เนื่องจากศึกษาเรื่อง บล๊อกมาซักระยะ หนึง เลยอยากแบ่งปันข้อมูลที่ได้ศึกษามา เพื่อเป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อ ชุดประแจบล๊อก หากผิดพลาดตรงไหนยินดีน้อมรับ และชี้แนะได้ครับ
ถ้าจะพูดเรื่องเครื่องมือ Hand tool ผมคิดว่าประแจบล๊อกนับเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูง อันดับต้นๆ เนื่องจาก การใช้งานไขน๊อต มีความแน่นอนแม่นยำกว่าเมื่อเทียบประแจแหวน หรือประแจข้าง ธรรมดา การไขที่สะดวกรวดเร็วกว่าเพราะมี ด้ามฟรีช่วย หากมีไว้จะดูเหมือนมืออาชีพ และที่สำคัญ มีราคาสูงอับดับต้นๆของ Handtool ถ้าซื้อเป็นชุดจะมีกล่องที่ดูเรียบร้อย ราคาก็ขึ้นอยู่กับ จำนวนชิ้นของอุปกรณ์ที่บรรจุอยู่ในกล่องด้วย
อุปกรณ์ ที่อยู่ในกล่อง จะประกอบด้วย อุปกรณ์หลักๆ คือ ลูกบล๊อก ด้ามฟรี ตัวต่อเพิ่มระยะ และ อุปกรณ์อื่นๆ
ภาพประกอบจากเว๊ป Thaihandtool.com
กระทู้นี้ เราจะมากล่าวถึงเรื่อง ลูกบล๊อก ด้ามฟรีกันเป็นหลัก นะครับ เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของชุดประแจ บล๊อก
ลูกบล๊อก
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไขNut หรือ Bolt มี 2 แบบ คือตัวผู้ ( Bit ) กับ ตัวเมีย (Socket ) และแบ่งตามลักษณะหัวน๊อตไปได้อีกเป็น 10 กว่าแบบแตกต่างกัน ที่นิยมจะเป็นแบบ Socket หกเหลี่ยม ลูกบล๊อกทำมาจากเหล็กแข็ง CRV หรือ CrMO อย่างแบบหกเหลี่ยมตัวเมีย มีทั้งแบบ 6 เหลี่ยม และ 12 เหลี่ยม ซึ่งทั้งคู่ไขน๊อตหกเหลี่ยมได้เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ 12 เหลี่ยมจะไขได้ละเอียดกว่าในที่แคบ ขยับด้ามเพียงครึ่งเดียวของหกเหลี่ยมก็จะไขได้ 1 แกร็ก แต่จะมีข้อเสียคือเหล็กจะบางกว่า 6 เหลี่ยม เพราะโดนตัดไปเป็นเหลี่ยมที่เพิ่มขึ้น ทำให้เวลาใช้กับงานหนักๆ 6 เหลี่ยมจะไขด้วยแรงที่สูงกว่า 12 เหลี่ยมได้ ลูกบล๊อกก็จะแบ่งตามลักษณะที่กล่าวไป เป็นลูกบล๊อกสั้น ลูกบล็อกยาว ลูกบล๊อกถนอมมุม ลูกบล๊อกสำหรับน๊อตหัวรูด และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งหากมีลูกบล๊อกหลายแบบก็เท่ากับว่า เรามีอาวุธในการต่อกร กับปัญหามากขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับ ราคาลูกบล๊อกที่ต้องจ่าย เพราะลูกบล๊อกเองมีหลายขนาด แต่ละขนาดก็ต้องซื้อ 1 ลูก ถ้าเรามี บล๊อก ทุกแบบ ทุกขนาด จะทำให้เราสิ้นเปลืองงบประมาณค่อนข้างสูง
