อยากมีพื้นที่ขายของเช็กเลย ! "ตลาดประชารัฐ" มีที่ไหนบ้าง ลงทะเบียนร่วมโครงการอย่างไร
ตลาดประชารัฐ เปิดให้พ่อค้า-แม่ค้า เกษตรกร ร้านอาหาร ที่ต้องการพื้นที่ขายสินค้าลงทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 30 พฤศจิกายน 2560 ใครอยากจะสมัครเข้าร่วมตลาดประชารัฐเช็กข้อมูลก่อนเลย
เปิดให้ลงทะเบียนจับจองพื้นที่ค้าขายกันแล้วสำหรับ "ตลาดประชารัฐ" โครงการที่ช่วยเหลือให้พ่อค้า-แม่ค้า ได้มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้ามากขึ้น ซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม มีผู้เดินทางมาลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ใครที่สนใจอยากเข้าร่วมโครงการนี้ แต่ยังไม่ได้ไปลงทะเบียน เพราะไม่รู้ว่าต้องสมัครที่ไหน อย่างไรบ้าง กระปุกดอทคอม จึงได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของตลาดประชารัฐมาฝาก เพื่อจะได้รีบไปลงทะเบียนกัน เพราะตลาดประชารัฐ จะเปิดให้ลงทะเบียนถึงแค่วันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้นนะ
ตลาดประชารัฐ คืออะไร ?
"ตลาดประชารัฐ" เป็นนโยบายส่งเสริมของรัฐบาลที่ต้องการให้มีพื้นที่ตลาดใหม่ พร้อม ๆ กับพัฒนาพื้นที่ตลาดเดิม เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หาบเร่แผงลอย วิสาหกิจชุมชน หรือร้านอาหาร รวมทั้งยังเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขายอีกด้วย
ตลาดประชารัฐ มีที่ไหนบ้าง ?
ตลาดประชารัฐ ได้จัดสรรพื้นที่ขายสินค้าไว้ให้กับประชาชนมากกว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศ โดยแบ่งตลาดเป็น 9 รูปแบบ ดังนี้
1. ตลาดประชารัฐ Green Market
เป็นการเปิดพื้นที่ตลาดใหม่และขยายพื้นที่ตลาดเดิม โดยเน้นเปิดโอกาสให้เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่งและผู้ผลิตสินค้าชุมชน ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหม่กว่า 800 ราย ให้เข้ามาขายสินค้าทางการเกษตรและอาหารปลอดภัย
พื้นที่ดำเนินการ : มีทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ ตลาดตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร, ตลาดบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และตลาดลำพูน จังหวัดลำพูน
สินค้าที่จำหน่าย :
- อาหารสุขภาพอาหารปลอดภัย สินค้าโฮมเมค ผักผลไม้ สัดส่วน 50%
- อาหารพร้อมทาน สะอาด ถูกสุขอนามัย สัดส่วน 30%
- สินค้าอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ฯลฯ สัดส่วน 20%
2. ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้
เน้นบริหารจัดการพื้นที่ตลาดที่มีอยู่เดิม ด้วยการเพิ่มพื้นที่และวันดำเนินการ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเครือข่าย OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร้านอาหาร และหาบเร่แผงลอย นำสินค้ามาขาย ซึ่งมีเป้าหมายจะเพิ่มผู้ประกอบการรายใหม่กว่า 21,000 ราย
พื้นที่ดำเนินการ : ทั้งหมด 2,155 แห่ง บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และสถานที่เอกชน ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ
สินค้าที่จำหน่าย : สินค้าเกษตร OTOP และสินค้าอุปโภคบริโภค
3. ตลาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ
เน้นขายสินค้าของเกษตรกรในท้องถิ่น โดยการปรับเปลี่ยนการจัดการภายในของตลาดที่มีเดิม ด้วยการลดค่าเช่า เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรนำผลผลิตของตัวเองออกมาขายได้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถรองรับผู้ประกอบการรายใหม่ได้ถึง 40,000 ราย
