ช่วยแปลบทคัดย่อให้หน่อยค่ะ ไม่ไหวแล้วว โง่อังกฤษมาก T T
ชื่อโครงงาน ถ้วยไบโอย่อยสลายได้
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง ถ้วยไบโอย่อยสลายได้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพของเจลาตินจากเกล็ดปลากะพงขาวโดยการนำเกล็ดปลากะพงขาวที่ล้างสะอาด มาแช่โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เข้มข้น 2 % เป็นเวลา 90 นาที และแช่กรดอะซิติก (CH3COOH) เข้มข้น 2 % เป็นเวลา 90 นาที จากนั้นจึงผ่านกระบวนการให้ ความร้อนโดยการต้มโดยใช้อัตราส่วนเกล็ดปลาต่อน้ำกลั่น ทำการศึกษาที่อัตราส่วน 1:3 และระเหยแห้งโดยเครื่อง evaporator จึงได้เจลาตินสกัดหยาบออกจากกระบวนการดังกล่าว จากนั้นจึงนำไปเปรียบเทียบกับเจลาตินในท้องตลาด โดยการวิเคราะห์คุณภาพด้านกายภาพ ผลปรากฏว่าเจลาตินจากเกล็ดปลากะพงขาวมีคุณภาพใกล้เคียงกับเจลาตินในท้องตลาด เพื่อศึกษากรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิต ถ้วยไบโอย่อยสลายได้ โดยดำเนินการศึกษาการนำเจลาตินจากเกล็ดปลา มาผสมสารโพลีไวนิลแอลกอฮอล์
ในอัตราส่วนของเจลาตินจากเกล็ดปลากะพงขาวต่อสารโพลีไวนิลแอลกอฮอล์ตามที่ศึกษา คือ 5:95, 10:90, 15:85, 20:80, 25:75, 30:70, 35:65, 40:60, 45:55, 50:50, 65:35, 70:30, 75:25, 80:20, 85:15, 90:10, 95:5, 100:0 และ 0:100 แล้วนำมาหาอัตราส่วนที่ดีที่สุด โดยนำถ้วยไบโอพลาสติกมาทดสอบความแข็งแรงโดยการถ่วงน้ำหนัก 400 กรัม ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด คือ 70:30 สามารถทนต่อแรงดึงได้ดีที่สุด จากนั้นนำอัตราที่เหมาะสม หาปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่สุด โดยปริมาณน้ำที่ศึกษา คือ 10%, 20%, 30%, 40%, 50%, 60% และ 70% โดยน้ำหนัก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่สุด คือ 30% โดยน้ำหนัก สามารถทนต่อแรงดึงได้ จากนั้นศึกษาระยะเวลาในการให้อากาศ โดยปริมาณที่ศึกษา คือ 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที โดยระยะเวลาในการให้อากาศที่เหมาะสม คือ 30 นาที สามารถทนต่อ
แรงดึงได้ จากนั้นนำถ้วยไบโอย่อยสลายได้มาทำการเคลือบด้วยน้ำแป้งถั่วเขียวซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของถ้วยไบโอพลาสติกได้จริง เและเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของถ้วยไบโอย่อยสลายได้กับถ้วยพลาสติกในท้องตลาด โดยการทดสอบคุณสมบัติทนต่อแรงดึง ทดสอบการคงสภาพในน้ำ และทดสอบการคงสภาพในน้ำมัน ผลปรากฏว่าถ้วยไบโอย่อยสลายได้มีคุณภาพเทียบเท่ากับถ้วยพลาสติกในท้องตลาด
คำสำคัญ : ถ้วยไบโอพลาสติก , เจลาตินจากเกล็ดปลากะพงขาว และสารโพลีไวนิลแอลกอฮอล์
รบกวนช่วยแปลบทคัดย่อโครงงานจากภาษาไทยเป็นอังกฤษให้หน่อยได้มั้ยคะ
ชื่อโครงงาน ถ้วยไบโอย่อยสลายได้
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่อง ถ้วยไบโอย่อยสลายได้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพของเจลาตินจากเกล็ดปลากะพงขาวโดยการนำเกล็ดปลากะพงขาวที่ล้างสะอาด มาแช่โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) เข้มข้น 2 % เป็นเวลา 90 นาที และแช่กรดอะซิติก (CH3COOH) เข้มข้น 2 % เป็นเวลา 90 นาที จากนั้นจึงผ่านกระบวนการให้ ความร้อนโดยการต้มโดยใช้อัตราส่วนเกล็ดปลาต่อน้ำกลั่น ทำการศึกษาที่อัตราส่วน 1:3 และระเหยแห้งโดยเครื่อง evaporator จึงได้เจลาตินสกัดหยาบออกจากกระบวนการดังกล่าว จากนั้นจึงนำไปเปรียบเทียบกับเจลาตินในท้องตลาด โดยการวิเคราะห์คุณภาพด้านกายภาพ ผลปรากฏว่าเจลาตินจากเกล็ดปลากะพงขาวมีคุณภาพใกล้เคียงกับเจลาตินในท้องตลาด เพื่อศึกษากรรมวิธีที่เหมาะสมในการผลิต ถ้วยไบโอย่อยสลายได้ โดยดำเนินการศึกษาการนำเจลาตินจากเกล็ดปลา มาผสมสารโพลีไวนิลแอลกอฮอล์
ในอัตราส่วนของเจลาตินจากเกล็ดปลากะพงขาวต่อสารโพลีไวนิลแอลกอฮอล์ตามที่ศึกษา คือ 5:95, 10:90, 15:85, 20:80, 25:75, 30:70, 35:65, 40:60, 45:55, 50:50, 65:35, 70:30, 75:25, 80:20, 85:15, 90:10, 95:5, 100:0 และ 0:100 แล้วนำมาหาอัตราส่วนที่ดีที่สุด โดยนำถ้วยไบโอพลาสติกมาทดสอบความแข็งแรงโดยการถ่วงน้ำหนัก 400 กรัม ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด คือ 70:30 สามารถทนต่อแรงดึงได้ดีที่สุด จากนั้นนำอัตราที่เหมาะสม หาปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่สุด โดยปริมาณน้ำที่ศึกษา คือ 10%, 20%, 30%, 40%, 50%, 60% และ 70% โดยน้ำหนัก ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ปริมาณน้ำที่เหมาะสมที่สุด คือ 30% โดยน้ำหนัก สามารถทนต่อแรงดึงได้ จากนั้นศึกษาระยะเวลาในการให้อากาศ โดยปริมาณที่ศึกษา คือ 5, 10, 15, 20, 25 และ 30 นาที โดยระยะเวลาในการให้อากาศที่เหมาะสม คือ 30 นาที สามารถทนต่อ
แรงดึงได้ จากนั้นนำถ้วยไบโอย่อยสลายได้มาทำการเคลือบด้วยน้ำแป้งถั่วเขียวซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของถ้วยไบโอพลาสติกได้จริง เและเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของถ้วยไบโอย่อยสลายได้กับถ้วยพลาสติกในท้องตลาด โดยการทดสอบคุณสมบัติทนต่อแรงดึง ทดสอบการคงสภาพในน้ำ และทดสอบการคงสภาพในน้ำมัน ผลปรากฏว่าถ้วยไบโอย่อยสลายได้มีคุณภาพเทียบเท่ากับถ้วยพลาสติกในท้องตลาด
คำสำคัญ : ถ้วยไบโอพลาสติก , เจลาตินจากเกล็ดปลากะพงขาว และสารโพลีไวนิลแอลกอฮอล์