โครงการความร่วมมือ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ถูกกล่าวถึงตั้งแต่สมัยที่ประเทศไทยเคยมีเศรษฐกิจรุ่งเรือง ก่อนจะถูกวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งทำพิษ จนทำให้โครงการต่างๆ หยุดชะงัก แต่รัฐบาลแทบจะทุกยุคมีความพยายามที่จะนำโครงการนี้กลับมาทำให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างจริงจัง
ตั้งแต่เมื่อ 7 ปีก่อนสมัยรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์ ต่างก็พยายามที่จะผลักดันให้โครงการความร่วมมือนี้ให้เป็นรูปเป็นร่าง ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนความร่วมมือในการลงทุน การใช้สิทธิประโยชน์สองข้างทางรถไฟ หรือร่างพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติชี้ขาดว่า "ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" จนทำให้โครงการ "สร้างอนาคตประเทศไทย 2020" ต้องล้มเลิกไปในที่สุด
ถึงยุครัฐบาลนายกประยุทธ์ โครงการนี้ก็เกิดเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น และได้ข้อสรุปที่ว่า รัฐบาลไทยจะลงทุนก่อสร้างโครงการนี้เอง โดยการจ้างประเทศจีนให้ก่อสร้างให้
เมื่อโครงการนี้มีการขับเคลื่อนสู่ความจริงมากขึ้น ก็เกิดคำถามขึ้นในสังคมไทยว่า ประเทศไทยมีองค์ประกอบพร้อมในการรองรับเทคโนโลยีใหม่นี้แล้วหรือยัง เนื่องจากบุคลากรไทยไม่มีความรู้ ความชำนาญในเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงเลย
ทำให้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการสร้างบุคลากรที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ "รถไฟความเร็วสูง" จึงได้มีการลงนามความร่วมมือ MOU ระหว่างไทย-จีนขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่องบุคลากรรถไฟไทยในระยะยาว เป็ความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยเซ็นทรัล เซาธ์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในด้านรถไฟฟ้าความเร็วสูงอันดับหนึ่งของจีน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มหาวิทยาลัยชั้นนำในการผลิตช่างเทคนิค นักเทคโนโลยีและวิศวกรที่มีความพร้อมในการพัฒนากำลังคน เพื่อที่จะสร้างสถาบันที่มีหลักสูตรด้านรถไฟความเร็วสูง เพื่อร่วมพัฒนาหลักสูตร สาขาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบรางในประเทศไทย และอาเซียน
ด้านอธิบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า โครงการนี้จะสร้างโอกาสที่ดีแก่คนไทย แต่ก็โครงการความร่วมมือ 2+2
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เรียนที่มจพ. 2 ปี และ ม.เซ็นทรัล เซาธ์ 2 ปี อาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงจะเพิ่มหลักสูตรระยะสั้น เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระบบราง เพื่อจะช่วยเพิ่มบุคลากรได้ โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาหลักสูตรให้หลากหลายขึ้น ทั้งในเรื่องของวิศวกรรมการซ่อมบำรุง การพัฒนาเฉพาะทางบางอย่าง เพื่อส่งเสริมให้โครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถึงแม้ว่า ความร่วมมือของทั้ง 2 มหาวิทยาลัยจะไม่สามารถปิดรูรั่วด้านการขาดแคลนบุคลากรในระบบรางของไทยได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ประเทศไทยจะได้มีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้สามารถรับการเปลี่ยนแปลงในอีก 4 ปีข้างหน้าได้อย่างทันท่วงที
ที่มา : เอ็มโอยูฉบับใหม่ 'ไทย-จีน' ปั้นหลักสูตร ไฮสปีด มุ่งพัฒนาบุคลากร 'ระบบราง'
ล่าสุด จากเพจ
China Xinhua News รถไฟความเร็วสูง CRH3A ของจีนเตรียมให้บริการสำหรับการวิ่งระหว่างเมืองซีอาน-เฉิงตูปลายปีนี้ โดยกำหนดความเร็วไว้ที่ 160-250 กม./ชม. ม้าเหล็กรุ่นนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าเจ้า “ตาทอง” เนื่องจากการออกแบบสีผนังด้านนอกข้างห้องคนขับทั้งสองข้างให้เป็นสีทอง
นอกจากนี้ก็ยังออกแบบให้ใช้งานง่าย เป็นมิตรกับผู้โดยสาร ตลอดจนห้องโดยสารก็กว้างและสูงขึ้น ห้องน้ำมีทั้งหมด 12 ห้อง เป็นแบบชักโครก 6 ห้องและแบบนั่งยองอีก 6 ห้อง ที่สำคัญคือมันสามารถช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางของเมืองสำคัญในภาคตะวันตกของจีนทั้งสองเมืองนี้จากเดิมที่ 16 ชม.ให้เหลือเพียงแค่ 3 ชม.เท่านั้น!
