วันนี้ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๖๐ เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
ตามประเพณีของไทยแต่โบราณ ถือเป็น
วันลอยกระทง รายละเอียด
ในเรื่องทางประเพณี และ วัฒนธรรม จะขอเล่าแยกต่างหากในกระทู้ห้องเพลง
ย้อนกลับไปเมื่อ 33 ปีที่แล้วคือในปี
พ.ศ 2527
ปีนั้นวัน ลอยกระทง ตรงกับวันที่
7 พฤศจิกายน มีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
คอการเมืองในขณะนั้นคิดตรงกันว่า
"อีกไม่กี่วันต้องมีปฏิวัติ รัฐประหาร อีกครั้งแน่นอน"
ถามว่าทำไมทุกคนถึงคิดเช่นนั้น ? คำตอบก็คือ
เมื่อวันที่
2 พฤศจิกายนที่ผ่านมาไม่กี่วัน รัฐบาลพลเอกเปรม
ลดค่าเงินบาท
จากอัตราแลกเปลี่ยน
1 usd =23 บาท มาเป็น 1 usd = 27 บาท
ท่ามกลางเสียงคัดค้านของคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่คัดค้านเสียงดังที่สุดคือ
พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ผบ.ทบ ในขณะนั้น
ทุกคนทราบดีว่าการเมืองไทยช่วง
ก่อนพฤษภาทมิฬ 2535 นั้น
ตำแหน่ง ผบ.ทบ ใหญ่กว่า นายกรัฐมนตรี พูดง่ายๆคือ ถ้า นายกรัฐมนตรี ไม่มี
ผบ.ทบ ค้ำบัลลังก์ให้ ก็นับวันถอยหลังได้
เหตุที่รัฐบาลต้องลดค่าเงินบาท
ในช่วงปี พ.ศ 2525 - 2527
เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ ประกอบกับไทยเอาค่าเงินบาท
ไปผูกติดกับ usd เมื่อ usd แข็งค่าเมื่อเทียบสกุลเงินอื่น ทำให้บาทไทยแข็งตามไปด้วย
สินค้าส่งออกของไทยจึงมีราคาแพง ทำให้การขาดดุลการค้ามากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเสนอให้ นายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ลดค่าเงินบาท
เพื่อแก้ปัญหาคือ นาย
วีระพงษ์ รามางกูร (ดร.โกร่ง) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ตอนแรก พลเอกเปรม ก็
ไม่เห็นด้วย แต่เมื่อปรึกษากับ ร.ม.ต คลัง ในขณะนั้น
คือนาย
สมหมาย ฮุนตระกูล ซึ่งมีแนวคิดเดียวกับ ดร.โกร่ง
นายกรัฐมนตรี
จึงตัดสินใจให้มีการลดค่าเงินบาท ในวันที่ 2 พฤศจิกายน
พร้อมกับเปลี่ยนระบบจากการผูกติดเงิน usd มาเป็นระบบ
ตะกร้าเงิน basket of currencies
ตำแหน่ง ผบ.ทบ ในช่วงเวลานั้น นอกจากคุมกองทัพแล้ว นัยยะอีกอย่างหนึ่งคือ
แคนดิเดต candidate นายกรัฐมนตรี ดีๆนี่เอง เหตุเพราะรัฐธรรมนูญในขณะนั้น
ให้
นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้ เมื่อเป็นดังนี้
พลเอก อาทิตย์ ก็มีการเตรียมพร้อมทางการเมืองเหมือนกัน ทีมที่ปรึกษาของ
ผบ.ทบ ก็มีทั้งนักธุรกิจ และ นักการเมือง ในจำนวนนี้มีนักธุรกิจการเกษตรคนหนึ่งชื่อ
สว่าง เลาหทัย เจ้าของบริษัท
ศรีกรุงวัฒนา (ช่วงนั้นดังพอๆกับ CP )
