วิเคราะห์ศก. ของมาเลย์ที่โต 6.2% ในไตรมาส 3/17 ซึ่งถือว่าสูงที่สุดตั้งแต่ 6/14

แม้ธนาคารกลางมาเลเซียจะประกาศอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจมาเลเซียที่ระดับ 6.2% ในไตรมาส 3/17 ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2014 แต่หลายฝ่ายกลับมองว่าเศรษฐกิจมาเลเซียไม่ได้เติบโตอย่างตัวเลขที่ทางธนาคารกลางประกาศออกมา

ซึ่งมนุษย์เงินเดือนทั่วไปในมาเลเซียยังต้องดิ้นรนเอาตัวรอดจากค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เนื่องจากค่าเงินที่ลดลงส่งผลให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เงินจำนวนเท่ากันสามารถซื้ออาหารได้น้อยลง
ในขณะเดียวกัน นายจ้างก็จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายลงเพื่อให้สอดคล้องกับกำไรที่ลดลง ทำให้มนุษย์เงินเดือนเริ่มตะหนักถึงความมั่นคงในหน้าที่การงานตนเอง ซึ่งหลายคนเกรงว่าตนจะสูญเสียงานจากการพยายามลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจในสถานการณ์การแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้การเข้ามาของเทคโนโลยีก็ทำให้ร้านค้าหลายแห่งต้องเลิกกิจการ และบังคับให้ธุรกิจที่ยังดำเนินอยู่ต้องมองหาหนทางใหม่ในการดำเนินธุรกิจ แม้แต่ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าก็ยังรายงานตัวเลขยอดขายลดลงซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีห้างมากจนเกินไป
โดยมาเลเซียมีภาคบริการและภาคการผลิตเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตเป็นหลัก ส่งผลให้หลายธุรกิจอาจไม่รู้สึกถึงตัวเลขอัตราการเติบโตที่ทางธนาคารกลางประกาศ โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ที่จะยังคงซบเซาต่อไปอีกสักระยะ

ทั้งนี้อัตราแลกเปลี่ยนที่อ่อนค่าลงของมาเลเซียส่งผลกระทบต่อราคาอาหารอย่างมาก โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มที่มีสัดส่วนถึง 74% ของยอดใช้จ่ายในครัวเรือนมาเลเซีย
https://www.thestar.com.my/business/business-news/2017/11/21/stronger-economy-but-purchasing-power-eroding/

Cr https://www.facebook.com/luihoonasean/?hc_ref=ARR2Yh3KpT-UCoOxr_UO6H9TYrJW5Ef9a6Yy343PIhTOiZeK26ZZaVf0l68udZ9rNls&fref=nf
อัตราเงินเฟ้อของมาเลย์

เนื่องจากราคาน้ำมัน เริ่มฟื้นตัวสูงขึ้น ทำให้ค่าเงินริงกิตเริ่มฟื้นตัวตาม
เมื่อต้นปี 1 ริงกิต แลกเงินบาทไทยได้ 7.52 ในวันนี้ แลกได้ 7.965 เกือบแตะ 8 บาทแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่