มาตรฐานของลูกบล๊อก Socket เองก็ยังแบ่งไปได้อีก 2 แบบ คือ มิล กับ นิ้ว สะสมได้ครบทุกแบบ ทุกเบอร์นี่ คือสุดยอดแน่นอนครับ เพราะมันเยอะจริงๆ ในทางปฎิบัติเราคงจะเลือกสะสมแค่เฉพาะที่ใช้งาน เท่านั้น คือ Socket 6 เหลี่ยม หรือ 12 เหลี่ยม มิล กับ นิ้ว โดยมาตรฐานมิลจะได้รับความนิยมสูงกว่า จึงน่าจะเป็นบล๊อกชุดแรกๆที่น่าซื้อมาใช้
ลูกบล๊อกที่ดี ต้องผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการควบคุมการผลิตที่สูง ระยะ Clearances ต้องน้อย ความขรุขระหรือ roughness ต้องน้อย การเคลือบผิวและชุบแข็งต้องมีควาละเอียดและพิถีพิถัน
ขนาดของลูกบล๊อกมี 2 ด้าน คือด้านที่ต่อกับด้าม เป็นสีเหลี่ยมจตุรัส ด้านในจะเซาะร่องสี่ด้าน ให้ลูกบอลของด้ามไขมาล๊อกกับลูกบล๊อก มีขนาด ¼” 3/8” ½” ¾” และ 1 “ นิ้วเรียกว่า ขนาด Drive shaft ส่วนอีกด้านก็จะเป็น หกเหลี่ยมตามขนาดน๊อต 3 -100 มิล และ 1/8” – 3 ¾ นิ้ว ซึ่งขนาดของด้านใช้งานจะขึ้นอยู่กับ Drive shaft ด้วย Drive shaft ¼” จะใช้กับน๊อต 3-14mm Drive 3/8” จะใช้กับ น๊อต 5-24 mm Drive ½” จะใช้กับน๊อต 8-34 mm Drive ¾” ใช้กับน๊อต 17-85 mm Drive 1” ใช้กับน๊อต 24-100 mm
รูปแสดงชนิด Socket แบบต่างๆ
รูปแสดงการออกแบบของลูกบล๊อกถนอมมุม
รูปแสดง Size ของลูกบล๊อก
ด้ามฟรี หรือ กรอกแกรก
ภาพ ประกอบ จากเวป Thaihandtool
เป็นด้ามขันที่สามารถฟรีในทิศตรงข้ามกับที่เราต้องการจะไข คือไขแล้วดึงด้ามกลับมาแล้วไขต่อได้เลย ไม่ต้อง ยก หรือถอด ด้ามไขออกจากหัวน๊อต ด้ามฟรีมีขนาด มาตรฐานหัวที่จะไปต่อกับบล๊อก( Drive Shaft) อยู่ 4-5 ขนาด คือ ¼” 3/8” ½” ¾” 1” ระยะทั้งหมดจะเป็น ด้านทั้งสี่ ของสี่เหลี่ยมจตุรัส เป็นตัวผู้ มีปุ่มเหล็กกลมๆโผล่ออกมาด้านหนึงเพื่อล๊อกลูกบล๊อกให้เข้ากับด้าม ส่วนความยาวด้านก็แล้วแต่ผู้ผลิต ยิ่งยาวมาก ก็จะมีแรงขันมาก เพราะ แรงขัน เกิดจากแรงมือของเรา คูณ ด้วยระยะด้ามขัน ทั้งนี้ ความยาวของด้านจะสัมพันธ์กับ ขนาด ของ Drive Shaft เพราะถ้าด้ามยาวเกินไปแรงที่กระทำต่อตัว Drive shaft จะสูงเกินไปทำให้อุปกรณ์เสียหายได้
ด้ามฟรีจะมีการออกแบบเฟืองภายใน แตกต่างกัน โดย บางยี่ห้อออกแบบให้ละเอียด บางยี่ห้อออกแบบให้หยาบ ที่พบจะเป็น 24 ,30 ,45 ,60 และ 72 ฟัน ก็จะได้เปรียบกันคนละอย่าง เฟื่องหยาบก็ทนทานกว่า เฟืองละเอียดก็ไขด้ามฟรีได้ละเอียดกว่าแม้ในมุมที่แคบๆ อย่าง 24 ฟัน จะมีมุม ขันเท่ากับ 360/24 = 15 องศา 72 ฟัน ก็จะมี มุมขัน 5 องศา แปลว่าในที่แคบเราสามารถขยับด้ามฟรีเพียงนิดเดียวก็ไขน๊อตได้
