วันนี้คงเห็นข่าว ที่ครูลงโทษนักเรียนที่ทำผิดระเบียบเรื่องการไว้ผมยาว ด้วยการกร้อนผม
และก็มีความคิดเห็นใน Facebook จำนวนหนึ่งว่า นักเรียนผิดที่ไม่สามารถรักษากฎระเบียบได้ นักเรียนต้องมีระเบียบ
สังคมจะพัฒนา
แต่ผมรู้สึกตรงกันข้าม การลงโทษกร้อนผมนักเรียน คือการบ่งชี้ว่า สังคมนี้กฎหมายไม่มีความสำคัญ อำนาจอยู่เหนือกว่า
ที่ผมคิดเห็นแบบนี้
ก่อนอื่น ขอกล่าวถึงลำดับขั้นของกฎหมาย
คือ รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ. พ.ร.ก พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎหมายท้องถิ่น
ซึ่งโรงเรียนอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกฎโรงเรียนเล็กยิ่งกว่ากฎหมายท้องถิ่นอีก
โดยประเด็นทรงผม จะอ้างอิงถึง
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32712&Key=news_act
ที่เด่นชัด คือ
ให้ตัดคำว่า “ โรงเรียนอาจกำหนดแบบทรงผมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ โดยให้รับฟังความคิดเห็นและทำประชาพิจารณ์ร่วมกับนักเรียนให้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาก่อน” ออกไป ซึ่งหมายความว่า กฎกระทรวงฉบับนี้จะเปิดกว้างให้อิสระกับนักเรียน ขณะที่โรงเรียนไม่มีสิทธิไปกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ เดิมกฎกระทรวงกำหนดว่าเด็กผู้หญิงไว้ผมยาวได้แต่ต้องรวบให้เรียบร้อย แต่บางโรงเรียนกำหนดเพิ่มเติมว่าการรวบให้เรียบร้อย อาจจะหมายถึงการถึงผมเปียอย่างเดียว หรือบางโรงเรียนอาจจะกำหนดว่า ไม่ให้ผมยาวเลยตีนผมไปเกินกว่า 8 นิ้ว เป็นต้น
ดังนั้น หากตัดถ้อยคำนี้ออก เท่ากับว่าโรงเรียนจะไม่สามารถกำหนดอะไรเพิ่มเติมได้อีกเลย เพราะในร่างกฎกระทรวงไม่ได้ให้อำนาจไว้ ซึ่งการแก้ร่างกฎกระทรวงฯ ครั้งนี้ รมว.ศธ.เป็นผู้ขีดฆ่าถ้อยคำ และพิจารณาข้อกฎหมายด้วยตนเอง
ซึ่งหลายคนอาจแย้งว่า กระทรวงไม่ได้บังคับ ยังให้อำนาจโรงเรียนออกกฎได้อยู่
จึงขออ้างถึง กฎกระทรวงอีกฉบับ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน
http://chiangrung.ac.th/sa/modules/downloads/file/t_48.pdf
โดยสรุป คือ ครูมีอำนาจลงโทษนักเรียนได้ 4 วิธี คือ ตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนนทำกิจกรรมเปลี่ยนพฤติกรรม
ไม่มีการอนุญาตให้กร้อนผม
พออ้างถึง 2 ฉบับนี้ ผมว่าพอจะเห็นภาพได้แล้วว่า ครูที่ลงโทษนักเรียนด้วยการกร้อนผมนั้น กระทำไปโดยละเมิดกฎหมาย
แต่ครูกลับบอกว่า ทำไปเพื่อให้เคารพระเบียบ ย้อนแย้งมาก
นอกจากนี้ ยังมีหลายความเห็นที่ชอบบอกในลักษณะ นักเรียนรับทราบกฎแล้วตอนเข้าเรียน ก็ต้องรับสภาพ ถ้าไม่อยากตัดผมก็เลือกโรงเรียนที่อนุญาต
แปลกดีนะ ระเบียบโรงเรียนที่สังกัดกระทรวง รับเงินที่ปันภาษีมาจากกระทรวง ดันไม่ทำตามกฎหมายเสีย
ถ้ายึดตรรกะเดียวกัน โรงเรียนหรือเปล่าที่หากอยากออกระเบียบทรงผม การลงโทษ ควรออกจากกระทรวงไป ครูก็ออกจากการรับเงินเดือนจากกระทรวง
เพราะไม่เชื่อมั่น ไม่ปฎิบัติตามระเบียบ จะทนอยู่ไปทำไม?
การที่ครูยังคงกร้อนผมนักเรียน มันก็เป็นการแสดงออกว่า อำนาจอยู่เหนือกฎหมาย
ครูไม่ต้องทำตามกฎหมายได้ ครูสามารถละเมิดกฎหมายได้ เพราะครูมีอำนาจ
ความยุติธรรมไม่มีอยู่ ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายไม่มีจริง
เพราะอำนาจเหนือกว่าทุกสิ่ง ต่อให้ทำผิดกฎหมายแต่มีอำนาจก็ไม่มีใครเอาผิดได้
ต่อให้ครูทำผิด แต่ครูมีอำนาจในการให้ผลประโยชน์แก่นักเรียน ใครกล้าต่อกรย่อมเผชิญปัญหา
เบาๆ แค่ลงโทษ หนักๆ คือ อยู่ต่อไม่ได้
ใครที่สนับสนุนการกร้อนผม ก็เช่นเดียวกัน ก็คือคนที่สนับสนุนการกระทำผิดกฎหมาย และใช้อำนาจปกปิดความถูกต้อง
สังคมจะพัฒนาได้แบบไหน ถ้าคนที่ละเมิดกฎหมายมาสอนให้เคารพกฎหมาย
การกร้อนผมนักเรียน คือ การแสดงออกว่ากฎระเบียบนั้นไม่สำคัญ!!!!