ซึ่งการลดค่าเงินบาทคราวนั้น ทำให้ สว่าง
ขาดทุนทันทีเกือบ 2,000 ล้านบาท
การให้คำปรึกษากับพลเอก อาทิตย์ จึงออกไปในทางเสียหายกับฝ่ายรัฐบาล
ประกอบกับ พลเอก อาทิตย์ มองมุมเดียวคือ
เมื่อลดค่าเงินบาททำให้ราคาอาวุธ
ที่จะสั่งซื้อสูงขึ้น เท่ากับเสียเงินมากขึ้น เหตุนี้จึงคัดค้าน
วันที่มีการลดค่าเงินบาท ขณะนั้น พลเอกอาทิตย์
อยู่ต่างประเทศ แต่เมื่อกลับมา
ในวันที่ 7 ซึ่งเป็นวันลอยกระทง ก็สั่ง
สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และช่อง 7 ถ่ายทอดสด
การให้สัมภาษณ์ของตนที่คัดค้านการลดค่าเงินบาทของรัฐบาลทันที
การใช้
ถ้อยคำและภาษากายของพลเอก อาทิตย์ ในครั้งนั้นเป็นไปด้วยความดุเดือด
ทำให้คนที่ติดตามข่าวทางการเมือง คิดเหมือนกันว่า
ไม่เกิน 3 วันมีรัฐประหารชัวร์...
แต่รัฐบาลของพลเอกเปรม ก็แก้เกมส์ทันควัน โดยให้
ช่อง 3 และช่อง 9
ถ่ายทอดสดคำให้สัมภาษณ์ของ
ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรค กิจสังคม
พรรคแกนนำของรัฐบาล และด้วยความเป็นผู้มีวาทศิลป์ในการพูด ประกอบกับท่วงท่า
และการแต่งกายที่ดูสบายๆ การอธิบายง่ายๆใช้ภาษาชาวบ้าน เช่น
การลดค่าเงินบาท ไม่ได้ส่งผลอะไรกับชาวบ้านอย่างพวกเราเลย ไม่เชื่อพรุ่งนี้ดูว่า
เรากินข้าวแกงใช้เงินเท่าเก่าหรือไม่ ถ้าใช้เท่าเดิมเงินของพวกเรามันก็ไม่ได้ลด ฯลฯ
ทำให้กระแสตีกลับทันที
รัฐบาลเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นี้ได้อย่างหวุดหวิด
ในปีต่อๆมา การลดค่าเงินบาทในเที่ยวนั้นส่งผลให้ประเทศไทยมีการฟื้นตัวที่ดี
อย่างต่อเนื่อง ทำให้บารมี พลเอกอาทิตย์ เริ่มอ่อนลง และในที่สุดกลางปีพ.ศ 2529
ก็ถูก
ปลดจากตำแหน่ง ผบ.ทบ
และผู้ที่มาเป็น ผบ.ทบ แทนก็คือ
ขงเบ้งกองทัพบก
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ บิ๊กจิ๋ว นั่นเอง
จากเหตุการณ์ครั้งนั้น สื่อมวลชนจึงให้นิยามว่า
"อาทิตย์ดับเมื่อวันลอยกระทง"
ป.ล เม้นท์ย่อยมี
เหตุการณ์การแก้เกมส์มาเล่าให้ฟัง
ป.ล 2 การลดค่าเงินบาทในครั้งนั้น ได้ชื่อว่า
เป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญ
และถูกต้องที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาตร์ไทย
ป.ล 3 เหตุการณ์ครั้งนี้ หนึ่งในผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล และถูกปลดออก คือ
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยนาย นุกูล ประจวบเหมาะ
ป.ล 4 หลังการลดค่าเงินบาท รัฐบาลยังออกมาตรการตามมาอีกมากมาย ทั้งเรื่อง
จำกัดสินเชื่อ 18 %
ทั้งเรื่อง
ประหยัดพลังงาน ทำให้บางคนล้ม หรือ เสียหายเป็นจำนวนมาก
แต่สุดท้ายพิสูจน์แล้วว่า