ทั้งนี้ ด้ามฟรีบางอัน จะมีระบบปุ่มกด เพื่อปลดล๊อกลูกบล๊อกด้วย ในกรณีที่มือเราลื่นบางครั้งการดึงเปลี่ยนลูกบล๊อกจะยาก ส่วนตัวชอบระบบกดปลดล๊อกแบบนี้ครับ
ส่วนด้ามจับก็จะมีแบบยาง แบบโลหะที่เซาะลายกันลื่นมาให้ ก็แล้วแต่ชอบเลยครับ เดี๋ยวนี้มีด้ามยก เพื่อหลบ สิ่งกีดขวางเวลาขันด้วย
รูปแสดง ภายในของด้ามฟรี รูปนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ของ Koken เรียกว่ารุ่น Z
แบรนด์ ที่ ทำตลาดในไทย
จริงๆมีตั้งแต่ระดับ บน drive ½ “ชุดละ 30,000++ บาท จนถึง ชุดละไม่ถึง 1,000 บาท เลยเรียกว่าหลากหลายราคามาก
ยี่ห้อที่นิยมกัน คงจะไม่พ้น Koken คุณภาพดี ในราคาที่พอจะเอื้อมถึง และอะไหล่ อุปกรณ์ทดแทนหาง่าย ราคาชุดหนึ่งก็ 4,500 -8,500 สำหรับชุด ½”
แบรนด์ทีเห็นในตลาดแบ่งตามความเห็นส่วนตัวนะครับ ก็จะมี
Excellent
Snap on
Facom
Stahlwille
Proto
Matador
Hazet
WERA
Very good
Koken
Unior
TONE
KTC
Chanellock
Good
SATA
Kingtony
Blue point
Spero
Medium
Stanley
Fixman
Tactix
Yato
Dragon
อื่นๆ
สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความที่พยายามเขียนมาจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ ถ้ามีคำถามหรืออะไรที่พอตอบได้ก็ยินดีตอบทุกท่านครับ ขอบคุณครับ
PS . เผอิญผมเขียนภาค 2 เรื่องไขควง ถ้าสนใจ ติดตาม ได้นะครับ
https://ppantip.com/topic/37102007
มารู้จักการเลือกซื้อ ประแจบล๊อก เบื้องต้นกันครับ
ถ้าจะพูดเรื่องเครื่องมือ Hand tool ผมคิดว่าประแจบล๊อกนับเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมสูง อันดับต้นๆ เนื่องจาก การใช้งานไขน๊อต มีความแน่นอนแม่นยำกว่าเมื่อเทียบประแจแหวน หรือประแจข้าง ธรรมดา การไขที่สะดวกรวดเร็วกว่าเพราะมี ด้ามฟรีช่วย หากมีไว้จะดูเหมือนมืออาชีพ และที่สำคัญ มีราคาสูงอับดับต้นๆของ Handtool ถ้าซื้อเป็นชุดจะมีกล่องที่ดูเรียบร้อย ราคาก็ขึ้นอยู่กับ จำนวนชิ้นของอุปกรณ์ที่บรรจุอยู่ในกล่องด้วย
อุปกรณ์ ที่อยู่ในกล่อง จะประกอบด้วย อุปกรณ์หลักๆ คือ ลูกบล๊อก ด้ามฟรี ตัวต่อเพิ่มระยะ และ อุปกรณ์อื่นๆ
ภาพประกอบจากเว๊ป Thaihandtool.com
กระทู้นี้ เราจะมากล่าวถึงเรื่อง ลูกบล๊อก ด้ามฟรีกันเป็นหลัก นะครับ เพราะเป็นส่วนประกอบสำคัญของชุดประแจ บล๊อก
ลูกบล๊อก