พื้นที่ดำเนินการ : ตลาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลาดของเทศบาล และตลาดเอกชนใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 3,822 แห่ง
สินค้าที่จำหน่าย : ผลผลิตทางการเกษตร, อาหารท้องถิ่น, สินค้าแปรรูป และผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น
4. ตลาดประชารัฐ กทม.คืนความสุข
มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีที่ค้าขาย โดยมีแผนจะเปิดตลาดทั้งหมด 14 แห่งในกรุงเทพฯ เพื่อรองรับกลุ่มผู้ค้ารายใหม่กว่า 10,000 ราย
พื้นที่ดำเนินการ : ปัจจุบันเปิดไปแล้ว 5 แห่ง ได้แก่ ใต้ทางด่วนพงษ์พระราม, หน้าภัตตาคารกุ้งหลวง, บริเวณใกล้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน, ลานจอดรถข้างสวนลุมพินี และพื้นที่ตรงข้ามวัดสุทธิวราราม (ซ.เจริญกรุง 60)
สินค้าที่จำหน่าย : อาหาร ผลิตผลทางการเกษตรและสินค้าอื่น ๆ รวมทั้งสินค้า OTOP
5. ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด
ตลาดเฉพาะกิจที่มีไว้สำหรับขายสินค้าที่มีความโดดเด่นของแต่ละจังหวัด ตามประเพณีสำคัญ หรือช่วงฤดูกาลต่าง ๆ คาดจะเพิ่มผู้ค้ารายใหม่ได้ประมาณ 15,000 ราย จากตลาดทั้งหมด 76 แห่ง
พื้นที่ดำเนินการ : บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด หน้าที่ว่าการอำเภอ สถานที่ราชการ/รัฐวิสาหกิจ และสถานที่ท่องเที่ยว ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจะจัดอย่างน้อยจังหวัดละ 1 ครั้ง
สินค้าที่จำหน่าย : สินค้า OTOP วิสาหกิจชุมชน, สินค้าโดดเด่นในพื้นที่/ของดีจังหวัด และสินค้าล้นตลาดเพื่อช่วยเกษตรกรในภูมิภาคใกล้เคียงกัน
6. ตลาดประชารัฐ Modern Trade
โดยการเพิ่มพื้นที่ตลาดในห้างสรรพสินค้าภายในจังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรนำสินค้าไปขาย ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการกว่า 3,800 ราย ให้สามารถเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น
พื้นที่ดำเนินการ : ห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 76 จังหวัดทั่วประเทศอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง
สินค้าที่จำหน่าย: ผลิตผลทางการเกษตรและสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่เป็นตามข้อตกลงของห้างสรรพสินค้า
7. ตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส.
เป็นการเพิ่มพื้นที่ขายสินค้าให้ผู้ค้ารายใหม่กว่า 1,500 ราย บริเวณหน้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
พื้นที่ดำเนินการ : บริเวณหน้า ธ.ก.ส. ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ รวม 152 แห่ง และบริเวณหน้าอาคาร ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพ ฯ อีก 1 แห่ง
สินค้าที่จำหน่าย:
- พืชผัก สินค้าหรือผลิตผลการเกษตรตามฤดูกาลของพื้นที่ โดยเน้นสินค้าที่มีคุณภาพดี
- สินค้าที่มีชื่อเสียงของพื้นที่ สินค้า OTOP ระดับ 3-5 ดาวของจังหวัด
- สินค้าที่ส่วนงานราชการส่งเสริมการผลิตในพื้นที่
- สินค้าที่มีปัญหาเรื่องราคาหรือการตลาด
- สินค้าธงฟ้าราคาประหยัด ของกระทรวงพาณิชย์
- สินค้าแปลกหรือมีชื่อเสียงจากจังหวัดอื่นหรือจังหวัดใกล้เคียง
- อาหารและเครื่องดื่ม
- สินค้าของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.