และก็มีความคิดเห็นใน Facebook จำนวนหนึ่งว่า นักเรียนผิดที่ไม่สามารถรักษากฎระเบียบได้ นักเรียนต้องมีระเบียบ
สังคมจะพัฒนา
แต่ผมรู้สึกตรงกันข้าม การลงโทษกร้อนผมนักเรียน คือการบ่งชี้ว่า สังคมนี้กฎหมายไม่มีความสำคัญ อำนาจอยู่เหนือกว่า
ที่ผมคิดเห็นแบบนี้
ก่อนอื่น ขอกล่าวถึงลำดับขั้นของกฎหมาย
คือ รัฐธรรมนูญ พ.ร.บ. พ.ร.ก พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง กฎหมายท้องถิ่น
ซึ่งโรงเรียนอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และกฎโรงเรียนเล็กยิ่งกว่ากฎหมายท้องถิ่นอีก
โดยประเด็นทรงผม จะอ้างอิงถึง
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32712&Key=news_act
ที่เด่นชัด คือ
ให้ตัดคำว่า “ โรงเรียนอาจกำหนดแบบทรงผมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎกระทรวงนี้ โดยให้รับฟังความคิดเห็นและทำประชาพิจารณ์ร่วมกับนักเรียนให้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาก่อน” ออกไป ซึ่งหมายความว่า กฎกระทรวงฉบับนี้จะเปิดกว้างให้อิสระกับนักเรียน ขณะที่โรงเรียนไม่มีสิทธิไปกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เพิ่มเติม อาทิ เดิมกฎกระทรวงกำหนดว่าเด็กผู้หญิงไว้ผมยาวได้แต่ต้องรวบให้เรียบร้อย แต่บางโรงเรียนกำหนดเพิ่มเติมว่าการรวบให้เรียบร้อย อาจจะหมายถึงการถึงผมเปียอย่างเดียว หรือบางโรงเรียนอาจจะกำหนดว่า ไม่ให้ผมยาวเลยตีนผมไปเกินกว่า 8 นิ้ว เป็นต้น
ดังนั้น หากตัดถ้อยคำนี้ออก เท่ากับว่าโรงเรียนจะไม่สามารถกำหนดอะไรเพิ่มเติมได้อีกเลย เพราะในร่างกฎกระทรวงไม่ได้ให้อำนาจไว้ ซึ่งการแก้ร่างกฎกระทรวงฯ ครั้งนี้ รมว.ศธ.เป็นผู้ขีดฆ่าถ้อยคำ และพิจารณาข้อกฎหมายด้วยตนเอง
ซึ่งหลายคนอาจแย้งว่า กระทรวงไม่ได้บังคับ ยังให้อำนาจโรงเรียนออกกฎได้อยู่
จึงขออ้างถึง กฎกระทรวงอีกฉบับ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียน
http://chiangrung.ac.th/sa/modules/downloads/file/t_48.pdf
โดยสรุป คือ ครูมีอำนาจลงโทษนักเรียนได้ 4 วิธี คือ ตักเตือน ทำทัณฑ์บน ตัดคะแนนทำกิจกรรมเปลี่ยนพฤติกรรม
ไม่มีการอนุญาตให้กร้อนผม
พออ้างถึง 2 ฉบับนี้ ผมว่าพอจะเห็นภาพได้แล้วว่า ครูที่ลงโทษนักเรียนด้วยการกร้อนผมนั้น กระทำไปโดยละเมิดกฎหมาย
แต่ครูกลับบอกว่า ทำไปเพื่อให้เคารพระเบียบ ย้อนแย้งมาก
นอกจากนี้ ยังมีหลายความเห็นที่ชอบบอกในลักษณะ นักเรียนรับทราบกฎแล้วตอนเข้าเรียน ก็ต้องรับสภาพ ถ้าไม่อยากตัดผมก็เลือกโรงเรียนที่อนุญาต
แปลกดีนะ ระเบียบโรงเรียนที่สังกัดกระทรวง รับเงินที่ปันภาษีมาจากกระทรวง ดันไม่ทำตามกฎหมายเสีย
ถ้ายึดตรรกะเดียวกัน โรงเรียนหรือเปล่าที่หากอยากออกระเบียบทรงผม การลงโทษ ควรออกจากกระทรวงไป ครูก็ออกจากการรับเงินเดือนจากกระทรวง
เพราะไม่เชื่อมั่น ไม่ปฎิบัติตามระเบียบ จะทนอยู่ไปทำไม?
การที่ครูยังคงกร้อนผมนักเรียน มันก็เป็นการแสดงออกว่า อำนาจอยู่เหนือกฎหมาย
ครูไม่ต้องทำตามกฎหมายได้ ครูสามารถละเมิดกฎหมายได้ เพราะครูมีอำนาจ
ความยุติธรรมไม่มีอยู่ ระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายไม่มีจริง
เพราะอำนาจเหนือกว่าทุกสิ่ง ต่อให้ทำผิดกฎหมายแต่มีอำนาจก็ไม่มีใครเอาผิดได้
ต่อให้ครูทำผิด แต่ครูมีอำนาจในการให้ผลประโยชน์แก่นักเรียน ใครกล้าต่อกรย่อมเผชิญปัญหา
เบาๆ แค่ลงโทษ หนักๆ คือ อยู่ต่อไม่ได้
ใครที่สนับสนุนการกร้อนผม ก็เช่นเดียวกัน ก็คือคนที่สนับสนุนการกระทำผิดกฎหมาย และใช้อำนาจปกปิดความถูกต้อง
สังคมจะพัฒนาได้แบบไหน ถ้าคนที่ละเมิดกฎหมายมาสอนให้เคารพกฎหมาย