EEC : ไทย-จีน พร้อมปั้นหลักสูตร "ไฮสปีดเทรน"
โครงการความร่วมมือ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ถูกกล่าวถึงตั้งแต่สมัยที่ประเทศไทยเคยมีเศรษฐกิจรุ่งเรือง ก่อนจะถูกวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งทำพิษ จนทำให้โครงการต่างๆ หยุดชะงัก แต่รัฐบาลแทบจะทุกยุคมีความพยายามที่จะนำโครงการนี้กลับมาทำให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างจริงจัง
ตั้งแต่เมื่อ 7 ปีก่อนสมัยรัฐบาลนายกอภิสิทธิ์ และนายกยิ่งลักษณ์ ต่างก็พยายามที่จะผลักดันให้โครงการความร่วมมือนี้ให้เป็นรูปเป็นร่าง ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนความร่วมมือในการลงทุน การใช้สิทธิประโยชน์สองข้างทางรถไฟ หรือร่างพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติชี้ขาดว่า "ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ" จนทำให้โครงการ "สร้างอนาคตประเทศไทย 2020" ต้องล้มเลิกไปในที่สุด
ถึงยุครัฐบาลนายกประยุทธ์ โครงการนี้ก็เกิดเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น และได้ข้อสรุปที่ว่า รัฐบาลไทยจะลงทุนก่อสร้างโครงการนี้เอง โดยการจ้างประเทศจีนให้ก่อสร้างให้
เมื่อโครงการนี้มีการขับเคลื่อนสู่ความจริงมากขึ้น ก็เกิดคำถามขึ้นในสังคมไทยว่า ประเทศไทยมีองค์ประกอบพร้อมในการรองรับเทคโนโลยีใหม่นี้แล้วหรือยัง เนื่องจากบุคลากรไทยไม่มีความรู้ ความชำนาญในเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงเลย
ทำให้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการสร้างบุคลากรที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ "รถไฟความเร็วสูง" จึงได้มีการลงนามความร่วมมือ MOU ระหว่างไทย-จีนขึ้น เพื่อแก้ปัญหาเรื่องบุคลากรรถไฟไทยในระยะยาว เป็ความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยเซ็นทรัล เซาธ์ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ เพื่อที่จะสร้างสถาบันที่มีหลักสูตรด้านรถไฟความเร็วสูง เพื่อร่วมพัฒนาหลักสูตร สาขาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบรางในประเทศไทย และอาเซียน
ด้านอธิบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า โครงการนี้จะสร้างโอกาสที่ดีแก่คนไทย แต่ก็โครงการความร่วมมือ 2+2 [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ อาจจะไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงจะเพิ่มหลักสูตรระยะสั้น เพื่อให้ความรู้กับผู้ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระบบราง เพื่อจะช่วยเพิ่มบุคลากรได้ โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาหลักสูตรให้หลากหลายขึ้น ทั้งในเรื่องของวิศวกรรมการซ่อมบำรุง การพัฒนาเฉพาะทางบางอย่าง เพื่อส่งเสริมให้โครงการรถไฟความเร็วสูงของไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถึงแม้ว่า ความร่วมมือของทั้ง 2 มหาวิทยาลัยจะไม่สามารถปิดรูรั่วด้านการขาดแคลนบุคลากรในระบบรางของไทยได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ประเทศไทยจะได้มีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้สามารถรับการเปลี่ยนแปลงในอีก 4 ปีข้างหน้าได้อย่างทันท่วงที
ที่มา : เอ็มโอยูฉบับใหม่ 'ไทย-จีน' ปั้นหลักสูตร ไฮสปีด มุ่งพัฒนาบุคลากร 'ระบบราง'
ล่าสุด จากเพจ China Xinhua News รถไฟความเร็วสูง CRH3A ของจีนเตรียมให้บริการสำหรับการวิ่งระหว่างเมืองซีอาน-เฉิงตูปลายปีนี้ โดยกำหนดความเร็วไว้ที่ 160-250 กม./ชม. ม้าเหล็กรุ่นนี้ได้รับการตั้งชื่อว่าเจ้า “ตาทอง” เนื่องจากการออกแบบสีผนังด้านนอกข้างห้องคนขับทั้งสองข้างให้เป็นสีทอง
นอกจากนี้ก็ยังออกแบบให้ใช้งานง่าย เป็นมิตรกับผู้โดยสาร ตลอดจนห้องโดยสารก็กว้างและสูงขึ้น ห้องน้ำมีทั้งหมด 12 ห้อง เป็นแบบชักโครก 6 ห้องและแบบนั่งยองอีก 6 ห้อง ที่สำคัญคือมันสามารถช่วยย่นระยะเวลาการเดินทางของเมืองสำคัญในภาคตะวันตกของจีนทั้งสองเมืองนี้จากเดิมที่ 16 ชม.ให้เหลือเพียงแค่ 3 ชม.เท่านั้น!