8. ตลาดประชารัฐต้องชม
เป็นการส่งเสริมตลาดชุมชนที่มีเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชม สร้างผู้ค้ารายใหม่กว่า 3,000 ราย
พื้นที่ดำเนินการ : ตลาดชุมชน ตลาดน้ำ ตลาดในแหล่งท่องเที่ยว ทั้งหมด 151 แห่งทั่วประเทศ และจะเพิ่มอีก 77 แห่งในปี 2561
สินค้าที่จำหน่าย: สินค้าเกษตร, อาหารปรุงสำเร็จ, สินค้า OTOP และสินค้า Handmade
9. ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรม
เป็นการส่งเสริมตลาดสินค้าวัฒนธรรม เปิดโอกาสให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั้งยืน ตั้งเป้าจะมีผู้ค้ารายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 5,000 ราย
พื้นที่ดำเนินการ : ถนนคนเดินทั้งหมด 76 แห่ง ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ
สินค้าที่จำหน่าย: สินค้าพื้นเมือง เช่น อาหารพื้นเมือง เสื้อผ้า ผ้าพื้นเมือง งานฝีมือของใช้ต่าง ๆ
ตลาดประชารัฐ ลงทะเบียนสมัครยังไง ?
สำหรับใครที่สนใจเข้าไปขายสินค้าในตลาดประชารัฐ ทั้ง 9 ประเภท สามารถไปลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่วันที่ 10-30 พฤศจิกายน 2560 ในเวลา 08.30-16.30 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
- ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถไปลงทะเบียนได้ที่ สำนักงานเขต ทุกเขต
- ต่างจังหวัด สามารถลงทะเบียนได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอทุกอำเภอ ทั่วประเทศ
โดยหลังจากลงทะเบียนเสร็จสิ้น แต่ละจังหวัดก็จะมีคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมสินค้าของผู้ค้าแต่ละรายว่ามีความเหมาะสมกับตลาดประเภทต่าง ๆ หรือไม่ เพื่อนำมาจัดพื้นที่ค้าขายสินค้าให้มีความเหมาะสม
ลงทะเบียนตลาดประชารัฐ ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
1. ต้องเป็นกลุ่มเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย หาบเร่แผงลอย ผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีที่สถานที่ค้าขาย หรือกลุ่มที่หน่วยงานที่กำกับตลาดได้กำหนดไว้
2. ต้องเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ หรือเป็นผู้ประกอบการที่ไม่มีสถานที่ค้าขาย
3. ต้องยื่นลงทะเบียนในพื้นที่จังหวัด/อำเภอ ที่ตัวเองอาศัยอยู่จริง
4. ต้องยื่นลงทะเบียน ณ จุดที่ส่วนราชการกำหนดไว้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
5. ต้องเข้ามาขายสินค้าด้วยตัวเอง และปฏิบัติตามกติกาเงื่อนไขของตลาด
ตลาดประชารัฐ เปิดขายของเมื่อไหร่ ?
ตลาดประชารัฐ จะเริ่มเปิดดำเนินการให้ผู้ประกอบการ พ่อค้า-แม่ค้า เข้าไปจำหน่ายสินค้าพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 5 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป
ใครที่กำลังมองหาพื้นที่ หรือทำเลดี ๆ ในการขายสินค้าอยู่ละก็ อย่ารอช้ารีบไปลงทะเบียนตลาดประชารัฐได้เลย โดยขอย้ำอีกครั้งว่าตลาดประชารัฐจะเปิดรับสมัครถึงแค่วันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้นนะ ใครมัวแต่ช้าอยู่ระวังจะพลาดโอกาสดี ๆ ไปแบบไม่รู้ตัว
https://money.kapook.com/view183292.html
สนใจรีบไปลงทะเบียนกันนะคะ...
