นายดรุณ แสงฉาย อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยถึงแนวทางการบริหารและพัฒนาท่าอากาศยานในสังกัด 28 แห่ง ว่า ผลการศึกษาของศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านการขนส่งทางอากาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ชี้ว่า ทย. ควรจะให้สิทธิ์การบริหารท่าอากาศยานอุดรธานี และท่าอากาศยานตาก แก่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เพื่อให้ ทอท. มีโครงข่ายในการพัฒนาเส้นทางบินที่ครบทุกภูมิภาคหลักของประเทศ สามารถเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ เช่น อุดรธานีสามารถเชื่อมโยงไปยังลาว ซึ่งหลังจากนี้จะเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาหารูปแบบที่เหมาะสมในการดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ ท่าอากาศยานอุดรธานี และตาก ยังจำเป็นต้องใช้งบลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพให้รองรับจำนวนผู้โดยสารได้มากขึ้น โดยท่าอากาศยานอุดรธานี ต้องใช้งบลงทุนอีกประมาณ 3 พันล้านบาท ดังนั้นหาก ทอท. นำไปพัฒนาต่อก็จะช่วยยกระดับขีดความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ส่วนสาเหตุที่ไม่ให้ท่าอากาศยานขอนแก่นนั้น เนื่องจาก ทย. ได้รับงบประมาณเพื่อพัฒนาขยายขีดความสามารถแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างประกวดราคาเพื่อหาผู้รับเหมาเข้ามาก่อสร้างแล้ว เช่นเดียวกับท่าอากาศยานกระบี่ ที่ได้งบประมาณและเปิดประกวดราคาแล้วเหมือนกัน
นายดรุณกล่าวถึงกรณที่ ทอท. เสนอขอบริหารสนามบินของ ทย. จำนวน 15 แห่ง ว่า ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐาลว่าจะตัดสินใจอย่างไร แต่ที่ ทย. เสนอให้ จำนวน 2 แห่งนั้นเป็นไปตามผลการศึกษา ส่วนของท่าอากาศยานขนาดเล็กที่สามารถพัฒนาต่อได้นั้น ผลการศึกษาระบุว่า จะให้เอกชนร่วมลงทุน เบื้องต้นกำหนดไว้ 4 แห่ง คือ ลำปาง เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และชุมพร โดยรูปแบบการลงทุนขึ้นอยู่กับผลการศึกษาที่ต้องดำเนินการตามมาตรา 25 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุน (พีพีพี)
“เรามีสนามบิน 28 แห่ง สามารถทำกำไรได้ 15 แห่ง ส่วนอีก 13 แห่งที่เหลือก็มีทั้งเท่าทุน และขาดทุน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการ ทย. ไม่ได้เรียกเก็บค่าใช้บริการต่างๆจากสายการบิน หรือเก็บในอัตราที่ถูกกว่าท่าอากาศยานอื่นประมาณ 1 พันล้านบาทต่อปี จึงทำให้มีกำไรไม่มาก แต่ก็ถือว่าเป็นผลดี สามารถช่วยให้สายการบินต้นทุนต่ำลดราคาค่าโดยสารให้กับผู้โดยสาร เพิ่มทางเลือกให้ประชาชนสามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้ และยังส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการบินเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย”นายดรุณ กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับแผนพัฒนาท่าอากาศยาน ทย.ในช่วง 10 ปีนับจากนี้จะใช้งบลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยเฉลี่ยแต่ละปีจะใช้งบประมาณ 3-4 พันล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการขนาดใหญ่ของหน่วยงานอื่น ส่วนรายได้จากการดำเนินงานของ ทย.ในปีงบประมาณ 2560 อยู่ที่ประมาณ 1.6 พันล้านบาท มีค่าใช้จ่ายประมาณ 800 ล้านบาท
By ข่าวสด
Nov 20, 2017
กรมท่าอากาศยาน ยอมยกสนามบิน “อุดร-ตาก” ให้ ทอท.บริหาร
ทั้งนี้ ท่าอากาศยานอุดรธานี และตาก ยังจำเป็นต้องใช้งบลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพให้รองรับจำนวนผู้โดยสารได้มากขึ้น โดยท่าอากาศยานอุดรธานี ต้องใช้งบลงทุนอีกประมาณ 3 พันล้านบาท ดังนั้นหาก ทอท. นำไปพัฒนาต่อก็จะช่วยยกระดับขีดความสามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ส่วนสาเหตุที่ไม่ให้ท่าอากาศยานขอนแก่นนั้น เนื่องจาก ทย. ได้รับงบประมาณเพื่อพัฒนาขยายขีดความสามารถแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างประกวดราคาเพื่อหาผู้รับเหมาเข้ามาก่อสร้างแล้ว เช่นเดียวกับท่าอากาศยานกระบี่ ที่ได้งบประมาณและเปิดประกวดราคาแล้วเหมือนกัน
นายดรุณกล่าวถึงกรณที่ ทอท. เสนอขอบริหารสนามบินของ ทย. จำนวน 15 แห่ง ว่า ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐาลว่าจะตัดสินใจอย่างไร แต่ที่ ทย. เสนอให้ จำนวน 2 แห่งนั้นเป็นไปตามผลการศึกษา ส่วนของท่าอากาศยานขนาดเล็กที่สามารถพัฒนาต่อได้นั้น ผลการศึกษาระบุว่า จะให้เอกชนร่วมลงทุน เบื้องต้นกำหนดไว้ 4 แห่ง คือ ลำปาง เพชรบูรณ์ นครราชสีมา และชุมพร โดยรูปแบบการลงทุนขึ้นอยู่กับผลการศึกษาที่ต้องดำเนินการตามมาตรา 25 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุน (พีพีพี)
“เรามีสนามบิน 28 แห่ง สามารถทำกำไรได้ 15 แห่ง ส่วนอีก 13 แห่งที่เหลือก็มีทั้งเท่าทุน และขาดทุน ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการ ทย. ไม่ได้เรียกเก็บค่าใช้บริการต่างๆจากสายการบิน หรือเก็บในอัตราที่ถูกกว่าท่าอากาศยานอื่นประมาณ 1 พันล้านบาทต่อปี จึงทำให้มีกำไรไม่มาก แต่ก็ถือว่าเป็นผลดี สามารถช่วยให้สายการบินต้นทุนต่ำลดราคาค่าโดยสารให้กับผู้โดยสาร เพิ่มทางเลือกให้ประชาชนสามารถเดินทางด้วยเครื่องบินได้ และยังส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการบินเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย”นายดรุณ กล่าว
อย่างไรก็ตาม สำหรับแผนพัฒนาท่าอากาศยาน ทย.ในช่วง 10 ปีนับจากนี้จะใช้งบลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยเฉลี่ยแต่ละปีจะใช้งบประมาณ 3-4 พันล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับโครงการขนาดใหญ่ของหน่วยงานอื่น ส่วนรายได้จากการดำเนินงานของ ทย.ในปีงบประมาณ 2560 อยู่ที่ประมาณ 1.6 พันล้านบาท มีค่าใช้จ่ายประมาณ 800 ล้านบาท
By ข่าวสด
Nov 20, 2017