ทำไม? ครูถึงให้นักเรียนหลังห้อง สอบเข้ามหาลัยที่ยากที่สุดของญี่ปุ่น!

จากหนังสือขายดีของญี่ปุ่น เรื่องราวของ “ซายากะจัง” นักเรียนสาว แต่งตัวจัด นิสัยเกเร ไม่ตั้งใจเรียน ในขณะที่เธอเรียนอยู่ ม. 5 แต่ความรู้ที่เธอมีนั้นแค่เด็ก ป.4!! แต่แล้วชีวิตของเด็กสาวคนนี้ก็เปลี่ยนไปเมื่อเธอได้เจอกับครูติวเตอร์คนหนึ่ง ครูคนนี้ทำให้ชีวิตของเธอเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ ทำให้เด็กสาวไม่เอาไหนคนนี้สอบเข้ามหาลัยที่สอบเข้ายากที่สุดของญี่ปุ่นได้ ภายในเวลา 1 ปี! แล้วครูติวเตอร์คนนี้เขาทำยังไงล่ะ? อย่ารอช้าไปติดตามเรื่องราวที่ทีนเอ็มไทยนำมาฝากกันเลยดีกว่าค่ะ ^^ ทำไม? ครูถึงให้นักเรียนหลังห้อง สอบเข้ามหาลัยที่ยากที่สุดของญี่ปุ่น!

ทำไม? ครูถึงให้นักเรียนหลังห้อง สอบเข้ามหาลัยที่ยากที่สุดของญี่ปุ่น!

ทำไม? ครูถึงให้นักเรียนหลังห้อง สอบเข้ามหาลัยที่ยากที่สุดของญี่ปุ่น!
ครืด … เสียงเปิดประตู เด็กสาวหัวทอง ใส่เสื้อเอวลอยกับกระโปรงสั้นจู๋ ทาเล็บสีสด ใส่น้ำหอมกลิ่นแรงสุดๆ เดินเข้ามาที่โรงเรียนกวดวิชาพร้อมคุณแม่ คุณแม่บอกว่า “รูปลักษณ์ภายนอกอาจจะดูแรง แต่ลูกสาวเป็นเด็กดีมากค่ะ”


นั่นคือวันแรกที่ Tsubota Nobutaka (ครูติวเตอร์) ได้พบกับ ซายากะจัง เด็กสาวสุดเปรี้ยวที่สอบได้คะแนนติดอันดับโหล่ของโรงเรียน ซายากะถูกพักการเรียนตอน ม. 5 เพราะทำผิดกฎโรงเรียน แม่เห็นซายากะว่างๆ เลยส่งมาเรียนพิเศษที่โรงเรียนของครู Tsubota ซึ่งสิ่งแรกที่ครู Tsubota ให้ ซายากะ ทำคือ สอบวัดระดับ เช่น

ครู Tsubota : “คำว่า Strong แปลว่า อะไร”

ซายากะ : “อือ … วันอาทิตย์?”

ครู Tsubota : “คำว่า “พวกเขา” ภาษาอังกฤษคือคำว่า ?”

ซายากะ : “Hi”

(น้องคงจะอยากตอบคำว่า “ฮี” แต่สะกดผิด แต่คำตอบที่ถูกคือ “They”)

ผลการประเมิน ซายากะมีผลการเรียนเท่ากับเด็ก ป.4 (ตอนที่เธออยู่ ม. 5) ถ้าเพื่อนๆ เป็นติวเตอร์จะทำยังไงคะ? คงจะคืนเงินคุณแม่แล้วเชิญหนูน้อยไปเรียนที่อื่นดีกว่า ใช่ไหมล่ะ แต่ครู Tsubota ไม่ได้คิดเช่นนั้น เขาถามซายากะว่า ..

ครู Tsubota : อยากเข้ามหาวิทยาลัยไหน?

ซายากะ :  “ไม่รู้สิ” >,<

ครู Tsubota :  แหย่ว่า “ลองเข้าโตไดไหม”

ซายากะ :  “ไม่เอาอ่ะ มีแต่ผู้ชายบ้าเรียนใส่แว่นหนาๆ”

ครู Tsubota : “งั้น สอบเข้า Keio ไหม? เคยได้ยินคำว่า Keio Boy ไหม?”

ซายากะ : “ว้ายยย!! หนุ่มหล่อเยอะนิ่ ซายากะกับเคโอ น่าสนๆ”

กับเด็ก ม.5 ที่ยังแปลคำว่า “Strong” ไม่ออก ครู Tsubota ยุให้เด็กคนนี้สอบเข้า ‘เคโอ’ มหาวิทยาลัยเอกชนที่สอบเข้ายากที่สุดในญี่ปุ่น ครูคิดอะไรอยู่ … ??