รัฐบาลจัดให้เพื่อประชาชนได้มีที่ทำกินเป็นนโยบายที่ดีค่ะ
~มาลาริน~** นโยบายดีๆมาอีกแล้วค่ะ..."ตลาดประชารัฐ" นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจัดพื้นที่ขายของให้ปชช.และบริการปชช.ทุกชุมชน
ตลาดประชารัฐ เปิดให้พ่อค้า-แม่ค้า เกษตรกร ร้านอาหาร ที่ต้องการพื้นที่ขายสินค้าลงทะเบียนแล้ว ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 30 พฤศจิกายน 2560 ใครอยากจะสมัครเข้าร่วมตลาดประชารัฐเช็กข้อมูลก่อนเลย
เปิดให้ลงทะเบียนจับจองพื้นที่ค้าขายกันแล้วสำหรับ "ตลาดประชารัฐ" โครงการที่ช่วยเหลือให้พ่อค้า-แม่ค้า ได้มีช่องทางในการจำหน่ายสินค้ามากขึ้น ซึ่งก็ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม มีผู้เดินทางมาลงทะเบียนเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี ใครที่สนใจอยากเข้าร่วมโครงการนี้ แต่ยังไม่ได้ไปลงทะเบียน เพราะไม่รู้ว่าต้องสมัครที่ไหน อย่างไรบ้าง กระปุกดอทคอม จึงได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของตลาดประชารัฐมาฝาก เพื่อจะได้รีบไปลงทะเบียนกัน เพราะตลาดประชารัฐ จะเปิดให้ลงทะเบียนถึงแค่วันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้นนะ
ตลาดประชารัฐ คืออะไร ?
"ตลาดประชารัฐ" เป็นนโยบายส่งเสริมของรัฐบาลที่ต้องการให้มีพื้นที่ตลาดใหม่ พร้อม ๆ กับพัฒนาพื้นที่ตลาดเดิม เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้า ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หาบเร่แผงลอย วิสาหกิจชุมชน หรือร้านอาหาร รวมทั้งยังเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขายอีกด้วย
ตลาดประชารัฐ มีที่ไหนบ้าง ?
ตลาดประชารัฐ ได้จัดสรรพื้นที่ขายสินค้าไว้ให้กับประชาชนมากกว่า 6,000 แห่งทั่วประเทศ โดยแบ่งตลาดเป็น 9 รูปแบบ ดังนี้
1. ตลาดประชารัฐ Green Market
เป็นการเปิดพื้นที่ตลาดใหม่และขยายพื้นที่ตลาดเดิม โดยเน้นเปิดโอกาสให้เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย ผู้ค้าปลีก ผู้ค้าส่งและผู้ผลิตสินค้าชุมชน ที่เป็นผู้ประกอบการรายใหม่กว่า 800 ราย ให้เข้ามาขายสินค้าทางการเกษตรและอาหารปลอดภัย
พื้นที่ดำเนินการ : มีทั้งหมด 3 แห่ง ได้แก่ ตลาดตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร, ตลาดบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และตลาดลำพูน จังหวัดลำพูน
สินค้าที่จำหน่าย :
- อาหารสุขภาพอาหารปลอดภัย สินค้าโฮมเมค ผักผลไม้ สัดส่วน 50%
- อาหารพร้อมทาน สะอาด ถูกสุขอนามัย สัดส่วน 30%
- สินค้าอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ฯลฯ สัดส่วน 20%
2. ตลาดประชารัฐคนไทยยิ้มได้
เน้นบริหารจัดการพื้นที่ตลาดที่มีอยู่เดิม ด้วยการเพิ่มพื้นที่และวันดำเนินการ เพื่อให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเครือข่าย OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร้านอาหาร และหาบเร่แผงลอย นำสินค้ามาขาย ซึ่งมีเป้าหมายจะเพิ่มผู้ประกอบการรายใหม่กว่า 21,000 ราย
พื้นที่ดำเนินการ : ทั้งหมด 2,155 แห่ง บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และสถานที่เอกชน ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ
สินค้าที่จำหน่าย : สินค้าเกษตร OTOP และสินค้าอุปโภคบริโภค
3. ตลาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ