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ไขNut หรือ Bolt มี 2 แบบ คือตัวผู้ ( Bit ) กับ ตัวเมีย (Socket ) และแบ่งตามลักษณะหัวน๊อตไปได้อีกเป็น 10 กว่าแบบแตกต่างกัน ที่นิยมจะเป็นแบบ Socket หกเหลี่ยม ลูกบล๊อกทำมาจากเหล็กแข็ง CRV หรือ CrMO อย่างแบบหกเหลี่ยมตัวเมีย มีทั้งแบบ 6 เหลี่ยม และ 12 เหลี่ยม ซึ่งทั้งคู่ไขน๊อตหกเหลี่ยมได้เหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่ 12 เหลี่ยมจะไขได้ละเอียดกว่าในที่แคบ ขยับด้ามเพียงครึ่งเดียวของหกเหลี่ยมก็จะไขได้ 1 แกร็ก แต่จะมีข้อเสียคือเหล็กจะบางกว่า 6 เหลี่ยม เพราะโดนตัดไปเป็นเหลี่ยมที่เพิ่มขึ้น ทำให้เวลาใช้กับงานหนักๆ 6 เหลี่ยมจะไขด้วยแรงที่สูงกว่า 12 เหลี่ยมได้ ลูกบล๊อกก็จะแบ่งตามลักษณะที่กล่าวไป เป็นลูกบล๊อกสั้น ลูกบล็อกยาว ลูกบล๊อกถนอมมุม ลูกบล๊อกสำหรับน๊อตหัวรูด และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งหากมีลูกบล๊อกหลายแบบก็เท่ากับว่า เรามีอาวุธในการต่อกร กับปัญหามากขึ้น แต่ก็ต้องแลกกับ ราคาลูกบล๊อกที่ต้องจ่าย เพราะลูกบล๊อกเองมีหลายขนาด แต่ละขนาดก็ต้องซื้อ 1 ลูก ถ้าเรามี บล๊อก ทุกแบบ ทุกขนาด จะทำให้เราสิ้นเปลืองงบประมาณค่อนข้างสูง
มาตรฐานของลูกบล๊อก Socket เองก็ยังแบ่งไปได้อีก 2 แบบ คือ มิล กับ นิ้ว สะสมได้ครบทุกแบบ ทุกเบอร์นี่ คือสุดยอดแน่นอนครับ เพราะมันเยอะจริงๆ ในทางปฎิบัติเราคงจะเลือกสะสมแค่เฉพาะที่ใช้งาน เท่านั้น คือ Socket 6 เหลี่ยม หรือ 12 เหลี่ยม มิล กับ นิ้ว โดยมาตรฐานมิลจะได้รับความนิยมสูงกว่า จึงน่าจะเป็นบล๊อกชุดแรกๆที่น่าซื้อมาใช้
ลูกบล๊อกที่ดี ต้องผลิตจากวัสดุที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีการควบคุมการผลิตที่สูง ระยะ Clearances ต้องน้อย ความขรุขระหรือ roughness ต้องน้อย การเคลือบผิวและชุบแข็งต้องมีควาละเอียดและพิถีพิถัน
ขนาดของลูกบล๊อกมี 2 ด้าน คือด้านที่ต่อกับด้าม เป็นสีเหลี่ยมจตุรัส ด้านในจะเซาะร่องสี่ด้าน ให้ลูกบอลของด้ามไขมาล๊อกกับลูกบล๊อก มีขนาด ¼” 3/8” ½” ¾” และ 1 “ นิ้วเรียกว่า ขนาด Drive shaft ส่วนอีกด้านก็จะเป็น หกเหลี่ยมตามขนาดน๊อต 3 -100 มิล และ 1/8” – 3 ¾ นิ้ว ซึ่งขนาดของด้านใช้งานจะขึ้นอยู่กับ Drive shaft ด้วย Drive shaft ¼” จะใช้กับน๊อต 3-14mm Drive 3/8” จะใช้กับ น๊อต 5-24 mm Drive ½” จะใช้กับน๊อต 8-34 mm Drive ¾” ใช้กับน๊อต 17-85 mm Drive 1” ใช้กับน๊อต 24-100 mm
รูปแสดงชนิด Socket แบบต่างๆ
รูปแสดงการออกแบบของลูกบล๊อกถนอมมุม
รูปแสดง Size ของลูกบล๊อก
ด้ามฟรี หรือ กรอกแกรก
ภาพ ประกอบ จากเวป Thaihandtool