รัฐบาลชุดนั้นตัดสินใจได้ถูกต้อง
cnck
ลอยกระทง...ลดค่าเงินบาท....อาทิตย์ดับ cnck
ตามประเพณีของไทยแต่โบราณ ถือเป็นวันลอยกระทง รายละเอียด
ในเรื่องทางประเพณี และ วัฒนธรรม จะขอเล่าแยกต่างหากในกระทู้ห้องเพลง
ย้อนกลับไปเมื่อ 33 ปีที่แล้วคือในปี พ.ศ 2527
ปีนั้นวัน ลอยกระทง ตรงกับวันที่ 7 พฤศจิกายน มีเหตุการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
คอการเมืองในขณะนั้นคิดตรงกันว่า "อีกไม่กี่วันต้องมีปฏิวัติ รัฐประหาร อีกครั้งแน่นอน"
ถามว่าทำไมทุกคนถึงคิดเช่นนั้น ? คำตอบก็คือ
เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายนที่ผ่านมาไม่กี่วัน รัฐบาลพลเอกเปรม ลดค่าเงินบาท
จากอัตราแลกเปลี่ยน 1 usd =23 บาท มาเป็น 1 usd = 27 บาท
ท่ามกลางเสียงคัดค้านของคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่คัดค้านเสียงดังที่สุดคือ
พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ผบ.ทบ ในขณะนั้น
ทุกคนทราบดีว่าการเมืองไทยช่วง ก่อนพฤษภาทมิฬ 2535 นั้น
ตำแหน่ง ผบ.ทบ ใหญ่กว่า นายกรัฐมนตรี พูดง่ายๆคือ ถ้า นายกรัฐมนตรี ไม่มี
ผบ.ทบ ค้ำบัลลังก์ให้ ก็นับวันถอยหลังได้
เหตุที่รัฐบาลต้องลดค่าเงินบาท
ในช่วงปี พ.ศ 2525 - 2527 เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำ ประกอบกับไทยเอาค่าเงินบาท
ไปผูกติดกับ usd เมื่อ usd แข็งค่าเมื่อเทียบสกุลเงินอื่น ทำให้บาทไทยแข็งตามไปด้วย
สินค้าส่งออกของไทยจึงมีราคาแพง ทำให้การขาดดุลการค้ามากขึ้นเรื่อยๆ
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเสนอให้ นายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ลดค่าเงินบาท
เพื่อแก้ปัญหาคือ นาย วีระพงษ์ รามางกูร (ดร.โกร่ง) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ตอนแรก พลเอกเปรม ก็ไม่เห็นด้วย แต่เมื่อปรึกษากับ ร.ม.ต คลัง ในขณะนั้น
คือนาย สมหมาย ฮุนตระกูล ซึ่งมีแนวคิดเดียวกับ ดร.โกร่ง
นายกรัฐมนตรี จึงตัดสินใจให้มีการลดค่าเงินบาท ในวันที่ 2 พฤศจิกายน
พร้อมกับเปลี่ยนระบบจากการผูกติดเงิน usd มาเป็นระบบ ตะกร้าเงิน basket of currencies
ตำแหน่ง ผบ.ทบ ในช่วงเวลานั้น นอกจากคุมกองทัพแล้ว นัยยะอีกอย่างหนึ่งคือ
แคนดิเดต candidate นายกรัฐมนตรี ดีๆนี่เอง เหตุเพราะรัฐธรรมนูญในขณะนั้น
ให้นายกรัฐมนตรีมาจากคนนอกได้ เมื่อเป็นดังนี้
พลเอก อาทิตย์ ก็มีการเตรียมพร้อมทางการเมืองเหมือนกัน ทีมที่ปรึกษาของ
ผบ.ทบ ก็มีทั้งนักธุรกิจ และ นักการเมือง ในจำนวนนี้มีนักธุรกิจการเกษตรคนหนึ่งชื่อ
สว่าง เลาหทัย เจ้าของบริษัท ศรีกรุงวัฒนา (ช่วงนั้นดังพอๆกับ CP )