ทำไม? ครูถึงให้นักเรียนหลังห้อง สอบเข้ามหาลัยที่ยากที่สุดของญี่ปุ่น!
Tsubota Nobutaka (ครูติวเตอร์)

“อ่านเด็กให้ขาด!!”

เด็กแต่ละแบบ มีวิธีสอนและวิธีกระตุ้นไม่เหมือนกัน นอกจากแบบทดสอบวัดระดับความรู้ ครู Tsubota ให้เด็กๆ ทุกคนทำแบบทดสอบจิตวิทยา (เอ็นเนียแกรม) และแบ่งเด็กๆ เป็น 9 ประเภท

ซึ่งซายากะเป็นประเภท “ผู้เสพย์สุข” มองโลกในแง่ดี เวลาสอน ต้องขายฝัน โม้เป้าหมายสูงๆ ก็ไม่เป็นไร เด็กพวกนี้ไม่สงสัย ครู Tsubota จึงบอกซายากะว่า “ถ้าไป Keio เธอจะได้เจอคนเก๋ๆ คูลๆ นะ ได้อยู่โตเกียวด้วยนะ” ซายากะผู้มองโลกในแง่ดีก็เริ่มฝันหวาน และมีแรงอ่านหนังสือสอบ

ในทางกลับกัน ถ้าเด็กเป็นประเภท “Realistic” ขืนครูมานั่งขายฝันแบบนี้ เด็กคงดูถูก หาว่าครูไม่ได้เรื่องแน่ๆ ถ้าเป็นเด็กประเภท “Perfectionist” เด็กจะมีนิสัยชอบทำทุกอย่างให้ดีที่สุด ละเอียดที่สุด แต่สุดท้าย จะเครียดเพราะไม่เป็นไปตามแผน ครูจึงไม่ตั้งเป้าหมายให้เด็กกลุ่มนี้ และพยายามเน้นเรื่องการจับเวลา และแบ่งเวลาตอบข้อสอบ

ทำไม? ครูถึงให้นักเรียนหลังห้อง สอบเข้ามหาลัยที่ยากที่สุดของญี่ปุ่น!
ทำไม? ครูถึงให้นักเรียนหลังห้อง สอบเข้ามหาลัยที่ยากที่สุดของญี่ปุ่น!
“ไม่มีเด็กที่เกลียดความก้าวหน้าของตัวเอง”

ครู Tsubota ไม่ได้รู้สึกท้อใจหรือหนักใจเลย ที่เห็นซายากะสอบได้แค่ระดับ ป.4 ครูเชื่อว่าเด็กที่ทำคะแนนไม่ดี ไม่ใช่เด็กไม่เก่ง เพียงแต่พวกเขาแค่ยังไม่ได้เรียน หรือไม่รู้เกี่ยวกับความรู้นั้นๆ เท่านั้น

สิ่งสำคัญ คือจะทำอย่างไรให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่า การเรียน ก็คือการฝึกทำสิ่งที่คิดว่าทำไม่ได้ ให้ทำได้และสนุกไปกับ process นั้น เด็กที่แยกคำว่า They กับ He ไม่ออก เพราะเขาไม่เข้าใจ แต่ถ้าเขาเข้าใจความหมาย เข้าใจวิธีใช้ และใช้คำเหล่านั้นมาแต่งประโยคใหม่ๆ ได้ เขาย่อมทึ่งกับความสามารถกับตัวเอง เขาย่อมอยากรู้ศัพท์คำใหม่ๆ อีก นั่นคือ วิธีที่ ครู Tsubota ทำให้เด็กหนีเรียนอย่างซายากะหันมาสนุกกับการเรียนได้

ก่อนอื่น ครูสอนโครงสร้างภาษา เอาให้พื้นฐานแน่น จากนั้นค่อยๆ ทำแบบฝึกหัดภาษาอังกฤษ ฝึกให้ใช้พจนานุกรม พอเริ่มอ่านบทความง่ายๆ เข้าใจ เด็กก็เริ่มสนุกและอยากอ่านอีก ครูก็ป้อนบทความที่ยาวขึ้น ยากขึ้นให้อ่าน