เป็นด้ามขันที่สามารถฟรีในทิศตรงข้ามกับที่เราต้องการจะไข คือไขแล้วดึงด้ามกลับมาแล้วไขต่อได้เลย ไม่ต้อง ยก หรือถอด ด้ามไขออกจากหัวน๊อต ด้ามฟรีมีขนาด มาตรฐานหัวที่จะไปต่อกับบล๊อก( Drive Shaft) อยู่ 4-5 ขนาด คือ ¼” 3/8” ½” ¾” 1” ระยะทั้งหมดจะเป็น ด้านทั้งสี่ ของสี่เหลี่ยมจตุรัส เป็นตัวผู้ มีปุ่มเหล็กกลมๆโผล่ออกมาด้านหนึงเพื่อล๊อกลูกบล๊อกให้เข้ากับด้าม ส่วนความยาวด้านก็แล้วแต่ผู้ผลิต ยิ่งยาวมาก ก็จะมีแรงขันมาก เพราะ แรงขัน เกิดจากแรงมือของเรา คูณ ด้วยระยะด้ามขัน ทั้งนี้ ความยาวของด้านจะสัมพันธ์กับ ขนาด ของ Drive Shaft เพราะถ้าด้ามยาวเกินไปแรงที่กระทำต่อตัว Drive shaft จะสูงเกินไปทำให้อุปกรณ์เสียหายได้
ด้ามฟรีจะมีการออกแบบเฟืองภายใน แตกต่างกัน โดย บางยี่ห้อออกแบบให้ละเอียด บางยี่ห้อออกแบบให้หยาบ ที่พบจะเป็น 24 ,30 ,45 ,60 และ 72 ฟัน ก็จะได้เปรียบกันคนละอย่าง เฟื่องหยาบก็ทนทานกว่า เฟืองละเอียดก็ไขด้ามฟรีได้ละเอียดกว่าแม้ในมุมที่แคบๆ อย่าง 24 ฟัน จะมีมุม ขันเท่ากับ 360/24 = 15 องศา 72 ฟัน ก็จะมี มุมขัน 5 องศา แปลว่าในที่แคบเราสามารถขยับด้ามฟรีเพียงนิดเดียวก็ไขน๊อตได้
ทั้งนี้ ด้ามฟรีบางอัน จะมีระบบปุ่มกด เพื่อปลดล๊อกลูกบล๊อกด้วย ในกรณีที่มือเราลื่นบางครั้งการดึงเปลี่ยนลูกบล๊อกจะยาก ส่วนตัวชอบระบบกดปลดล๊อกแบบนี้ครับ
ส่วนด้ามจับก็จะมีแบบยาง แบบโลหะที่เซาะลายกันลื่นมาให้ ก็แล้วแต่ชอบเลยครับ เดี๋ยวนี้มีด้ามยก เพื่อหลบ สิ่งกีดขวางเวลาขันด้วย
รูปแสดง ภายในของด้ามฟรี รูปนี้เป็นเทคโนโลยีใหม่ของ Koken เรียกว่ารุ่น Z
แบรนด์ ที่ ทำตลาดในไทย
จริงๆมีตั้งแต่ระดับ บน drive ½ “ชุดละ 30,000++ บาท จนถึง ชุดละไม่ถึง 1,000 บาท เลยเรียกว่าหลากหลายราคามาก
ยี่ห้อที่นิยมกัน คงจะไม่พ้น Koken คุณภาพดี ในราคาที่พอจะเอื้อมถึง และอะไหล่ อุปกรณ์ทดแทนหาง่าย ราคาชุดหนึ่งก็ 4,500 -8,500 สำหรับชุด ½”
แบรนด์ทีเห็นในตลาดแบ่งตามความเห็นส่วนตัวนะครับ ก็จะมี
Excellent
Snap on
Facom
Stahlwille
Proto
Matador
Hazet
WERA
Very good
Koken
Unior
TONE
KTC
Chanellock
Good
SATA
Kingtony
Blue point
Spero
Medium
Stanley
Fixman
Tactix
Yato
Dragon
อื่นๆ
สุดท้ายนี้ก็หวังว่าบทความที่พยายามเขียนมาจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ ถ้ามีคำถามหรืออะไรที่พอตอบได้ก็ยินดีตอบทุกท่านครับ ขอบคุณครับ
PS . เผอิญผมเขียนภาค 2 เรื่องไขควง ถ้าสนใจ ติดตาม ได้นะครับ
https://ppantip.com/topic/37102007