ซึ่งการลดค่าเงินบาทคราวนั้น ทำให้ สว่าง ขาดทุนทันทีเกือบ 2,000 ล้านบาท
การให้คำปรึกษากับพลเอก อาทิตย์ จึงออกไปในทางเสียหายกับฝ่ายรัฐบาล
ประกอบกับ พลเอก อาทิตย์ มองมุมเดียวคือ เมื่อลดค่าเงินบาททำให้ราคาอาวุธ
ที่จะสั่งซื้อสูงขึ้น เท่ากับเสียเงินมากขึ้น เหตุนี้จึงคัดค้าน
วันที่มีการลดค่าเงินบาท ขณะนั้น พลเอกอาทิตย์ อยู่ต่างประเทศ แต่เมื่อกลับมา
ในวันที่ 7 ซึ่งเป็นวันลอยกระทง ก็สั่งสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 และช่อง 7 ถ่ายทอดสด
การให้สัมภาษณ์ของตนที่คัดค้านการลดค่าเงินบาทของรัฐบาลทันที
การใช้ถ้อยคำและภาษากายของพลเอก อาทิตย์ ในครั้งนั้นเป็นไปด้วยความดุเดือด
ทำให้คนที่ติดตามข่าวทางการเมือง คิดเหมือนกันว่าไม่เกิน 3 วันมีรัฐประหารชัวร์...
แต่รัฐบาลของพลเอกเปรม ก็แก้เกมส์ทันควัน โดยให้ช่อง 3 และช่อง 9
ถ่ายทอดสดคำให้สัมภาษณ์ของ ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรค กิจสังคม
พรรคแกนนำของรัฐบาล และด้วยความเป็นผู้มีวาทศิลป์ในการพูด ประกอบกับท่วงท่า
และการแต่งกายที่ดูสบายๆ การอธิบายง่ายๆใช้ภาษาชาวบ้าน เช่น
การลดค่าเงินบาท ไม่ได้ส่งผลอะไรกับชาวบ้านอย่างพวกเราเลย ไม่เชื่อพรุ่งนี้ดูว่า
เรากินข้าวแกงใช้เงินเท่าเก่าหรือไม่ ถ้าใช้เท่าเดิมเงินของพวกเรามันก็ไม่ได้ลด ฯลฯ
ทำให้กระแสตีกลับทันที
รัฐบาลเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นี้ได้อย่างหวุดหวิด
ในปีต่อๆมา การลดค่าเงินบาทในเที่ยวนั้นส่งผลให้ประเทศไทยมีการฟื้นตัวที่ดี
อย่างต่อเนื่อง ทำให้บารมี พลเอกอาทิตย์ เริ่มอ่อนลง และในที่สุดกลางปีพ.ศ 2529
ก็ถูกปลดจากตำแหน่ง ผบ.ทบ
และผู้ที่มาเป็น ผบ.ทบ แทนก็คือ
ขงเบ้งกองทัพบก พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ บิ๊กจิ๋ว นั่นเอง
จากเหตุการณ์ครั้งนั้น สื่อมวลชนจึงให้นิยามว่า
"อาทิตย์ดับเมื่อวันลอยกระทง"
ป.ล เม้นท์ย่อยมีเหตุการณ์การแก้เกมส์มาเล่าให้ฟัง
ป.ล 2 การลดค่าเงินบาทในครั้งนั้น ได้ชื่อว่า เป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญ
และถูกต้องที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาตร์ไทย
ป.ล 3 เหตุการณ์ครั้งนี้ หนึ่งในผู้ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล และถูกปลดออก คือ
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยนาย นุกูล ประจวบเหมาะ
ป.ล 4 หลังการลดค่าเงินบาท รัฐบาลยังออกมาตรการตามมาอีกมากมาย ทั้งเรื่องจำกัดสินเชื่อ 18 %
ทั้งเรื่องประหยัดพลังงาน ทำให้บางคนล้ม หรือ เสียหายเป็นจำนวนมาก
แต่สุดท้ายพิสูจน์แล้วว่า รัฐบาลชุดนั้นตัดสินใจได้ถูกต้อง
cnck