เมื่อซายากะไปโรงเรียน เธอตกใจที่เธอทำข้อสอบที่โรงเรียนได้ ทั้งๆ ที่ผ่านมาส่งกระดาษเปล่าตลอด! เธอเริ่มมั่นใจ และรู้สึกดีกับตัวเองขึ้นเรื่อยๆ และยิ่งอ่านหนังสือหนักขึ้น ครู Tsubota เชื่อว่าในโลกนี้มีเด็กที่เกลียดการเรียนอยู่เยอะ แต่ไม่มีเด็กคนไหนที่เกลียดความก้าวหน้าของตัวเอง และครู Tsubota เป็นผู้ชี้ทางให้เด็กเห็น “ความก้าวหน้า” ของตัวเอง

“ตัวเองในวันนี้ ที่รู้มากกว่าตัวเองเมื่อวาน

ตัวเองในวันนี้ ที่รู้มากกว่าตัวเองในเดือนก่อนมากๆ”

ทำไม? ครูถึงให้นักเรียนหลังห้อง สอบเข้ามหาลัยที่ยากที่สุดของญี่ปุ่น!
เรื่องราว “ซายากะ” ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ (นางเอกน่ารักนะเนี่ย)
นี่คือบางส่วนของจดหมายที่ซายากะเขียนถึงครู ..

“ก่อนที่จะได้เจอครู หนูเกลียดผู้ใหญ่รอบตัวมาก ทุกคนมองว่าหนูเป็นเด็กไม่ได้เรื่อง คนที่เข้าใจหนู มีแต่เพื่อนเท่านั้น เพื่อนสำคัญที่สุด ถ้าไม่ได้เจอครู หนูคงไม่คิดจะเรียนต่อมหาลัย คงหางานอะไรสักอย่างทำไปวันๆ แต่งงาน มีลูก แต่พอเจอครู ครูรับที่หนูเป็นหนู ครูชมหนูบ่อยๆ ครูไม่หน้าบึ้งใส่หนูเหมือนผู้ใหญ่คนอื่น แถมครูยิ้มและหัวเราะบ่อยๆ ด้วย ครูยังฟังเรื่องที่หนูเล่าโน่นเล่านี่ด้วย

ตอนที่หนูบอกคนรอบตัวว่าจะเข้าม. เคโอ มีแต่คนบอกว่าหนูบ้าไปแล้ว  แต่ครูทำให้การเรียนที่เคโอ เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น น่าสนุกสำหรับหนู ทำให้หนูเริ่มสนใจ … แต่ว่า พอลองตั้งใจเรียนจริงๆ หนูตกใจมากว่า ทำไมหนูไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไรขนาดนี้ ขณะเดียวกัน การได้รู้ว่าเราไม่รู้อะไร มันเป็นเรื่องที่สนุกมากๆ หนังสือที่อ่านสนุกกว่าที่คิด หนูยังรู้สึกเสียดายเลยว่า หนูกลับมาเรียนช้าไป

เวลาครูเล่าเรื่องการเมืองให้ฟัง หนูกลับไปบ้าน ก็เริ่มฟังข่าวเข้าใจมากขึ้น เวลาหนูอ่านการ์ตูนประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นที่ครูแนะนำ หนูก็เริ่มฝันอยากเดินทางไปดูของจริงที่โน่นที่นี่ หนูเสียดายเวลาที่ผ่านมาเหลือเกิน เวลาที่หนูทำตัวไร้สาระ โลกนี้ยังมีอะไรให้เรียนรู้อีกตั้งเยอะนะคะ

ตอนที่หนูสอบเข้าเคโอได้ หนูสัมผัสได้ถึงอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปมากในตัวหนู ครูบอกว่า “เธอจะมั่นใจในตัวเองมากขึ้น” หนูยังจำคำนี้ได้ไม่ลืมเลยค่ะ

“หนูได้เรียนรู้ว่า หากเราพยายามอะไรถึงที่สุด พยายามจนเกือบตาย ชีวิตมันเปลี่ยนไปจริงๆ

ชีวิต … ขึ้นอยุ่กับการที่เราเลือกเดินจริงๆ”

เรื่องราวของ ซายากะ จัง ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือที่เขียนโดยครู Tsubota และมียอดขายมากกว่า 100 ล้านเล่ม เป้นหนังสือที่ขายที่สุดของญี่ปุ่น รวมถึงได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ด้วย!

ขอบคุณข้อมูล : แปลโดย facebook – Japan Gossip by เกตุวดี Marumura เพื่อนๆ สามารถติดตามเรื่องราวชีวิต สังคม และสิ่งต่างๆ ของประเทศญี่ปุ่น เพิ่มเติมได้ที่นี่นะคะ ^^
ที่มา : FB ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่