~มาลาริน~** แก้ไขความยากจน..ต้องให้ประชาชนเข้าถึงอาหาร ปัจจัยพื้นฐาน..ลุงสมคิดลุงตู่มาถูกทางแล้วค่ะ 🍞🥗🍜🍝🥛🍶🥚

กระทู้คำถาม


“ความยากจน” คืออะไร?

บทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าความยากจนคืออะไร มีจุดเริ่มต้นมาจากไหน และทำไมจึงแก้ไขได้ยากยิ่ง รวมทั้งยังได้เกริ่นถึงโครงการของช่างภาพคนหนึ่งที่ตระเวนถ่ายภาพทางเลือกของคนจนในแต่ละประเทศมาให้ชมกันด้วย


นิยามของธนาคารโลก ระบุว่า “ความยากจน” คือ “สภาวะที่อัตคัดอย่างที่ไม่อาจยอมรับได้ (unacceptable deprivation) ของมนุษย์ปุถุชน”


แนวคิดของการพิจารณาความอัตคัดที่ว่ามาทำให้เกิดแนวทางการวัดว่าใครคือคนจนสองแนวทาง หนึ่งคือ วัดคนจนแบบจนอย่างสัมบูรณ์ (absolute poverty) หมายถึง คนที่มีน้อยกว่าที่จําเป็นจะต้องมี จนไม่สามารถมีความมั่นคงในการเสาะหาสินค้าหรือบริการที่ให้พอเพียงแก่ความจําเป็นพื้นฐานในการดํารงชีพ และสองคือ วัดคนจนแบบจนโดยเปรียบเทียบ (relative poverty) หมายถึง คนที่มีน้อยกว่าคนอื่นๆ ในสังคมโดยเปรียบเทียบ

ในปัจจุบัน การพัฒนาเศรษฐกิจทำให้คนจนโดยสัมบูรณ์ ซึ่งไม่มีอันจะกินนั้น มีแนวโน้มลดลง โดยหากพิจารณาจากเส้นความยากจน (poverty line) ซึ่งหมายถึง”รายจ่ายที่ต่ำที่สุดที่เขาสามารถซื้ออาหารให้มีสารอาหารเพียงพอเพื่อประทังชีพได้” แล้วล่ะก็จะพบว่าจำนวนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนมีแนวโน้มลดลง


สาเหตุของความยากจน?


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ความยากจนที่เห็นภาพ

ที่ประเทศจีน ช่างภาพมืออาชีพ Stefen Chow ได้ตอบคำถามเรื่องความยากจนผ่านโครงการที่มีชื่อว่า “Poverty line” โดยเขาเล่าว่า เขาเกิดในครอบครัวที่พอมีอันจะกิน ในระดับที่มีสวนกว้างพอจะสามารถขว้างบูมเมอแรงได้ แต่เมื่อโตพอที่จะเข้าโรงเรียน ครอบครัวของเขากลับถังแตกถึงขนาดเกือบไม่มีจะกิน คำถามเรื่องความรวยความจนจึงเกิดในหัวของเขาหลังจากนั้น

โครงการ “Poverty line” ค้นหาความหมายของความยากจนผ่านภาพถ่ายที่ตั้งเส้นแบ่งของความยากจนจากประเทศต่างๆ ผ่านแนวคิดที่ว่า One frame, one day, one person โดยเขาสนใจปริมาณแคลอรี่ในอาหารต่อหนึ่งวันที่คนยากจนในท้องถิ่นนั้นจะหาทานได้ และถ่ายภาพนั้นจะใช้หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเป็นพื้นหลัง เพราะความยากจนสำหรับเขา คือ การที่คนมีทางเลือกในการเข้าถึงอาหารที่จำกัด มันใช้ชีวิตยากลำบากกว่าคนอื่น และในแต่ละที่ก็มีทางเลือกที่จำกัดแตกต่างกันหลากรูปแบบ การถ่ายภาพอาหารของเขาที่ได้จากการลงไปสัมผัสพื้นที่ต่างๆ และนี่คือส่วนหนึ่งของภาพจากโครงการ “Poverty line”



“ไทย ความยากจนอยู่ที่ THB 52.87 = USD 1.71″




ฝรั่งเศส ความยากจนอยู่ที่ EUR 5.60 = USD 7.68″




“ญี่ปุ่น ความยากจนอยู่ที่ 394 Yen = 4.88 USD”




จีน ความยากจนอยู่ที่ CNY 6.30 = USD 1.00″




“USA ความยากจนอยู่ที่ USD 4.91 = EUR 3.60″



กล่าวโดยสรุปก็คือ ความยากจนเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานาน เป็นที่สงสัยและถูกตั้งคำถามได้ง่าย แต่แก้ไขได้ยาก อย่างไรก็ตาม หลายประเทศเริ่มยอมรับแนวคิดของกลุ่มที่สามมากขึ้น คือเริ่มจากการนิยามความหมายของคำว่าคนจนให้ตรงกันในทุกหน่วยงานและจัดสรรงบประมาณอย่างมียุทธศาสตร์ตรงเข้าไปแก้ไขคนจนที่ถูกนิยามเหมือนกันก่อน ซึ่งจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าให้นโยบายกว้างๆ และทุกหน่วยงานเข้าไปแก้ไขกันเอง ซึ่ง [เสด-ถะ-สาด].com ก็หวังว่าวันหนึ่งจะเห็นยุทธศาสตร์เช่นนี้เกิดขึ้นกับรัฐไทยและเห็นภาพของคนจนในประเทศไทยลดลงให้เหลือน้อยที่สุดให้ได้

อีกเรื่องหนึ่งคือ พอเห็นอาหารที่พอจะเลือกได้สำหรับคนจนแล้วล่ะก็ลองเลือกกันดูนะครับว่าเป็นคนจนที่ไหนดี สำหรับผมแล้ว ประเทศไทยดีที่สุดครับ ^^

ติดตามรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ค่ะ

http://setthasat.com/2012/08/15/what-is-poverty/



ความยากจนเป็นปัญหาที่ถูกตั้งคำถามมานานยังไม่มีรัฐบาลไหนแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน  ความยากจนก็ยังคงมีต่อไป

อ่านบทความนี้แล้วเริ่มเห็นภาพของการแก้ปัญหาของลุงสมคิดในเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่รัฐบาลลุงตู่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในการยังชีพนะคะ  

เมื่อคนจนที่มีรายได้น้อยในประเทศ...
ไม่สามารถมีความมั่นคงในการเสาะหาสินค้าหรือบริการที่ให้พอเพียงแก่ความจําเป็นพื้นฐานในการดํารงชีพได้  การที่รัฐเข้าช่วยเหลือเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงเป้าหมาย


เพื่อแก้ไขปัญหาของคนจนและยกระดับมาตรฐานชีวิตที่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง
และติดตามมาด้วยการช่วยเหลือด้านอื่นๆอย่างยั่งยืน

ถ้าแก้ปัญหาครั้งนี้ตรงจุด..เป็นเรื่องที่ดีสำหรับประเทศไทยที่ประชาชนจะค่อยๆยกระดับคุณภาพชีวิตดีขึ้น  มีความหวังที่จะได้เข้าถึงโอกาสที่ดีในการทำมาหากิน  หลุดพ้นจากความยากจนกันไปบ้างเสียที

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่