เน้นขายสินค้าของเกษตรกรในท้องถิ่น โดยการปรับเปลี่ยนการจัดการภายในของตลาดที่มีเดิม ด้วยการลดค่าเช่า เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรนำผลผลิตของตัวเองออกมาขายได้มากขึ้น ซึ่งจะสามารถรองรับผู้ประกอบการรายใหม่ได้ถึง 40,000 ราย
พื้นที่ดำเนินการ : ตลาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลาดของเทศบาล และตลาดเอกชนใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 3,822 แห่ง
สินค้าที่จำหน่าย : ผลผลิตทางการเกษตร, อาหารท้องถิ่น, สินค้าแปรรูป และผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น
4. ตลาดประชารัฐ กทม.คืนความสุข
มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีที่ค้าขาย โดยมีแผนจะเปิดตลาดทั้งหมด 14 แห่งในกรุงเทพฯ เพื่อรองรับกลุ่มผู้ค้ารายใหม่กว่า 10,000 ราย
พื้นที่ดำเนินการ : ปัจจุบันเปิดไปแล้ว 5 แห่ง ได้แก่ ใต้ทางด่วนพงษ์พระราม, หน้าภัตตาคารกุ้งหลวง, บริเวณใกล้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน, ลานจอดรถข้างสวนลุมพินี และพื้นที่ตรงข้ามวัดสุทธิวราราม (ซ.เจริญกรุง 60)
สินค้าที่จำหน่าย : อาหาร ผลิตผลทางการเกษตรและสินค้าอื่น ๆ รวมทั้งสินค้า OTOP
5. ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด
ตลาดเฉพาะกิจที่มีไว้สำหรับขายสินค้าที่มีความโดดเด่นของแต่ละจังหวัด ตามประเพณีสำคัญ หรือช่วงฤดูกาลต่าง ๆ คาดจะเพิ่มผู้ค้ารายใหม่ได้ประมาณ 15,000 ราย จากตลาดทั้งหมด 76 แห่ง
พื้นที่ดำเนินการ : บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด หน้าที่ว่าการอำเภอ สถานที่ราชการ/รัฐวิสาหกิจ และสถานที่ท่องเที่ยว ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยจะจัดอย่างน้อยจังหวัดละ 1 ครั้ง
สินค้าที่จำหน่าย : สินค้า OTOP วิสาหกิจชุมชน, สินค้าโดดเด่นในพื้นที่/ของดีจังหวัด และสินค้าล้นตลาดเพื่อช่วยเกษตรกรในภูมิภาคใกล้เคียงกัน
6. ตลาดประชารัฐ Modern Trade
โดยการเพิ่มพื้นที่ตลาดในห้างสรรพสินค้าภายในจังหวัด เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรนำสินค้าไปขาย ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการกว่า 3,800 ราย ให้สามารถเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น
พื้นที่ดำเนินการ : ห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการ 76 จังหวัดทั่วประเทศอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง
สินค้าที่จำหน่าย: ผลิตผลทางการเกษตรและสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานที่เป็นตามข้อตกลงของห้างสรรพสินค้า
7. ตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส.
เป็นการเพิ่มพื้นที่ขายสินค้าให้ผู้ค้ารายใหม่กว่า 1,500 ราย บริเวณหน้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
พื้นที่ดำเนินการ : บริเวณหน้า ธ.ก.ส. ทั้ง 76 จังหวัดทั่วประเทศ รวม 152 แห่ง และบริเวณหน้าอาคาร ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพ ฯ อีก 1 แห่ง
สินค้าที่จำหน่าย:
- พืชผัก สินค้าหรือผลิตผลการเกษตรตามฤดูกาลของพื้นที่ โดยเน้นสินค้าที่มีคุณภาพดี
- สินค้าที่มีชื่อเสียงของพื้นที่ สินค้า OTOP ระดับ 3-5 ดาวของจังหวัด
- สินค้าที่ส่วนงานราชการส่งเสริมการผลิตในพื้นที่
- สินค้าที่มีปัญหาเรื่องราคาหรือการตลาด
- สินค้าธงฟ้าราคาประหยัด ของกระทรวงพาณิชย์
- สินค้าแปลกหรือมีชื่อเสียงจากจังหวัดอื่นหรือจังหวัดใกล้เคียง
- อาหารและเครื่องดื่ม
- สินค้าของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.
