ถามถึงสามีภรรยาที่แต่งงานกันแล้ว พวกคุณแบ่งเงินกันยังไงครับ

อยากให้แชร์ประสบการณ์ของคนที่แต่งงานกันแล้วครับ ว่าพวกคุณแบ่งเงินกันยังไง
พอดีได้คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ หลายคนที่แต่งงานแล้ว มีหลายแบบมากเลยครับขึ้นกับรายได้และการตกลงในตอนแรก
แต่ทุกๆคนบอกเสมอว่า ให้คุยให้เรียบร้อยก่อนแต่งงาน จะได้ไม่มีปัญหา

ตย. ที่ผมฟังมามีดังนี้ครับ

คนแรก
ผู้ชายอายุ 30 ปี ทำงานเงินเดือน 45,000 บาท และขายของออนไลน์กำไรได้ต่อเดือน 50,000-80,000 บาท
ผู้หญิงอายุ 29 ปี อยู่บ้านทำงานบ้านคนเดียว
เขาเอากำไรจากการขายของออนไลน์ เป็นค่าใช้จ่ายทั้วไปในบ้าน ค่าเทอมลูก ถ้าเหลือเขาจะเอาไปซื้อกองทุน และหุ้น
ส่วนเงินเดือนเขาเก็บเอง 10,000 บาท ให้ภรรยา 10,000 บาท ให้พ่อแม่ผู้ชาย 5,000 บาท กองกลาง 5,000 บาท อีก 15,000 บาท เป็นค่าประกันสังคม ประกันชีวิต ประกันรถ
ส่วนบ้านและรถผ่อนหมดแล้ว

คนสอง
ผู้ชายอายุ 27 ปี เงินเดือน 30,000 บาท
ผู้หญิงอายุ 27 ปี เงินเดือน 15,000 บาท
ยังไม่มีลูก
ค่าผ่อนบ้านผู้ชายจ่าย(ชื่อผู้ชาย)
ค่าใช้จ่ายในบ้านออกคนล่ะครึ่ง
ไม่มีเงินกองกลางเก็บ

คนสาม
ผู้ชายอายุ 33 ปี เงินเดือน 40,000 บาท
ผู้หญิง อายุ 30 ปี เงินเดือน 20,000 บาท
ยังไม่ได้แต่งงาน แต่อยู่กินด้วยกัน
รายได้ทั้งหมดผู้หญิงเอาไปหมด เพราะอ้างว่าเดี๋ยวผู้ชายใช้หมด
ปล. อันนี้ผู้ชายเขามาบ่นให้ผมฟังว่า ไม่ไหวแล้วอยากจะเลิกเพราะอึดอัดไม่มีเงินเก็บเลย จะซื้ออะไรก็ไม่ได้

คนสี่
ผู้ชายอายุ 25 ปี ไม่มีงานเป็นพ่อบ้าน
ผู้หญิงอายุ 37 ปี ทำธุรกิจส่วนตัว รายได้คร่าวๆขั้นต่ำ 100,000 บาท
มีลูก 1 คน
ค่าใช้จ่ายทุกอย่าผู้หญิงออกหมด
แต่มันบอกผมว่าไม่ได้เกาะเมีย-นะเฟ้ย กำลังหางานอยู่

คนห้า เคสนี้คนที่เล่าเป็นผู้หญิง
ผู้ชายอายุ 45 ปี ทำธุกิจส่วนตัวร้านอาหารค่อนข้างใหญ่ กำไรเหมือนว่าเยอะมากอ่า 6 หลัก
ผู้หญิงอายุ 26 ปี เป็นผู้ช่วยสามี (แต่จริงๆดูเหมือนไม่ค่อยได้ทำอะไร สังเกตุจากเฟสบุค 55+)
ค่าใช้จ่ายผู้ชายออกหมด ให้ภรรยาต่างหากเดือนล่ะ 20,000 บาท แต่เหมือนว่ามีไรซื้อให้หมด she บอกชีวิตดี๊ดี

เพื่อนล่ะครับ แบ่งค่าใช้จ่ายกันอย่างไรบ้าง เอามาเล่าสู่กันฟังบ้าง

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
ผมกับภรรยาตั้งแต่คบกันมา แต่งงาน มีลูก ตอนนี้ 32ปี
ใช้เงินกระเป๋าเดียวกัน เงินและทรัพย์สินทั้งหมด หนี้(เมื่อก่อน) ค่าใช้จ่าย รวมกันหมดไม่มีแยก
คือคู่ชีวิต ชีวิตให้แทนกันได้ นับประสาอะไรเงินทองของนอกกาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่