก็อดไปครับ แต่ผมไม่เสียดายเลยครับ ดีใจด้วยซ้ำที่เลือกถูก คนอื่นที่เข้ามารอบเดียวกัน จบ ป.โทวิศวะ กฏหมาย ทำงานธ.กรุงไทย บริษัทญี่ปุ่น Kao เก่งๆ ทั้งนั้น ตอนนี้ มีออกไปคน สอบบรรจุ ข้าราชการวุฒิ ป.โท ได้อันดับ 1 ด้วย

แค่ขั้นตอนลูกจ้างฯ ยังยากเลยครับ พนักงานราชการ คนสอบเกือบพัน ข้าราชการคนสอบหลายพัน สวัสดิการเทียบกับข้าราชการมันด้อยกว่า แต่เทียบกับที่ทำงานเก่าคนละเรื่องกันเลย เงินเดือน 15,000 บาท ไปตลอด แต่มีค่าล่วงเวลา และอื่นๆ มีสหกรณ์ให้กู้ยืมดอกเบี้ยถูก มีลาพักร้อน 10 วัน เวลาเข้างาน พักงาน เลิกงาน ลางาน มีธุระต่างๆ ก็ยืดหยุ่นกว่างานเอกชนมาก ถ้าสอบไม่ติดข้าราชการก็ไม่ต้องกลัวตกงาน จ้างจนอายุ 60 ปีแน่ๆ

คนที่เค้าบรรจุข้าราชการ เค้าก็ต้องสอบ ภาค ก ผ่านก่อน แล้วมาแข่งกันอีกที มันก็สมกันแล้ว ผมยังไม่ผ่าน ภาค ก ขาด 2.5 คะแนน ก็พยายามสอบต่อไป อย่างน้อยก็ได้ทำงานใกล้บ้าน กลับมาก็ช่วยงานธุกิจครอบครัวที่บ้าน ช่วงนี้ก็รีบเคลียร์หนี้สิน ภาระน้อยแล้ว ถ้าสอบผ่านภาค ก ค่อยสอบบรรจุข้าราชการให้ได้ก่อน อายุ 50 ปี เพื่อรับบำนาญหลังอายุ 60 ปี ก็ไม่ลำบากแล้วครับ

สรุป ลูกจ้างชั่วคราวที่ผมทำงานอยู่ ถ้าเทียบกับงานเอกชนที่เคยทำงาน ไม่มีข้อไหนด้อยกว่าเลยครับ แต่ถ้าเทียบกับข้าราชการก็อย่างที่ว่าๆ มาครับ เค้าสอบเข้ามายากกว่าเรา ก็ต้องสวัสดิการดีกว่าเป็นธรรมดาครับ ให้มองเป็นแรงบันดาลใจว่าต้องทำให้ได้แบบเค้า ไม่ใช่ไปอิจฉาเขาครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่