8. ตลาดประชารัฐต้องชม
เป็นการส่งเสริมตลาดชุมชนที่มีเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อยกระดับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในชุมชม สร้างผู้ค้ารายใหม่กว่า 3,000 ราย
พื้นที่ดำเนินการ : ตลาดชุมชน ตลาดน้ำ ตลาดในแหล่งท่องเที่ยว ทั้งหมด 151 แห่งทั่วประเทศ และจะเพิ่มอีก 77 แห่งในปี 2561
สินค้าที่จำหน่าย: สินค้าเกษตร, อาหารปรุงสำเร็จ, สินค้า OTOP และสินค้า Handmade
9. ตลาดประชารัฐ ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรม
เป็นการส่งเสริมตลาดสินค้าวัฒนธรรม เปิดโอกาสให้ประชาชนมีพื้นที่ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั้งยืน ตั้งเป้าจะมีผู้ค้ารายใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 5,000 ราย
พื้นที่ดำเนินการ : ถนนคนเดินทั้งหมด 76 แห่ง ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ
สินค้าที่จำหน่าย: สินค้าพื้นเมือง เช่น อาหารพื้นเมือง เสื้อผ้า ผ้าพื้นเมือง งานฝีมือของใช้ต่าง ๆ
ตลาดประชารัฐ ลงทะเบียนสมัครยังไง ?
สำหรับใครที่สนใจเข้าไปขายสินค้าในตลาดประชารัฐ ทั้ง 9 ประเภท สามารถไปลงทะเบียนได้แล้วตั้งแต่วันที่ 10-30 พฤศจิกายน 2560 ในเวลา 08.30-16.30 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
- ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถไปลงทะเบียนได้ที่ สำนักงานเขต ทุกเขต
- ต่างจังหวัด สามารถลงทะเบียนได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดทุกจังหวัด และศูนย์ดำรงธรรมอำเภอทุกอำเภอ ทั่วประเทศ
โดยหลังจากลงทะเบียนเสร็จสิ้น แต่ละจังหวัดก็จะมีคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมสินค้าของผู้ค้าแต่ละรายว่ามีความเหมาะสมกับตลาดประเภทต่าง ๆ หรือไม่ เพื่อนำมาจัดพื้นที่ค้าขายสินค้าให้มีความเหมาะสม
ลงทะเบียนตลาดประชารัฐ ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
1. ต้องเป็นกลุ่มเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย หาบเร่แผงลอย ผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีที่สถานที่ค้าขาย หรือกลุ่มที่หน่วยงานที่กำกับตลาดได้กำหนดไว้
2. ต้องเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ หรือเป็นผู้ประกอบการที่ไม่มีสถานที่ค้าขาย
3. ต้องยื่นลงทะเบียนในพื้นที่จังหวัด/อำเภอ ที่ตัวเองอาศัยอยู่จริง
4. ต้องยื่นลงทะเบียน ณ จุดที่ส่วนราชการกำหนดไว้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น
5. ต้องเข้ามาขายสินค้าด้วยตัวเอง และปฏิบัติตามกติกาเงื่อนไขของตลาด
ตลาดประชารัฐ เปิดขายของเมื่อไหร่ ?
ตลาดประชารัฐ จะเริ่มเปิดดำเนินการให้ผู้ประกอบการ พ่อค้า-แม่ค้า เข้าไปจำหน่ายสินค้าพร้อมกันทั่วประเทศในวันที่ 5 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป
ใครที่กำลังมองหาพื้นที่ หรือทำเลดี ๆ ในการขายสินค้าอยู่ละก็ อย่ารอช้ารีบไปลงทะเบียนตลาดประชารัฐได้เลย โดยขอย้ำอีกครั้งว่าตลาดประชารัฐจะเปิดรับสมัครถึงแค่วันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เท่านั้นนะ ใครมัวแต่ช้าอยู่ระวังจะพลาดโอกาสดี ๆ ไปแบบไม่รู้ตัว
https://money.kapook.com/view183292.html
สนใจรีบไปลงทะเบียนกันนะคะ...
รัฐบาลจัดให้เพื่อประชาชนได้มีที่ทำกินเป็นนโยบายที่ดีค่ะ